ข้ามไปเนื้อหา

กรณีพิพาทอโยธยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ayodhya dispute)
แผนที่แสดงพื้นที่พิพาทอโยธยา

กรณีพิพาทอโยธยา เป็นประเด็นถกเถียงในเชิงรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมและศาสนาในประเทศอินเดีย อันเกี่ยวกับที่ดินหนึ่งในเมืองอโยธยา รัฐอุตตรประเทศ ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกี่ยวข้องกับการควบคุมพื้นที่ที่ชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระราม เทพเจ้าของฮินดู[1] การเป็นที่ตั้งในทางประวัติศาสตร์ของมัสยิดบาบรี และประเด็นถกเถียงว่าก่อนหน้าที่จะเป็นมัสยิดนั้นพื้นที่นี้เคยเป็นโบสถ์พราหมณ์มาก่อนหรือไม่

มัสยิดที่เคยตั้งอยู่บนที่ดินผืนนี้คือมัสยิดบาบรีที่ถูกทำลายระหว่างกิจกรรมการเมืองหนึ่งที่ท้ายที่สุดได้กลายเป็นการวิวาทอย่างรุนแรงในวันที่ 6 ธันวาคม 1992 ต่อมากรณีพิพาทถึงความเป็นเจ้าของของที่ดินผืนนี้ได้ถูกนำส่งเข้าตัดสินโดยศาลสูงอลาหาบาดที่ซึ่งออกคำตัดสินในวันที่ 30 กันยายน 2010 มีใจความว่า ผู้พิพากษาประจำศาลสูงอลาหาบาดสามคนได้ระบุให้ที่ดินขนาด 2.77 เอเคอร์ (1.12 เฮกตาร์) ที่เป็นปัญหานี้แบ่งออกเป็นสามส่วนเท่า ๆ กัน โดยส่วนแรกเป็นของฮินดูมหาสภาเพื่อใช้งานเกี่ยวกับความเชื่อที่เกี่ยวกับรามลัลล พระรามปางประสูติ, ส่วนที่สองเป็นของคณะกรรมการซุนนีวักฟ์ (Sunni Waqf Board), และส่วนสุดท้ายเป็นของนิรโมหีอขร นิกายหนึ่งของฮินดู ถึงแม้ผลการตัดสินของผู้พิพากษาทั้งสามคนจะไม่มีความเป็นเอกฉันท์ในตัวเองถึงกรณีว่ามัสยิดบาบรีนั้นสร้างขึ้นโดยการทำลายโบสถ์พราหมณ์หลังเดิมหรือไม่ แต่ได้มีข้อตกลงร่วมว่ามีโครงสร้างของโบสถ์พราหมณ์หลังเดิมที่เก่าแก่กว่ามัสยิดอยู่[2][3]

การสืบพยานหลักฐานโดยผู้พิพากษาห้าคนภายใต้ศาลสูงสุดอินเดียได้ดำเนินไปในเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม 2019[4][5] ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2019 ศาลสูงนำโดยหัวหน้าผู้พิพากษาศาลสูงสุดของอินเดีย ราชัน โกโกอี ได้ประกาศคำตัดสินใจความว่าได้ยกเลิกคำตัดสินเดิมเมื่อปี 2010 และให้ที่ดินตกเป็นของรัฐบาลโดยอ้างจากบันทึกการเสียภาษี[6] นอกจากนี้ยังมีคำสั่งให้มอบที่ดินนี้แก่คณะกรรมการเพื่อสร้างโบสถ์พราหมณ์ขึ้น และให้รัฐบาลมอบที่ดินขนาดห้าเอเคอร์ทดแทนให้กับคณะกรรมการซุนนีวักฟ์เพื่อสร้างมัสยิดขึ้นใหม่แทนในพื้นที่เดิม[7]

ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2020 รัฐบาลอินเดียได้ประกาศตั้งชื่อคณะกรรมการดูแลโบสถ์พราหมณ์ขึ้นในชื่อ ศรีรามชนมภูมิตีรถเกษตร และการก่อสร้างโบสถ์พราหมณ์ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 สิงหาคม 2020 โดยมีนายกรัฐมนตรีนเรนทระ โมทีเดินทางไปประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ร่วมกับโยคีอาทิตยนาถ ผู้ว่าการรัฐอุตตรประเทศ

ภูมิหลังทางศาสนา

[แก้]

ที่ดินที่ซึ่งมัสยิดที่สร้างขึ้นในยุคกลาง มัสยิดบาบรี เคยตั้งอยู่นั้นเป็นพื้นที่ที่ชาวฮินดูเชื่อตามขนบว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระราม เทพเจ้าในศาสนาฮินดู ประเด็นนี้ถือเป็นศูนย์กลางของกรณีพิพาทอโยธยาทั้งหมด[8]

รามชนมภูมิ (สถานที่ประสูติของพระราม)

[แก้]

พระรามทรงเป็นหนึ่งในเทพเจ้าฮินดูที่ได้รับการเคารพบูชาสูงที่สุด พระองค์ทรงเป็นอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ[9] มหากาพย์รามายณะระบุว่าพระรามประสูติในอโยธยา แก่พระนางเกาศัลยา (หรือพระนางเกาสุริยาในฉบับไทย) และ พระเจ้าทศรถ[10]

ในคัมภีร์ครุฑปุราณะระบุว่าอโยธยาเป็นหนึ่งในเจ็ดสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่บุคคลหนึ่งสามารถเข้าถึงโมกษะได้ เพื่อหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด[11]

