ข้ามไปเนื้อหา

รัฐร่วมประมุข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ราชอาณาจักรร่วมประมุข)
ภาพเขียนฉลองรัฐร่วมประมุขระหว่างโปแลนด์และลิทัวเนียเป็นสหราชอาณาจักรโปแลนด์-ลิทัวเนีย

รัฐร่วมประมุข หรือ การรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักร (อังกฤษ: personal union) เป็นการรวมรัฐอิสระมากกว่าสองรัฐขึ้นไปภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน ในขณะที่พรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายของอาณาจักรในกลุ่มยังคงเป็นตัวของตัวเอง[1][2] สหราชไม่ใช่ “สหพันธรัฐ” (federation) ที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหลายรัฐที่รวมเข้ามาเป็นรัฐเดียวกันและมีพรมแดน, กฎหมาย และ นโยบายส่วนใหญ่ร่วมกัน หรือ “สหราชวงศ์” (dynastic union) ซึ่งหมายถึงการรวมภายใต้ราชวงศ์เดียวกัน แต่กระนั้นความหมายระหว่าง “สหราช” และ “สหพันธรัฐ” ก็มีความเกี่ยวพันกัน และ “สหราช” มักจะวิวัฒนาการมาเป็น “สหพันธรัฐ”

การรวมตัวกันเป็น “สหราช” อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุผลหลายประการตั้งแต่การเกิดขึ้นโดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันเช่นการเสกสมรสระหว่าง “สมเด็จพระราชินีนาถ” (queen regnant) ของราชอาณาจักรหนึ่ง กับ พระมหากษัตริย์ของอีกราชอาณาจักรหนึ่ง ซึ่งทำให้พระราชโอรสของทั้งสองพระองค์ก็จะได้รับราชบังลังก์ของทั้งสองราชอาณาจักร ไปจนถึงการผนวกดินแดน การรวมตัวกันอาจจะเป็นตามบทบัญญัติทางกฎหมาย เช่นการผ่านพระราชบัญญัติในรัฐสภาระบุการรวมตัวกัน หรืออาจจะโดยพฤตินัยซึ่งง่ายต่อการแยกตัวกลับไปเป็นอาณาจักรเดิม เช่นในกรณีที่เกิดขึ้นหลังจากการเสด็จสวรรคตของกษัตริย์ของบรรดาอาณาจักรร่วมที่มีระบบการสืบสันตติวงศ์ที่ต่างกัน

“สหราช” ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบราชาธิปไตยเท่านั้น และบางครั้งก็จะใช้คำว่า “สหราชาธิปไตย” (dual monarchy) ในการแสดงแสดงว่าเป็นการรวมอาณาจักรของสองราชบัลลังก์

รายการข้างล่างแสดงให้เห็นถึงรายระเอียดของการรวมเป็นสหราชอาณาจักรตลอดมาในประวัติศาสตร์ ยกเว้นแต่ในกรณีของราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของเครือจักรภพบริติชเช่นออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และแคนาดา[3] ซึ่งไม่ใช่การรวมเป็นสหราชอาณาจักรของโลกยุคปัจจุบัน[2]

นอกจากนั้นคำว่า “การรวมสหอำนาจ” ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้โดยนาซีเยอรมนีในการรวมตำแหน่งระดับสูงในพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน[4] เครื่องมือทางการเมืองเดียวกันนี้นำมาใช้โดยรัฐบาลอื่นๆ เช่นสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งคล้ายกันกับ “ผู้ได้รับการแต่งตั้ง” (persona designata) ที่เป็นระบบที่เจ้าหน้าที่ทางศาลสามารถแต่งตั้งให้ผู้ไม่มีหน้าที่ทางศาลมีความรับผิดชอบในหน้าที่กึ่งเกี่ยวกับระบบยุติธรรมภายใต้ระบบคอมมอนลอว์

อันดอร์รา

[แก้]

อันดอร์รากึ่งรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรและต่อมาสหอำนาจกับฝรั่งเศสมาตั้งแต่ ค.ศ. 1607 (พระมหากษัตริย์และต่อมาประธานาธิบดีฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประมุขของอันดอร์รา ประมุขอีกองค์หนึ่งคือพระสังฆราชของสังฆมณฑลอัวร์เกลล์ของกาตาลุญญาในสเปน)

อารากอน

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1162 พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 1 แห่งอารากอนเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกที่ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระมหากษัตริย์แห่งอารากอนและเคานท์แห่งบาร์เซโลนา” ผู้ปกครองดินแดนที่ต่อมาเป็น “ราชบัลลังก์อารากอน” (Crown of Aragon) ซึ่งไม่ใช่ราชอาณาจักรอารากอน (Kingdom of Aragon) ต่อมาพระเจ้าไชเมที่ 1 แห่งอารากอนก็ทรงก่อตั้งและเพิ่มเติมราชอาณาจักรบาเลนเซียเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของราชบัลลังก์อารากอน และต่อมาชาร์ลส์แห่งเก้นท์หรือพระเจ้าคาร์ลที่ 1 แห่งสเปน หรือ สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ก็รวมอารากอนและคาสตีลที่เป็น “รัฐร่วมประมุข” ที่ต่อมากลายมาเป็นสเปน

อยุธยา

[แก้]

ในปี พ.ศ. 1921 (ค.ศ. 1378) อาณาจักรอยุธยารุกรานอาณาจักรสุโขทัยและผนวกเข้าเป็นรัฐบริวารของตน หลังจากที่พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1981 (ค.ศ. 1446) โดยปราศจากรัชทายาท สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ทรงส่งพระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 1991 (ค.ศ. 1448) พระราเมศวรได้ขึ้นสืบราชสมบัติต่อจากพระบิดาเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยานามว่า "สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ" ทำให้ทั้งสองอาณาจักรถูกรวมเข้าไว้ใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน ในด้านการปกครอง ทั้งสองอาณาจักรยังคงดำรงรัฐบาลของตนแยกออกจากกัน โดยรัฐบาลกรุงสุโขทัย ณ เมืองพิษณุโลก มีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นกับรัฐบาลกรุงศรีอยุธยาตลอดช่วงรัชกาลของพระบรมไตรโลกนาถ และหลังจากที่พระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2031 (ค.ศ. 1488) อาณาจักรจึงถูกแบ่งออกอีกครั้งโดยสมเด็จพระบรมราชาปกครองอาณาจักรอยุธยา ส่วนสมเด็จพระเชษฐาธิราชปกครองอาณาจักรสุโขทัย และหลังจากสมเด็จพระบรมราชาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2034 (ค.ศ. 1491) สมเด็จพระเชษฐาธิราชจึงรับมรดกในฐานะรัฐร่วมประมุขอีกครั้ง

ภายหลังที่กรุงสุโขทัยถูกกรุงหงสาวดีตีแตกและกลายเป็นรัฐบริวารของพม่าในปี พ.ศ. 2106 (ค.ศ. 1563) พระเจ้าบุเรงนองทรงแต่งตั้งขุนพิเรนทรเทพในขณะนั้นขึ้นเป็นกษัตริย์ประเทศราช ลำตับต่อมากรุงศรีอยุธยาจึงถูกรุกรานเป็นรัฐประเทศราชของกรุงหงสาวดีในปี พ.ศ. 2112 (ค.ศ. 1569) ขุนพิเรนทรเทพทรงถูกสถาปนาให้ปกครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช โดยมีพระมหาอุปราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครองกรุงสุโขทัย ต่อมาเมื่อพระเจ้าบุเรงนองสวรรคต พระเจ้านันทบุเรงไม่ไว้พระทัยพระเจ้ากรุงสุโขทัยและทรงรุกรานอาณาจักรไทยอีกครั้งในศึกแม่น้ำสะโตงในปี พ.ศ. 2126 (ค.ศ. 1583) ซึ่งหลังจากศึกครั้งดังกล่าว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงโยกย้ายผู้คนจากอาณาจักรสุโขทัยไปรวมกับอาณาจักรอยุธยา ทำให้อาณาจักรทั้งสองถูกรวมเข้าด้วยกันโดยสมบูรณ์

โบฮีเมีย

[แก้]
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับโปแลนด์ระหว่าง ค.ศ. 1003 จนถึง ค.ศ. 1004 (โบฮีเมียยึดครองโดยโปแลนด์)
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับโปแลนด์ระหว่าง ค.ศ. 1300 จนถึง ค.ศ. 1306 และฮังการีระหว่าง ค.ศ. 1301 จนถึง ค.ศ. 1305 (พระเจ้าเวนสลาสที่ 2 และ พระเจ้าเวนสลาสที่ 3)
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับลักเซมเบิร์กระหว่าง ค.ศ. 1313 จนถึง ค.ศ. 1378 และระหว่าง ค.ศ. 1383 จนถึง ค.ศ. 1388
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับฮังการีระหว่าง ค.ศ. 1419 จนถึง ค.ศ. 1439 (ซิจิสมุนด์แห่งลักเซมเบิร์กและพระชามาดา) และระหว่าง ค.ศ. 1490 จนถึง ค.ศ. 1526 (ราชวงศ์ยาเจลลอน)
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับออสเตรียและฮังการีระหว่าง ค.ศ. 1526 จนถึง ค.ศ. 1918 (นอกจากระหว่าง ค.ศ. 1619 จนถึง ค.ศ. 1620)

บรันเดินบวร์ค

[แก้]

รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับดัชชีแห่งปรัสเซีย ระหว่าง ค.ศ. 1618 เมื่ออัลเบร็คท์ เฟรเดอริค ดยุคแห่งปรัสเซียเสียชีวิตโดยไม่มีรัชทายาทชายและลูกเขยโยฮันน์ ซิจิสมุนด์ อีเล็คเตอร์แห่งบรันเดินบวร์คกลายเป็นประมุขของทั้งสองราชอาณาจักร แต่บรันเดินบวร์คและปรัสเซียต่างก็มีรัฐบาลที่เป็นเอกเทศ และที่ตั้งเมืองบริหารอยู่ของราชอาณาจักรอยู่ที่เบอร์ลิน และเคอนิกสบวร์กตามลำดับมาจนถึง ค.ศ. 1701 เมื่อพระเจ้าฟรีดริชที่ 1 ทรงรวมสองรัฐบาลเข้าด้วยกันเป็นรัฐบาลเดียว

บราซิล

[แก้]

รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับโปรตุเกสภายใต้สมเด็จพระจักรพรรดิเปโดรที่ 1 แห่งบราซิล (พระเจ้าปีเตอร์ที่ 4 แห่งโปรตุเกส) เป็นสหราชอาณาจักรโปรตุเกส, บราซิล และ อัลการ์เวส ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1826 จนถึงวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1826 ปีเตอร์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าฟ้าหลวงแห่งโปรตุเกส, บราซิล และ อัลการ์เวส และเมื่อพระองค์ทรงประกาศอิสรภาพจากโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1822 พระองค์ก็เป็นพระจักรพรรดิองค์แรก และเมื่อพระเจ้าจอห์นที่ 6 แห่งโปรตุเกสพระราชบิดาเสด็จสวรรคตพระเจ้าปีเตอร์ก็เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโปรตุเกสด้วยแต่ก็เพียงไม่กี่สัปดาห์ เมื่อทรงสละราชสมบัติให้แก่พระราชธิดาเจ้าหญิงมาเรีย กลอเรีย

อาณาจักรในเครือจักรภพ

[แก้]
  • วลี “รัฐร่วมประมุข” ปรากฏในการโต้เถียงในระยะแรกของการพยายามก่อตั้งเครือจักรภพแห่งชาติ[6] แต่การเข้าเป็นสมาชิกของเครือจักรภพก็มีผู้แย้ง[7] การรวมตัวเป็นเครือจักรภพตรงกับคำนิยามของ “การรวมเป็นสหอำนาจ” แต่จะว่าว่าเป็นการรวมราชบัลลังก์ในบริบทของการบริหารปัจจุบันก็ยังไม่เป็นที่แน่ใจ[ต้องการอ้างอิง] and b) ซึ่งอาจจะเป็นการใช้คำที่ผิดกาละ (anachronism) นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่กังขากันว่าการปกครองโดยพระมหากษัตริย์องค์เดียวกันจะตรงกับความหมายของวลี “รัฐร่วมประมุข” เพราะราชบัลลังก์ของประเทศที่เข้าร่วมมิได้แยกจากกันอย่างเป็นเอกเทศ[ต้องการอ้างอิง]

เสรีรัฐคองโก

[แก้]

รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับเบลเยียม ระหว่าง ค.ศ. 1885 จนถึง ค.ศ. 1908 เมื่อคองโกเป็นอาณานิคมของเบลเยียม

โครเอเชีย

[แก้]

ราชอาณาจักรโครเอเชีย และราชอาณาจักรฮังการีรวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1102 ภายใต้พระมหากษัตริยฮังการี[8] รายละเอียดของการรวมตัวระบุในข้อตกลงสหภาพ (Pacta conventa) ที่ระบุการก่อตั้งโครเอเชียเป็นรัฐเอกเทศที่บริหารโดยซาบอร์ (สภาขุนนางโครเอเชีย) และอุปราช นอกจากนั้นขุนนางโครเอเชียก็ยังคงรักษาที่ดินและทรัพย์สิน และ ตำแหน่งที่มีอยู่ได้[9] การรวมตัวของฮังการีและโครเอเชียในยุคกลางเกิดขึ้นจาก “รัฐร่วมประมุข” และดำเนินต่อมาจนถึงยุทธการโมเฮ็คส์ในปี ค.ศ. 1526 เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1527 ขุนนางโครเอเชียมีมติเป็นเอกฉันท์เลือกอาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรียและผู้สืบเชื้อสายจากพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และรัชทายาท[10] แต่โดยทางการแล้วสหราชอาณาจักรฮังการี-โครเอเชียก็มีอยู่ต่อมาจนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ สนธิสัญญาไทรอานอน[11]

เดนมาร์ก

[แก้]

อังกฤษ

[แก้]

ฟินแลนด์

[แก้]

ในฐานะเป็นราชรัฐฟินแลนด์ปกครองโดยซาร์แห่งรัสเซียในฐานะแกรนด์ดยุคแห่งฟินแลนด์ระหว่าง ค.ศ. 1809 จนถึง ค.ศ. 1917 ตามความเห็นของชาวฟินแลนด์ลักษณะของการรวมตัวคล้ายกับ “รัฐร่วมประมุข”[ต้องการอ้างอิง] ตามสนธิสัญญาเฟรดริคสฮัมน์ (Treaty of Fredrikshamn) ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซีย และได้พระราชทานฐานะให้เป็นเขตปกครองตนเองโดยพระเจ้าซาร์ แต่สิทธินี้ก็มาถูกเพิกถอน (Russification of Finland) เป็นการชั่วคราวต่อมา

ฝรั่งเศส

[แก้]

ข้อสังเกต: ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ปัญหาที่ก่อให้เกิดสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนคือความหวาดระแวงของการสืบราชบัลลังก์สเปนที่ระบุโดยกฎหมายสเปน ที่มีผลทำให้หลุยส์ผู้เป็นรัชทายาทของฝรั่งเศสอยู่แล้วจะได้ครองสเปนด้วยโดยสิทธิ “รัฐร่วมประมุข” ซึ่งเป็นการทำให้เสถียรภาพของมหาอำนาจในยุโรปขาดความสมดุล (ฝรั่งเศสขณะนั้นเป็นประเทศที่มีอานุภาพทางทหารมากกว่าผู้ใดในยุโรปและสเปนก็เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุด)

บริเตนใหญ่

[แก้]

ฮาโนเวอร์

[แก้]

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

[แก้]

ฮังการี

[แก้]
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับโปแลนด์ และ โบฮีเมีย ระหว่าง ค.ศ. 1301 จนถึง ค.ศ. 1305
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับโปแลนด์ ระหว่าง ค.ศ. 1370 จนถึง ค.ศ. 1382 ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 1 สมัยประวัติศาสตร์ของโปแลนด์ในช่วงนี้บางครั้งก็เรียกว่า "ประวัติศาสตร์โปแลนด์ยุคกลาง" (Andegawen Poland) พระเจ้าหลุยส์ทรงได้รับราชบัลลังก์โปแลนด์จากพระปิตุลาทางฝ่ายพระราชมารดาคาสิเมียร์ที่ 3 เมื่อพระเจ้าหลุยส์เสด็จสวรรคนขุนนางโปแลนด์ก็ตัดสินใจยุติ “การรวมตัว” เพราะไม่ต้องการที่จะถูกปกครองโดยฮังการี และเลือกพระราชธิดาองค์รองของพระเจ้าหลุยส์ ยัดวิกา (Jadwiga of Poland) ขึ้นเป็นประมุของค์ใหม่ ขณะที่พระราชธิดาองค์โตแมรีได้ฮังการี ฮังการีมารวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับโปแลนด์เป็นครั้งที่สองระหว่าง ค.ศ. 1440 จนถึง ค.ศ. 1444
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับโบฮีเมียระหว่าง ค.ศ. 1419 จนถึง ค.ศ. 1439 และ ระหว่าง ค.ศ. 1490 จนถึง ค.ศ. 1918
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ระหว่าง ค.ศ. 1410 จนถึง ค.ศ. 1439 และ ระหว่าง ค.ศ. 1526 จนถึง ค.ศ. 1806 (นอกจากระหว่าง ค.ศ. 1608 จนถึง ค.ศ. 1612)
  • รวมตัวกับออสเตรีย ระหว่าง ค.ศ. 1867 จนถึง ค.ศ. 1918

อินโดนีเซีย: บันจาร์

[แก้]
  • รวมตัวกับรัฐสุลต่านเดอมัก ระหว่าง ค.ศ. 1525 จนถึง ค.ศ. 1548 เมือสุลต่านปาเต็ะ รัอดืมที่ 2 เสด็จสวรรคตในปี 1547

ไอซ์แลนด์

[แก้]
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับเดนมาร์ก ระหว่าง ค.ศ. 1918 จนถึง ค.ศ. 1944 เมื่อไอซ์แลนด์เปลี่ยนไปเป็นสาธารณรัฐ

ไอร์แลนด์

[แก้]

ลิทัวเนีย

[แก้]

ลักเซมเบิร์ก

[แก้]
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับโบฮีเมีย ระหว่าง ค.ศ. 1313 จนถึง ค.ศ. 1378 และระหว่าง ค.ศ. 1383 จนถึง ค.ศ. 1388
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับ เนเธอร์แลนด์ ระหว่าง ค.ศ. 1815 จนถึง ค.ศ. 1890

นาวาร์

[แก้]

เนเธอร์แลนด์

[แก้]

นอร์เวย์

[แก้]

โปแลนด์

[แก้]

โปแลนด์-ลิทัวเนีย

[แก้]
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับสวีเดน ระหว่าง ค.ศ. 1592 จนถึง ค.ศ. 1599
  • รวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรกับแซกโซนี ระหว่าง ค.ศ. 1697 จนถึง ค.ศ. 1705, ระหว่าง ค.ศ. 1709 จนถึง ค.ศ. 1733 และ ระหว่าง ค.ศ. 1733 จนถึง ค.ศ. 1763

