นิรมิต สุจารี
นิรมิต สุจารี | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2543–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
นิรมิต สุจารี (เกิด 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2499) อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อไทย
ประวัติ
[แก้]นิรมิต เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 ที่ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของนายเจียม และนางทองย้อย สุจารี มีพี่น้อง 4 คน สำเร็จการศึกษาศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง และนิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง สมรสกับนางดุษฎี สุจารี มีบุตรด้วยกัน 3 คน 1.นายอิสรา สุจารี 2.นายแทนรัฐ สุจารี 3.นางสาวครองขวัญ สุจารี
งานการเมือง
[แก้]อดีตเป็นสมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับเลือก ต่อมาจึงกลับลงไปเล่นการเมืองท้องถิ่นอีกครั้ง และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
กระทั่งปี พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคพลังประชาชน ได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก และปี พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 สังกัดพรรคเพื่อไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]นิรมิต สุจารี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคพลังประชาชน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายนิรมิต สุจารี เก็บถาวร 2018-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายนิรมิต สุจารี[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายนิรมิต สุจารี), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดร้อยเอ็ด
- นักการเมืองไทย
- พรรคสามัคคีธรรม
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- พรรคความหวังใหม่
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง