ราชอาณาจักรลิทัวเนีย (ค.ศ. 1918)
ราชอาณาจักรลิทัวเนีย | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1918 | |||||||||||||||
แผนที่ราชอาณาจักรลิทัวเนีย (1918) | |||||||||||||||
สถานะ | รัฐบริวารของจักรวรรดิเยอรมัน | ||||||||||||||
เมืองหลวง | วิลนีอัส | ||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ลิทัวเนีย โปแลนด์ เบลารุส รัสเซีย | ||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | ||||||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||||||
• 1918 | มินกัวดาร์ที่ 2 | ||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | สภาแห่งลิทัวเนีย | ||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง | ||||||||||||||
18 กันยายน 1917 | |||||||||||||||
16 กุมภาพันธ์ 1918 | |||||||||||||||
3 มีนาคม 1918 | |||||||||||||||
• การยอมรับจากเยอรมนี | 23 มีนาคม 1918 | ||||||||||||||
• เลือกตั้งพระประมุข | 11 กรกฎาคม 1918 | ||||||||||||||
• สละราชสมบัติ | 2 พฤศจิกายน 1918 | ||||||||||||||
9 พฤศจิกายน 1918 | |||||||||||||||
|
ราชอาณาจักรลิทัวเนีย เป็นรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่ดำรงอยู่เป็นเวลาสั้น ๆ ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อลิทัวเนียตกอยู่ภายใต้การยึดครองของจักรวรรดิเยอรมัน สภาแห่งลิทัวเนียได้ประกาศอิสรภาพแก่ลิทัวเนีย เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 1918 แต่ถึงกระนั้น สภาแห่งลิทัวเนียก็ไม่สามารถที่จะจัดตั้งรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐได้เลย เนื่องจากลิทัวเนียมีทหารเยอรมันประจำการอยู่ เยอรมนีได้ยื่นข้อเสนอต่าง ๆ เพื่อต้องการรวมลิทัวเนียให้เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนดินแดนปรัสเซีย ชาวลิทัวเนียต่างไม่เห็นด้วยและต่อต้านข้อเสนอนี้ โดยหวังที่จะรักษาความเป็นอิสรภาพของตนไว้ จึงได้มีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่แยกออกมาจากจักรวรรดิเยอรมันอย่างชัดเจน และมีการลงคะแนนเสียงเลือกพระประมุขแห่งลิทัวเนียเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 1918 โดยผู้ที่ได้รับเลือกคือ เจ้าชายวิลเฮ็ล์ม คาร์ล ดยุกแห่งอูลรัล ซึ่งพระองค์ได้ยอมรับคะแนนเสียงนี้และสถาปนาพระนามใหม่ว่า "สมเด็จพระราชาธิบดีมินกัวดาร์ที่ 2" ในเดือนกรกฎาคม 1918 อย่างไรก็ตาม พระองค์ก็ไม่เคยเสด็จเยือนลิทัวเนียเลยสักครั้ง ส่งผลให้การลงคะแนนเสียงเลือกพระองค์ได้เกิดข้อถกเถียงมากมายในสภาและไม่บรรลุผลตามที่ต้องการ ประกอบกับในเวลาเดียวกัน จักรวรรดิเยอรมันได้พ่ายแพ้ในสงครามและล่มสลายลงจากการปฏิวัติเยอรมัน ทางลิทัวเนียจึงได้ประกาศให้การลงคะแนนเสียงเลือกพระประมุขเป็นโมฆะเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 1918 ถือเป็นการสิ้นสุดการครองราชย์ของพระเจ้ามินกัวดาร์
บรรณานุกรม
[แก้]- Čepėnas, Pranas (1986). Naujųjų laikų Lietuvos istorija (ภาษาลิทัวเนีย). Vol. II. Chicago: Dr. Griniaus fondas. ISBN 5-89957-012-1.
- Eidintas, Alfonsas; Žalys, Vytautas; Senn, Alfred Erich (1999). Edvardas Tuskenis (บ.ก.). Lithuania in European Politics: The Years of the First Republic, 1918-1940. New York: St. Martin's Press. ISBN 0-312-22458-3.
- Janužytė, Audronė (2007). "Lietuvių istorikų politikų valstybingumo samprata (1907–1918 m.)". Istorija. Lietuvos aukštųjų mokyklų mokslo darbai (ภาษาลิทัวเนีย). 65. ISSN 1392-0456. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2017-10-20.
- Liulevicius, Vejas G. (2000). War land on the Eastern Front: culture, national identity and German occupation in World War I. Studies in the social and cultural history of modern warfare. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-66157-7.
- Maksimaitis, Mindaugas (2005). Lietuvos valstybės konstitucijų istorija (XX a. pirmoji pusė) (ภาษาลิทัวเนีย). Vilnius: Justitia. ISBN 9955-616-09-1.
- Page, Stanley W. (1959). The Formation of the Baltic States. Harvard University Press. OCLC 491526167.
- Paleckis, Mindaugas (2006-10-24). "Karališkojo kraujo paieškos: Lietuva ir šimto dienų karalius" (ภาษาลิทัวเนีย). Bernardinai.lt.
- Senn, Alfred Erich (1975) [1959]. The Emergence of Modern Lithuania. Greenwood Press. ISBN 0-8371-7780-4.
- Skirius, Juozas (2002). "Vokietija ir Lietuvos nepriklausomybė". Gimtoji istorija. Nuo 7 iki 12 klasės (ภาษาลิทัวเนีย). Vilnius: Elektroninės leidybos namai. ISBN 9986-9216-9-4. สืบค้นเมื่อ 2010-04-17.
- Sužiedėlis, Simas, บ.ก. (1970–1978). "Council of Lithuania". Encyclopedia Lituanica. Vol. I. Boston, Massachusetts: Juozas Kapočius. LCC 74-114275.
- Tuska, Liudas (1995). "Antanas Smetona". Lietuvos Respublikos prezidentai (ภาษาลิทัวเนีย). Valstybinis leidybos centras. ISBN 9986-09-055-5.