อาการบวมน้ำ
บวมน้ำ | |
---|---|
ชื่ออื่น | Edema, Oedema, œdema, fluid retention, water retention, dropsy, hydropsy, swelling |
อาการบวมน้ำแบบ "กดบุ๋ม" | |
การออกเสียง | |
สาขาวิชา | วิทยาหัวใจ, วิทยาไต |
อาการ | อาการรู้สึกตึงแน่นที่ผิวหนัง อาจรู้สึกหนัก[1] |
การตั้งต้น | ฉับพลัน / ค่อยเป็นค่อยไป[2] |
ประเภท | กระจาย / เฉพาะจุด[2] |
สาเหตุ | โรคหลอดเลือดดำ, หัวใจล้มเหลว, โรคไต, โปรตีนในเลือดต่ำ, โรคตับ, ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำลึก, บวมน้ำเหลือง[1][2] |
วิธีวินิจฉัย | ตามการตรวจร่างกาย[3] |
การรักษา | ตามต้นเหตุโรค[2] |
อาการบวมน้ำ (อังกฤษ: edema หรือ oedema, อังกฤษ: fluid retention, dropsy, hydropsy) หรือ การบวม (อังกฤษ: swelling) เป็นการสะสมของของเหลวในเนื้อเยื่อของร่างกาย[1] พบบ่อยที่แขนและขา[1] อาการมักประกอบด้วยความรู้สึกตึงที่ผิวหนัง อาจรู้สึกหนัก และไขข้อที่ได้รับผลกระทบจะเคลื่อนไหวยากเช่นกัน[1] ส่วนอาการอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับต้นเหตุของโรค[2]
สาเหตุอาจเกิดจากโรคหลอดเลือดดำ, หัวใจล้มเหลว, โรคไต, ระดับโปรตีนต่ำ, โรคตับ, หลอดเลือดดำลึกอุดตัน, การติดเชื้อ, แองจิอีดีมา, ยาบางชนิด และ ลิมฟีดีมา[1][2] นอกจากนี้อาจพบได้ในผู้ที่นั่งหรือยืนนานเกินไป รวมถึงอาจพบได้ในผู้ที่อยู่ระหว่างช่วงเกิดประจำเดือนหรือตั้งครรภ์[1] อาการจะน่าเป็นห่วงมากหากเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน หรือพบปัญหาในการหายใจร่วมด้วย[2]
การรักษากระทำโดยรักษาต้นเหตุของอาการ[2] หากกลไกเกิดโรคเกี่ยวข้องกับการคั่งของโซเดียม อาจแนะนำผู้ป่วยลดการบริโภคเกลือและให้ทานยาขับปัสสาวะ[2] การยกขาขึ้นและไม้ค้ำยันอาจช่วยผู้ป่วยที่บวมที่ขาได้[3] อาการบวมน้ำพบมากกว่าในผู้สูงอายุ[3] รากศัพท์ในภาษาอังกฤษมาจากภาษากรีก οἴδημα oídēma แปลว่า 'การบวม'[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Causes and signs of edema (ภาษาอังกฤษ). Institute for Quality and Efficiency in Health Care (IQWiG). 2016.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "Edema - Cardiovascular Disorders". Merck Manuals Professional Edition. สืบค้นเมื่อ 8 December 2019.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Edema: Causes, Symptoms, Diagnosis & Treatment". familydoctor.org. สืบค้นเมื่อ 23 December 2019.
- ↑ Liddell, Henry. "A Greek-English Lexicon, οἴδ-ημα". www.perseus.tufts.edu. สืบค้นเมื่อ 8 December 2019.