มัคซีมาทอร์
มัคซีมาทอร์ (เยอรมัน: Maximator; ตั้งชื่อตามเบียร์ประเภทหนึ่งจากโรงเบียร์เอากุสทีเนอร์-บร็อยของเยอรมนี) เป็นพันธมิตรระหว่างหน่วยสืบราชการลับของเดนมาร์ก, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน ซึ่งเทียบได้กับไฟว์อายส์ ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2519 ตามความคิดริเริ่มของหน่วยสืบราชการลับเดนมาร์ก และดำเนินการโดยไม่มีใครตรวจพบตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือที่สำคัญที่สุดสำหรับการลาดตระเวนและถอดรหัสคือการขายอุปกรณ์เข้ารหัสที่มีวิธีการเข้ารหัสที่ไม่รัดกุม สิ่งนี้กระทำผ่านครึพโท อาเก (Crypto AG) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนสัญชาติสวิสที่หน่วยข่าวกรองสหพันธ์ (เบเอ็นเด) และสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) เป็นเจ้าของอย่างลับ ๆ
ประวัติ
[แก้]แรงจูงใจของการเป็นพันธมิตรกันมี 2 ประการ ได้แก่ ความร่วมมือในการส่งสัญญาณข่าวกรองผ่านดาวเทียม และความร่วมมือในเรื่องความท้าทายในการสกัดกั้นทางเทคนิคและวิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูล[1]
พันธมิตรนี้ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2519 โดยหน่วยข่าวกรองของเดนมาร์ก และในตอนแรกประกอบด้วยเดนมาร์ก สวีเดน และเยอรมนีตะวันตกเท่านั้น[1] รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมใน พ.ศ. 2520 และเข้าร่วมใน พ.ศ. 2521[1] ชื่อนี้ได้รับเลือกใน พ.ศ. 2522 และนำมาจากเบียร์ที่กลั่นในมิวนิก[1] ฝรั่งเศสขอเข้าร่วมใน พ.ศ. 2526 และได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากเยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมใน พ.ศ. 2527[1]
ประเทศอื่น ๆ ได้ขอเข้าร่วม แต่คำขอถูกปฏิเสธ[1] บาร์ต ยาโกบส์ อ้างว่าประเทศเหล่านั้นรวมถึงนอร์เวย์ สเปน และอิตาลี[1]
กิจกรรม
[แก้]จนถึงขณะนี้ มีเพียงกิจกรรมบางอย่างของศูนย์ประมวลผลข้อมูลทางเทคนิค (Technisch Informatie Verwerkingscentrum: TIVC) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเนเธอร์แลนด์เท่านั้นที่เป็นที่รู้จักต่อสาธารณะ โดยส่วนใหญ่ให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารแก่กองบัญชาการสื่อสารภาครัฐ (จีซีเอชคิว) ซึ่งเป็นองค์การของสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามฟอล์กแลนด์ในการถอดรหัสการรับส่งข้อมูลทางวิทยุของอาร์เจนตินา
ตามคำแนะนำของซีไอเอ การขายอุปกรณ์เข้ารหัสโดยประนีประนอมจากบริษัทฟิลิปส์ของเนเธอร์แลนด์ไปยังตุรกีนั้นถูกบังคับใช้ โดยขัดต่อความต้องการของ หน่วยข่าวกรองสหพันธ์ สำนักข่าวกรองต่างประเทศของเยอรมนี และศูนย์ประมวลผลข้อมูลทางเทคนิค[1]
บริการดังกล่าวได้บำรุงรักษาสถานีภาคพื้นดินในแคริบเบียนบนกูราเซา ซึ่งตรวจสอบและถอดรหัสการรับส่งข้อมูลทางวิทยุจากคิวบาและเวเนซุเอลา[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Jacobs, Bart (7 April 2020). "Maximator: European signals intelligence cooperation, from a Dutch perspective". Intelligence and National Security. 35 (5): 659–668. doi:10.1080/02684527.2020.1743538. hdl:2066/221037. ISSN 0268-4527.
- ↑ Borchers, Detlef. "Geheimdienst-Kooperation "Maximator": Die Five Eyes Europas?". Heise Online (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 27 May 2020.