พูดคุย:หมุดคณะราษฎร
เพิ่มหัวข้อ
|
|
การตั้งชื่อหน้าด้วยชื่ออย่างเป็นทางการ
[แก้]ด้วยความกรุณา ผมได้เปลี่ยนทาง (ชื่อ) หน้านี้ไปยัง (เป็น) "หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ" ซึ่งเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของหมุดดังกล่าว ตามเอกสารอ้างอิงหมายเลข 1 ของหน้า [1] --Tuangchok Jalikula (พูดคุย) 20:44, 20 เมษายน 2560 (+07)
เป็นกลาง ผมขอไม่ออกความเห็น--Tvcccp (cn:Yesona) (พูดคุย) 20:47, 20 เมษายน 2560 (+07)
ความเห็น หลักการตั้งชื่อ (ของไทยไม่อัปเดตนานแล้ว โปรดดู en:WP:COMMONNAME) ระบุว่า ให้ใช้ชื่อซึ่งเป็นที่รู้จัก มากกว่าชื่อที่เป็นทางการค่ะ (Wikipedia does not necessarily use the subject's "official" name as an article title; it generally prefers to use the name that is most frequently used to refer to the subject) เช่น โปเยโปโลเย vs เหลียวไจจื้ออี้, บิล คลินตัน vs วิลเลียม เจฟเฟอร์สัน คลินตัน, เปาบุ้นจิ้น vs เปา เหวินเจิ่ง, ฯลฯ สำหรับหมุด เมื่อค้นกูเกิล จะพบว่า "หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ" มีผลลัพธ์เพียงแสนกว่า ขณะที่ "หมุดคณะราษฎร" มีผลลัพธ์ห้าแสนกว่า นอกจากนี้ สื่อปัจจุบันก็อ้างถึงหมุดนี้ว่า "หมุดคณะราษฎร" ทั้งสิ้น จึงสมควรใช้ "หมุดคณะราษฎร" เป็นชื่อบทความมากกว่า "หมุดก่อกำเนิดฯ" --หมวดซาโต้ (พูดคุย) 20:53, 20 เมษายน 2560 (+07)
ความเห็น ถ้าใช้หลักการเดียวกันนั้นสถานที่จำนวนมากก็จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อนะครับ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ชื่อที่เป็นที่รู้จักคือ วัดพระแก้ว)หรือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (ชื่อที่เป็นที่รู้จักคือ วัดโพธิ์) หรือ สถานที่เดียวกันกับหมุดก่อกำเนิด ฯ อย่าง ลานพระราชวังดุสิต (ชื่อที่เป็นที่รู้จักคือ ลานพระบรมรูปทรงม้า) ก็ใช้ชื่อทางการทั้งสิ้น ซึ่งผมใช้เกณฑ์นี้ในการแบ่งเช่นกันครับ (อ้างถึงกรณีการเรียกชื่ออย่างไม่เป็นทางการในการค้นหาปริมาณผลลัพธิ์บน Google ก็เช่นกันครับ) - ขอบคุณสำหรับการอธิบายชื่อและนโยบายในการตั้งชื่อครับ --Tuangchok Jalikula (พูดคุย) 21:02, 20 เมษายน 2560 (+07)
- @Tranwill: อันที่จริงยังมีหลักอื่น ๆ ในหน้านั้นอีกค่ะ (เช่น วัดพระแก้ว อาจมีความหมายหลายอย่าง อย่าง วัดพระแก้วที่เชียงราย, วัดพระแก้วที่พนมเปญ, ฯลฯ ชื่อ "วัดพระศรีรัตนศาสดาราม" ก็อาจเหมาะสมกว่าสำหรับวัดพระแก้วที่กรุงเทพฯ) อย่างไรก็ดี หลักการตั้งชื่อบอกว่า โดยปรกติให้เลือกชื่อนิยมไว้ก่อน ถ้าคุณเห็นสมควรจะใช้ชื่อทางการมากกว่า จะเปลี่ยนชื่อบทความหมุดกลับเป็น "หมุดก่อกำเนิดฯ" ก็ได้ค่ะ --หมวดซาโต้ (พูดคุย) 21:12, 20 เมษายน 2560 (+07)
- @Tranwill: อันที่จริงยังมีหลักอื่น ๆ ในหน้านั้นอีกค่ะ (เช่น วัดพระแก้ว อาจมีความหมายหลายอย่าง อย่าง วัดพระแก้วที่เชียงราย, วัดพระแก้วที่พนมเปญ, ฯลฯ ชื่อ "วัดพระศรีรัตนศาสดาราม" ก็อาจเหมาะสมกว่าสำหรับวัดพระแก้วที่กรุงเทพฯ) อย่างไรก็ดี หลักการตั้งชื่อบอกว่า โดยปรกติให้เลือกชื่อนิยมไว้ก่อน ถ้าคุณเห็นสมควรจะใช้ชื่อทางการมากกว่า จะเปลี่ยนชื่อบทความหมุดกลับเป็น "หมุดก่อกำเนิดฯ" ก็ได้ค่ะ --หมวดซาโต้ (พูดคุย) 21:12, 20 เมษายน 2560 (+07)
- @หมวดซาโต้: แค่แสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุป และวิธีการนิยามเท่านั้นครับ เพราะถ้าหลักการ (การตั้งชื่อ ; ซึ่งผมได้อ่านแล้ว) เป็นไปตามข้างตนแล้วนั้น ก็เป็นที่เข้าใจครับ ขอบคุณที่ชี้แนะครับ และไม่มีเหตุผลจำเป็นใดแล้วที่ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น "หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ" ครับ --Tuangchok Jalikula (พูดคุย) 21:16, 20 เมษายน 2560 (+07)
ไม่เห็นด้วย ชื่อที่คุณกล่าวมาคือชื่อทางการที่เป็นที่รู้จักแล้ว หากเปลี่ยนชื่อ คนอื่นอาจจะสับสนว่า เป็นของจังหวัดใหน่กันแน่--Tvcccp (cn:Yesona) (พูดคุย) 21:09, 20 เมษายน 2560 (+07)
- @Tvcccp: แต่หลักการการตั้งชื่อข้างต้นของวัดพระแก้วนั้น ก็ยังไม่สามารถอธิบายการตั้งชื่อ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (ชื่อที่เป็นที่รู้จักคือ วัดโพธิ์) หรือ สถานที่เดียวกันกับหมุดก่อกำเนิด ฯ อย่าง ลานพระราชวังดุสิต (ชื่อที่เป็นที่รู้จักคือ ลานพระบรมรูปทรงม้า)
- @Tranwill:ผมงงกับคำถามที่คุณถามครับ คืออย่างไรครับ อ่านแล้วไม่เข้าใจ--Tvcccp (cn:Yesona) (พูดคุย) 21:28, 20 เมษายน 2560 (+07)
- @Tvcccp: ผมพยายามอธิบายว่าหลักการที่กล่าวถึงข้างต้นไม่ได้เป็นสากลในการนำไปใช้จริงครับ ยังมีสถานที่อื่นๆ อีกมากมายที่ใช้ชื่อในลักษณะชื่อทางการ ทั้งที่ไม่ใช่ชื่อที่รู้จักกันโดยทั่วไปครับ เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (ชื่อที่เป็นที่รู้จักคือ วัดโพธิ์) หรือ สถานที่เดียวกันกับหมุดก่อกำเนิด ฯ อยู่ คือ ลานพระราชวังดุสิต (ชื่อที่เป็นที่รู้จักคือ ลานพระบรมรูปทรงม้า) ครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Tranwill (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 02:49, 9 มิถุนายน 2560 (ICT)