พูดคุย:ราชวงศ์ซ่ง
เพิ่มหัวข้อราชวงศ์ซ่ง เคยได้รับการเสนอชื่อให้เป็น บทความคุณภาพ แต่ไม่ผ่านเกณฑ์บทความคุณภาพในเวลานั้น เนื่องจากยังไม่ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะพัฒนาบทความ อย่างไรก็ตาม หากคุณเชื่อว่ามีความผิดพลาดในการพิจารณา คุณสามารถเสนอบทความคุณภาพได้ใหม่ หากคุณคิดว่านี่เป็นความผิดพลาด (วันที่พิจารณา: 28 มกราคม 2552) |
|
|
|
ย้ายเนื้อหามาจาก ประวัติศาสตร์จีน รอการปรับรวมกับเนื้อหาในหน้าหลักเดิม Markpeak 11:47, 26 เมษายน 2007 (UTC)
ราชวงศ์ซ้องหรือซ่ง
[แก้]ปีค.ศ. 960 เจ้าควงอิ้นหรือพระเจ้าซ่งไท่จู่ สถาปนาราชวงศ์ซ่งหรือซ้องเหนือ เมืองหลวงอยู่ที่ไคเฟิง (เมืองไคเฟิงแห่งมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) รวบรวมแผ่นดินจีนปเนอันหนึ่งอันเดียวสำเร็จ แล้วใช้นโยบายแบบ “ลำต้นแข็ง กิ่งก้านอ่อน” ในการบริหารประเทศ ปฏิรูปการปกครอง การทหาร การคลัง อันมีประโยชน์ในการสร้างเสถียรภาพแก่อำนาจส่วนกลาง แต่ส่วนท้องถิ่นกลับอ่อนแอ เมื่อต้องทำสงคราม ย่อมไม่มีกำลังต่อต้านศัตรูได้ อำนาจการใช้กระบวนการยุติธรรมถูกควบคุมโดยส่วนกลาง
ขุนนางพลเรือนสำคัญมากกว่าฝ่ายทหาร
[แก้]นโยบายให้ขุนนางฝ่ายพลเรือนมีความสำคัญมากกว่าฝ่ายทหารเพื่อป้องกันการยึดครองอำนาจเบ็ดเสร็จทางทหาร ตัวอย่างเช่น วางระเบียบคุมทหารเข้มงวด เมื่อมีศึกสงครามจะส่งขุนนางฝ่ายพลเรือนหรือขันทีเป็นผู้ตรวจสอบเพื่อคุมนายทัพ บางครั้งส่งผลกระทบต่อยุทธวิธีสงครามของกองทัพซ้องหรือซ่งเพราะผู้ควบคุมขาดความรู้ชำนาญทางทหาร
การผลัดเปลี่ยนแม่ทัพนายกองเป็นประจำตามอำเภอใจของฝ่ายพลเรือน ทำให้กองทัพซ้องอ่อนแองลงตามลำดับ โดยเฉพาะทหารส่วนท้องถิ่น เมื่อเกิดสงครามที่ชนต่างเผ่ารุกรานจีน ทหารซ้องมักพ่ายแพ้เป็นส่วนใหญ่
การปฏิรูปรัชสมัยซ้องเหนือ
[แก้]ช่วงกลางราชวงศ์ซ้องเหนือ บ้านเมืองเผชิญวิกฤตการณ์ต่างๆ เศรษฐกิจตกต่ำรุนแรง เงินคงคลังลดลงเพราะมีทหารกับขุนนางมากเกินไปเนื่องจากมีการทำสงครามกับเหลียวและซีเซี่ยติดต่อกันหลายปี จึงเรียกเก็บภาษีมากขึ้น จำเป็นต้องเร่งรัดปฏิรูปเพื่อให้รัฐมั่นคงและมั่งคั่ง สมัยพระเจ้าซ่งเรินจงนำแผนปฏิรูปของ ฟันจ้งเหยียน ไปใช้ปฏิบัติทั่วทั้งอาณาจักร เรียกว่า การปกครองใหม่ชิ่งลี่ แต่ไม่ถึงปีก็ต้องยกเลิกเพราะขุนนางฝ่ายอนุรักษนิยมคัดค้านแข็งขัน ต่อมา หวังอานสือ เสนอปรับเปลี่ยนระบบการปกครองเก่าต่อพระเจ้าซ่งเสินจงและได้รับความเห็นชอบโดยแต่งตั้งเขาเป็นอัครมหาเสนาบดีเพื่อดำเนินแผนปฏิรูปดังกล่าวทั้งการปกครอง การทหาร และการคลัง ภายใน 15 ปีสามารถเพิ่มรายได้แก่รัฐบาล ความแข็งแกร่งทางทหารเพิ่มขึ้น หลังจากพระเจ้าซ่งเสินจงสวรรคต งานปฏิรูปจึงถูกยกเลิกไป กลุ่มอำนาจเก่าและกลุ่มปฏิรูปเปิดศึกชิงอำนาจกันนานถึง 50 ปี ส่งผลกระทบให้การเมืองเลวร้ายแล้วล่มสลายในที่สุด
อาณาจักรจินกับการล่มสลายของราชวงศ์ซ้องเหนือ
[แก้]ชนเผ่าหนี่เจินอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เดิมถูกปกครองโดยอาณาจักรเหลียว ต่อมาพัฒนาแข็งแกร่งขึ้น จึงก่อสร้างอาณาจักรจิน แล้วต่อสู้ยึดครองดินแดนของอาณาจักรเหลียวหลายครั้ง พระเจ้าซ่งฮุ่ยจงเจรจาร่วมมือทำสงครามกับอาณาจักรจินโดยแบ่งดินแดนและผลประโยชน์กัน ท้ายที่สุดด้วยความพ่ายแพ้ของกองทัพซ้องทำให้กองทัพจินเรียกค่าผิดข้อตกลงกันด้วยการจ่ายเงินแลกดินแดนที่ควรเป็นของจีน
หลังจากเสร็จศึกสงครามเหลียวแล้วอาณาจักรจินส่งกองทัพบุกโจมตีจีนเพื่อยึดครองอาณาจักรราชวงศ์ซ้องเหนือซึ่งอ่อนแอมาก ในที่สุดยึดเมืองไคเฟิงสำเร็จ ปล้นสดมภ์เมืองต่างๆที่กองทัพเดินผ่าน ต่อมาปีค.ศ. 1127 จับพระเจ้าซ่งฮุยจง (บิดา) ซ่งชินจง (ราชบุตร) พระสนมและพระญาติวงศ์ส่วนหนึ่งไปเป็นตัวประกันที่อาณาจักรจิน เราเรียกประวัติศาสตร์ช่วงนี้ว่า “ทุกขภัยสมัยจิ้นคัง” ราชวงศ์ซ้องเหนือถึงกาลล่มสลายลงอย่างสมบูรณ์
ราชวงศ์ซ้องหรือซ่งใต้
[แก้]เมื่อกองทัพจินนำกษัตริย์จีนสองพระองค์ไปเป็นตัวประกันในอาณาจักรจินและถอนทัพกลับทางเหนือ บรรดาขุนนางภักดีต่อราชวงศ์ซ้องพร้อมใจกันยก เจ้าโก้ว พระอนุชาของพระเจ้าซ่งชินจงขึ้นเป็นจักรพรรดิครองราชย์ที่เมือง อิ้งเทียน นครหนานจิง (ปัจจุบันคือ เมืองซังชิว มณฑลเหอหนาน) มีพระนามว่า พระเจ้าซ่งเกาจง เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ซ้องใต้
ต่อมาแม่ทัพจินยกทัพลงใต้มาตีจีนอีก พระเจ้าซ่งเกาจงหลบหนีออกทะเล ทหารจินเผาเมืองปล้นฆ่าชาวเมืองก่อนยกทัพกลับเหนือ หานซื่อจง แม่ทัพซ่งต่อสู้กับทหารจินที่สมรภูมิหวงเทียนตั้ง ใกล้เมืองเจิ้นเจียงอย่างดุเดือด โดยมี เหลียงหงอี้ ภรรยาของหานซื่อจงตีกลองช่วยรบด้วยตัวเอง กองทหาร จินแตกถอยกลับไปอันสร้างกำลังใจแก่ปวงราษฎร์อย่างมาก พระเจ้าซ่งเกาจงจึงเสด็จกลับจีน และตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เมือง หลินอาน (ปัจจุบันคือ เมืองหังโจว มณฑลเจ้อเจียง)
ขุนศึกลือนามทั้งแผ่นดิน “เย่เฟย”
