ข้ามไปเนื้อหา

รามมนเทียร

พิกัด: 26°47′44″N 82°11′39″E / 26.7956°N 82.1943°E / 26.7956; 82.1943
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รามมนเทียร
รามชนมภูมิมนเทียร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เทพรามลัลล (ปางประสูติของพระราม)
หน่วยงานกำกับดูแลศรีรามชนมภูมิตีรถะเกษตร
สถานะกำลังก่อสร้าง
ที่ตั้ง
ที่ตั้งรามชนมภูมิ อโยธยา
รัฐรัฐอุตตรประเทศ
ประเทศประเทศอินเดีย
รามมนเทียรตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ
รามมนเทียร
ที่ตั้งในรัฐอุตตรประเทศ
รามมนเทียรตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
รามมนเทียร
รามมนเทียร (ประเทศอินเดีย)
พิกัดภูมิศาสตร์26°47′44″N 82°11′39″E / 26.7956°N 82.1943°E / 26.7956; 82.1943
สถาปัตยกรรม
สถาปนิกตระกูลโสมปุระ[a]
ประเภทศาสนสถานฮินดู
รูปแบบแบบนคร
ผู้สร้างศรีรามชนมภูมิตีรถะเกษตร
ลงเสาเข็ม5 สิงหาคม 2020; 4 ปีก่อน (2020-08-05)[3]
เสร็จสมบูรณ์22 มกราคม 2024; 11 เดือนก่อน (2024-01-22)[4]
ลักษณะจำเพาะ
ความยาว110 เมตร (360 ฟุต)
ความกว้าง72 เมตร (235 ฟุต)
ความสูงสูงสุด49 เมตร (161 ฟุต)[5]
พื้นที่ทั้งหมด1.1 เฮกตาร์ (2.7 เอเคอร์)[5]
วัดวิหารกลาง 1 แห่งที่มีวิหารเชื่อม 6 แห่งอยู่ล้อมรอบ
เว็บไซต์
ศรีรามชนมภูมิตีรถะเกษตร

รามมนเทียร (อักษรโรมัน: Ram Mandir; แปลว่า มนเทียรพระราม) เป็นโบสถ์พราหมณ์ที่กำลังก่อสร้างในอโยธยา รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ในพื้นที่รามชนมภูมิ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระราม เทพเจ้าหลักในศาสนาฮินดู[6][7]

บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของมัสยิดบาบรีที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมามีการตั้งเทวรูปพระรามและนางสีดาในมัสยิดเมื่อ ค.ศ. 1949 ก่อนที่มัสยิดถูกโจมตีและทำลายใน ค.ศ. 1992[8][9][10] ใน ค.ศ. 2019 ศาลสูงสุดอินเดียให้คำตัดสินยกที่ดินพิพาทแก่ชาวฮินดูเพื่อสร้างโบสถ์ ส่วนฝ่ายมุสลิมจะได้รับที่ดินในการสร้างมัสยิดในบริเวณอื่น[11] ทางศาลอ้างรายงานจากกรมสำรวจโบราณคดีอินเดียเป็นหลักฐานเสนอแนะถึงการมีโครงสร้างใต้มัสยิดบาบรีที่ถูกทำลายว่าไม่ใช่อิสลาม[12]

ณ วันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 2020 มีการทำพิธี ภูมิบูชา (พิธีวางศิลาฤกษ์) เพื่อเริ่มการก่อสร้างรามมณเทียรโดยนเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย[13] ปัจจุบันการก่อสร้างโบสถ์นี้อยู่ภายใต้การควบคุมของศรีรามชนมภูมิตีรถะเกษตรทรัสต์ ณ วันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2024 โมทีทำหน้าที่เป็น Mukhya Yajman (หัวหน้าผู้อุปถัมภ์) ของพิธีในวันเปิดโบสถ์ และทำพิธี Prana Pratishtha (การปลุกเสก) รามลัลล[14][15] พิธี Prana Pratishtha ดำเนินการโดยศรีรามชนมภูมิตีรถะเกษตร[16][17]

โบสถ์นี้ก่อให้เกิดข้อพิพาทหลายประการ เนื่องจากมีการกล่าวหาว่าใช้เงินบริจาคในทางที่ผิด กีดกันนักเคลื่อนไหวหลัก และการทำให้โบสถ์เป็นเรื่องการเมืองโดยพรรคภารตียชนตา[18][19][20][21]

ประวัติ

[แก้]

บริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งของมัสยิดบาบรีที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมามีการตั้งเทวรูปพระรามและนางสีดาในมัสยิดเมื่อ ค.ศ. 1949 ก่อนที่มัสยิดถูกโจมตีและทำลายใน ค.ศ. 1992[8][9][22] ใน ค.ศ. 2019 ศาลสูงสุดอินเดียให้คำตัดสินยกที่ดินพิพาทแก่ชาวฮินดูเพื่อสร้างโบสถ์ ส่วนฝ่ายมุสลิมจะได้รับที่ดินในการสร้างมัสยิดในบริเวณอื่น[23] ทางศาลอ้างรายงานจากกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย (เอเอสไอ) เป็นหลักฐานเสนอแนะถึงการมีโครงสร้างใต้มัสยิดบาบรีที่ถูกทำลายว่าไม่ใช่อิสลาม[24] อย่างไรก็ตาม ข้ออ้างของเอเอสไอถูกนักวิจารณ์โต้แย้งอย่างหนักว่ามีความขัดแย้งและไม่น่าเชื่อถือ[25][26][27][28][29] ศาลสูงสุดสรุปไว้ว่า โครงสร้างข้างใต้มัสยิดไม่ใช่สถาปัตยกรรมอิสลาม และมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าพื้นที่พิพาทนี้มีชาวฮินดูเชื่อว่าเป็น ชนมภูมิ (ที่ประสูติ) ของพระราม[30]

สถาปัตยกรรม

[แก้]

การออกแบบดั้งเดิมของมนเทียรนั้นสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1988 โดยตระกูลโสมปุระแห่งอะห์มดาบาด[2] ตระกูลโสมปุระเป็นผู้มีส่วนในการออกแบบมนเทียรมาแล้วกว่า 100 แห่งทั่วโลกเป็นระยะเวลา 15 รุ่นคนแล้ว[31] หัวหน้าสถาปนิกของโครงการคือ จันทรกันต์ โสมปุระ (Chandrakant Sompura) และบุตรชายของเขาทั้งสองคนคือ นิขิล โสมปุระ (Nikhil Sompura) และ อศิษ โสมปุระ (Ashish Sompura)[32]

ผลงานออกแบบปัจจุบันใน ค.ศ. 2020 ได้มีการปรับแต่งบางประการโดยตระกูลโสมปุระ[32] มนเทียรมีความกว้าง 235 ฟุต ยาว 360 ฟุต และสูง 161 ฟุต[33] ตามหลักวาสตุศาสตร์และศิลปศาสตร์[34] ก่อนสร้างเสร็จ โบสถ์นี้กลายเป็นโบสถ์ฮินดูที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก[32]

