ข้ามไปเนื้อหา

สถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาปัตยกรรมโบสถ์พราหมณ์แบบนคร (Nagara style) ประกอบด้วยอรรธมณฑป, มณฑป, ครรภคฤห์, ศิขร, อมลัก และ กลศะ

สถาปัตยกรรมศาสนสถานฮินดู เป็นรูปแบบหลักของสถาปัตยกรรมฮินดู มีรูปแบบที่หลากหลาย อย่างไรก็ตามธรรมขาติพื้นฐานของโบสถ์พราหมณ์แต่ละแห่งล้วนเหมือนกัน คือมีองค์ประกอบพื้นฐาน “ครรภคฤห์” คือห้องด้านในที่ประดิษฐานมูรติองค์หลักของวัด ในห้องที่สร้างขึ้นอย่างเรียบง่าย โครงสร้างอื่น ๆ ที่สร้างขึ้นล้อมรอบห้องครรภคฤห์นั้นก็มีความแตกต่างกันไป โครงสร้างที่เป็นหอครอบด้านบนของครรภคฤห์เรียกว่า “ศิขร” ในอินเดียเหนือ หรือ “วิมานัม” ในอินเดียใต้ และ “เปอลิงกีฮ์เมรู” ในบาหลี อาคารศาลนั้นมักมีพื้นที่ ambulatory สำหรับทำปริกรม (circumambulation) และมีอาคารอื่น ๆ เช่น มณฑป, อันตรละ[1]

สถาปัตยกรรมนี้แสดงออกถึงแนวคิดและอุดมคติของธรรมะ, ความเชื่อ, คุณค่า และวิถีชิวิตแบบฮินดู ถือกันว่าโบสถ์พราหมณ์เป็นสถานที่สำหรับการตีรถะและเกษตระ-แสวงบุญ[2] องค์ประกอบของจักรวาลที่ล้วนสร้างสรรค์ชีวิตในเทววิทยาฮินดู ล้วนแสดงออกผ่านทางสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในโบสถ์พราหมณ์ ไฟและน้ำ ภาพธรรมชาติและเทพเจ้า สตรีและบุรุษ กามและอรฐะ เสียงสวดมนต์และกลิ่นของธูปหอม ความเป็นมุนษย์และความว่างเปล่า ทุกสิ่งล้วนพบในสถาปัตยกรรมของโบสถ์พราหมณ์[2] รูปแบบและความหมายขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมในโบสถ์พราหมณ์นั้นถูกออกแบบขึ้นมาให้โบสถ์พราหมณ์เป็นที่เชื่อมต่อระหว่างมนุษย์และเทพเจ้า ช่วยให้มนุษย์สามารถสร้างและเรียนรู้ความรู้ทางจิตวิญญาณ ความจริงนิรันดร์ และการหลุดพ้น “โมกษะ[3]

หลักการทางสถาปัตยกรรมของโบสถ์พราหมณ์มีระบุไว้ในคัมภีร์ ศิลปศาสตร์ และ วาสตุศาสตร์[4][5]

ลักษณะที่แตกต่างกันของสถาปัตยกรรม

[แก้]

จอร์จ มิเชลล์ระบุว่าคัมภีร์เก่าแก่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของฮินดู เช่น พริหัตสัมหิตา (Brihatsamhita) แบ่งวัดออกดป็นห้าระดับตามลักษณะทั่วไป คือ แบบนครา, ทราวิฑา, เวสรา, วงรี และ สี่เหลี่ยม แปลนการสร้างก็แบ่งย่อยออกเป็นทั้งแบบจตุรัส, แปดเหลี่ยม และ ทรงมุขโค้งด้านสกัด ในแต่ละสถาปัตยกรรมมีการสร้างคำศัพท์ต่าง ๆ ขึ้นเป็นของตน บางคำก็ทับซ้อนกันแต่อาจไม่ได้หมายถึงหรือเทียบเทียงกับสิ่งเดียวกันในอีกสถาปัตยกรรม[6] หากแบ่งตามช่วงเวลา แบบคลาสสิก (จนถึงราวศตวรรษที่ 7-8) คือแบบที่เก่าแก่ที่สุด, บ้างเรียกยุคศตวรรษที่ 12-13 ว่าเป็นแบบยุคกลาง

