ข้ามไปเนื้อหา

ตลาดอารมณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตลาดอารมณ์
สร้างโดยเอ็กแซ็กท์ / ซีเนริโอ
เขียนโดยบทประพันธ์ :
อุปถัมภ์ กองแก้ว
บทโทรทัศน์ :
ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์
กำกับโดยนิพนธ์ ผิวเณร
แสดงนำชาคริต แย้มนาม
ปิยธิดา วรมุสิก
ศิริลักษณ์ ผ่องโชค
รัฐศาสตร์ กรสูต
วรรณรท สนธิไชย
แอริน ยุกตะทัต
ชนิดาภา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องไม่เหลืออะไรเลย
จำนวนตอน24 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตถกลเกียรติ วีรวรรณ
ผู้อำนวยการสร้างถกลเกียรติ วีรวรรณ
นิพนธ์ ผิวเณร
ความยาวตอน1 ชั่วโมง / ตอน
ออกอากาศ
เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
ออกอากาศ3 มีนาคม พ.ศ. 2554 –
13 เมษายน พ.ศ. 2554

ตลาดอารมณ์ เป็นนวนิยายไทยแนวโรแมนติก ดราม่า เป็นบทประพันธ์ของ อุปถัมภ์ กองแก้ว เป็นเรื่องราวของหญิงสาวคนหนึ่ง ที่พยายามทำทุกวิถีทางกลับได้รับสิ่งตอบแทนเป็นการเข้าใจผิดและการเกลียดชัง อีกทั้งยังต้องเผชิญจากเหล่าผู้คนรอบตัวที่ต้องการแย่งชิงสมบัติมหาศาลไปครอบครองไว้แต่เพียงผู้เดียว นวนิยายเรื่องนี้ทำเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มาหลายครั้งแล้ว

ภาพยนตร์ ตลาดอารมณ์ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2517 ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 มม. เสียงในฟิล์ม กำกับการแสดงโดย เนรมิต นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, อรัญญา นามวงศ์, สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์, เมตตา รุ่งรัตน์, ชุมพร เทพพิทักษ์, ศันสนีย์ สมานวรวงศ์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้ส่งไปประกวดงานมหกรรมหนังเอเชียที่ไต้หวัน ซึ่งได้รับ 2 รางวัล ในสาขานักแสดงนำยอดเยี่ยม (อรัญญา นามวงศ์) และภาพยนตร์ได้รางวัลล้างฟิล์มยอดเยี่ยม[1]

ในปี พ.ศ. 2554 ได้รับการสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ออกอากาศทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 20.25 น. ผลิตโดย เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ กำกับการแสดงโดย นิพนธ์ ผิวเณร นำแสดงโดย ชาคริต แย้มนาม, ปิยธิดา วรมุสิก, ศิริลักษณ์ ผ่องโชค, รัฐศาสตร์ กรสูต, วรรณรท สนธิไชย, แอริน ยุกตะทัต และ ชนิดาภา พงศ์ศิลป์พิพัฒน์ ซึ่งเริ่มออกอากาศ วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 สิ้นสุดการออกอากาศ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

บทประพันธ์สู่ภาพยนตร์

[แก้]

เดิมทีบทประพันธ์ ตลาดอารมณ์ ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ มีรายละเอียดดังนี้

บทประพันธ์สู่ละครโทรทัศน์

[แก้]

นักแสดงนำ

[แก้]
รูปแบบการนำเสนอ ตรัส วิภาคโยธิน บงกช ชโลธร พิชิต ผกายกุล
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2517 สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงศ์ เมตตา รุ่งรัตน์ สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์ ศันสนีย์ สมานวรวงศ์
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2526 วิฑูรย์ กรุณา ดวงชีวัน โกมลเสน วิยะดา อุมารินทร์ สุเชาว์ พงษ์วิไล วรารัตน์ เทพโสธร
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2528 ดิลก ทองวัฒนา ลินดา ค้าธัญเจริญ ธิติมา สังขพิทักษ์ จีระศักดิ ปิ่นสุวรรณ
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2531 รอน บรรจงสร้าง นาถยา แดงบุหงา ราตรี วิทวัส พิศาล อัครเศรณี กิติยา โลหะพรรณ
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2554 ชาคริต แย้มนาม ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ ศิริลักษณ์ ผ่องโชค รัฐศาสตร์ กรสูต วรรณรท สนธิไชย

เรื่องย่อ ภาพยนตร์ พ.ศ. 2517

[แก้]

ไตร วิภาคโยธิน เศรษฐีใหญ่ ที่ได้หญิงสาวข้างถนนมาเป็นภรรยาใหม่ชื่อว่า บงกช (วิภาคโยธิน) ต่อมา ไตร วิภาคโยธินได้เสียชีวิต ตรัส วิภาคโยธิน ลูกชายคนเดียวของไตรเดินทางกลับจากต่างประเทศ เพื่อมาเคารพศพ หลังจากตัดขาดกัน ซึ่งตรัสไม่พอใจในตัวบงกช ซึ่งเป็นแม่เลี้ยงของตน จึงไม่ยอมเข้ายุ่งเกี่ยวกับกิจการ และมรดกต่าง ๆ ของไตร ซึ่งที่บงกชนั้นหวังดีกับตรัสอยู่มาก

ตรัสมีคนรักคือ ชโลธร ลีลาทิพย์ ที่คบกันตั้งแต่เรียนอยู่ที่อเมริกา ชโลธรได้ทำงานที่บริษัทของตระกูลวิภาคโยธิน ชโลธรรู้ว่าตรัสเป็นผู้สืบทอดกิจการทั้งหมด จึงหวังจะแต่งงานด้วย

วันหนึ่ง ตรัสได้ช่วยผกายกุล หรือ กั้ง ซึ่งเป็นหลานสาวของบงกช จากการถูกลวนลาม ซึ่งจากเหตุการณ์ครั้งนี้ จึงได้ทำให้ตรัส และ กั้ง ได้สนิทกัน แต่ตรัสได้รู้จักกั้งในนามของ ผกายกุล และกั้งรู้จักตรัสในนามของ คุณแมน กั้งรู้ว่าลูกเลี้ยงของบงกชใจร้ายและอยุติธรรมกับบงกชมาตลอด เธอจึงมีอคติกับเขาและไม่อยากจะทำดีกับตรัส

ขณะเดียวกัน พิชิต พิชิตสรเดช หุ้นส่วนบริษัท ที่ต้องการจะเอาบริษัทเป็นของตัวเอง จึงดึงชโลธรมาเป็นพวก โดยยืนข้อเสนอว่าจะช่วยปกปิดเอาไว้ ทำให้ชโลธรยอมทำตามที่พิชิตสั่งทุกอย่าง เพราะที่แท้จริงแล้วชโลธรเป็นแค่เด็กในสลัมที่เป็นเด็กตกยากกำลังเจ็บหนักเพราะเป็นไส้ติ่ง มีแม่เป็นคนขายข้าวแกงอยู่ในซอย และยังมีน้องสาวชื่อว่า ชลาธาร ซึ่งชโลธรทอดทิ้งแม่และน้องสาวไปชุบตัวอยู่ที่เมืองนอก

ตรัสไปพบกั้งอีกครั้งที่เพชรบูรณ์ และกั้ง ถูกคนร้ายจับตัวไป ซึ่งตรัสก็ตามช่วยเหลือทันเวลา แต่กั้งก็ป่วยเข้าโรงพยาบาล บงกชรู้ข่าวก็รีบไปเยี่ยม ทำให้ตรัสรู้ความจริงว่ากั้งคือผกายกุลหลานสาวของบงกช ตรัสจริงเข้าใจผิดคิดว่ากั้งร่วมมือกับบงกชหลอกลวงเขามาตลอด ด้วยความแค้นตรัสจึงประกาศว่าจะกลับมาทำงานที่วิภาคโยธิน โดยมีข้อแม้ว่ากั้งจะต้องมาทำงานกับเขาเท่านั้น

พิชิตนั้นกวาดเรียบทั้ง บงกช ชโลธร และเขาก็หวังในตัวของผกายกุลด้วย แต่บงกชไม่ยอม จึงทำทุกวิถีมางที่จะไม่ให้พิชิตมาแตะต้องกั้งได้ ต่อมาพิชิตได้เข้ามาลวนลามกั้ง บงกชจึงยิงพิชิตตาย ตัวบงกชถูกจับ แต่ตรัสช่วยประกันตัว ระหว่างที่บงกชพักอยู่กับตรัส บงกชจึงเข้ามาปลุกปล้ำตรัส ทำให้กั้งเกิดความอับอายในตัวน้าของเธอ จึงหนีออกจากบ้านไป บงกชรู้ข่าวจึงเกิดความผิดหวังถึงกับกินยาตาย ซึ่งก่อนตายบงกชได้ฝากกับตรัสไว้ว่าฝากกั้งไว้ด้วย ตรัสได้ตามไปเล่าความจริงให้กั้งฟังว่า แท้ที่จริงบงกชเป็นแม่บังเกิดเกล้าของกั้งเอง ซึ่งปิดบังว่าเป็นน้าตลอดมา แต่ก็สายเสียแล้ว[3][4] ต่อมา ตรัสจึงได้แต่งงานกับกั้ง

ละคร พ.ศ. 2554

[แก้]

ล่าสุด ในปี พ.ศ. 2554 ตลาดอารมณ์ ได้รับการสร้างเป็นละครโทรทัศน์ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ออกอากาศทุกวันจันทร์ - พฤหัสบดี เวลา 20.25 น. ผลิตโดย เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ

รายละเอียด

[แก้]

รายชื่อนักแสดง

[แก้]

เพลงประกอบ

[แก้]

เพลงในละคร

[แก้]

รางวัล

[แก้]
งานประกาศผลรางวัล รางวัล ผู้เข้าชิง ผลรางวัล
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 9 นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ปิยธิดา วรมุสิก เสนอชื่อเข้าชิง
รางวัลเมขลา ครั้งที่ 24[6] เพลงนำละคร เมขลามหานิยมแห่งปี เพลง ไม่เหลืออะไรเลย
ขับร้องโดย วิชญาณี เปียกลิ่น
ชนะ
ดาราสมทบหญิง เมขลามหานิยมแห่งปี ศิริลักษณ์ ผ่องโชค ชนะ
ดารานำหญิงดีเด่นยอดนิยม ปิยธิดา วรมุสิก ชนะ
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 26 บทละครโทรทัศน์ดีเด่น ศิริลักษณ์ ศรีสุคนธ์ เสนอชื่อเข้าชิง
ดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น ศิริลักษณ์ ผ่องโชค เสนอชื่อเข้าชิง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "กระทู้หนังไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
  2. "แตกประเด็นเจาะลึกละครไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 2013-01-03.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-29. สืบค้นเมื่อ 2012-01-21.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2012-01-21.
  5. "Exact - ตลาดอารมณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-08. สืบค้นเมื่อ 2011-05-22.
  6. ณเดชน์-ชมพู่ คว้ารางวัลเมขลา จากเดลินิวส์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]