เทพ

[แก้]
รามลัลล พระรามในวัย 5 พรรษา เป็นเทพองค์หลักแห่งรามมนเทียร

การก่อสร้าง

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. จันทรกันต์ โสมปุระ (Chandrakant Sompura)[1]
    นิขิล โสมปุระ (Nikhil Sompura) และอศิษ โสมปุระ (Ashish Sompura)[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Umarji, Vinay (15 November 2019). "Chandrakant Sompura, the man who designed a Ram temple for Ayodhya". Business Standard. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 May 2020. สืบค้นเมื่อ 27 May 2020.
  2. 2.0 2.1 Pandey, Alok (23 July 2020). "Ayodhya's Ram Temple Will Be 161-Foot Tall, An Increase Of 20 Feet". NDTV. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2021. สืบค้นเมื่อ 23 July 2020.
  3. Gaur, Vatsala (5 August 2020). "PM Modi lays foundation stone of Ram Mandir in Ayodhya, says wait of centuries has ended". The Economic Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2023. สืบค้นเมื่อ 31 December 2023.
  4. "'Prana Pratishta' at Ram Mandir to be held on January 22: Nripendra Misra". Business Standard (ภาษาอังกฤษ). 10 December 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2023. สืบค้นเมื่อ 31 December 2023.
  5. 5.0 5.1 "Ram Temple: Second phase of foundation expected to be completed by Jan end". Livemint. 15 January 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2022. สืบค้นเมื่อ 26 January 2022.
  6. "BBC". 16 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2023. สืบค้นเมื่อ 8 September 2023.
  7. Bajpai, Namita (7 May 2020). "Land levelling for Ayodhya Ram temple soon, says mandir trust after video conference". The New Indian Express. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2021. สืบค้นเมื่อ 8 May 2020.
  8. 8.0 8.1 Kunal, Kishore (2016). Ayodhya Revisited (ภาษาอังกฤษ) (1st ed.). New Delhi: Ocean Books Pvt. Ltd. pp. xxxii. ISBN 978-81-8430-357-5.
  9. 9.0 9.1 Sethi, M. (2021). Communities and Courts: Religion and Law in Modern India. Routledge South Asian History and Culture Series. Taylor & Francis. p. 154. ISBN 978-1-00-053785-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2024. สืบค้นเมื่อ 13 January 2024.
  10. Lal, Makkhan (2019-03-20). "Historical texts prove that a temple was destroyed in Ayodhya to build the Babri Masjid". ThePrint (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2023. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
  11. "Ayodhya dispute: The complex legal history of India's holy site" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-10-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
  12. "Ayodhya dispute: The complex legal history of India's holy site" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-10-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2023-12-27.
  13. "Six temples of different deities in Ayodhya Ram temple's final blueprint". The Hindu (ภาษาIndian English). PTI. 13 September 2021. ISSN 0971-751X. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2021. สืบค้นเมื่อ 22 November 2021.
  14. "Ayodhya Ram Mandir LIVE updates: PM Modi in garbha griha, rituals start". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-01-22.
  15. "Ayodhya Ram Mandir Inauguration Live Updates, Ram Mandir Pran Pratishtha Ceremony: Chief Yajman Narendra Modi takes 'sankalp' for consecration ceremony at Ram temple in Ayodhya, Ganesh puja under way". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-01-22.
  16. Bureau, The Hindu (2023-11-16). "Ayodhya Ram temple will open to the public on this date". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 December 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-12-10.
  17. "Ram Temple Consecration: PM Modi's Full Schedule For Ayodhya Temple Event". NDTV.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-01-22.
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ news.abplive.com 2019 s132
  19. Verma, Lalmani (2015-07-16). "Ram Temple in Ayodhya: Hindu Mahasabha claims VHP 'pocketed' Rs 1,400 cr; Singhal rubbishes charge". The Indian Express. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2024. สืบค้นเมื่อ 4 January 2024.
  20. Rai, Sandeep (2017-12-06). "We were real architects of Ram temple movement: Hindu Mahasabha". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2023. สืบค้นเมื่อ 4 January 2024.
  21. Jaiswal, Anuja (2020-07-24). "Leave bhoomi pujan to saints: Nirmohi Akhara spokesperson tells PM". The Times of India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 January 2024. สืบค้นเมื่อ 4 January 2024.
  22. Lal, Makkhan (2019-03-20). "Historical texts prove that a temple was destroyed in Ayodhya to build the Babri Masjid". ThePrint (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2023. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
  23. "Ayodhya dispute: The complex legal history of India's holy site" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-10-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
  24. "Ayodhya dispute: The complex legal history of India's holy site" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-10-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2023-12-27.
  25. Sharma, Betwa (January 20, 2019). "Babri Revisited: ASI Suppressed Animal Bone Findings At Mosque Site". HuffPost. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2024. สืบค้นเมื่อ January 16, 2024.
  26. "Ayodhya verdict yet another blow to secularism: Sahmat". The Hindu. Chennai, India. 3 October 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2010. สืบค้นเมื่อ January 21, 2024.
  27. Aligarh Historians Society (3 January 2011). History & Judgement of Allahabad High Court in Ramjanmabhumi and Babri Masjid Case. สืบค้นเมื่อ 8 August 2020.
  28. "Archeologist Who Observed Dig Says No Evidence of Temple Under Babri Masjid". The Wire. December 6, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2023. สืบค้นเมื่อ January 17, 2024.
  29. Pankaj, Jayant (December 6, 2021). "Rama Janmabhoomi Issue: Exposing the myth behind the narrative". The International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2023. สืบค้นเมื่อ January 17, 2024.
  30. "Ayodhya verdict: The ASI findings Supreme Court spoke about in its judgment". India Today. New Delhi, India. 4 April 2022. สืบค้นเมื่อ January 22, 2024.
  31. Sampal, Rahul (28 July 2020). "Somnath, Akshardham & now Ram Mandir – Gujarat family designing temples for 15 generations". ThePrint (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2020. สืบค้นเมื่อ 29 July 2020.
  32. 32.0 32.1 32.2 Bajpai, Namita (21 July 2020). "280-feet wide, 300-feet long and 161-feet tall: Ayodhya Ram temple complex to be world's third-largest Hindu shrine". The New Indian Express. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2020. สืบค้นเมื่อ 23 July 2020.
  33. "Nagara-style architecture, no iron: What the historic Ram temple in Ayodhya will look like". Firstpost (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-01-05.
  34. Misra, Leena (6 August 2020). "Meet the Sompuras, master architects who are building the Ram Temple in Ayodhya". The Indian Express. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2020. สืบค้นเมื่อ 14 August 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Ram Mandir, Ayodhya