จังหวัดฟรีสลันด์
ฟรีสลันด์ ฟริสลอน | |
---|---|
| |
เพลง: De âlde Friezen ("The Old Frisians") | |
ที่ตั้งของจังหวัดฟรีสลันด์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ | |
พิกัด: 53°8′N 5°49′E / 53.133°N 5.817°E | |
ประเทศ | เนเธอร์แลนด์ |
เมืองหลัก | เลวาร์เดิน (ยอเวิร์ต) |
การปกครอง | |
• King's Commissioner | โจน ยอร์ริตส์มา (VVD) |
พื้นที่ | |
• พื้นดิน | 3,349 ตร.กม. (1,293 ตร.ไมล์) |
• พื้นน้ำ | 2,392 ตร.กม. (924 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 3 |
ประชากร (2010) | |
• พื้นดิน | 646,305 คน |
• อันดับ | ที่ 8 |
• ความหนาแน่น | 190 คน/ตร.กม. (500 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | ที่ 11 |
เขตเวลา | UTC+1 (เวลายุโรปกลาง) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (เวลาฤดูร้อนยุโรปกลาง) |
รหัส ISO 3166 | NL-FY |
ศาสนา (2005) | โปรเตสแตนต์ ร้อยละ 30 โรมันคาทอลิก ร้อยละ 6 อิสลาม ร้อยละ 2 |
เว็บไซต์ | www.fryslan.nl |
ฟรีสลันด์ (ดัตช์: Friesland) หรือ ฟริสลอน (ฟรีเชียตะวันตก: Fryslân) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลักอยู่ที่เลวาร์เดิน ทิศเหนือจรดทะเลเหนือ ทิศตะวันออกติดต่อกับจังหวัดโกรนิงเงินและจังหวัดเดรนเทอ ทิศใต้ติดต่อกับจังหวัดโอเฟอไรส์เซิลและจังหวัดเฟลโฟลันด์ ทิศตะวันตกติดต่อกับจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ มีประชากร 649,944 คน[1] (มกราคม ค.ศ. 2020) และมีพื้นที่ 5,749 ตารางกิโลเมตร
จังหวัดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 18 เทศบาล ตัวจังหวัดเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคฟรีเชียโบราณ รัฐบาลได้รองรับภาษาฟรีเชียตะวันตกเป็นภาษาราชการอีกหนึ่งภาษาร่วมกับภาษาดัตช์ ทำให้ "ฟรีสลันด์" เป็นชื่อทางการของจังหวัดมาจนถึงปลายปี ค.ศ. 1996 เมื่อมาเปลี่ยนเป็น "ฟริสลอน" ในภาษฟรีเซียตะวันตกในปี ค.ศ. 1997 แต่กระนั้น "ฟรีสลันด์" ก็ยังเป็นชื่อที่นิยมเรียกใช้กันอยู่เพราะเป็นชื่อที่แปลเป็นภาษาดัตช์
ประวัติศาสตร์
[แก้]สันนิษฐาณว่า ชาวฟรีเชียน เป็นลูกหลานของชาวแองเกิล ชาวแซกซัน ชาวจูต และชาวฟรีชี เริ่มอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลหลังการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน ก่อตั้งขึ้นเป็นอาณาจักรฟรีเชีย แต่ต่อมาได้ถูกกองทัพของชาวแฟรงก์โจมตีและพ่ายไป อาณาจักรฟรีเชียจึงล่มสลาย
ราว ค.ศ. 800 ชาวไวกิงได้เข้ามารุกรานฟรีเชีย ซึ่งในตอนนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียง ทหารฟรีเชียได้ลุกขึ้นสู้และต้านกองทัพไวกิงไว้ได้ และต่อมาได้ขับไล่ชาวไวกิงออกจากดินแดนฟรีเชียตะวันออกได้สำเร็จ ฟรีเชียจึงได้รับอิสรภาพและปกครองตัวเองเรื่อยมา จนกระทั่งถูกกองทัพราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เข้ายึดครองในปี ค.ศ. 1523 โดยมีจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 กษัตริย์สเปนเป็นผู้ปกครองฟรีเชียพระองค์แรก
ต่อมา พระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน ได้ขึ้นครองราชย์ของสเปนและปกครองเนเธอร์แลนด์รวมถึงฟรีเชียต่อจากพระราชบิดา แต่ได้มีการปฏิวัติขึ้นโดยชาวดัตช์ในปี ค.ศ. 1566 และฟรีเชียได้เข้าร่วมการปฏิวัติต่อต้านสเปนในครั้งนี้ด้วย และเข้าร่วมสงคราม 80 ปีพร้อมกับจังหวัดอื่นๆในสาธารณรัฐดัตช์ที่ต่อมาประกาศอิสรภาพจากสเปนในปี ค.ศ. 1581 จนสงครามสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1648 เมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญามึนสเตอร์ รับรองเอกราชของเนเธอร์แลนด์อย่างเป็นทางการ ฟรีเชียได้กลายมาเป็นจังหวัดหนึ่งของสาธารณรัฐดัตช์อย่างเป็นทางการตั้งแต่บัดนั้น ก่อนที่สาธารณรัฐจะถูกยึดครองโดยกองทัพนโปเลียน และก่อตั้งเป็นสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์หลังได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศสในเวลาต่อมาไม่นาน
