พระเจ้าฟีลิปที่ 5 แห่งฝรั่งเศส
พระเจ้าฟีลิปที่ 5 | |
---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสเเละนาวาร์ | |
ครองราชย์ | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1316 - 3 มกราคม ค.ศ. 1322 |
ราชาภิเษก | 9 มกราคม ค.ศ. 1317 |
รัชกาลก่อนหน้า | พระเจ้าจอห์นที่ 1 แห่งฝรั่งเศส |
รัชกาลถัดไป | พระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศส |
พระราชสมภพ | ค.ศ. 1292/ค.ศ. 1293 ลิออง ในประเทศฝรั่งเศส |
สวรรคต | 3 มกราคม ค.ศ. 1322 Longchamp ในประเทศฝรั่งเศส |
พระอัครมเหสี | ฌานที่ 2 แห่งเบอร์กันดี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส |
พระราชบุตร | ฌานที่ 3 เคาน์เตสแห่งเบอร์กันดี มาร์กาเร็ตที่ 1 เคาน์เตสแห่งเบอร์กันดี อิสซาเบลลาแห่งฝรั่งเศส |
ราชวงศ์ | กาเปเซียง |
พระราชบิดา | พระเจ้าฟีลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส |
พระราชมารดา | ฌานแห่งนาวาร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส |
พระเจ้าฟีลิปที่ 5 แห่งฝรั่งเศส (อังกฤษ: Philip V of France[1] หรือ Philip le Long; ฝรั่งเศส: Philip le Long) (ค.ศ. 1292/ค.ศ. 1293 - 3 มกราคม ค.ศ. 1322) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเซียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสต่อจากพระนัดดาพระเจ้าจอห์นที่ 1 ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1316 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1322 นอกจากจะเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแล้วฟีลิปก็ยังเป็นกษัตริย์แห่งนาวาร์ (ฟีลิปที่ 2) และเคานท์แห่งชองปาญตั้งแต่ปี ค.ศ. 1316 จนกระทั่งเสียชีวิต
พระเจ้าฟีลิปเสด็จพระราชสมภพราวปี ค.ศ. 1292/ค.ศ. 1293 ที่ลียงในประเทศฝรั่งเศส พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองในพระเจ้าฟีลิปที่ 4 และ สมเด็จพระราชินีนาถฌานที่ 1 แห่งนาวาร์ ฟีลิปทรงมีฐานะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้แก่พระนัดดาพระเจ้าจอห์นที่ 1 (พระราชโอรสในพระเชษฐาพระเจ้าหลุยส์ที่ 10) เป็นเวลาห้าวันก่อนที่จะเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นฟีลิปก็ทรงประกาศตนเองเป็นกษัตริย์ ซึ่งทำให้เป็นข่าวร่ำลือกันว่าพระองค์ทรงมีส่วนในการสวรรคตของพระนัดดา
ในปี ค.ศ. 1320 พระเจ้าฟีลิปทรงสามารถขยายดินแดนไปยังบริเวณฟลานเดอร์ส ในด้านกิจการภายในพระองค์ทรงพยายามปฏิรูปรัฐบาลและพยายามสร้างมารตรในการมาตราการวัดและการชั่งตวง และเช่นเดียวกับพระราชบิดาพระองค์ทรงเปลี่ยนนโยบายที่วางไว้ก่อนหน้านั้นโดยพระเชษฐาพระเจ้าหลุยส์ที่ 10 ผู้ปกครองบ้านเมืองภายใต้อิทธิพลของชาร์ลแห่งวาลัวพระปิตุลา และทำให้สภาวะของบ้านเมืองอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ นอกจากนั้นก็ยังทรงช่วยกู้ฐานะของผู้ที่สนิทสนมกับพระบิดาที่ประสบปัญหาในรัชสมัยของพระเชษฐา
พระเจ้าฟีลิปเสกสมรสกับฌานที่ 2 แห่งเบอร์กันดี และมีพระราชธิดาห้าพระองค์และพระราชโอรสสองพระองค์ และพระราชโอรสมิได้มีพระชนมายุยืนพอที่จะสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ได้ พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1322 พระร่างของพระองค์ถูกบรรจุที่มหาวิหารแซงต์เดอนีส์ พระอนุชาขึ้นครองราชย์ต่อมาเป็นพระเจ้าชาร์ลที่ 4 แห่งฝรั่งเศส
