ข้ามไปเนื้อหา

พูดคุย:อาณาจักรอยุธยา

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความเห็นล่าสุดเมื่อ: 3 ปีที่แล้ว โดย Mda ในหัวข้อ รื้อศักราช
อาณาจักรอยุธยา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ อาณาจักรอยุธยา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
อาณาจักรอยุธยา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ อาณาจักรอยุธยา หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

[ไม่มีหัวข้อ]

[แก้]

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ (โอรสพระรามาธิบดีที่ ๒) คือ หน่อพุทธางกูล ไม่น่าจะใช่ โอรสพระรามาธิบดีที่ ๒

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ หรือ สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ --ฉัตรา 10:59, 28 ตุลาคม 2552 (ICT)

ที่มาของพระเจ้าอู่ทอง

[แก้]

ตามที่กล่าวใน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ซึ่งไม่ใช่เมืองอู่ทอง สุพรรณบุรี จึงขอแก้ไขนะครับ --Yuk 13:16, 31 ธันวาคม 2552 (ICT)

วันสถาปนา

[แก้]

วันสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่ในบทความระบุว่าตรงกับ 3 เมษายน พ.ศ. 1893 ไม่น่าจะถูก หนังสือเกร็ดพงศาวดารที่ผมมีระบุว่าเป็นวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712 ซึ่งผมได้ตรวจสอบเทียบปฏิทินจูเลียน ดิถี และคำนวณปฏิทินจุลศักราชแล้ว น่าจะตรงกับวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1351 (พ.ศ. 1893) ซึ่งพบต่อมาว่าตรงกับคำตอบในกระทู้ที่ [1] หากบทความนี้ไม่ระบุแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ ผมจะแก้ไขในบทความต่อไปครับ --Pi@k 02:01, 3 เมษายน 2007 (UTC)

เจอแหล่งอ้างอิงเพิ่ม [2] แก้เลยแล้วกัน --Pi@k 02:49, 3 เมษายน 2007 (UTC)

นำออกจากบทความ

[แก้]

หลักฐานที่แสดงให้เห็นชัดที่สุดว่าพระเจ้าอู่ทองควรจะสืบเชื้อสายมาจากลพบุรี คือ งานศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนตันที่มีอิทธิพลของศิลปะลพบุรีอยู่มาก เช่น เจดีย์ทรงปรางค์ที่วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะซึ่งมีลักษณะแผนผังของวัดและตัวปรางค์ คล้ายกับปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี พระพุทธรูปมีพระพักตร์คล้ายกับประติมากรรมขอม และระบบการปกครองก็มีอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมรอย่างเห็นได้ชัด เช่น ระบบเทวราชา

นอกจากนี้บริเวณเมืองอยุธยา ยังมีแม่น้ำป่าสักที่มีไหลผ่านเมืองศรีเทพที่เป็นแหล่งวัฒนธรรมสมัยทวารวดีที่สำคัญ และแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำทั้ง 3 สายนี้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมกับเมืองที่มีความเจริญซึ่งอยู่ทางเหนือขึ้นไป เช่น อาณาจักรสุโขทัย,หริภุญไชย,ล้านนาและเมืองเล็กเมืองน้อยอีกมากมาย จึงสันนิษฐานได้ว่าพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยานี้คงเคยเจริญภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีมาก่อน

เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์พื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ และจะมีน้ำจากทางเหนือท่วมไหลลงมาท่วมทุกปีซึ่งน้ำจะได้พัดเอาตะกอนอันอุดมสมบูรณ์ลงมาด้วย พื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาจึงเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก และพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยาคงเป็นเมืองท่าและจุดแวะพักสินค้าด้วย เนื่องจากมีแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลลงสู่อ่าวไทยไหลผ่าน จึงทำให้ต่อมาได้มีพัฒนาการความเจริญจนเริ่มมีความเป็นเมือง สันนิษฐานว่าคงเมืองอยุธยาอาจเจริญขึ้นในช่วงทวารวดีตอนปลายแล้วดังพบหลักฐานทางศิลปกรรมคือเจดีย์วัดขุนใจเมือง ซึ่งมีลักษณะศิลปะและการก่อสร้างแบบศิลปะทวารวดี คือ เป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูนองค์สูงใหญ่ เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่บริเวณถนนใหญ่ในตัวเกาะอยุธยา

และเมืองอยุธยาในช่วงแรกคงเจริญภายใต้อิทธิพลอำนาจของเมืองลพบุรี โดยอาจเป็นเมืองลูกหลวงดังมีข้อความปรากฏในตำนานมูลศาสนาว่า “เมืองรามเป็นเมืองลูกหลวงของเมืองละโว้” เมืองรามนี้สันนิษฐานว่าคงเป็นเมืองอโยธยาหรืออยุธยานั่นเอง ต่อมาเมืองลพบุรีได้รับอิทธิพลทางการเมืองจากอาณาจักรเขมร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่างยิ่งในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือ พศว.ที่ 16-17 เมืองอยุธยาก็คงต้องได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมเขมรด้วยแน่นอน ถึงแม้ว่าใน พศว.ที่ 18 จะมีการกำเนิดของอาณาจักรสุโขทัย กษัตริย์และผู้คนบริเวณเมืองลพบุรีก็คงมิได้หายไปไหน จึงอาจเป็นไปได้ว่ากษัตริย์จากเมืองลพบุรี อาจย้ายศูนย์กลางเมืองจากลพบุรีมาอยู่บริเวณเมืองอยุธยาในปัจจุบัน โดยสันนิษฐานว่าอาจเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกับอำนาจของอาณาจักรสุโขทัยและอยากได้เมืองใหม่ที่มีชัยภูมิที่ดีกว่านี้

กษัตริย์ลพบุรีองค์ที่คิดย้ายนี้ก็อาจเป็นต้นวงศ์พระเจ้าอู่ทอง โดยเมืองที่ย้ายมาระยะแรกกระจายตัวอยู่สองข้างของแม่น้ำเจ้าพระยา ดังพบหลักฐานการอยู่อาศัยที่มีอายุก่อน พ.ศ. 1893 เช่น มีการสร้างพระเจ้าพนัญเชิงซึ่งพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในปีพ.ศ. 1867 สามารถวิเคราะห์ได้ว่าวัดที่พระเจ้าพนัญเชิงประดิษฐานอยู่คงเป็นวัดขนาดใหญ่ จึงสะท้อนให้เห็นถึงการมีชุมชนขนาดใหญ่ในบริเวณนี้และคงเป็นชุมชนที่มีการอยู่อาศัยก่อน ปี พ.ศ. 1893 แต่พื้นที่รอบบริเวณสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาในหน้าน้ำ จะเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ทำให้กษัตริย์พระองค์หนึ่งมีการคิดที่จะสร้างศูนย์กลางของเมืองใหม่ กษัตริย์พระองค์นั้นอาจเป็นสมัยพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งพระองค์ก็ได้เลือกพื้นที่บริเวณเมืองอยุธยานี้มาสร้างกรุงศรีอยุธยาแล้วสถาปนาตัวเองในชื่อว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อาณาจักรอยุธยาหรืออโยธยาศรีรามเทพนคร หากพิจารณาจากพื้นที่บริเวณที่เป็นเกาะเมืองอยุธยาที่พระเจ้าอู่ทอง หรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเลือกสร้างอาณาจักรอยุธยาที่มีความมั่นคงและใหญ่โต

ในส่วนของการขุดค้นทางโบราณคดีเห็นว่า ควรมีการขุดค้นที่บริเวณสองข้างของแม่น้ำทั้ง 3 สายที่ไหลผ่านเมืองอยุธยา และบริเวณพื้นที่จุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสักไหลมาบรรจบกัน เนื่องจากบริเวณนี้มีงานศิลปกรรมคือพระประธานที่วัดพนัญเชิงที่มีอายุการก่อสร้างปี พ.ศ. 1867 ซึ่งเก่ากว่าปีพ.ศ.ที่สถาปนากรุงศรีอยุธยา เพื่อหาข้อมูลการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชนก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเพื่อมาสนับสนุนข้อสันนิษฐานข้างต้นที่กล่าวมานี้

