ฟูโรซีไมด์
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ปาก, IV, IM |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 43-69% |
การเปลี่ยนแปลงยา | ปฏิกิริยาเติมกรดกลูคูโรนิกที่ตับและไต |
ระยะเริ่มออกฤทธิ์ | 30 ถึง 60 นาที (PO), 5 นาที (IV)[1] |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | ถึง 100 นาที |
การขับออก | ไต 66%, น้ำดี 33% |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.000.185 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C12H11ClN2O5S |
มวลต่อโมล | 330.745 g/mol g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
(verify) | |
ฟูโรซีไมด์ (อังกฤษ: Furosemide) ขายภายใต้ชื่อการค้า ลาซิกซ์ (อังกฤษ: Lasix) ฯลฯ เป็นยาที่ใช้รักษาอาการบวมน้ำเนื่องจากภาวะหัวใจวาย โรคตับแข็งหรือโรคไต[1] นอกจากนี้ยังอาจใช้รักษาความดันโลหิตสูง ปริมาณยาที่ใช้แล้วแต่บุคคล ให้ได้ทั้งเข้าหลอดเลือดดำและทางปาก เมื่อรับประทานตรงแบบยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายในหนึ่งชั่วโมง แต่ถ้าเข้าหลอดเลือดดำตรงแบบจะเริ่มออกฤทธิ์ในห้านาที[1]
ผลข้างเคียงทั่วไปมีความดันเลือดตกเมื่อยืนขึ้น เสียงในหูและภาวะไวแสง ผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้มีการเสียดุลอิเล็กโทรไลต์ ความดันเลือดต่ำ และหูหนวก แนะนำให้ทดสอบเลือดเป็นประจำสำหรับผู้ที่ได้รับยาเพื่อรักษา ฟูโรซีไมด์เป็นยาขับปัสสาวะที่ออกฤทธิ์ที่ลูป (loop diuretic) ชนิดหนึ่งซึ่งออกฤทธิ์โดยลดการดูดกลับโซเดียมที่ไต[1]
ฟูโรซีไมด์ถูกค้นพบเมื่อปี 2505[2] อยู่ในรายการยาหลักของตัวแบบองค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) คือ ยาที่สำคัญที่สุดที่จำเป็นต่อระบบบริการสุขภาพพื้นฐาน[3] ราคาขายส่งทั่วโลกอยู่ระหว่าง 0.004 ถึง 0.02 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน[4] ในสหรัฐมีขายเป็นยาสามัญ ราคาประมาณ 0.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ฟูโรซีไมด์อยู่ในรายการยาต้องห้ามขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลกเนื่องจากกังวลว่าอาจบดบังยาอื่น[5] ยานี้ใช้ป้องกันและรักษาม้าแข่งที่มีภาวะเลือดออกในปอดที่ชักนำด้วยการออกกำลังกาย (exercise-induced pulmonary hemorrhage)[6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Furosemide". The American Society of Health-System Pharmacists. สืบค้นเมื่อ Oct 23, 2015.
- ↑ Rang, Humphrey (2013). Drug discovery and development [electronic resource] (2nd ed.). Edinburgh: Churchill Livingstone. p. Chapter 1. ISBN 9780702053160.
- ↑ "WHO Model List of EssentialMedicines" (PDF). World Health Organization. October 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
- ↑ "Furosemide". International Drug Price Indicator Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-10. สืบค้นเมื่อ 24 October 2015.
- ↑ "THE 2014 PROHIBITED LIST INTERNATIONAL STANDARD" (pdf). 2014. p. 5. สืบค้นเมื่อ 24 October 2015.
- ↑ Sullivan, S; Hinchcliff, K (April 2015). "Update on exercise-induced pulmonary hemorrhage". The Veterinary clinics of North America. Equine practice. 31 (1): 187–98. doi:10.1016/j.cveq.2014.11.011. PMID 25770069.
- ↑ Hinchcliff, KW; Couetil, LL; Knight, PK; Morley, PS; Robinson, NE; Sweeney, CR; van Erck, E (2015). "Exercise induced pulmonary hemorrhage in horses: American College of Veterinary Internal Medicine consensus statement". Journal of veterinary internal medicine / American College of Veterinary Internal Medicine. 29 (3): 743–58. doi:10.1111/jvim.12593. PMID 25996660.