หน่วยสืบราชการลับ
หน่วยสืบราชการลับ (อังกฤษ: intelligence agency) หรือ หน่วยข่าวกรอง เป็นหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการในเรื่องการแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของราชการซึ่งเป็นความลับ ทั้งการรวบรวม วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นไปเพื่อความมั่นคงของชาติ การทหาร และวัตถุประสงค์ในนโยบายการต่างประเทศ[1]
สำหรับวิธีการรวบรวมข้อมูลข่าวกรองนั้นมีทั้งแบบเปิดเผยและแบบทางลับ ซึ่งรวมไปถึงการจารกรรม การสกัดกั้นเพื่อดักฟังการสื่อสาร การเข้ารหัสลับ การแบ่งปันข้อมูลกับหน่วยข่าวกรองอื่น ๆ รวมไปถึงการรวบรวมจากแหล่งข้อมูลสาธารณะ กระบวนการดังกล่าวที่กล่าวมาเรียกว่าการวิเคราะห์ข่าวกรองหรือการประเมินข่าวกรอง
หน่วยสืบราชการลับสามารถรวบรวมข่าวกรองเพื่อให้รัฐบาลของตนนำไปใช้งานบริหารราชการแผ่นดินต่าง ๆ อาทิ
- การแจ้งเตือนล่วงหน้าถึงเหตุการณ์วิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้น
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการวิกฤตระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยช่วยประเมินถึงเจตนารมย์ของฝ่ายตรงข้ามในสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
- ให้ข้อมูลการวางแผนป้องกันประเทศและการปฏิบัติการทางทหาร (ข่าวกรองทางทหาร)
- ปกป้องข้อมูลความลับของชาติที่ละเอียดอ่อน ทั้งจากภายในประเทศ และหน่วยข่าวกรองของชาติอื่น
- สร้างอิทธิพลแอบแฝงต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ของชาติ หรือสร้างอำนาจต่อรองด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ
- ป้องกันและต่อต้านความพยายามในการปฏิบัติการของหน่วยข่าวกรองชาติอื่น (การต่อต้านข่าวกรอง)
นอกจากนี้ ข่าวกรองนั้นมีความแตกต่างกัน ระหว่างข่าวกรองด้านความปลอดภัย จะเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในประเทศ อาทิ การก่อการร้าย การจารกรรม และ ข่าวกรองด้านการต่างประเทศ จะเกี่ยวข้องกับการรวบรวมข่าวกรองในด้านการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ
หน่วยสืบราชการลับบางแห่งมีความเกี่ยวข้องกับการลอบสังหาร การค้าอาวุธ การรัฐประหาร และการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ (การโฆษณาชวนเชื่อ) รวมไปถึงการปฏิบัติการลับ เพื่อสนับสนุนผลประโยชน์ของหน่วยงานตนเอง หรือของรัฐบาล
รูปภาพ
[แก้]-
ศูนย์กลางข่าวกรองจอร์จ บุช สำนักงานใหญ่ของสำนักข่าวกรองกลาง (CIA) แห่งสหรัฐ
-
สำนักงานใหญ่ของการสืบราชการลับต่างประเทศ (SVR) แห่งรัสเซีย
-
สำนักงานใหญ่ของการสืบราชการลับกลาง (BND) แห่งเยอรมนี
-
สำนักงานใหญ่ของหน่วยอำนวยการใหญ่ความมั่นคงภายนอก (DGSE) แห่งฝรั่งเศส
-
สำนักงานใหญ่ของนะอิโช (Naichō) แห่งญี่ปุ่น
-
วังปารุสกวัน สำนักงานใหญ่ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (NIA) แห่งไทย
-
สำนักงานใหญ่ของการสืบราชการลับความมั่นคงออสเตรเลีย (ASIS)
-
สำนักงานใหญ่ของการสืบราชการลับความมั่นคงแคนาดา (CSIS)
-
สำนักงานใหญ่ของการสืบราชการลับความมั่นคงนิวซีแลนด์ (NZSIS)
-
สำนักงานใหญ่ของกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ (MSS) แห่งจีน
-
สำนักงานใหญ่ของสำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) แห่งสหรัฐ
-
สำนักงานใหญ่ของหน่วยความมั่นคง (MI5) แห่งสหราชอาณาจักร
-
ตึกลูเบียนก้า สำนักงานใหญ่ของหน่วยความมั่นคงกลาง (FSB) แห่งรัสเซีย
-
สำนักงานใหญ่ของ BfV แห่งเยอรมนี
-
สำนักงานใหญ่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (NPA) แห่งญี่ปุ่น
-
สำนักงานใหญ่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ของประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ
-
สำนักงานใหญ่ของ ASIO แห่งออสเตรเลีย
-
สำนักงานใหญ่ของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) แห่งสหรัฐ
-
สำนักงานใหญ่ของจีซีเอชคิว (GCHQ) แห่งสหราชอาณาจักร
-
สำนักงานใหญ่ของ CSE แห่งแคนาดา
-
สำนักงานใหญ่ของสำนักงานข่าวกรองกลาโหม (DIA) แห่งสหรัฐ
-
สำนักงานใหญ่ของข่าวกรองกลาโหม (DI) แห่งสหราชอาณาจักร
-
สำนักงานใหญ่ของ DIO แห่งออสเตรเลีย
ดูเพิ่ม
[แก้]รายชื่อ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Szoldra, Paul (May 11, 2013). "These 17 Agencies Make Up The Most Sophisticated Spy Network In The World". Business Insider.