รามชนมภูมิ
รามชนมภูมิ (สันสกฤต: राम जन्मभूमि; แปลว่า ที่ประสูติของพระราม) เป็นสถานที่ที่สันนิษฐานว่าเป็นที่ประสูติของพระราม อวตารองค์ที่เจ็ดของพระวิษณุ ในรามายณะระบุว่าที่ประสูติของพระรามอยู่บนฝั่งแม่น้ำสรยู ในนคร "อโยธยา" เชื่อกันว่าคืออโยธยา ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดีย
ชาวฮินดูบางส่วนอ้างว่าชนมภูมิของพระรามอยู่ที่อโยธยาในรัฐอุตตรประเทศ ตรงจุดที่เป็นที่ตั้งของมัสยิดบาบรีในอดีตโดยแน่นอน[1] ทฤษฎีดังกล่าวเชื่อว่า จักรวรรดิโมกุลได้ทุบทำลายวิหารในศาสนาฮินดูที่ตั้งอยู่ตรงจุดที่เป็นชนมภูมิของพระรามพอดี และสร้างมัสยิดขึ้นแทนที่ ผู้ที่ปฏิเสธทฤษฎีนี้ระบุว่าคำกล่าวอ้างดังกล่าวปรากฏขึ้นครั้งแรกในศตวรรษที่ 18 และไม่มีหลักฐานยืนยันว่า ณ จุดตรงนั้เป็นชนมภูมิของพระรามจริง ๆ สถานที่อื่น ๆ ทั้งในอินเดียส่วนอื่น, ในเนปาล และอัฟกานิสถาน ล้วนเคยมีผู้เสนอว่าเป็นชนมภูมิที่เป็นไปได้ของพระราม ข้อถกเถียงกรณีดังกล่าวเรียกว่า กรณีพิพาทอโยธยา ซึ่งมีทั้งแง่มุมทางการเมือง ประวัติศาสตร์ และสังคมกับศาสนา โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ว่าที่ตั้งของมัสยิดบาบรี และวิหารฮินดูที่มีอยู่ก่อนหน้า แท้จริงแล้วเป็นชนมภูมิแท้จริงของพระรามหรือไม่
ในปี 1992 เหตุการณ์การทุบทำลายมัสยิดบาบรีโดยกลุ่มชาตินิยมฮินดูกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงขึ้นระหว่างชุมชนชาวฮินดูกับมุสลิมไปทั่ว ข้อพิพาททางกฎหมายของมัสยิดได้ถูกตัดสินโดยศาลสูงสุดอินเดียระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม 2019[2][3] โดยคำตัดสินสุดท้ายมีคำสั่งให้ส่งมอบที่ดินดังกล่าวแก่ทรัสต์ชาวฮินดูเพื่อใช้ในการสร้างศาสนสถานของฮินดูขึ้น[4]
ที่ตั้งของมัสยิดบาบรี
[แก้]รามายณะ มหากาพย์ของฮินดูซึ่งมีส่วนที่เก่าแก่ที่สุดอายุย้อนไปถึง 1000 ปีก่อนคริสต์กาล ระบุว่าราชธานีของพระรามคือกรุงอโยธยา[5] ตามความเชื่อฮินดูพื้นถิ่น ที่ตั้งของอดีตมัสยิดบาบรีในอโยธยาซึ่งได้ถูกทำลายไปแล้วนั้น เป็นจุดที่เป็นที่ประสูติของพระรามพอดี เชื่อว่ามัสยิดบาบรีก่อสร้างขึ้นในปี 1528–29 โดยบุคคลนามว่า 'มีร์ บากี' (Mir Baqi; เป็นไปได้ว่าคือ บากี ตัชกันดี) ผู้นำทัพในรัชสมัยของจักรพรรดิบาบูร์ (ค.1526–1530) แห่งโมกุล[6] อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์พบว่าหลักฐานเชิงประวัติศาสตร์ของความเชื่อเหล่านี้มีอยู่น้อยมาก[7]
นักบวชมิชชันนารีคณะเยสุอิต โยเซฟ ทีเฟนทาเลอร์ เดินทางไปที่มัสยิดบาบรีระหว่างปี 1766 ถึง 1771 และบันทึกไว้ว่า ไม่จักรพรรดิออรังเซพ (ค.1658–1707) ก็ จักรพรรดิบาบูร์ ได้ทุบทำลายป้อมปราการรามโกฏซึ่งรวมถึงวิหารที่ชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระราม มัสยิดหลังหนึ่งได้ถูกสร้างขึ้นมาแทนที่วิหารนั้น แต่ชาวฮินดูก็ยังคงทำพิธีสวดภาวนาบนแท่นดินเหนียวที่ระบุจุดที่เป็นสถานที่ประสูติของพระราม[8] ก่อนถึงทศวรรษ 1940s มัสยิดมีชื่อว่า มสายีดีชนมสถาน (Masjid-i-Janmasthan; มัสยิดแห่งสถานที่ประสูติ) ดังที่ปรากฏในเอกสารทางการ[9]
ข้อคัดค้าน
[แก้]นักประวัติศาสตร์บางส่วน เช่น อาร์ เอส ชาร์มา ระบุว่าข้อกล่าวอ้างว่ามัสยิดบาบรีเป็นจุดที่เป็นชนมภูมิของพระรามนั้นเริ่มมีขึ้นหลังจากศตวรรษที่ 18[8] และระบุว่าอโยธยาเป็นจุดหมายปลายทางแสวงบุญของชาวฮินดูย้อนไปได้ถึงยุคกลาง และไม่ปรากฏในคัมภีร์ใด ๆ ว่าเป็นศูนย์กลางของการแสวงบุญ ยกตัวอย่างเช่น บทที่ 85 ของวิษณุสมิรตี ระบุรายชื่อสถานที่แสวงบุญ 52 แห่งซึ่งไม่มีชื่อของอโยธยา[10][5]
นักวิจารณ์จำนวนมากยังอ้างว่าบริเวณที่เป็นอโยธยาในปัจจุบันเดิมทีเป็นพุทธศาสนสถาน ตามที่ระบุได้ตรงกับสาเกตในคัมภีร์พุทธ โรมิลา ฐาปัร ระบุว่าหากไม่ได้พิจารณาแหล่งข้อมูลเชิงปรัมปราวิทยาของฮินดูแล้ว การกล่าวถึงครั้งแรกของอโยธยาในประวัติศาสตร์นั้นย้อนไปได้ถึงศตวรรษที่ 7 โดยพระถังซำจั๋ง ซึ่งระบุว่าบริเวณนี้เป็นพุทธศาสนสถาน[11][12]: 25
สถานที่อื่น ๆ
[แก้]ผู้ที่ยึดถือว่าพระรามมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ระบุว่าพระรามประสูติก่อน 1,000 ปีก่อนคริสต์กาล กระนั้น การขุดค้นทางโบราณคดีที่อโยธยาไม่ปรากฏหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่เก่าแก่ถึงช่วงเวลานั้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้เสนอสถานที่อื่น ๆ อีกมากมายว่าอาจเป็นชนมภูมิของพระราม[5]
ในเดือนพฤศจิกายน 1990 จันทรเศขร นายกรัฐมนตรีซึ่งพึ่งได้รับการแต่งตั้งสู่ตำแหน่ง ได้พยายามที่จะแก้ไขกรณีพิพาทอโยธยาอย่างเป็นมิตรต่อทั้งสองฝ่าย โดยให้ทั้งชุมชนฮินดูและมุสลิมออกมาแลกเปลี่ยนข้อกล่าวอ้างของตนเหนือพื้นที่ของมัสยิดบาบรีในอโยธยา คณะผู้แทนฝั่งมุสลิมคือคณะกรรมการปฏิบัติงานมัสยิดบาบรี (Babri Masjid Action Committee; BMAC) ซึ่งรวมถึงอาร์ เอส ชาร์มา, ดี เอ็น ฌา, เอ็ม อถัร อะลี และ สุรัช ภัน คณะฝั่งมุสลิมได้นำเสนอหลักฐานที่เป็นบทความทางวิชาการและเสนอทฤษฎีทดแทนเกี่ยวกับชนมภูมิของพระรามที่อื่น ๆ แหล่งข้อมูลเหล่านี้ระบุชนมภูมิที่เป็นไปได้อื่น ๆ รวมแปดแห่งที่แตกต่างกัน ซึ่งรวมถึงสถานที่อื่นนอกอโยธยา ไปถึงในเนปาล และ อัฟกานิสถาน[13]
ในหนังสือตีพิมพ์ปี 1992 เล่ม Ancient geography of Ayodhya (ประวัติศาสตร์โบราณของอโยธยา) นักประวัติศาสตร์ ศยาม นารายัณ ปัณเฑ (Shyam Narain Pande) เสนอว่าพระรามประสูติในบริเวณที่ปัจจุบันคือนครเฮราต ในประเทศอัฟกานิสถาน[14] ในปี 1997 เขาได้เสนอทฤษฎีนี้ในเกสาร "Historical Rama distinguished from God Rama" ("พระรามในแง่ประวัติศาสตร์ กับพระรามในฐานะเทพเจ้า") ในการประชุมประวัติศาสตร์อินเดียใหญ่ครั้งที่ 58 (58th session of the Indian History Congress) ในเบงคาลูรุ ในปี 2000 ราเชศ โกฉัร (Rajesh Kochhar) ยังได้เสนอว่าชนมภูมิของพระรามอยู่ที่อัฟกานิสถานเช่นกัน ในหนังสือ The Vedic People: Their History and Geography ("ชาวพระเวท: ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์") ระบุว่าแม่น้ำฮารีอูดในอัฟกานิสถาน เป็นแม่น้ำ "สรายุ" ในรามายณะ ส่วนอโยธยาก็ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำนี้[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jain, Meenakshi (2017), The Battle for Rama – Case of the Temple at Ayodhya, Aryan Books International, ISBN 978-8-173-05579-9[ต้องการเลขหน้า]
- ↑ "Ayodhya dispute: The complex legal history of India's holy site". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2019. สืบค้นเมื่อ 16 October 2019.
- ↑ "Supreme Court hearing ends in Ayodhya dispute; orders reserved". Business Line. Press Trust of India. 2019-10-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18.
- ↑ "Ram Mandir verdict: Supreme Court verdict on Ram Janmabhoomi-Babri Masjid case". The Times of India. 2019-11-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-11-09.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Ram Sharan Sharma (2003). "The Ayodhya Issue". ใน Robert Layton and Julian Thomas (บ.ก.). Destruction and Conservation of Cultural Property. Routledge. pp. 127–137. ISBN 9781134604982.
- ↑ Noorani, A. G. (2003), The Babri Masjid Question, 1528–2003, Volume 1, Tulika Books, Introduction (p. xvii), ISBN 81-85229-78-3,
It asserts that the Mughal Emperor Babar's governor at Awadh, Mir Baqi Tashqandi, built the Babri Masjid (mosque) at Ayodhya ... The mosque was built in 1528 ...
- ↑ Kunal, Ayodhya Revisited (2016), Chapter 6.
- ↑ 8.0 8.1 Robert Layton and Julian Thomas (2003). Destruction and Conservation of Cultural Property. Routledge. pp. 2–9. ISBN 9781134604982.
- ↑ K. Jaishankar (2009). "Communal Violence and Terrorism in India: Issues and Introspections". ใน Yakov Gilinskiy; Thomas Albert Gilly; Vladimir Sergevnin (บ.ก.). The Ethics of Terrorism. Charles C Thomas. pp. 25–26. ISBN 9780398079956.
- ↑ Sikand, Yoginder (5 August 2006). "Ayodhya's Forgotten Muslim Past". Counter Currents. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2007. สืบค้นเมื่อ 12 January 2008.
- ↑ Thapar 2003, A historical perspective on the story of Rama
- ↑ Panikkar, K.N. (1991). "A Historical Overview". ใน Sarvepalli Gopal (บ.ก.). Anatomy of a Confrontation: The Babri Masjid-Ramjanmabhumi Issue. Penguin. pp. 22–37.
- ↑ Ram Sharan Sharma (1991). Ramjanmabhumi-Baburi Masjid: A Historians' Report to the Nation. People's Publishing House. ISBN 978-81-7007-138-9.
- ↑ Śyām Nārāyan Paṇde. Arihant International. 1992. pp. 25–43. ISBN 9788172770242.
- ↑ Review of The Vedic People: Their History and Geography เก็บถาวร 20 กันยายน 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Current Science. Volume 80, Issue 4. 25 February 2001. p. 584.
บรรณานุกรม
[แก้]- Jain, Meenakshi (2013). Rama and Ayodhya. New Delhi: Aryan Books. ISBN 978-8173054518.
- Kunal, Kishore (2016), Ayodhya Revisited, Prabhat Prakashan, ISBN 978-81-8430-357-5
- Narain, Harsh (1993). The Ayodhya Temple Mosque Dispute: Focus on Muslim Sources. Delhi: Penman Publishers. ISBN 978-8185504162.