จึงอาจสรุปได้ว่า กรุงศรีอยุธยาคงมีพัฒนาการทางสังคมความเจริญถึงระดับความเป็นเมืองก่อนปี พ.ศ. 1893 แน่นอน และเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้อิทธพลทางการเมืองของเมืองลพบุรีด้วย ในช่วงแรกสันนิษฐานว่าศูนย์กลางเมืองอาจอยู่บริเวณวัดพนัญเชิง หรือพุทไธสวรรค์ แล้วต่อมาในปี พ.ศ. 1893 คงเป็นเพียงปีที่พระเจ้าอู่ทองย้ายศูนย์กลางของเมืองหรือย้ายพระราชวังดังความเห็นของอ.ศรีศักร วัลิโภดม ก็เป็นได้ --Horus | พูดคุย 10:00, 14 ตุลาคม 2552 (ICT)

ชื่อกรุงศรีอยุธยา

[แก้]

ชื่อกรุงศรีอยุธยาในบทความใช้ชื่อว่า "กรุงเทพมหานคร ทวารวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์" แต่ถ้าดูจากพงศาวดารที่ดิฉันเคยอ่าน พบว่า

จึงขอถามว่าชื่อที่เขียนในบทความตอนนี้อ้างตามพงศาวดารฉบับไหนหรือคะ แล้วเราควรจะเขียนทุกชื่อตามที่พบในพงศาวดารเลยหรือเปล่าคะ --ฉัตรา 10:42, 28 ตุลาคม 2552 (ICT)

  • น่าจะใช้ตามชื่ออย่างเป็นทางการจะดีที่สุดครับ ถ้าเกิดรู้นะ --Horus | พูดคุย 20:17, 28 ตุลาคม 2552 (ICT)

การนับช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์

[แก้]

หัวเรื่องที่หยิบยกมาพูดนี้มาจาก การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ซึ่งกล่าวว่า อาณาจักรอยุธยายังไม่สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2310 แต่ยาวไปจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเลยทีเดียว (น่าจะถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งใช้ติดต่อกับต่างประเทศ [3]) ไม่ทราบว่าควรจะดำเนินการอย่างไรกับบทความที่เกี่ยวข้อง?

  1. ถ้าจะใช้หนังสือของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ คงต้องรื้อหลายอย่างลงมาครับ เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ไม่ได้เขียนสมัยพระรามคำแหง เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไม่ได้ไปประเทศฝรั่งเศส ฯลฯ
  2. กลับมาประเด็นที่ยกมา ข้อเท็จจริงมีว่าในการต่างประเทศ ยังใช้ชื่ออยุธยาในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เราจะตีความข้อเท็จจริงนี้อย่างไร ?
  3. เราคงบอกได้แต่เพียงว่า อาณาจักรอยุธยา ยังมี legacy ที่สืบทอดมายาวนาน ผ่านอาณาจักรธนบุรี และมาถึงช่วงต้นรัตนโกสินทร์ แต่เป็นเพียง legacy เท่านั้น หาใช่ความมีอยู่ของอาณาจักรไม่... เพราะอาณาจักรจะมีอยู่ได้อย่างไร ถ้าไม่มีกษัตริย์ ไม่มีเมืองหลวง ตั้งแต่การปราดาภิเษกของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ก็ได้สร้างราชธานีใหม่อยู่ที่กรุงเทพแล้ว เพียงแต่คนในสมัยนั้นอาจยังสำคัญตนผิดว่าเป็นชาวกรุงเก่าหรือชาวอยุธยาเท่านั้นเอง
  4. อนึ่งในงานของผู้เขียนท่านเดียวกันเรื่อง ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา และ ปากไก่และใบเรือ ก็พยายามบอกแก่ผู้อ่านว่ามีการเขียนพระราชพงศาวดารอยุธยาเสียใหม่ในยุคหลังเพื่อสร้าง legitimacy ให้แก่ชนชั้นปกครองสมัยรัตนโกสินทร์ โดยสร้างภาพอันเสื่อมเสียให้กับกรุงศรีอยุธยาตอนปลายราชวงศ์บ้านพลูหลวง ทั้งนี้อาจเพื่อเป็นการสร้าง identity ใหม่แก่รัตนโกสินทร์
  5. สุดท้ายถามว่าจะปรับปรุงบทความได้อย่างไร เมื่อนำข้อเขียนของนักประวัติศาสตร์ท่านนี้มาใช้อ้างอิง... ผมคิดว่าไม่ทำให้เลข พ.ศ. เปลี่ยน แต่ว่าให้ใส่ข้อสังเกตเหล่านี้เพิ่มเติมลงไปว่าอยุธยายังมี legacy มาถึง ร.3 และราชวงศ์บ้านพลูหลวงอาจมิได้เสื่อมถอยลงอย่างที่วิจารณ์กันในความเชื่อกระแสหลัก แล้วแถมไปให้ถึงสมัยสุโขทัย และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย อย่างที่ได้ยกตัวอย่างในข้อ 1