นอกจากแนวคิดทางศาสนา ปรัมปรา และคัมภีร์แล้ว สถาปัตยกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นผลจากนวัตกรรมพื้นถิ่น วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และภูมิอากาศ[7] อาจมีพบวัสดุบางชนิดที่นำเข้ามาจากพื้นที่อื่น แต่ส่วนใหญ่ก็สร้างจากวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ ในบางพื้นที่เช่นกรนาฏกะใต้พบหินจำพวกอ่อน ทำให้สถาปัตยกรรมแบบฮอยศาลามีลักษณะที่ยากจะใช้หินแข็งพวกคริสตัลลีนมาสร้าง[7] บางพื้นที่ก็มีการแกะสลักเข้าไปในภูเขาหินด้วยพื้นที่ที่มีภูมิลักษณะเอื้ออำนวย ในบางพื้นที่ที่ไม่สามารถพบหินสำหรับก่อสร้างได้ทั่วไปก็เกิดการพัฒนาอิฐมาใช้ในการสร้างจำนวนมาก วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นจึงมีผลมากต่อการพัฒนาลักษณะสถาปัตยกรรมเฉพาะของแต่ละแหล่ง[7]

สถาปัตยกรรมทราวิฑและสถาปัตยกรรมนคร

[แก้]

ในบรรดาสถาปัตยกรรมที่แตกต่างในอินเดีย สถาปัตยกรรมสองแบบที่พบได้ทั่วไปที่สุดคือ “สถาปัตยกรรมแบบนคร” หรือแบบอินเดียเหนือ และ “สถาปัตยกรรมทราวิฑ” หรือแบบอินเดียใต้[8]

องค์ประกอบ สถาปัตยกรรมนคร[9] สถาปัตยกรรมทราวิฑ[10][11] อ้างอิง
ยอดหอคอยหลักของวัด ศิขร วิมานซึ่งอาจมีหลายชั้น มีศิขรอยู่ด้านบน [12]
ยอดมณฑป ใช่ ไม่ [13]
ห้องบูชาภายใน ชั้นเดียวหรือหลายชั้น ทั่วไปแล้วชั้นเดียว (แต่วิมานอาจมีหลายชั้น) [14]
โคปุระ ไม่โดดเด่น โดดเด่น แต่ไม่ได้บังคับ โดยทั้วไปแล้วสูงกว่าวิมานในราวหลังศตวรรษที่ 10

สถาปัตยกรรมกลิงคะ

[แก้]

รูปแบบกลิงคะพบได้มากในแถบโอฑิศาและอานธรประเทศเหนือ รูปแบบนี้มีอยู่สามประเภทย่อยที่สำคัญ คือ เรขเทวลา (Rekha Deula), ปีธเทวลา (Pidha Deula) และ ขขรเทวลา (Khakhara Deula) โดยคำว่าเทวลาหมายถึงเทวาลัยในภาษาโอเดีย สองแบบแรกเกี่ยวเนื่องกับพระวิษณุ, พระสูรยะ และ พระศิวะ ส่วนแบบที่สามมักเกี่ยวกับพระจมุนทะ และ พระทุรคา

ตัวอย่างสำคัญของเรขเทวลา คือ ลิงคราชเทวาลัยในภุพเนศวร และ ชคันนาถเทวาลัยแห่งปุรี ขขรเทวลาที่สำคัญ เช่น ไวฏลเทวลา ส่วนอาคารมุขศาลาของโกณารกสูรยมนเทียรเป็นตัวอย่างสำคัญของปีธเทวลา

อภิธานศัพท์

[แก้]

นี่คือตัวอย่างคำศัพท์เฉพาะที่พบในสถาปัตยกรรมโบสถ์ฮินดู[15]

คำสัพท์ คำอธิบาย คำใกล้เคียง เอกสารฮินดูที่
พูดถึง หรือ ระบุกฏการสร้าง
อ้างอิง ภาพ
อทิสถาน ฐานใต้เสา, plinth, ฐานซึ่งตั้งอาคารหรือเสาของวัด Athavaksham, ปิสตา, Pitha Manasara XIV, Kamikagama 35, Suprabhedagama 31 [16]
อมลัก มงกุฏยอดประดับบนยอดของศิขร รองรับกลศะ

ลักษณะคล้ายกับผลมะขามป้อม (อมโลก)

Mayamata silpasastra [16][17]
อันตรละ แปลตรงตัวว่า ช่องว่างภายในอาคาร เป็นพื้นที่มัธยันตร์ที่อยู่ระหว่างห้องบูชาและบริเวณจุดรวมตัวของสาธุขน สุขนสี (Sukhanasi) Manasara XV, XXIII; Kamikagama XXXV [16][17]
อรรธมณฑป โถงครึ่งหนึ่งที่ทางเข้าแต่ละทางเข้า โดยทั่วไปเป็นบริวเณต้อนรับที่เชื่อมต่อเข้ากับมณฑป Manasara XIV, Kamikagama 35, Suprabhedagama 31 [16]
อายาตนะ โถงรวมพล, พื้นที่ภายในวิหาร Agni Purana XLIII, Matsya Purana CCLXX, Chandogya Upanishad 6.8.2 [18]
ภัทระ ภาพฉายที่มักจะตรงกับหนึ่งในทิศหลัก โดยทั่วไปแล้วเป็นส่วนตรงกลางของผนัง Manasara XXX-XXXIV [16]
คณะ คนแคระตามตำนานมักมีท้องพลุ้ยและมีสีหน้าสนุกสนาน [19]
ครรภคฤห์ ห้องภายในสุดที่ประดิษฐานมูรติ ส่วนใหญ่ภายในไม่มีการประดับตกแต่ง ครรภคฤยะ, ครรภคีหะ, สิพิกะ, ครรภะ, มูลสถาน Brihat Samhita LXI [15]
ควากษะ แม่ลายบนซุ้มโค้งลักษณะคล้ายเกือกม้า พบกับหน้าต่างหรือตกแต่งยอดหอ เสา และองคืประกอบอื่น ๆ Gavaksa, kudu [20][21]
โคปุระ ซุ้มประตู พบขนาดใหญ่ในอินเดียใต้ มีที่มาจากอาศรมอินเดียโบราณและคำยุคพระเวท “โคมาติปุระ”[22] โคปุรัม, ทวารอัตตลัก Agni Purana XLII, Manasara XI, XXXIII verses 1-601, LVIII [23][24]
หระ ชิ้นส่วนคอ เช่น สร้อย [25]
ชาฬี ตะแกรงตาข่าย ชลา, อินทรโกษถ์ [26]
ชคติ ฐานหล่อ ส่วนหนึ่งของระเบียงเพื่อยืนหรือเวียนเทียน ชคตะ, ปิฐิกา, ชคติปิฐิกา, กติ, วสุธา Samarangana-sutradhara LXVIII, Agni Purana XLII, Suprabhedagama 31.19 [16][27]
กลศะ ยอดบนสุดของหอคอยต่าง ๆ กลศัม, สถูปี, กุมุท, กลัศ Agni Purana CIV, Kamikagama 55 [19][28]
กุนทา พื้นนำในอาราม, บ่อน้ำขั้นบันได, บ่อน้ำ ปุษกรณี, สระ, สาคร, ตทัค, อุทปานะ, วาระ, วาปี Garuda Purana XLVI, Mahanirvana tantra XIII [29]
ละตะ พืชเถาเลื้อย พบในศิขรเช่นกัน [30]
มกร มังกรตามคติอินเดีย Suprabhedagama 31.68-72 [31]
มณฑป ศาลาที่ล้อมด้วยเสาต่าง ๆ ใช้ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน มัณฑปัม, มันตปะ, ชคโมหัน Manasara XXXII-XXXIV, Kamikagama 50, Brihat samhita, Vishnu Purana 6.124-136 [32][23][33]
มูลประสาท ศาลเจ้าหลักในหมู่โบสถ์ [32]
นิศา เวิ้งหรือโพรงในกำแพงหรือเสา ไว้ตั้งรูปปั้นหรืออื่น ๆ [34]
ญสะ ศิลปะแห่งการจัดวางภาพ ลายสลัก เพื่อให้เกิดการจัดวางที่ล่าเรื่องหรือเป็นไปตามปรัมปรา Vastusutra Upanishad VI [34][35]
ปราการ ผนังที่แยกพื้นที่ด้านในและด้านนอกของโบสถ์พราหมณ์ออกจากกัน โดยทั่วไปมีลักษณะแข็งแรงและป้องกันตนเอง [36][37]
ปรัสตร โครงสร้างขนาดใหญ่ระหว่างบนเสาหรือชายคาในแนวนอน บางครั้งทำหน้าที่เป็นเชิงเทินของเสน ไจว, โคปานัม, กโปตัม, มันจาม Manasara XVI, ; Kamikagama LIV [38][39][40]
รัถ โครงสร้างคล้ายล้อรถ [41]

อ้างอิง

[แก้]
  1. These are the usual terms, but there are many variants or different ones in the many Indian languages, ancient and modern.
  2. 2.0 2.1 Stella Kramrisch, The Hindu Temple, Vol 1, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0222-3
  3. George Michell 1988, pp. 60–61.
  4. Jack Hebner (2010), Architecture of the Vastu Sastra - According to Sacred Science, in Science of the Sacred (Editor: David Osborn), ISBN 978-0557277247, pp 85-92; N Lahiri (1996), Archaeological landscapes and textual images: a study of the sacred geography of late medieval Ballabgarh, World Archaeology, 28(2), pp 244-264
  5. BB Dutt (1925), Town planning in Ancient India ที่กูเกิล หนังสือ, ISBN 978-81-8205-487-5
  6. George Michell 1988, p. 88.
  7. 7.0 7.1 7.2 George Michell 1988, p. 88-89.
  8. Hardy (1995), 5; Michell (1988), 88-89
  9. Madhusudan A. Dhaky (1977). The Indian Temple Forms in Karṇāṭa Inscriptions and Architecture. Abhinav Publications. pp. 7–13. ISBN 978-81-7017-065-5.
  10. Hardy (1995), 5-8
  11. Madhusudan A. Dhaky (1977). The Indian Temple Forms in Karṇāṭa Inscriptions and Architecture. Abhinav Publications. pp. 14–19. ISBN 978-81-7017-065-5.
  12. Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 68-70, 74-75.
  13. Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 68-70.
  14. Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 66-70.
  15. 15.0 15.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-02. สืบค้นเมื่อ 2019-10-14.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 Adam Hardy 1995, p. 387.
  17. 17.0 17.1 Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 283.
  18. Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 59–60.
  19. 19.0 19.1 Adam Hardy 1995, p. 388.
  20. Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 73-80.
  21. George Michell 2000, pp. 39–44.
  22. Prasanna Kumar Acharya 2010, p. 157.
  23. 23.0 23.1 Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 284.
  24. Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 157–161.
  25. Alice Boner & Sadāśiva Rath Śarmā 2005, p. 147.
  26. Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 68, 190.
  27. Stella Kramrisch 1976, p. 145 with footnote 44.
  28. Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 108–109.
  29. Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 74, 162, 192, 312, 454.
  30. Alice Boner & Sadāśiva Rath Śarmā 2005, p. 151.
  31. Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 219, 389.
  32. 32.0 32.1 Adam Hardy 1995, p. 389.
  33. Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 468–489, 513.
  34. 34.0 34.1 Alice Boner & Sadāśiva Rath Śarmā 2005, p. 154.
  35. Alice Boner; Sadāśiva Rath Śarmā; Bettina Bäumer (1996). The essence of form in sacred art. Motilal Banarsidass. pp. 79–99. ISBN 978-81-208-0090-8.
  36. Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, p. 285.
  37. O. M. Starza (1993). The Jagannatha Temple at Puri: Its Architecture, Art, and Cult. BRILL Academic. pp. 20–21. ISBN 978-90-04-09673-8.
  38. Adam Hardy 1995, p. 82, 390.
  39. Vinayak Bharne & Krupali Krusche 2014, pp. 112, 126–130, 149–152, 280.
  40. Prasanna Kumar Acharya 2010, pp. 328–336.
  41. Harle, 153, 252

บรรณานุกรม

[แก้]