ยางน่องเถา
ยางน่องเถา | |
---|---|
ดอกยางน่องเถา | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Gentianales |
วงศ์: | Apocynaceae |
สกุล: | Strophanthus |
สปีชีส์: | S. caudatus |
ชื่อทวินาม | |
Strophanthus caudatus (L.) Kurz |
ยางน่องเถา หรือยางน่องเครือ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Strophanthus caudatus) เป็นไม้พุ่มเลื้อย ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามกัน แผ่นใบหนา สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดที่โคน สีขาว กางดอกสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบดอกแผ่แยกเป็น 5 กลีบ
ชื่อพื้นเมืองอื่น : เครืองน่อง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่ฮ่องสอน) ตะเกาะแบเวาะ (มลายู ภาคใต้) น่อง (ภาคกลาง นครราชสีมา) บานบุรีป่า (ภาคใต้) ยางน่องเครือ (อุบลราชธานี) ยางน่องเถา (จันทบุรี ปราจีนบุรี) [1]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]ยางน่องเถา เป็นไม้พุ่มเลื้อย ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงกันข้ามกัน แผ่นใบหนา สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดที่โคน สีขาว กางดอกสีเหลืองอ่อน ปลายกลีบดอกแผ่แยกเป็น 5 กลีบ ปลายกลีบเป็นแถบแคบยาว สีแดงเข้ม ผลเป็นฝักคู่ รูปทรงกระบอก ยาว 10-30 เซนติเมตร เมล็ดสีน้ำตาลมีกระจุกขนสีขาว[2]
การกระจายพันธุ์
[แก้]ในธรรมชาติสามารถค้นพบต้นยางน่องเถาได้ตามบริเวณขอบป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือแถบจังหวัดนครพนม อุบลราชธานี นครราชสีมา ภาคตะวันออกและภาคใต้
ประโยชน์และโทษ
[แก้]ประโยชน์ของยางน่องเถานั้นมีประโยชน์ในการทาลูกหน้าไม้ล่าสัตว์ซึ่งชาวบ้านใช้ยางจากยางน่องเถา ผสมกับยาพิษชนิดอื่น มีความเป็นพิษเช่นเดียวกับแย้มปีนัง[3] แต่ก่อนรับประทานเนื้อสัตว์ให้เฉือนเอาเนื้อร้ายที่มีสีเขียวออกจนหมด จึงจะรับประทานเนื้อสัตว์นั้นได้[4] ยางน่องเถามีคาร์ดิแอกไกลโคไซด์จึงทำให้เป็นพิษต่อหัวใจ[5]
วรรณกรรม
[แก้]ยางน่องเถาปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง นิราศสุพรรณ บทกวีของสุนทรภู่
ยางน่องต้องช้างคลั่ง | ประดับเสียง | |
เพื่อนหน่วงงวงประคองเคียง | เค่าไม้ | |
ต่างห่างต่างมุ่งเมียง | ชม้ายม่าย หมายแฮ | |
เหลือจลี้หนีได้ | เด็กน้อยหง่อยเหงา |
ยางน่องเถาปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง บทกวีของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์หรือเจ้าฟ้ากุ้ง
แทงทวยกล้วยกุตีบ | ต้นปีบไสวไข่เน่าหอม |
พองลมพนมพนอม | น่องโลดเลียบหลาหลกปะโลง ฯ |
แทงทวยกล้วยตีบเลื้อย | เครืองอม |
ปีบไสวไข่เน่าหอม | ทั่วเบื้อง |
พองลมพนมพนอม | ลำเจียก |
โลดเลียบหลาหลกเหนื้อง | น่องต้นปะโลงสาร ฯ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
- ↑ Administrator. ยางน่องเถา[ลิงก์เสีย]. ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- ↑ ข้อมูลของ "ยางน่องเถา" เก็บถาวร 2012-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ ยางน่องเครือ
- ↑ จำลอง เพ็งคล้าย. พืชมีพิษในประเทศไทย (1)[ลิงก์เสีย]. ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา