มีมิติ
ประเภท | บริษัทจำกัด |
---|---|
อุตสาหกรรม | รายการโทรทัศน์ |
ก่อตั้ง | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554 |
ผู้ก่อตั้ง | รุ่งธรรม พุ่มสีนิล |
สำนักงานใหญ่ | 388/15-16 ซอยรามคำแหง 53 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 |
บุคลากรหลัก | รุ่งธรรม พุ่มสีนิล (MD) |
เจ้าของ | รุ่งธรรม พุ่มสีนิล |
บริษัทแม่ | เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ (บริษัทร่วม) |
เว็บไซต์ | มีมิติ ที่เฟซบุ๊ก |
บริษัท มีมิติ จำกัด (อังกฤษ: Memiti Company Limited) เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554 โดยรุ่งธรรม พุ่มสีนิล ร่วมทุนกับจีเอ็มเอ็มทีวี ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพื่อสร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ให้กับวงการโทรทัศน์ไทย โดยมีรุ่งธรรมเป็นกรรมการผู้จัดการ แต่ภายหลังได้ย้ายไปเป็นบริษัทย่อยของ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จากการปรับโครงสร้างธุรกิจของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และปรับรูปแบบเป็นบริษัทร่วมในช่วงปลายปี พ.ศ. 2559
ปัจจุบันมีมิติมีสำนักงานอยู่ในโครงการ Chic District ราม 53 เลขที่ 388/15-16 ซอยรามคำแหง 53 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310 เน้นผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ วาไรตีโชว์ เรียลลิตีโชว์ ทั้งที่ผลิตและพัฒนารูปแบบรายการเอง และซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ เพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ
ประวัติ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2554 รุ่งธรรม พุ่มสีนิล อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ได้แยกตัวออกจากบริษัท และได้ร่วมทุนกับ บริษัท จีเอ็มเอ็มทีวี จำกัด ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ก่อตั้ง บริษัท มีมิติ จำกัด ขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้นที่ 6,000,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 60,000 หุ้น ตราไว้หุ้นละ 100 บาท โดยรุ่งธรรมแบ่งกันถือหุ้นกับจีเอ็มเอ็มทีวีเป็นจำนวน 18,000 - 42,000 หุ้น (คิดเป็นสัดส่วน 30% - 70% ของหุ้นทั้งหมด) ทำให้มีมิติเป็นบริษัทย่อยของจีเอ็มเอ็มทีวี[1][2][3] โดยมีจุดประสงค์ที่จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ให้กับวงการโทรทัศน์ไทย
มีมิติมีสำนักงานแห่งแรกตั้งอยู่ที่ชั้น 16 ของอาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส เลขที่ 50 ซอยสุขุมวิท 21 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 และเริ่มทำการผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์รายการแรกคือรายการ เกมเหลือเกิน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2554[4] โดยในช่วง 3 ปีแรกได้ผลิตรายการร่วมกับจีเอ็มเอ็มทีวี เพื่อออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ 3 ช่อง คือช่อง 3, ช่อง 5 และโมเดิร์นไนน์ทีวี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2557 มีมิติได้รับรางวัลแรกคือ รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 28 สาขารายการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่น จากรายการคนไทยขั้นเทพ[5]
ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 จีเอ็มเอ็มทีวีได้จำหน่ายหุ้นของตัวเองที่ถือในมีมิติทั้ง 70% ให้แก่ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ถือหุ้นแทน ตามนโยบายในการปรับโครงสร้างธุรกิจของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ส่งผลให้มีมิติถูกย้ายไปเป็นบริษัทย่อยของ เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ไปโดยปริยาย[6] และเนื่องจากช่วงนั้น จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลเป็นของตัวเองถึง 2 ช่อง คือช่องวัน 31 และจีเอ็มเอ็ม 25 มีมิติซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จึงผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ วาไรตีโชว์ เรียลลิตีโชว์ เพื่อออกอากาศทาง 2 ช่องดังกล่าวเป็นหลัก เพื่อเพิ่มความสะดวกในการบริหารงานธุรกิจโทรทัศน์ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้จำหน่ายหุ้นของตัวเองให้กรรมการและกลุ่มผู้บริหารของมีมิติถือหุ้นเพิ่มอีก 27,000 หุ้น คิดเป็น 45% ทำให้รุ่งธรรมกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในมีมิติแทนเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ที่จำนวน 45,000 - 15,000 หุ้น (คิดเป็นสัดส่วน 75% - 25% ของหุ้นทั้งหมด) และทำให้มีมิติเปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทร่วม และได้รับโอนย้ายพนักงานในการผลิตรายการบางส่วนมาจากเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์[7] เนื่องจากเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ต้องการมุ่งเน้นการผลิตละครเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม รุ่งธรรมและเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ก็ได้ทำสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นของมีมิติ โดยเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จะประสานงานกับสถานีโทรทัศน์ในการเช่าเวลาออกอากาศรายการของมีมิติ[8]