มัสยิดบาบรี (มัสยิดของจักรพรรดิบาบูร์)

[แก้]

จักรพรรดิบาบูร์ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโมกุล เชื่อกันว่าหนึ่งในนายพลของจักรวรรดิ มีร์บากี ได้สร้างมัสยิดบาบรี ("มัสยิดของจักรพรรดิบาบูร์") ขึ้นในปี 1528 ตามพระกระแสรับสั่ง[12] นักสำรวจของบริษัทอีสต์อินเดีย ฟรานซิส บูชานานรายงานว่าเขาพบจารึกบนผนังมัสยิดระบุไว้ดังที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากนี้เขายังบันทึกคำบอกเล่าของชาวท้องถิ่นที่เชื่อกันว่ามัสยิดนี้สร้างขึ้นโดยจักรพรรดิออรังเซบ (ค. 1658 – 1707) หลังทรงทำลายโบสถ์พระรามที่เคยตั้งอยู่เดิม[13][14]

เอกสารเก่าแก่ที่สุดที่บันทึกการมีอยู่ของมัสยิดนั้นเป็นบันทึกของชัย สิงห์ที่สอง ขุนนางราชปุตในราชสำนักโมกึล ผู้ซึ่งซื้อที่ดินของมัสยิดและที่ดินโดยรอบในปี 1717 ในเอกสารของเขาได้ระบุถึงอาคารของมัสยิดที่มีสามโดม ที่กลับระบุว่าเป็น "สถานที่ประสูติ" (ฉถี; chhathi) ในพื้นที่ด้านหน้ายังพบ "แท่นบูชา" (จพุตร; chabutra) ที่ซึ่งพบศาสนิกชนเข้ามาประกอบพิธีกรรมบูชา[15] รายละเอียดทั้งหมดได้รับการยืนยันโดยนักบวชเยซูอิต Joseph Tieffenthaler ในครึ่งศตวรรษถัดมา[16] Tieffenthaler ยังระบุต่ออีกว่า "ที่เห็น [มีการบูชาโดยชาวฮินดูอยู่ด้วยนี้] ด้วยเมื่อครั้งหนึ่งในอดีตกาลเคยเป็นที่ที่พระเพสจัน (Beschan) [หมายถึงพระวิษณุ] ได้ประสูติในปางอวตารเป็นพระราม"[17]

ทั้งชาวฮินดูและมุสลิมได้มีการระบุไว้ว่าล้วนเข้ามาประกอบพิธีกรรมใน "มัสยิด-มนเทียร" (mosque-temple) นี้ โดยชาวมุสลิมประกอบพิธีในมัสยิด และชาวฮินดูอยู่นอกมัสยิดแต่ยังอยู่ในที่ดิน หลังอินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของบริเตน รัฐบาลบริเตนได้แบ่งพื้นที่ทั้งสองออกจากกันเพื่อป้งอกันการวิวาทกัน[18] ในปี 1949 ภายหลังอินเดียได้รับเอกราช ได้มีคนนำเทวรูปของพระรามไปประดิษฐานภายในมัสยิด อันเป็นฉนวนให้เกิดการวิวาทตามมา[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jain, Rama and Ayodhya (2013), p. 121; Kunal, Ayodhya Revisited (2016), pp. xvi, 135–136; Layton & Thomas, Destruction and Conservation (2003), pp. 8–9
  2. "Ayodhya dispute: The complex legal history of India's holy site". BBC News. 16 October 2019. สืบค้นเมื่อ 16 October 2019.
  3. Gist of Judgements by Justices S. U. Khan, Sudhir Agarwal and Dharam Veer Sharma, Allahabad High Court, 6 October 2010
  4. "Ayodhya dispute: The complex legal history of India's holy site". BBC News. 16 October 2019. สืบค้นเมื่อ 16 October 2019.
  5. "Supreme Court hearing ends in Ayodhya dispute; orders reserved". The Hindu Business Line. Press Trust of India. 2019-10-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-18.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Ayodhya verdict: Supreme Court dismisses Shia Waqf Board's appeal, says land belongs to govt". India Today. 9 November 2019.
  7. "Ram Mandir verdict: Supreme Court verdict on Ram Janmabhoomi-Babri Masjid case". The Times of India. 2019-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-11-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "Timeline: Ayodhya holy site crisis". BBC News. 6 December 2012.
  9. "Rama | Hindu deity". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 February 2019.
  10. "King Dasaratha's four sons". bl.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-07. สืบค้นเมื่อ 2 February 2019.
  11. Kramrisch, Stella (1976). The Hindu Temple, Volume 1. Motilal Banarsidass. p. 3. ISBN 9788120802230.
  12. Flint, Colin (2004). The Geography of War and Peace: From Death Camps to Diplomats. Oxford University Press. ISBN 9780195347517.
  13. Layton & Thomas, Destruction and Conservation of Cultural Property (2003), pp. 8–9.
  14. Kunal, Ayodhya Revisited (2016), Chapter 5.
  15. Jain, Rama and Ayodhya (2013), pp. 114–115.
  16. Jain, Rama and Ayodhya (2013), p. 116.
  17. Kunal, Ayodhya Revisited (2016), pp. xvi.
  18. van der Veer, Ayodhya and Somnath (1992), pp. 97–98, footnote 25.
  19. "Tracing The History Of Babri Masjid". Outlook. 1 December 2017.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]