ข้ามไปเนื้อหา

ยูฟ่าซูเปอร์คัพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ)
ยูฟ่าซูเปอร์คัพ
ก่อตั้งค.ศ. 1972
(ในชื่อ ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ)
ค.ศ. 1995
(ในชื่อ ยูฟ่าซูเปอร์คัพ)
ภูมิภาคยุโรป (ยูฟ่า)
จำนวนทีม2
ทีมชนะเลิศปัจจุบันสเปน เรอัลมาดริด
(สมัยที่ 6)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดสเปน เรอัลมาดริด
(6 สมัย)
เว็บไซต์www.uefa.com/uefasupercup/index.html
ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2024

ยูฟ่าซูเปอร์คัพ (อังกฤษ: UEFA Super Cup; ชื่อเดิม: ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ อังกฤษ: European Super Cup) [1] เป็นเกมการแข่งขันฟุตบอลสโมสรของทวีปยุโรป ในเดือนสิงหาคม ก่อนหน้าที่ฟุตบอลสโมสรยุโรปฤดูกาลใหม่จะเริ่มต้นขึ้น โดยจะเป็นการแข่งขันกันระหว่างทีมชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกหรือยูโรเปียนคัพเดิม กับทีมชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีกหรือยูฟ่าคัพเดิม (เมื่อก่อนจะเป็นทีมชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ แต่เมื่อถ้วยยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1999 จึงให้สิทธิ์นี้แก่ทีมชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีกแทน) ในฤดูกาลก่อนหน้านั้น ทีมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของรายการนี้คือเอซี มิลานจากอิตาลี และบาร์เซโลนาจากสเปน ที่เป็นผู้ชนะเลิศถึง 5 สมัย

ประวัติ

[แก้]

ยูฟ่าซูเปอร์คัพ หรือยูโรเปียนซูเปอร์คัพ เริ่มทำการแข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1972 ผู้ริเริ่มคือ แอนตั้น วิทแคมป์ นักข่าวและผู้อำนวยการด้านกีฬาของหนังสือพิมพ์เดอ เทเลกราฟ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ความคิดนี้เริ่มขึ้นเมื่อดัตช์โททัลฟุตบอลกำลังเป็นที่นิยมมากในยุโรป และกำลังอยู่ในยุคทองของสโมสรจากเนเธอร์แลนด์ โดยวิทแคมป์เสนอให้นำเอาทีมชนะเลิศยูโรเปียนคัพ มาพบกับทีมชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ [2]

เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างพร้อม การแข่งขันรายการใหม่กำลังจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ความคิดที่จะเห็นการแข่งขันรายการนี้ เป็นการแข่งขันแบบเป็นทางการของวิทแคมป์ ได้ถูกปฏิเสธโดยประธานของยูฟ่า

แต่ถึงกระนั้น ถ้วยใบนี้ก็ยังยืนยันที่จะเดินหน้าจัดการแข่งขันต่อไป โดยเป็นการแข่งขันแบบเหย้า-เยือน สนับสนุนการเงินโดยหนังสือพิมพ์เดอ เทเลกราฟนั่นเอง ซึ่งอายักซ์ เอาชนะเรนเจอร์ส คว้าแชมป์สมัยแรกมาครองได้สำเร็จ หลังจากนั้น การแข่งขันรายการนี้จึงได้รับการรับรองจากยูฟ่า

แม้ว่าระบบการแข่งขันแบบเหย้า-เยือนจะยังคงดำเนินต่อไป แต่ในบางปี ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ ก็ต้องทำการแข่งขันแบบนัดเดียว ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับตารางเวลาในการแข่งขันและเหตุผลทางด้านการเมือง และในปี ค.ศ. 1974, 1981 และ 1985 ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ ไม่มีการแข่งขัน

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 เป็นต้นมา ยูโรเปียนซูเปอร์คัพได้ทำการแข่งขันแบบนัดเดียวรู้ผล ที่สนามสต๊าด หลุยส์ เดอซ์ ในโมนาโก

เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 1998-99 ยูฟ่าได้ยกเลิกการแข่งขันรายการยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ และตั้งแต่เริ่มต้นฤดูกาล 1999-2000 ยูโรเปียนซูเปอร์คัพจะเป็นการแข่งขันกันระหว่างทีมชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (หรือยูโรเปียนคัพเดิม) กับทีมชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีก (หรือยูฟ่าคัพเดิม)

ถ้วยรางวัลเปลี่ยนแปลง

[แก้]

ถ้วยรางวัลของยูฟ่าซูเปอร์คัพ ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมค่อนข้างมาก ถ้วยใบแรกที่มอบให้กับอายักซ์นั้น มีขนาดใหญ่กว่าถ้วยของยูโรเปียนคัพถ้วยรางวัลรุ่นต่อมามีลักษณะเล็กที่สุดในบรรดาถ้วยรางวัลของฟุตบอลสโมสรยุโรป โดยมีน้ำหนักเพียง 5 ก.ก. และสูง 42.5 ซ.ม. (ถ้วยรางวัลของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก หนัก 8 ก.ก. และถ้วยรางวัลของยูฟ่าคัพ หนัก 15 ก.ก.) และในปัจจุบัน ถ้วยรางวัลใหม่ของยูฟ่าซูเปอร์คัพ มีน้ำหนักอยู่ที่ 12.2 ก.ก.

เช่นเดียวกับถ้วยรางวัลอื่น ๆ ของยูฟ่า สโมสรที่ชนะเลิศ 3 สมัยซ้อนหรือชนะเลิศครบ 5 สมัย จะได้รับถ้วยรางวัลยูฟ่าซูเปอร์คัพ ไปเป็นกรรมสิทธิ์ของสโมสรนั้นโดยถาวร เช่นเดียวกับมิลาน ที่ได้ไปเมื่อปี 2007

การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ

[แก้]

รอบชิงชนะเลิศ (นัดเดียว)

[แก้]
ฤดูกาล ทีมชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ผลประตู ทีมชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีก สนาม
2024 สเปน เรอัลมาดริด 2 – 0 อิตาลี อาตาลันตา สนามกีฬาแห่งชาติ,
วอร์ซอ โปแลนด์
2023 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี 1 – 1
(ชนะดวลจุดโทษ 5–4)
สเปน เซบิยา สนามกีฬาคาไรสคาคิส,
ไพรีอัส กรีซ
2022 สเปน เรอัลมาดริด 2 – 0 เยอรมนี ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท สนามกีฬาโอลิมปิกเฮลซิงกิ,
เฮลซิงกิ ฟินแลนด์
2021 อังกฤษ เชลซี 1 – 1
(ชนะดวลจุดโทษ 6–5)
สเปน บิยาร์เรอัล วินด์เซอร์พาร์ก,
เบลฟาสต์ ไอร์แลนด์เหนือ
2020 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 2 – 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
สเปน เซบิยา ปุชกาชออเรนอ,
บูดาเปสต์ ฮังการี
2019 อังกฤษ ลิเวอร์พูล 2 – 2
(ชนะดวลจุดโทษ 5–4)
อังกฤษ เชลซี โวดาโฟน พาร์ค,
อิสตันบูล ตุรกี
2018 สเปน เรอัลมาดริด 2 – 4
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
สเปน อัตเลติโกเดมาดริด อ. เลอ ค็อค อาเรนา,
ทาลลินน์ เอสโตเนีย
2017 สเปน เรอัลมาดริด 2 – 1 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ฟิลิป ทู อาเรนา,
สโกเปีย มาซิโดเนียเหนือ
2016 สเปน เรอัลมาดริด 3 – 2
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
สเปน เซบิยา แลร์คันดัลสตาดีโอน,
ทรอนด์เฮม นอร์เวย์
2015 สเปน บาร์เซโลนา 5 – 4
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
สเปน เซบิยา บอริส ไพแชดซ์ ดีนาโม อาเรนา,
ทบิลีซี ประเทศจอร์เจีย
2014 สเปน เรอัลมาดริด 2 – 0 สเปน เซบิยา คาร์ดิฟฟ์ซิตีสเตเดียม,
คาร์ดิฟฟ์ เวลส์
2013 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 2 – 2
(ชนะดวลจุดโทษ 5–4)
อังกฤษ เชลซี ซิโนโบสเตเดียม,
ปราก เช็กเกีย
2012 อังกฤษ เชลซี 1 – 4 สเปน อัตเลติโกเดมาดริด สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2011 สเปน บาร์เซโลนา 2 – 0 โปรตุเกส โปร์ตู สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2010 อิตาลี อินเตอร์มิลาน 0 – 2 สเปน อัตเลติโกเดมาดริด สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2009 สเปน บาร์เซโลนา 1 – 0
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
ยูเครน ชัคตาร์โดเนตสค์ สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2008 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1 – 2 รัสเซีย เซนิตเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2007 อิตาลี มิลาน 3 – 1 สเปน เซบิยา สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2006 สเปน บาร์เซโลนา 0 – 3 สเปน เซบิยา สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2005 อังกฤษ ลิเวอร์พูล 3 – 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
รัสเซีย ซีเอสเคเอ มอสโก สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2004 โปรตุเกส โปร์ตู 1 – 2 สเปน บาเลนเซีย สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2003 อิตาลี มิลาน 1 – 0 โปรตุเกส โปร์ตู สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2002 สเปน เรอัลมาดริด 3 – 1 เนเธอร์แลนด์ ไฟเยอโนร์ด สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2001 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 2 – 3 อังกฤษ ลิเวอร์พูล สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
2000 สเปน เรอัลมาดริด 1 – 2
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
ตุรกี กาลาทาซาไร สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
ฤดูกาล ชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ผลคะแนน ชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ สนาม
1999 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 0 – 1 อิตาลี ลาซิโอ สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
1998 สเปน เรอัลมาดริด 0 – 1 อังกฤษ เชลซี สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก

รอบชิงชนะเลิศ (สองนัดเหย้า-เยือน)

[แก้]
ฤดูกาล ทีมเหย้า ผลคะแนน ทีมเยือน สนาม
1997 สเปน บาร์เซโลนา (C2) 2 – 0 เยอรมนี ดอร์ทมุนท์ (C1) กัมนอว์,
บาร์เซโลนา สเปน
เยอรมนี ดอร์ทมุนท์ 1 – 1 สเปน บาร์เซโลนา ซิกนัล อีดูน่า ปาร์ค,
ดอร์ทมุนท์ เยอรมนี
รวมผลสองนัด บาร์เซโลนา คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-1
1996 ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง (C2) 1 – 6 อิตาลี ยูเวนตุส (C1) ปาร์กเดแพร็งส์,
ปารีส ฝรั่งเศส
อิตาลี ยูเวนตุส 3 – 1 ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง สตาดิโอ้ ลา ฟาวอริต้า,
ปาแลร์โม่ อิตาลี
รวมผลสองนัด ยูเวนตุส คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 9-2
1995 สเปน เรอัลซาราโกซา (C2) 1 – 1 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ (C1) ลา โรมาเรด้า,
ซาราโกซา สเปน
เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 4 – 0 สเปน เรอัลซาราโกซา สนามกีฬาโอลิมปิก (อัมสเตอร์ดัม),
อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
รวมผลสองนัด อายักซ์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 5-1
1994 อังกฤษ อาร์เซนอล (C2) 0 – 0 อิตาลี มิลาน (C1) ไฮก์บิวรี่,
ลอนดอน อังกฤษ
อิตาลี มิลาน 2 – 0 อังกฤษ อาร์เซนอล ซานซีโร,
มิลาน อิตาลี
รวมผลสองนัด มิลาน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-0
1993 อิตาลี ปาร์มา (C2) 0 – 1 อิตาลี มิลาน (C1) เอ็นนิโอ้ ตาร์ดินี่,
ปาร์มา อิตาลี
อิตาลี มิลาน 0 – 2
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
อิตาลี ปาร์มา ซานซีโร,
มิลาน อิตาลี
รวมผลสองนัด ปาร์มา คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-1
หมายเหตุ: ทีมชนะเลิศ มาร์แซย์ โดนตัดสิทธิ์ จากกรณีล้มบอลภายในประเทศ มิลาน รองชนะเลิศ จึงได้สิทธิ์แข่งแทน
1992 เยอรมนี แวร์เดอร์เบรเมิน (C2) 1 – 1 สเปน บาร์เซโลนา (C1) เวเซอร์ สตาดิโอน,
เบรเมน เยอรมนี
สเปน บาร์เซโลนา 2 – 1 เยอรมนี แวร์เดอร์เบรเมิน กัมนอว์,
บาร์เซโลนา สเปน
รวมผลสองนัด บาร์เซโลนา คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-2
1991 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (C2) 1 – 0 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เรดสตาร์ เบลเกรด (C1) โอลด์แทรฟฟอร์ด,
แมนเชสเตอร์ อังกฤษ
หมายเหตุ: แข่งขันกันนัดเดียว เพราะไม่สามารถแข่งขันนัดที่สองได้ เนื่องจากปัญหาทางด้านการเมืองในยูโกสลาเวีย แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด คว้าแชมป์
1990 อิตาลี ซามพ์โดเรีย (C2) 1 – 1 อิตาลี มิลาน (C1) ลุยจิ แฟร์ราริส,
เจนัว อิตาลี
อิตาลี มิลาน 2 – 0 อิตาลี ซามพ์โดเรีย ซานซีโร,
มิลาน อิตาลี
รวมผลสองนัด มิลาน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-1
1989 สเปน บาร์เซโลนา (C2) 1 – 1 อิตาลี มิลาน (C1) กัมนอว์,
บาร์เซโลนา สเปน
อิตาลี มิลาน 1 – 0 สเปน บาร์เซโลนา ซานซีโร,
มิลาน อิตาลี
รวมผลสองนัด มิลาน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-1
1988 เบลเยียม เมเชเลน (C2) 3 – 0 เนเธอร์แลนด์ ไอน์โฮเฟ่น (C1) อาคเตอร์ เดอ คาเซอร์เน่,
เมเชเลน เบลเยียม
เนเธอร์แลนด์ ไอน์โฮเฟ่น 1 – 0 เบลเยียม เมเชเลน ฟิลิปส์ สตาดิโอน,
ไอนด์โฮเฟิน เนเธอร์แลนด์
รวมผลสองนัด เมเชเลน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-1
1987 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ (C2) 0 – 1 โปรตุเกส โปร์ตู (C1) เดอ เมียร์ สเตเดี้ยม,
อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
โปรตุเกส โปร์ตู 1 – 0 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ เอสตาดิโอ้ ดาส อันตาส,
โปร์ตู โปรตุเกส
รวมผลสองนัด โปร์ตู คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-0
1986 โรมาเนีย สเตอัวบูคูเรสตี (C1) 1 – 0 ยูเครน ดีนาโมคียิว (C2) สต๊าด หลุยส์ เดอซ์,
โมนาโก โมนาโก
หมายเหตุ: แข่งขันกันนัดเดียว เพราะไม่สามารถแข่งขันนัดที่สองได้ เนื่องจากปัญหาทางด้านการเมืองในสหภาพโซเวียต สเตอัวบูคูเรสตี คว้าแชมป์
1985 ไม่มีการแข่งขัน
อิตาลี ยูเวนตุส (C1) กับ อังกฤษ เอฟเวอร์ตัน (C2)
หมายเหตุ: เนื่องจากโศกนาฏกรรมอัฒจรรย์ถล่ม ในนัดชิงยูโรเปียนคัพระหว่าง ยูเวนตุส กับ ลิเวอร์พูล ที่เฮย์เซล สเตเดี้ยม
1984 อิตาลี ยูเวนตุส (C2) 2 – 0 อังกฤษ ลิเวอร์พูล (C1) โอลิมปิค สเตเดี้ยม,
ตูริน อิตาลี
หมายเหตุ: แข่งขันกันนัดเดียว เพราะลิเวอร์พูลไม่สามารถหาวันแข่งขันในนัดที่สองได้ ยูเวนตุส คว้าแชมป์
1983 เยอรมนีตะวันตก ฮัมบวร์ค (C1) 0 – 0 สกอตแลนด์ อเบอร์ดีน (C2) โฟล์คสปาร์ค สตาดิโอน,
ฮัมบวร์ค เยอรมนี
สกอตแลนด์ อเบอร์ดีน 2 – 0 เยอรมนีตะวันตก ฮัมบวร์ค ปิตโตดรี้ สเตเดี้ยม,
อเบอร์ดีน สกอตแลนด์
รวมผลสองนัด อเบอร์ดีน คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-0
1982 สเปน บาร์เซโลนา (C2) 1 – 0 อังกฤษ แอสตันวิลลา (C1) กัมนอว์,
บาร์เซโลนา สเปน
อังกฤษ แอสตันวิลลา 3 – 0
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
สเปน บาร์เซโลนา วิลลา ปาร์ค,
เบอร์มิงแฮม อังกฤษ
รวมผลสองนัด แอสตันวิลลา คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-1
1981 ไม่มีการแข่งขัน
อังกฤษ ลิเวอร์พูล (C1) กับ ประเทศจอร์เจีย ดินาโม ทบิลิซี่ (C2)
หมายเหตุ: เนื่องจากลิเวอร์พูล ไม่สามารถหาวันแข่งขันกับดินาโม ทบิลิซี่ได้
1980 อังกฤษ ฟอเรสต์ (C1) 2 – 1 สเปน บาเลนเซีย (C2) ซิตี้ กราวน์,
น็อตติงแฮม อังกฤษ
สเปน บาเลนเซีย 1 – 0 อังกฤษ ฟอเรสต์ หลุยส์ คาซาโนบ้า สเตเดี้ยม,
บาเลนเซีย สเปน
รวมผลสองนัด บาเลนเซีย คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-2 (กฎประตูทีมเยือน)
1979 อังกฤษ ฟอเรสต์ (C1) 1 – 0 สเปน บาร์เซโลนา (C2) ซิตี้ กราวน์,
น็อตติงแฮม อังกฤษ
สเปน บาร์เซโลนา 1 – 1 อังกฤษ ฟอเรสต์ กัมนอว์,
บาร์เซโลนา สเปน
รวมผลสองนัด ฟอเรสต์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 2-1
1978 เบลเยียม อันเดอร์เลชท์ (C2) 3 – 1 อังกฤษ ลิเวอร์พูล (C1) ปาร์ค อัสไทรด์,
บรัสเซลส์ เบลเยียม
อังกฤษ ลิเวอร์พูล 2 – 1 เบลเยียม อันเดอร์เลชท์ แอนฟิลด์,
ลิเวอร์พูล อังกฤษ
รวมผลสองนัด อันเดอร์เลชท์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 4-3
1977 เยอรมนีตะวันตก ฮัมบวร์ค (C2) 1 – 1 อังกฤษ ลิเวอร์พูล (C1) โฟล์คสปาร์ค สตาดิโอน,
ฮัมบวร์ค เยอรมนี
อังกฤษ ลิเวอร์พูล 6 – 0 เยอรมนีตะวันตก ฮัมบวร์ค แอนฟิลด์,
ลิเวอร์พูล อังกฤษ
รวมผลสองนัด ลิเวอร์พูล คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 7-1
1976 เยอรมนีตะวันตก ไบเอิร์นมิวนิก (C1) 2 – 1 เบลเยียม อันเดอร์เลชท์ (C2) โอลิมเปีย สตาดิโอน,
มิวนิก เยอรมนี
เบลเยียม อันเดอร์เลชท์ 4 – 1 เยอรมนีตะวันตก ไบเอิร์นมิวนิก ปาร์ค อัสไทรด์,
บรัสเซลส์ เบลเยียม
รวมผลสองนัด อันเดอร์เลชท์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 5-3
1975 เยอรมนีตะวันตก ไบเอิร์นมิวนิก (C1) 0 – 1 ยูเครน ดีนาโมคียิว (C2) โอลิมปิค สเตเดียม มิวนิก,
มิวนิก เยอรมนี
ยูเครน ดีนาโมคียิว 2 – 0 เยอรมนีตะวันตก ไบเอิร์นมิวนิก รีพับลิกัน สเตเดี้ยม,
เคียฟ ยูเครน
รวมผลสองนัด ดีนาโมคียิว คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 3-0
1974 ไม่มีการแข่งขัน
เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก (C1) กับ เยอรมนี มักเดบวร์ก (C2)
หมายเหตุ: เนื่องจากเหตุผลทางด้านการเมือง ระหว่างเยอรมันตะวันตก กับเยอรมันตะวันออก
1973 อิตาลี มิลาน (C2) 1 – 0 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ (C1) ซานซีโร,
มิลาน อิตาลี
เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 6 – 0 อิตาลี มิลาน สนามกีฬาโอลิมปิก (อัมสเตอร์ดัม),
อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
รวมผลสองนัด อายักซ์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 6-1
1972 สกอตแลนด์ เรนเจอร์ส (C2) 1 – 3 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ (C1) ไอบร็อกซ์ ปาร์ค,
กลาสโกว์ สกอตแลนด์
เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 3 – 2 สกอตแลนด์ เรนเจอร์ส เดอ เมียร์ สเตเดี้ยม,
อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
รวมผลสองนัด อายักซ์ คว้าแชมป์ด้วยประตูรวม 6-3

ทำเนียบผู้ชนะเลิศ

[แก้]

ชนะเลิศ (จำแนกตามสโมสร)

[แก้]
สโมสร ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ ปีที่ได้รองชนะเลิศ
สเปน เรอัลมาดริด 6 3 2002, 2014, 2016, 2017, 2022, 2024 1998, 2000, 2018
สเปน บาร์เซโลนา 5 4 1992, 1997, 2009, 2011, 2015 1979, 1982, 1989, 2006
อิตาลี มิลาน 5 2 1989, 1990, 1994, 2003, 2007 1973, 1993
อังกฤษ ลิเวอร์พูล 4 2 1977, 2001, 2005, 2019 1978, 1984
สเปน อัตเลติโกเดมาดริด 3 0 2010, 2012, 2018
อังกฤษ เชลซี 2 3 1998, 2021 2012, 2013, 2019
เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 2 3 2013, 2020 1975, 1976, 2001
เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 2 1 1973, 1995 1987
เบลเยียม อันเดอร์เลชท์ 2 0 1976, 1978
สเปน บาเลนเซีย 2 0 1980, 2004
อิตาลี ยูเวนตุส 2 0 1984, 1996
สเปน เซบิยา 1 5 2006 2007, 2014, 2015, 2016, 2020
โปรตุเกส โปร์ตู 1 3 1987 2003, 2004, 2011
อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1 3 1991 1999, 2008, 2017
ยูเครน ดีนาโมคียิว 1 1 1975 1986
อังกฤษ นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 1 1 1979 1980
อังกฤษ แอสตันวิลลา 1 0 1982
สกอตแลนด์ อเบอร์ดีน 1 0 1983
โรมาเนีย สเตอัวบูคูเรสตี 1 0 1986
เบลเยียม เมเชเลน 1 0 1988
อิตาลี ปาร์มา 1 0 1993
อิตาลี ลาซิโอ 1 0 1999
ตุรกี กาลาทาซาไร 1 0 2000
รัสเซีย เซนิตเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก 1 0 2008
อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี 1 0 2023
เยอรมนี ฮัมบวร์ค 0 2 1977, 1983
สกอตแลนด์ เรนเจอส์ 0 1 1972
เนเธอร์แลนด์ ไอน์โฮเฟ่น 0 1 1988
อิตาลี ซามพ์โดเรีย 0 1 1990
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เรดสตาร์ เบลเกรด 0 1 1991
เยอรมนี แวร์เดอร์เบรเมิน 0 1 1992
อังกฤษ อาร์เซนอล 0 1 1994
สเปน เรอัลซาราโกซา 0 1 1995
ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 0 1 1996
เยอรมนี ดอร์ทมุนท์ 0 1 1997
เนเธอร์แลนด์ ไฟเยอโนร์ด 0 1 2002
รัสเซีย ซีเอสเคเอ มอสโก 0 1 2005
ยูเครน ชัคตาร์โดเนตสค์ 0 1 2009
อิตาลี อินเตอร์มิลาน 0 1 2010
สเปน บิยาร์เรอัล 0 1 2021
เยอรมนี ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท 0 1 2022
อิตาลี อาตาลันตา 0 1 2024

ชนะเลิศ (จำแนกตามชาติ)

[แก้]
ประเทศ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ จำนวน
ธงของประเทศสเปน สเปน 17 15 32
 อังกฤษ 10 10 20
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี 9 5 14
ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม 3 0 3
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 2 8 10
ธงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 2 3 5
ธงของประเทศโปรตุเกส โปรตุเกส 1 3 4
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย 1 1 2
 สหภาพโซเวียต 1 1 2
 โรมาเนีย 1 0 1
 สกอตแลนด์ 1 0 1
ธงของประเทศตุรกี ตุรกี 1 0 1
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 0 1 1
ธงของประเทศยูเครน ยูเครน 0 1 1
ยูโกสลาเวีย 0 1 1
รวม 48 48 96

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Club competition winners do battle". UEFA. สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
  2. "Dynamo bring happy memories". BBC Sport. 2001-10-16. สืบค้นเมื่อ 2008-03-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]