ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:พระโพธิธรรมาจารย์เถร (สุวัจ สุวโจ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระโพธิธรรมาจารย์เถร วิ.

(สุวัจ สุวโจ,ทองศรี)
ชื่ออื่นท่านเจ้าคุณสุวัจ
ส่วนบุคคล
เกิด29 สิงหาคม พ.ศ. 2462 (83 ปี)
มรณภาพ5 เมษายน พ.ศ. 2545
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาป.4,น.ธ.โท
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดป่าเขาน้อย (จังหวัดบุรีรัมย์) (ติดเขตวนอุทยานเขากระโดงจังหวัดบุรีรัมย์
อุปสมบทพ.ศ. 2482 (มหานิกาย)
พ.ศ. 2484 (ธรรมยุติกนิกาย)
พรรษา62
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเขาน้อย (จังหวัดบุรีรัมย์) (ติดเชตวนอุทยานเขากระโดง) จังหวัดบุรีรัมย์
อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าภูธรพิทักษ์ ตำบลธาตุนาเวง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
อดีตประธานกรรมการคณะธรรมยุติกนิกายในประเทศสหรัฐอเมริกา

พระโพธิธรรมาจารย์เถร วิ.(สุวัจ สุวโจ) เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าภูธรพิทักษ์ ตำบลธาตุนาเวง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร,อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเขาน้อย (จังหวัดบุรีรัมย์) (ติดเขตวนอุทยานเขากระโดง) ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์[1],อดีตประธานกรรมการคณะธรรมยุติกนิกายในประเทศสหรัฐอเมริกา

ชาติภูมิ[แก้]

พระโพธิธรรมาจารย์เถร วิ. (สุวัจ สุวโจ)[2] นามเดิมชื่อ อุง เปลี่ยนชื่อตัวใหม่เป็น สุวัจ ทองศรี เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2462 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแม ภูมิลำเนาเดิม ณ ตำบลตากูก อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองขึ้นเป็น อำเภอเขวาสินรินทร์ โยมบิดาชื่อ นายบุตร ทองศรี โยมมารดาชื่อ นางกึ่ง ทองศรี ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน โดยมีพี่ชาย 2 คน และน้องสาว 2 คน

พระธรรมฐิติญาณ (สังข์ทอง นาควโร) ป.ธ.5 เจ้าคณะตรวจการภาคอีสาน เมตตาตั้งชื่อใหม่ให้ พระสุวัจ สุวโจ นามสกุล ทองสี
วัยเด็กและการศึกษา

การบรรพชาและอุปสมบท[แก้]

ทัฬหีกรรมเป็นพระภิกษุคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย[แก้]

เมื่อในปี พ.ศ. 2484 ภายหลังที่ท่านสอบได้นักธรรมชั้นโทแล้ว เกิดมีศรัทธาหนักไปทางปฏิบัติจิตตภาวนา ทัฬหีกรรมญัตติใหม่สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายพัทธสีมาอุโบสถวัดสุทธจินดา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยมีท่านเจ้าคุณ พระธรรมฐิติญาณ (สังข์ทอง นาควโร) ป.ธ.5 เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระทองดี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ จากนั้น ท่านได้กลับไปจำพรรษา ณ วัดป่าศรัทธารวม เป็นเวลา 2 พรรษา ก่อนที่จะเริ่มต้นการเดินธุดงค์ในปี พ.ศ. 2486

การอยู่จำพรรษา[แก้]

การปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์[แก้]

ลำดับสมณศักดิ์[แก้]

ศาสนกิจในประเทศสหรัฐอเมริกา[แก้]

นับแต่ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระธรรมทูตจากคณะสงฆ์ไทย ในปี พ.ศ. 2525 เพื่อไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในประเทศสหรัฐอเมริกา ท่านได้ปฏิบัติศาสนกิจนี้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างวัดภูริทัตตวนาราม และวัดเมตตาวนาราม มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ให้เป็นที่ประพฤติปฏิบัติธรรมตามแบบอย่างของวัดกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร ซึ่งมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และพุทธศาสนิกชนชาวสหรัฐอเมริกาหนึ่งในจำนวนนั้นได้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ถวายปัจจัยแด่ท่าน เพื่อซื้อที่ดินบนเขา เนื้อที่ 60 เอเคอร์ (ประมาณ 150 ไร่) คิดเป็นเงิน 700,000 ดอลล่าร์ (ประมาณ 17,500,000 บาท) ให้เป็นสถานที่บำเพ็ญภาวนาปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งก็คือ วัดเมตตาวนาราม เมืองแวลเลย์เซ็นเตอร์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

มรณภาพ[แก้]

