มะเดื่อชุมพร
มะเดื่อชุมพร | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง |
เคลด: | พืชดอก |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ |
เคลด: | โรสิด |
อันดับ: | กุหลาบ |
วงศ์: | วงศ์ขนุน |
สกุล: | โพ |
สกุลย่อย: | F. subg. Sycomorus L. |
สปีชีส์: | Ficus racemosa |
ชื่อทวินาม | |
Ficus racemosa L. | |
ชื่อพ้อง | |
Ficus glomerata Roxb. |
มะเดื่อชุมพร หรือ มะเดื่ออุทุมพร (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus racemosa) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในวงศ์ Moraceae ลำต้นตรงสูงเต็มที่ 20 เมตร เปลือกต้นสีเทา มีถิ่นกำเนิดที่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์และออสเตรเลีย และเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานและเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดชุมพร[2]
ลักษณะ
[แก้]ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับตามกิ่ง มีก้านใบยาว 6-10 ซม. รูปทรงรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบราว 6-8 คู่
ดอก ออกเป็นช่อยาวตามกิ่ง แต่ละช่อมีดอกย่อยขนาดเล็กเป็นกลุ่ม สีขาวออกชมพู
ผล ออกเป็นกลุ่มรูปทรงกลมรี เกาะกลุ่มตามต้นและกิ่งห้อยระย้าสวยงามมาก ผลสุกมีสีแดงม่วง รับประทานได้ รสฝาดอมหวาน ดอกและผลออกทั้งปี
ดอก
[แก้]ดอกของมะเดื่อชุมพรมีขนาดเล็กเกิดอยู่ภายในช่อดอก (inflorescences) ที่มีลักษณะคล้ายผล ช่อดอกนี้มีชื่อเรียกว่า cyconium หรือ fig เกิดจากการพัฒนาตัวของฐานรองช่อดอก (receptacle) เจริญแผ่โอบหุ้มกลุ่มดอกย่อยทั้งหมดไว้ภายในและมีช่องเปิดด้านบนเรียก ช่องเปิด (ostiole หรือ orifice) ที่ช่องเปิดปกคลุมด้วยกลีบประดับปากช่องเปิด (apical bract) ขนาดเล็กจำนวนมาก (หลายคนเข้าใจว่ากลีบประดับนี้คือกลีบดอก) โคนช่อดอกมีกลีบประดับฐานช่อดอก (basal bract) 3 ใบ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Botanic Gardens Conservation International (BGCI).; IUCN SSC Global Tree Specialist Group (2019). "Ficus racemosa". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T145362959A145371147. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-2.RLTS.T145362959A145371147.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ จังหวัดชุมพร เก็บถาวร 2003-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Ficus racemosa". ดัชนีชื่อพืชของออสเตรเลีย (Australian Plant Name Index, APNI), ฐานข้อมูล IBIS. ศูนย์วิจัยความหลากทางชีวภาพทางพืช รัฐบาลประเทศออสเตรเลีย.