ข้ามไปเนื้อหา

บิล คลินตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บิล คลินตัน
Bill Clinton
คลินตันในปีค.ศ. 1993
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 42
ดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม ค.ศ. 1993 – 20 มกราคม ค.ศ. 2001
(8 ปี 0 วัน)
รองประธานาธิบดีอัล กอร์
ก่อนหน้าจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช
ถัดไปจอร์จ ดับเบิลยู. บุช
ผู้ว่าการรัฐอาร์คันซอ
ดำรงตำแหน่ง
11 มกราคม ค.ศ. 1983 – 12 ธันวาคม ค.ศ. 1992
(9 ปี 336 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
9 มกราคม ค.ศ. 1979 – 19 มกราคม ค.ศ. 1981
(2 ปี 10 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (78 ปี)
โฮป อาร์คันซอ สหรัฐอเมริกา
พรรคการเมืองพรรคเดโมแครต
คู่สมรสฮิลลารี คลินตัน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์
มหาวิทยาลัยเยล(Juris Doctor)
วิชาชีพนักการเมือง
นักกฎหมาย
ลายมือชื่อ

วิลเลียม เจฟเฟอร์สัน คลินตัน (อังกฤษ: William Jefferson Clinton) หรือรู้จักในชื่อ บิล คลินตัน (Bill Clinton) เกิดวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1946 เป็นประธานาธิบดีคนที่ 42 ของสหรัฐอเมริกา[1] ระหว่างค.ศ. 1993 - ค.ศ. 2001 ก่อนหน้านั้นเขาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐอาร์คันซอ และ ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยอาร์คันซอ[2]

คลินตันเกิดและเติบโตในรัฐอาร์คันซอและเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ต่อมา เขาได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและตามด้วยการการศึกษาต่อโรงเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยเยล ซึ่งเขาได้พบกับฮิลลารี รอดแฮมที่นั่น และสมรสกันใน ค.ศ. 1975 หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนกฎหมาย คลินตันกลับไปอาร์คันซอและชนะการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐ[3] ในฐานะผู้ว่าการ เขาได้ปรับปรุงระบบการศึกษาของรัฐและดำรงตำแหน่งประธานสมาคมผู้ว่าการรัฐแห่งชาติ คลินตันได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 1992 โดยเอาชนะจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันในขณะนั้น และ รอสส์ เพโรต์ จากพรรคอิสระ ด้วยวัย 46 ปี คลินตันจึงกลายเป็นประธานาธิบดีที่อายุน้อยที่สุดเป็นลำดับสามของสหรัฐอเมริกา

นโยบายเร่งด่วนของคลินตันคือการกระตุ้นเศรษฐกิจหลังสิ้นสุดสงครามอ่าว เขาลงนามในกฎหมายความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) และพระราชบัญญัติควบคุมอาชญากรรมรุนแรงและการบังคับใช้กฎหมาย[4] แต่ไม่ผ่านแผนการปฏิรูปการดูแลสุขภาพแห่งชาติ ในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1994 พรรครีพับลิกันชนะการเลือกตั้งและได้ควบคุมสภาคองเกรสเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี ในช่วงเวลานี้ คลินตันเริ่มเน้นนโยบายอนุรักษ์นิยมมากขึ้น[5] ในนโยบายภายในประเทศที่สนับสนุนการปฏิรูปสวัสดิการและโครงการประกันสุขภาพเด็กตลอดจนมาตรการควบคุมการเงิน นอกจากนี้ เขายังแต่งตั้ง รูธ เบเดอร์ กินส์เบิร์ก และ สตีเฟน บรีเยอร์ ให้ดำรงตำแหน่งในศาลสูงสุด ในช่วงสามปีแรกในการดำรงตำแหน่งของคลินตัน สำนักงานงบประมาณรัฐสภารายงานการเกินดุลงบประมาณ ซึ่งเป็นการเกินดุลครั้งแรกนับตั้งแต่ ค.ศ. 1969 ในนโยบายต่างประเทศ คลินตันสั่งให้ทหารสหรัฐเข้าแทรกแซงในสงครามบอสเนียและโคโซโว ลงนามในข้อตกลงเดย์ตันสันติภาพ ลงนามในอิรักในเรื่องพระราชบัญญัติการปลดปล่อยซึ่งต่อต้านซัดดัม ฮุสเซน เข้าร่วมในข้อตกลงออสโลที่หนึ่ง และการประชุมสุดยอดแคมป์เดวิดเพื่อพัฒนากระบวนการสันติภาพของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และช่วยเหลือกระบวนการสันติภาพของไอร์แลนด์เหนือ

คลินตันได้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 หลังชนะการเลือกตั้งต่อ บ็อบ โดล จากพรรครีพับลิกัน ใน ค.ศ. 1996 ในสมัยที่ 2 ของคลินตันนั้นได้เกิดเรื่องอื้อฉาวลูวินสกี ซึ่งเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1996 เมื่อคลินตันถูกร้องเรียนว่าเริ่มมีสัมพันธ์กับโมนิกา ลูวินสกี นักศึกษาฝึกงานในทำเนียบขาว วัย 22 ปี ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1998 ข่าวความสัมพันธ์ของทั้งคู่ได้ถูกพาดหัวข่าวในแท็บลอยด์[6] เรื่องอื้อฉาวดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้นตลอดทั้งปี[7] โดยสิ้นสุดในวันที่ 19 ธันวาคม เมื่อสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐมีมติถอดถอนเขา และกลายเป็นประธานาธิบดีคนที่สองของสหรัฐฯ ที่ถูกถอดถอนต่อจากแอนดรูว์ จอห์นสัน บทความการฟ้องร้องสองฉบับที่สภาผู้แทนราษฎรส่งผ่านมีที่มาจากการใช้อำนาจขัดขวางของคลินตันในการขัดขวางการสอบสวน และคลินตันกล่าวเท็จภายใต้คำสาบาน ปีถัดมาการพิจารณาถอดถอนเริ่มขึ้นในวุฒิสภา แต่คลินตันพ้นผิดในทั้งสองข้อกล่าวหา เนื่องจากวุฒิสภาล้มเหลวในการลงคะแนนเสียง เพิกถอนเขาซึ่งเป็นเกณฑ์การพิจารณาตัดสินลงโทษ

คลินตันลงจากตำแหน่งเมื่อสิ้นสุดวาระ เขาได้รับการจัดอันดับในระดับสูงในการจัดอันดับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมส่วนตัวของเขาและการกล่าวหาว่าเขาล่วงละเมิดทางเพศทำให้เขาเสียคะแนนนิยมไปมาก นับตั้งแต่ออกจากตำแหน่ง คลินตันได้มีส่วนร่วมในการพูดในที่สาธารณะและทำงานด้านมนุษยธรรม เขาก่อตั้งมูลนิธิคลินตันขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคม เช่น การป้องกันเอชไอวี และภาวะโลกร้อน ใน ค.ศ. 2009 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตพิเศษแห่งสหประชาชาติประจำเฮติ หลังจากเกิดแผ่นดินไหวในเฮติใน ค.ศ. 2010 คลินตันและจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ได้ก่อตั้งกองทุนคลินตันบุชเฮติ เขายังคงมีบทบาทในการเมืองของพรรคเดโมแครต เช่น การช่วยหาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2008 เขายังช่วยหาเสียงและสนับสนุน บารัก โอบามา ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2012[8] และการช่วยหาเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 ของภรรยาของเขา

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตในวัยเด็ก

[แก้]

บิล คลินตันเกิดในเมืองโฮป รัฐอาร์คันซอ โดยมีชื่อว่า วิลเลียม เจฟเฟอร์สัน ไบลท์ ที่ 3 (William Jefferson Blythe III) ซึ่งตั้งตามชื่อพ่อของเขาเอง คือ วิลเลียม เจฟเฟอร์สัน ไบลท์ จูเนียร์ (William Jefferson Blythe Jr., 1918-1946) ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ก่อนคลินตันเกิดเพียง 3 เดือน หลังจากนั้นนางเวอร์จิเนีย เดลล์ แซสซิดี (Virginia Dell Cassidy, 1923-1994) ผู้เป็นมารดา ได้แต่งงานใหม่กับนายโรเจอร์ คลินตัน (Roger Clinton, 1908-1967) ซึ่งบิลได้เปลี่ยนนามสกุลตามอย่างเป็นทางการเมื่ออายุ 14 ปี

ผู้ว่าการรัฐ

[แก้]

บิล คลินตันจบการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ จากนั้นได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดทางด้านการเมืองการปกครอง หลังกลับมาจากอ็อกซ์ฟอ์ด คลินตันเข้าศึกษาต่อที่ โรงเรียนกฎหมาย มหาวิทยาลัยเยล จบการศึกษาปริญญาเอกด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเยลในปี ค.ศ. 1973[9] ที่เยลเขาได้พบกับเพื่อนร่วมชั้นที่กลายมาเป็นภรรยาในอนาคต คือ นางฮิลลารี ร็อดแฮม (Hillary Rodham Clinton)

คลินตันสอนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยอาร์คันซอ จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่วงการการเมือง เขาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้ว่าการรัฐอาร์คันซอเมื่อ ค.ศ. 1978 และยังเป็นผู้ว่าการรัฐที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น

หลังจากการเป็นผู้ว่าการรัฐสมัยแรก คลินตันแพ้ให้กับนาย แฟรงก์ ดี. ไวต์ จากพรรครีพับลิกัน ในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1980 แต่เขาสามารถกลับมาได้รับเลือกตั้งได้อีก 4 สมัยติดกัน ในช่วงปี ค.ศ. 1982-ค.ศ. 1992