--taweethaも 06:51, 9 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

เห็นด้วยคะ ว่ากรุงธนบุรีจนมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์พยายามที่จะสืบทอดความเป็นกรุงศรีอยุธยามา แต่ก็ไม่ใช่กรุงศรีอยุธยาคะ เราน่าจะคงการนับช่วงเวลาตามเดิม แต่สามารถเขียนเพิ่มข้อสังเกตของอาจารย์นิธิไว้ในบทความเพื่อเพิ่มมุมมองที่หลากหลายคะ --ฉัตรา 11:48, 9 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

โอเคครับ เท่าที่เขียนมานี้เป็นเพราะ (คาดว่า) ไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 น่าจะยังคงใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า "กรุงศรีอยุธยา" เท่านั้น แต่ว่าการจะนับว่าการตั้งราชวงศ์ใหม่จะนับเป็นอาณาจักรใหม่ก็ไม่ถูกเสียทีเดียวนะครับ เพราะในสมัยอยุธยาเองก็มีราชวงศ์ใหม่ล้มล้างราชวงศ์เก่าอยู่เสียก็มาก --Horus | พูดคุย 18:43, 9 พฤศจิกายน 2552 (ICT)


ของผม ตอบไปแล้วในเรื่อง พูดคุย:สยาม ประมาณนี้

--m̈assgo AquaCS4 ไฟล์:WikiBotany tap.png 15:45, 12 พฤศจิกายน 2552 (ICT)

ศักดินา

[แก้]

ศักดินา

[แก้]
ศักดินาของคนในสังคมอยุธยา[1]
ฐานะ/ยศ/ตำแหน่ง ศักดินา (ไร่)
พระมหาอุปราช 100,000
เจ้าฟ้า (พระเชษฐาและพระอนุชา) 50,000 (ทรงกรม)
20,000 (ไม่ทรงกรม)
เจ้าฟ้า (พระโอรส) 40,000 (ทรงกรม)
15,000 (ไม่ทรงกรม)
พระองค์เจ้า (พระเชษฐาและพระอนุชา) 15,000 (ทรงกรม)
7,000 (ไม่ทรงกรม)
พระองค์เจ้า (พระโอรส) 15,000 (ทรงกรม)
6,000 (ไม่ทรงกรม)
พระองค์เจ้า (พระนัดดา) 11,000 (ทรงกรม)
4,000 (ไม่ทรงกรม)
เจ้าพระยา, อัครมหาเสนาบดี, เสนาบดีจตุสดุมภ์, เจ้าเมืองใหญ่ 10,000
ออกพระ 1,000-5,000
ออกหลวง 1,000-3,000
พระครูผู้รู้ธรรม 2,400[2]
พระครูผู้ไม่รู้ธรรม 1,000
หม่อมเจ้า 1,000
พระภิกษุผู้รู้ธรรม 600
พระภิกษุผู้ไม่รู้ธรรม 400
สามเณรผู้รู้ธรรม 300
สามเณรผู้ไม่รู้ธรรม 200
ไพร่หัวงานนา 25
ไพร่มีครัวนา 20
ไพร่ราบนา 15
ไพร่เลกนา 10
ทาส 5
  1. ดนัย ไชยโธยา. หน้า 341-343.
  2. ดนัย ไชยโธยา. หน้า 365-366.