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา มีมิติกลับมาผลิตรายการโทรทัศน์ให้แก่สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งออกอากาศคู่ขนานกับระบบดิจิทัลทางช่อง 33 (ปัจจุบันคือช่อง 3 เอชดี) อีกครั้ง โดยเริ่มโครงการแรกคือ "สงคราม 3 ฤดู" ประกอบด้วยรายการวาไรตี้จำนวน 3 รายการ ซึ่งมีรูปแบบรายการแตกต่างกันทั้ง 3 รูปแบบ และออกอากาศทางช่อง 3 ในช่วงเวลาเริ่มต้นฤดูกาลทั้ง 3 ฤดู[9] หลังจากนั้น มีมิติก็ได้หันมาผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ วาไรตี้โชว์ เรียลลิตีโชว์ เพื่อออกอากาศทางช่อง 3 เป็นหลัก ขณะที่มีมิติเองก็ยังคงผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อออกอากาศทางช่องวัน 31 และจีเอ็มเอ็ม 25 ตามเดิม โดยผลิตถึงปี พ.ศ. 2563 ก่อนจะหยุดการผลิตรายการให้ทั้ง 2 ช่อง หลังจากที่เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้เข้าซื้อจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง และเข้ารับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนการตลาดของช่องจีเอ็มเอ็ม 25
ในปี พ.ศ. 2562 มีมิติได้ย้ายสำนักงานไปอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน คือโครงการ Chic District ราม 53 เลขที่ 388/15-16 ซอยรามคำแหง 53 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร 10310[1] และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 มีมิติได้เริ่มผลิตรายการโทรทัศน์ออกอากาศทางช่อง 7HD โดยผลิตในนาม "บริษัท ฟิตเตอร์เทนเมนท์ จำกัด" เช่นเดียวกับบางรายการที่ออกอากาศเฉพาะวาระพิเศษหรือออกอากาศเฉพาะช่องทางออนไลน์[1]
บุคลากร
[แก้]- กรรมการผู้จัดการ - รุ่งธรรม พุ่มสีนิล
- กรรมการ - ถกลเกียรติ วีรวรรณ
รายการโทรทัศน์
[แก้]มีมิติผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์ วาไรตีโชว์ เรียลลิตีโชว์ ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ โดยในปัจจุบันกำลังออกอากาศอยู่ 3 รายการ รายชื่อของรายการโทรทัศน์ทั้งหมดของมีมิติจะเรียงตามปีที่เริ่มแพร่ภาพออกอากาศ ทั้งนี้ รายการโทรทัศน์ที่กำลังจะออกอากาศในอนาคตเน้น "ตัวเอน" และรายการโทรทัศน์ที่กำลังออกอากาศอยู่ในปัจจุบันเน้น "ตัวหนา"
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2556
พ.ศ. 2557
พ.ศ. 2558
พ.ศ. 2559
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2561
|
พ.ศ. 2562
พ.ศ. 2563
พ.ศ. 2564
พ.ศ. 2565
พ.ศ. 2566
พ.ศ. 2567
|
รางวัล
[แก้]- พ.ศ. 2557 - รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 28 ประเภทรายการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่น (รายการ คนไทยขั้นเทพ)[5]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "ข้อมูล บริษัท มีมิติ จำกัด". thaicorporates.com. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2013.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "แจ้งการลงทุนของบริษัทย่อย" (PDF). จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่. 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ 2021-04-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เฟื่องวัฒนานนท์, สุรเชษฐ์ (2556). GRAMMY: Annual Report 2012. p. 50. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2020.
- ↑ "จีเอ็มเอ็ม ทีวี ผุดรายการใหม่ เกมเหลือเกิน". เอ็มไทย. 6 กรกฎาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 72 พฤศจิกายน 2020.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 5.0 5.1 สยามโซน (17 มีนาคม 2014). "ผลการประกาศรางวัล โทรทัศน์ทองคำ ประจำปี 2556". www.siamzone.com. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2020.
- ↑ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (24 มิถุนายน 2015). "ที่ GRAMMY 017/2558" (PDF). grammy.listedcompany.com. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2020.
- ↑ "รายงานความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์และรายการที่เกี่ยวโยงกัน กรณีการเข้าลงทุนเพิ่มเติมในบริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด" (PDF). เจดี พาร์ทเนอร์. 2017-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-04-27.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ 69-1) และหนังสือชี้ชวน บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) ส่วนที่ 2.2.8 ข้อมูลสำคัญอื่น. เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์. pp. 36–37. สืบค้นเมื่อ 2022-02-19.
- ↑ ฝ่ายข่าว ช่อง 3 เอชดี (20 มีนาคม 2018). "เปิดตัวรายการ สงคราม 3 ฤดู". news.ch3thailand.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-25. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2020.
- ↑ "มอบสุขฉลองครบรอบ 10 ปี พบ "Hollywood Game Night Thailand" ซีซั่นพิเศษ". ไทยรัฐ. 2021-01-30. สืบค้นเมื่อ 2022-12-01.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- มีมิติ ที่เฟซบุ๊ก
- MEMITI ROOM ที่ยูทูบ