[แก้]นายทัพราชวงศ์ซ้องหรือซ่งใต้ที่ต่อต้านทหารจินอย่างห้าวหาญ มีชื่อเสียงเป็นที่เกรงขามของศัตรูแผ่นดินที่สุด คือ เย่เฟย ปีค.ศ. 1140 ทหารจินส่งกองทัพใหญ่ลงมาตีกองทัพซ้องเพื่อปล้นทรัพย์และดินแดน กองทัพเย่เฟยต่อสู้อย่างชาญฉลาดและเข้มแข็ง ทำลายกองทัพจินเสียหายหนัก แล้วยกทัพซ้องใต้รุกคืบไปทางเหนือห่างจากเมืองไคเฟิงซึ่งอยู่ในเขตปกครองของอาณาจักรจินเพียง 40 กว่าลี้เท่านั้น แต่พระเจ้าซ่งเกาจงกับเสนาบดีฉินฮุ่ย ขุนนางกังฉินซึ่งแอบมีข้อตกลงกับพวกจินให้กำจัดขุนศึกเย่เฟยรีบเร่งสงบศึกด้วยการเรียกเย่เฟยกลับโดยส่งป้ายทองอาญาสิทธิ์ 12 ป้ายในวันเดียว และลงโทษประหารชีวิตด้วยข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริง เวลานั้นหานซื่อจง แม่ทัพวีรบุรุษทวงถามคดีของเย่เฟย แต่กษัตริย์ซ้องใต้ไม่สนใจต่อชีวิตของขุนศึกผู้ภักดีต่อแผ่นดิน เขาจึงลาออกจากตำแหน่งและรอดพ้นจากการกำจัดของเสนาบดีฉินฮุ่ยได้ การบริหารประเทศของฉินฮุ่ย คือ กำจัดศัตรูทางการเมืองและกองทหารตามใบสั่งของพวกจิน ทำให้กองทัพซ้องใต้อ่อนแอลงและพ่ายแพ้ศึกกับพวกจินตลอดมา แล้วยังต้องทำสัญญาสงบศึกด้วยการแลกกับการสูญเสียอธิปไตยของชาติ
มองโกลทำลายอาณาจักรจิน
[แก้]ศตวรรษที่ 12 เผ่ามองโกลเป็นเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนทางภาคเหนือของจีน เถี่ยมู่เจิน ผู้นำมองโกลสร้างอาณาจักรโดยรวมเผ่าเล็กต่างๆเข้าด้วยกันที่มีกำลังเข้มแข็ง ขนานนามตนเองว่า เจ็งกิสข่าน ช่วงนั้นจีนมีรัฐอิสระอยู่ 3 รัฐ คือ อาณาจักรซ้องใต้ อาณาจักรซีเซี่ย และอาณาจักรจิน เจ็งกิสข่านนำกองทัพมองโกลทำลายอาณาจักรซีเซี่ยลงด้วยตัวเอง ต่อมาเขาจึงมุ่งทำลายอาณาจักรจิน ฝ่ายอาณาจักรซ้องใต้จึงร่วมแรงโจมตีพวกจินด้วย ในที่สุดอาณาจักรจินจึงล่มสลายลง
การล่มสลายของอาณาจักรซ้องใต้
[แก้]เมื่อกองทัพมองโกลทำลายอาณาจักรซีเซี่ยกับอาณาจักรจินได้สำเร็จ จึงมีดินแดนเชื่อมต่อกับอาณาจักรซ้องใต้ ทำให้เกิดกรณีพิพาทชายแดนบ่อยครั้ง ต่อมากุบไลข่านขึ้นครองอำนาจจึงเปลี่ยนชื่อแผ่นดินเป็น อาณาจักรหยวน แล้วเตรียมบุกโจมตีพวกซ้องใต้ กองทัพหยวนบุกยึดเมืองเซียงหยาง เป็นอันดับแรก ตามด้วยเมือง หลินอาน จับพระเจ้าซ่งเกาตี้เป็นเชลย
ทหารกับราษฎรตามพื้นที่ต่างๆของอาณาจักรยืนหยัดต่อต้านกองทัพหยวนเต็มที่ ลู่ซิวฟู ขุนนางผู้ภักดีของราชวงศ์ซ้องใต้แบกพระเจ้าซ่งตีปิ่งวัย 8 ชันษาซึ่งสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ต่อมากระโดดทะเลพลีชีพตายเมื่อกองทัพหยวนบุกไล่ล่าไปยังภูเขาหยาซานอันเป็นที่ซ่อนตัว ราชวงศ์ซ้องใต้จึงถึงกาลอวสาน