ภูมิศาสตร์
[แก้]ฟรีสลันด์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเนเธอร์แลนด์ ติดกับทะเลเหนือ เป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในเนเธอร์แลนด์หากรวมผืนน้ำเข้าไปด้วย แต่หากนับเฉพาะผืนดินจะใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของฟรีสลันด์อยู่บนแผ่นดินใหญ่ แต่ยังมีหมู่เกาะจำนวนไม่น้อยทางตะวันตกของจังหวัด ได้แก่ เกาะฟลีลันด์ เทร์สเคลลิง อาเมลันด์ และสเคียร์มอนนิโกก ที่สามารถข้ามไปด้วยเรือข้ามฟากเท่านั้น
จังหวัดฟรีสลันด์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 18 เทศบาล เรียงตามจำนวนประชากรได้ดังนี้
- เลวาร์เดิน
- ซุดเวสต์-ฟริสลอน
- สมองลิงเคอร์ลันด์
- เดอ ฟริสเคอ เมเริน
- เฮเรินเฟน
- วาดฮูเคอ
- โนรดอีสต์-ฟริสลอน
- ทิตเยอร์คสเทอราเดล
- โอปสเตอร์ลันด์
- อัคท์คาร์สเปเลิน
- เวสต์สเตลลิงเวิร์ฟ
- โอสต์สเตลลิงเวิร์ฟ
- ดานทูมาดีล
- ฮาร์ลิงเงน
- อาเมลันด์
- ฟลีลันด์
- สเคียร์มอนนิโกก
ประชากร
[แก้]ในปี ค.ศ. 2020 ฟรีสลันด์มีประชากร 649,944 คน มีความหนาแน่นของประชากร 196 คนต่อตารางกิโลเมตร
|
|
ระหว่างปี ค.ศ. 1880 ถึง 1900 จำนวนประชากรค่อนข้างคงที่เนื่องจากเกิดการเพาะปลูกได้ผลไม่ดี ชาวฟรีสลันด์กว่า 20,000 คนย้ายถิ่นฐานไปสหรัฐอเมริกา[4]
เศรษฐกิจ
[แก้]เศรษฐกิจของจังหวัดฟรีสลันด์ขึ้นอยู่กับการเกษตรค่อนข้างมาก มีวัว สุนัข และม้าสายพันธุ์ฟรีสลันด์ที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ การท่องเที่ยวยังสร้างรายได้ให้กับจังหวัดจำนวนไม่น้อย เพราะมีทะเลสาบทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในทะเลเหนือ จังหวัดฟรีสลันด์มีกังหันลมมากถึง 195 กังหัน เป็นสัดส่วนที่ไม่น้อยเทียบกับจำนวนทั้งหมด 1200 กังหันของทั้งประเทศ
วัฒนธรรม
[แก้]ภาษา
[แก้]ฟรีสลันด์เป็นเพียงจังหวัดเดียวจากทั้ง 12 จังหวัดของเนเธอร์แลนด์ที่ภาษาถิ่นได้รับการรับรองเป็นภาษาราชการ คือภาษาฟรีเชียตะวันตก โดยก่อนศตวรรษที่ 18 มีการใช้ภาษาฟรีเชียนกันทั่วไปในจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และจังหวัดโกรนิงเงินอีกด้วย จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2007 พบว่า ประชาชนจังหวัดฟรีสลันด์ร้อยละ 54.3 นับว่าภาษาฟรีเชียตะวันตกเป็นภาษาแม่ ซึ่งมากกว่าภาษาดัตช์ (ร้อยละ 34.7) อยู่ไม่น้อยทีเดียว[5] แม้จะมีการใช้งานที่จำกัดเพียงในตัวจังหวัดเท่านั้น ภาษาฟรีเชียตะวันตก เป็นวิชาบังคับในการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนของจังหวัด มีการใช้ภาษฟรีเชียควบคู่ไปกับภาษาดัตช์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษา
กีฬา
[แก้]กีฬาที่ได้รับความนิยมในจังหวัดคือ สปีดสเก็ต โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากในฤดูหนาวหากสภาพอากาศอำนวย คือหนาวเย็นเพียงพอที่จะทำให้น้ำในลำคลองแข็งเป็นน้ำแข็ง มีกิจกรรมที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือการแข่งขันทัวร์สเก็ตเอฟสเตเดินโทช (Elfstedentocht) ที่เป็นกิจกรรมสเก็ตทางไกลด้วยระยะทาง 200 กิโลเมตร
กีฬาดั้งเดิมของชาวฟรีเชียนคือกีฬาแฮนด์บอล นอกจากนี้ ยังมีสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงสองทีม ได้แก่ เอสซีคัมบูร์จากเมืองเลวาร์เดิน และเอสซีเฮเรินเวน
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://opendata.cbs.nl/statline/#/CBS/nl/dataset/37230ned/table?ts=1581415402485
- ↑ (ในภาษาดัตช์) Overzicht aantal inwoners Provincie Friesland 1714–2000, Tresoar.
- ↑ (ในภาษาดัตช์) Bevolking; geslacht, leeftijd, burgerlijke staat en regio, 1 januari, Statistics Netherlands, 2014.
- ↑ (ในภาษาดัตช์) Emigration to the United States.
- ↑ "Rapportage quick scan Friese taal 2007 Provincie Fryslân - PDF". docplayer.nl. สืบค้นเมื่อ 2018-06-10.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จังหวัดฟรีสลันด์