การดำรงตำแหน่งวาระแรก

[แก้]

คลินตันเลือกวุฒิสมาชิกอัล กอร์ร่วมทีมรองประธานาธิบดี เอาชนะการเลือกตั้งต่อประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช เมื่อ ค.ศ. 1992 โดยอาศัยจุดขายด้านเศรษฐกิจในประเทศที่ตกต่ำหลังจากประธานาธิบดีบุช ไปเน้นกิจการต่างประเทศอย่างเช่น สงครามอ่าวเปอร์เซีย

ในการเลือกตั้งทั่วไประหว่างสมัยของคลินตันใน ค.ศ. 1994 พรรคเดโมแครตได้เสียที่นั่งข้างมากในรัฐสภาเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี ทำให้เกิดสภาวะที่ประธานาธิบดีกับเสียงข้างมากของสภามาจากคนละพรรคกัน

คลินตันมีสัมพันธ์อันดีกับนายกรัฐมนตรี โทนี แบลร์ แห่งสหราชอาณาจักร เขามีบทบาทในกิจการต่างประเทศที่สำคัญ เช่น การส่งทหารเข้าไปในประเทศโซมาเลีย การโจมตีกรุงคอซอวอของอดีตประเทศยูโกสลาเวียเดิม สันติภาพในไอร์แลนด์เหนือ และกรณีของประเทศอิสราเอลกับปาเลสไตน์

การดำรงตำแหน่งวาระที่สอง

[แก้]

คลินตันได้ชัยชนะอีกครั้งในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1996 ต่อสมาชิกวุฒิสภาบ็อบ โดล จากพรรครีพับลิกัน

เหตุการณ์สำคัญในการดำรงตำแหน่งวาระที่สอง คือ คลินตันถูกเปิดกระบวนการฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1998 โดยวุฒิสภาในหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึงความสัมพันธ์ทางเพศกับ โมนิก้า ลูวินสกี้ นักศึกษาฝึกงานในทำเนียบขาว เขาเป็นประธานาธิบดีคนที่สองที่ถูกอิมพีชเมนต์ต่อจากประธานาธิบดี แอนดรูว์ จอห์นสัน

ผู้นำในการสืบสวนคืออัยการอิสระ นายเคนเนธ สตาร์ (Kenneth Starr) การไต่สวนของวุฒิสภาดำเนินไปใน ค.ศ. 1999 ซึ่งต้องใช้เสียง 2 ใน 3 ในการถอดถอนประธานาธิบดี ซึ่งกระบวนการดังกล่าวสิ้นสุดลงโดยเสียงในวุฒิสภาไม่พอออกเสียงว่าเขามีความผิด

ก่อนจะหมดวาระประธานาธิบดีสมัยที่สอง คลินตันได้ตกลงกับศาลในการยุติการสืบสวน ซึ่งแลกกับการถอนใบอนุญาตทางกฎหมายเป็นเวลา 5 ปี

ตำแหน่งทางวิชาการ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Editors, History com. "Bill Clinton". HISTORY (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: |last= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  2. https://www4.hku.hk/hongrads/index.php/archive/graduate_detail/284
  3. "The Clinton Presidency: Timeline of Major Actions". clintonwhitehouse5.archives.gov.
  4. "Bill Clinton: Domestic Affairs | Miller Center". millercenter.org (ภาษาอังกฤษ). 2016-10-04.
  5. "Bill Clinton: Domestic Affairs | Miller Center". millercenter.org (ภาษาอังกฤษ). 2016-10-04.
  6. Kurtzleben, Danielle (2021-09-18). "Should The Lewinsky Affair Define Bill Clinton? Ask The Writer Of FX's 'Impeachment'". NPR (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
  7. "A Chronology: Key Moments In The Clinton-Lewinsky Saga". edition.cnn.com.[ลิงก์เสีย]
  8. https://www.washingtonpost.com/politics/2012/09/05/a111905c-f771-11e1-8253-3f495ae70650_story.html
  9. https://www.nps.gov/features/malu/feat0002/wof/William_Clinton.htm
  10. http://www.sheppardsoftware.com/History/presidents/Presidents_42_Clinton.htm
  11. https://www.littlerock.com/docs/default-source/brochure-downloads/clintonslittlerockfall2017.pdf?sfvrsn=52578ab6_2[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า บิล คลินตัน ถัดไป
จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 42
(20 มกราคม พ.ศ. 2536 - 20 มกราคม พ.ศ. 2544)
จอร์จ ดับเบิลยู. บุช
เท็ด เทอร์เนอร์ บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1992)
The Peacemakers
(เนลสัน แมนเดลา, เฟรเดอริก วิลเลิม เดอ แกลร์ก, ยัสเซอร์ อาราฟัต และยิตซัค ราบิน)
แอนดี โกรฟ บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1998
(ร่วมกับ เคนเนธ สตาร์))
เจฟ เบโซส