โปรตุเกส

[แก้]

โรมาเนีย

[แก้]

แซ็กซ์-ไวมาร์ และ แซ็กซ์-ไอเซ็นนาค

[แก้]

ดัชชีแห่งแซ็กซ์-ไวมาร์ และ แซ็กซ์-ไอเซ็นนาครวมตัวเป็นสหราชอาณาจักรระหว่าง ค.ศ. 1741 เมื่อราชวงศ์ที่ปกครองแซ็กซ์-ไอเซ็นนาคมาสิ้นสุดลง จนถึง ค.ศ. 1809 เมื่อรวมตัวกันเป็นดัชชีเดียวกันเป็นแซ็กซ์-ไวมาร์-ไอเซ็นนาค

ชเลสวิช และ ฮ็อลชไตน์

[แก้]

พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กดำรงตำแหน่งเป็นดยุคแห่งชเลสวิช และ ฮ็อลชไตน์ ระหว่างปี ค.ศ. 1460 จนถึง ค.ศ. 1864 (ฮ็อลชไตน์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ขณะที่ชเลสวิชเป็นส่วนหนึ่งของเดนมาร์ก) สถานะการณ์ยิ่งเพิ่มความสับสนเมื่อบางครั้งดัชชีทั้งสองถูกแบ่งระหว่างสาขาต่างๆ ของราชวงศ์โอลเดนบวร์ก (ราชวงศที่ปกครองเดนมาร์กและชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์) นอกจากดัชชี "หลัก" แห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-กลึคชตัดท์ที่ปกครองโดยพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ก็ยังมีรัฐที่มีดินแดนอื่นที่อยู่ในดัชชีทั้งสองด้วย ที่สำคัญก็ได้แก่ดยุคแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ก็อททอร์พ และดยุคที่ขึ้นอยู่กับดยุคแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ก็อททอร์พ -- ดยุคแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-เบ็ค, ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดนบวร์ก-ออกัสเตนบวร์ก และ ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดนบวร์ก-กลึคบวร์ก

สกอตแลนด์

[แก้]

สเปน

[แก้]

สวีเดน

[แก้]

สหราชอาณาจักร

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lalor, ed. Various authors. See Contents. Cyclopaedia of Political Science. New York: Maynard, Merrill, and Co., ed. John Joseph Lalor, 1899. online version เก็บถาวร 2008-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; accessed 21 June 2008
  2. 2.0 2.1 Oppenheim, Lassa; Roxbrough, Ronald (2005). International Law: A Treatise. The Lawbook Exchange. ISBN 978-1-58477-609-3. สืบค้นเมื่อ 13 June 2013.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-18. สืบค้นเมื่อ 2009-09-27.
  4. Steinweis, A.E. (1996). Art, Ideology, and Economics in Nazi Germany. UNC Press. p. 60.
  5. Mansergh, Nicholas (1934). The Irish Free State - Its Government and Politics. Read Books. p. 263.
  6. F. R. Scott (January 1944). "The End of Dominion Status". The American Journal of International Law. 38 (1): 34–49. doi:10.2307/2192530. The common kinship within the British group today establishes a form of personal union
  7. P. E. Corbett (1940). "The Status of the British Commonwealth in International Law". The University of Toronto Law Journal. 3 (2): 348–359. doi:10.2307/824318.{{cite journal}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  8. "Croatia (History)". Encarta. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-31. สืบค้นเมื่อ 2009-09-27.
  9. "Croatia (History)". Britannica.
  10. R. W. SETON -WATSON:The southern Slav question and the Habsburg Monarchy page 18
  11. "Font, Marta:Hungarian Kingdom and Croatia in the Middle Age". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-01. สืบค้นเมื่อ 2009-09-27.

ดูเพิ่ม

[แก้]