ภาษาคริมชาก
ภาษาคริมชาก | |
---|---|
кърымчах тыльы | |
ประเทศที่มีการพูด | ไครเมีย, อิสราเอล, ตุรกี |
ชาติพันธุ์ | ชาวคริมชาก 1,800 คน (2007)[1] |
จำนวนผู้พูด | 200 คน (2007)[1] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรซีริลลิก, อักษรละติน, อักษรฮีบรู |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ยูเครน[2] |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | jct |
Linguasphere | ส่วนหนึ่งของ 44-AAB-a |
ภาษาคริมชาก (кърымчах тыльы, Qrımçah tılyı) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ใช้พูดในไครเมียโดยชาวคริมชาก บางครั้งจัดเป็นสำเนียงของภาษาตาตาร์ไครเมียเรียกภาษาตาตาร์ไครเมียของชาวยิว
ภาษานี้มีคำยืมจากภาษาฮีบรูมาก ก่อนยุคสหภาพโซเวียต เคยเขียนด้วยอักษรฮีบรู จนถึงยุคของสหภาพโซเวียตเมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1930 จึงเปลี่ยนมาเขียนมาเขียนด้วยอักษรละติน แบบที่ใช้เขียนภาษาตุรกี ปัจจุบันเขียนด้วยอักษรซีริลลิก
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษานี้ได้หายไปและถูกแทนที่ด้วยภาษารัสเซีย โดยประชากรประมาณ 70% หายสาบสูญจากฮอโลคอสต์[3] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1944 ชาวตาตาร์ไครเมียเกือบทั้งหมดถูกอพยพไปอุซเบกิสถาน ทำให้มีผู้พูดภาษานี้ในอุซเบกิสถานด้วย
ปัจจุบัน ภาษานี้อยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญ โดยข้อมูลจากสำมะโนยูเครนประจำปี 2001 บันทึกว่ามีชาวคริมชากในไครเมีย 785 คน โดยมีประมาณการว่ามีชาวคริมชากประมาณ 1,500-2,000 คนทั่วโลก ส่วนใหญ่อยู่ในอิสราเอล, ไครเมีย, รัสเซีย และสหรัฐ มีผู้พูดภาษาแม่เพียง 5-7 คน
คำศัพท์
[แก้]ภาษาคริมชากยืมคำจากภาษาฮีบรูมากถึง 5%[4] งานวิจัยหนึ่งระบุว่าข้อความคริมชากมีคำยืมจากโอคุซและคิปชาก ตัวบทในยุคหลังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของภาษารัสเซียอย่างสูง ในขณะที่ตัวบทยุคก่อนมีคำยืมจากภาษาอาหรับและเปอร์เซียจำนวนมาก[5]
คริมชาก | ตุรกี | ไทย |
---|---|---|
kılıç | kılıç | ดาบ |
arıslan | arslan | สิงโต |
yaka | yaka | ปลอกคอ |
yulduz | yıldız | ดาว |
yaş | yaş | อายุ |
yol | yol | ถนน |
kalkan | kalkan | โล่ |
yanhı | yeni | ใหม่ |
yel | yel | ลม |
tülkü | tilki | สุนัขจิ้งจอก |
sıçan | sıçan | หนู |
i̇mırtha | yumurta | ไข่ |
taş | taş | หิน |
altın | altın | ทอง |
tengiz | deniz | ทะเล |
kumuş | gümüş | เงิน |
ögüz | öküz | โค |
koy | koyun | แกะ |
suv | su | น้ำ |
at | at | ม้า |
agaç | ağaç | ต้นไม้ |
yeşil | yeşil | เขียว |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ภาษาคริมชาก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ "To which languages does the Charter apply?". European Charter for Regional or Minority Languages. Council of Europe. p. 3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-27. สืบค้นเมื่อ 2014-04-03.
- ↑ Green, Warren (1984). "The Fate of the Crimean Jewish Communities: Ashkenazim, Krimchaks and Karaites". Jewish Social Studies. 46 (2): 169–176. ISSN 0021-6704.
- ↑ Khazanov, Anatoly (1989). The Krymchaks: A Vanishing Group in the Soviet Union. Jerusalem: Hebrew University of Jerusalem. pp. 3–4.
- ↑ Polinsky, Maria (1991). "The Krymchaks: History and Texts". Ural-Altaic Yearbook. 63: 123–154.