ส่วนชาติพันธุ์

[แก้]

เนื้อหาปัจจุบันมีหลายส่วนไม่ได้กล่าวถึงชาติพันธุ์ในอาณาจักรอยุธยาโดยตรง แต่บางส่วนเล่าย้อนไปนานจนคิดว่าควรอยู่ในบทความอื่นมากกว่า เช่น "มีกลุ่มชาติพันธุ์หลักคือไทยสยาม ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งบรรพบุรุษของไทยสยามปรากฏหลักแหล่งของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลไท-กะไดเก่าแก่ที่สุดอายุกว่า 3,000 ปี ซึ่งมีหลักแหล่งแถบกวางสี คาบเกี่ยวไปถึงกวางตุ้งและแถบลุ่มแม่น้ำดำ-แดงในเวียดนามตอนบน ซึ่งกลุ่มชนนี้มีความเคลื่อนไหวไปมากับดินแดนไทยในปัจจุบันทั้งทางบกและทางทะเลและมีการเคลื่อนไหวไปมาอย่างไม่ขาดสาย[35] ในยุคอาณาจักรทวารวดีในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงหลังปี พ.ศ. 1100 ก็มีประชากรตระกูลไทย-ลาว เป็นประชากรพื้นฐานรวมอยู่ด้วย[35] ซึ่งเป็นกลุ่มชนอพยพลงมาจากบริเวณสองฝั่งโขงลงทางลุ่มน้ำน่านแล้วลงสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตกแถบสุพรรณบุรี ราชบุรี ถึงเพชรบุรีและเกี่ยวข้องไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช" --Horus | พูดคุย 02:54, 15 เมษายน 2560 (+07)ตอบกลับ

รื้อศักราช

[แก้]

ผมกำลังศึกษา หนังสือ "การปรับแก้เทียบศักราช และ การอธิบายความ พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ" โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตีพิมพ์ปี 2561 แล้วเห็นว่า บทความเกี่ยวกับกรุงศรีในวิกิอย่างน้อยเท่าที่พอจะแก้ได้ (เพราะพงศาวดารนี้ระบุแค่ช่วงตั้งแต่ก่อนตั้งกรุงจนถึงสมัยพระนเรศวร) ควรจะเป็นไปตามหนังสือเล่มนี้เนื่องจากผู้เขียนหนังสือได้ศึกษาและปรับแก้ศักราชขึ้นใหม่ ให้ตรงกับปฏิทิน ปี พ.ศ. ที่ไทยใช้อยู่ ณ ปัจจุบัน (ค.ศ. + 543 ปี โดยยึด 1 มกราคม เป็นวันปีใหม่) พร้อมกับพยายามปรับให้ตรงกับเอกสารร่วมสมัยที่มีความน่าเชื่อถือ (เช่น เอกสารจีน) ซึ่งผม อยากจะไล่แก้ไปเรื่อยๆ จนเสร็จ

ปัญหาคือ การแก้ไขจะกระทบศักราชที่สำคัญหลายที่ เช่น ปีที่สถาปนากรุงศรี ที่แต่เดิมระบุเป็น พ.ศ. 1893 (ไม่รู้ว่าแบบเรียนในปัจจุบันเป็นปีนี้มั้ย) แต่ตามหนังสือจะเป็น 12 มีนาคม "พ.ศ. 1894" หรือ วันครองราชย์ของพระบรมไตรโลกนาถที่เดิมเป็น 1991 แต่ในหนังสือเป็น 1994

จึงอยากมาถามความเห็นว่า ควรจะยึดปีในวิกิไว้เหมือนเดิมแล้วหมายเหตุแทรกไว้ในบทความ หรือ แก้ตามหนังสือแล้วทำของเก่าเป็นหมายเหตุ อย่างไหนน่าจะดีกว่ากัน ส่วนตัวผมอยากยึดตามหนังสือครับ ถ้าไม่มีใครท้วงคงแก้ไปเรื่อย ๆ -- --ผู้ใช้:Mda | พูดคุย 23:14, 18 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ผมขอเทียบกับวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ซึ่งในโครงการนั้นจะเขียนกำกับว่า old style (ปฏิทินจูเลียน) กับ new style (ปฏิทินเกรโกเรียน) ครับ ส่วนในกรณีนี้ถ้า note ไว้ว่านับ พ.ศ. ตามแบบเก่า (เริ่ม 1 เมษาหรือวันสงกรานต์) หรือนับแบบใหม่ (เริ่ม 1 มกรา) คิดว่าไม่มีปัญหาครับ --Horus (พูดคุย) 23:49, 18 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
โอเคครับ น่าจะเหมาะสมดี --ผู้ใช้:Mda | พูดคุย 10:25, 19 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