พระโพธิธรรมาจารย์เถร วิ. (สุวัจ สุวโจ) ท่านมีปัญหาเรื่องปอดไม่แข็งแรงมานานแล้วในช่วงระยะ 1 ปีที่ผ่านมา องค์หลวงปู่ท่านต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาโรคปอดติดเชื้อมาตลอด (ประมาณ 4-5 ครั้ง) ครั้งสุดท้ายก่อนที่ท่านจะละสังขารนี้ องค์หลวงปู่เข้ามารักษาองค์ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพมหานคร และหัวใจท่านได้หยุดเต้นไปแต่เป็นบุญที่คณะแพทย์และพยาบาลได้ถวายการรักษาได้ทันท่วงทีจึงสามารถช่วยท่านไว้ได้ ตลอดระยะเวลาที่ทำการรักษาองค์หลวงปู่มักจะปรารภเนือง ๆ ว่าท่านอยากกลับไปวัด จนเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2545 องค์หลวงปู่แข็งแรงขึ้นมากและแพทย์เห็นสมควรให้ท่านเดินทางกลับบุรีรัมย์ได้ หลวงปู่ท่านสดใสมาก เมื่อได้กลับไปที่วัดป่าเขาน้อย อาการท่านก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ แข็งแรงมากพอที่จะไปโปรดญาติโยมที่วัดป่าปราสาทจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ได้ หลวงปู่เมตตาพำนักที่วัดป่าปราสาทจอมพระและแสดงธรรมโปรดญาติโยมประมาณ 1 อาทิตย์คือช่วงวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2545 ถึง 20 มีนาคม พ.ศ. 2545 จึงได้กลับเดินทางกลับวัดป่าเขาน้อย[5] หลังจากที่หลวงปู่ท่านเดินทางกลับมาพำนักที่เขาน้อยได้ประมาณหนึ่งอาทิตย์ หลวงปู่มีอาการอ่อนเพลียมาก จนต้องพาท่านเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนบุรีรัมย์ หลังจากที่ท่านได้เข้าไปรักษาตัวได้ 2 วัน อาการดีขึ้นมาก แพทย์ที่ถวายการรักษา ขอดูอาการ ซึ่งหากไม่ทรุดลงไปก็จะอนุญาตให้กลับวัดได้ อาการของหลวงปู่ ก็เริ่มทรุดลงเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2545 และอาการหนักในคืนวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2545 เนื่องจากโรคปอดติดเชื้อที่แทรกซ้อนขึ้นมา เช้าวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2545 เป็นวันที่ศิษยานุศิษย์ใกล้ชิดและแพทย์ต้องตัดสินใจ แพทย์แนะนำให้เจาะคอองค์หลวงปู่แต่เมื่อประชุมกันแล้ว ลงความเห็นว่าไม่สมควรเจาะคอ เพราะจะเพียงแค่ยืดอายุขัยท่าน แต่ก็จะทรมานองค์หลวงปู่มากมาย แพทย์หลาย ๆ คนพยายามติดต่ออาจารย์หมอที่ชำนาญทางปอดเพื่อให้เดินทางมาถวายการรักษาที่บุรีรัมย์ ประมาณช่วงเที่ยงวันนั้นองค์หลวงปู่ท่านแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ที่จะละสังขารด้วยการค่อย ๆ ถอนให้เห็น โดยปกติคนที่ป่วยหนัก ค่าต่าง ๆ ที่แสดงถึงความมีชีวิตอยู่อาทิ ความดัน ชีพจร ฯลฯ จะ fluctuate แต่ขององค์หลวงปู่ท่านจะคงที่ ค่อย ๆ ลดลงเป็นลำดับให้เห็นว่าองค์ท่านควบคุมได้ และไม่ประสงค์จะครองสังขารอีกต่อไป คณะศิษยานุศิษย์จึงเตรียมนำองค์ท่านกลับคืนสู่วัด หากแต่ก็ไม่ทัน พระโพธิธรรมาจารย์เถร วิ. (สุวัจ สุวโจ) ถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบ ด้วยสติสัมปชัญญะที่พร้อมบริบูรณ์ เมื่อเวลา 13.12น. วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2545 สิริรวมอายุได้ 83 ปี, 62 พรรษา

อ้างอิง[แก้]

  1. "พระโพธิธรรมาจารย์เถร ( สุวัจ สุวโจ ) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเขาน้อย". www.kunmaebook.com.
  2. "สุวโจอนุสรณ์ (พระธรรมเทศนาคำสอน)". www.lungthong.com.
  3. "วัดศาลาลอย พระอารามหลวง". srn.onab.go.th.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๗, ตอนที่ ๒๔๒ ง, ๕ ธันวาคม ๒๕๓๓, หน้า ๖
  5. https://www.wongnai.com/attractions/434832Fm-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/photos/dc81a2763b824aed874206443479a93a
  6. "หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่สุวัจ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์". www.sumaleeoldbooks.com.
  7. "พระธาตุเจดีย์ศรีสุวจนคุณานุสรณ์ (วัดป่าเขาน้อย)". thai.tourismthailand.org (ภาษาอังกฤษ).