การสืบบัลลังก์
[แก้]ฟีลิปเสด็จพระราชสมภพในลียง ทรงเป็นพระโอรสคนที่สองของพระเจ้าฟีลิปที่ 4 กับสมเด็จพระราชินีนาถฌานที่ 1 แห่งนาวาร์ ฟีลิปถูกตั้งเป็นเคานต์แห่งปัวตูในปี ค.ศ. 1311
เมื่อพระบิดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1314 หลุยส์ผู้ดื้อรั้นกลายเป็นกษัตริย์คนใหม่ แต่เพียงไม่กี่เดือนหลังได้รับการสวมมงกุฎในปี ค.ศ. 1316 พระเจ้าหลุยส์ที่ 10 ก็สิ้นพระชนม์ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1316 โดยมีพระโอรสธิดาเพียงคนเดียวคือฌาน พระธิดาที่ถูกสงสัยในชาติกำเนิด เคลม็องส์ พระมเหสีของพระองค์กำลังตั้งครรภ์[2] สภานิติบัญญัติฝรั่งเศสและสภาฐานันดร ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบารอน, กลุ่มบิชอป และกลุ่มนักปราชญ์ ประกาศให้ฟีลิปสำเร็จราชการแผ่นดินเป็นเวลา 18 ปีจนกว่าเด็กในครรภ์จะโตเป็นผู้ใหญ่ ไม่ว่าเด็กคนนั้นจะเป็นชายหรือหญิง เคลม็องส์ให้กำเนิดพระโอรสชื่อว่าฌ็องในวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1316 พระองค์มีชีวิตอยู่ได้เพียงห้าวัน[2] สันนิษฐานกันว่าพระองค์อาจถูกวางยาพิษ
หลังเด็กน้อยสิ้นพระชนม์ ฟีลิปประกาศตนเป็นกษัตริย์และเข้ารับการสวมมงกุฎในวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1317 ทรงได้รับการรับรองการเป็นกษัตริย์จากสภาฐานันดรในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ โดยฌาน พระธิดาของอดีตกษัตริย์ไม่สามารถสืบทอดตำแหน่งได้เนื่องจากตามกฎซาลิกของฝรั่งเศสสตรีไม่มีสิทธิ์สืบทอดตำแหน่ง
การอภิเษกสมรส
[แก้]ฟีลิปแต่งงานกับฌานที่ 2 เคานเตสแห่งบูร์กอญ บุตรสาวและทายาทของออทโทที่ 4 เคานต์แห่งบูร์กอญในปี ค.ศ. 1307[3] ทั้งคู่มีพระธิดาด้วยกันสามคน คือ
- ฌาน (ค.ศ. 1308 – ค.ศ. 1349) เคานเตสแห่งบูร์กอญตามสิทธิ์ของตนเอง สมรสกับอูเดส์ที่ 4 ดยุคแห่งบูร์กอญ การแต่งงานครั้งนี้ทำให้เคานตีและดัชชีบูร์กอญถูกรวมเข้าด้วยกัน
- มาร์เกอริต (ค.ศ. 1310 – 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1382) สมรสกับหลุยส์ที่ 1 เคานต์แห่งแฟลนเดอส์
- อีซาแบล (ค.ศ. 1311 – เมษายน ค.ศ. 1345) สมรสกับกีย์ที่ 8 เดอ ลา ทัวร์ ดู แป็ง โดแฟ็งแห่งเวียนนัวส์
ทั้งคู่มีพระโอรสด้วยกันอีกหนึ่งคนชื่อฟีลิปหรือไม่ก็หลุยส์ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1317 ทำให้ชาร์ล พระอนุชาของพระเจ้าฟีลิปกลายเป็นทายาทและสืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์เป็นพระเจ้าชาร์ลที่ 4
ฌานพัวพันในคดีคบชู้ของมาร์เกอริตแห่งบูร์กอญในช่วงปี ค.ศ. 1314 มาร์เกอริตถูกกล่าวหาและถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานคบชู้กับอัศวินสองคน โดยผู้ให้การเปิดโปงเรื่องนี้คืออีซาแบล พระขนิษฐาของพระสวามี[4] ฌานถูกสงสัยว่าปกปิดความลับเรื่องการคบชู้ ต่อมาทรงถูกกล่าวหาว่าคบชู้ด้วยเช่นกัน[5] ด้วยความช่วยเหลือจากฟีลิป พระองค์ถูกตัดสินว่าบริสุทธิ์และได้รับอนุญาตให้กลับมาอยู่ที่ราชสำนัก ไม่ชัดเจนว่าเหตุใดฟีลิปจึงอยู่ข้างพระองค์ ทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าพระองค์อาจกังวลว่าการทิ้งฌานจะทำให้พระองค์เสียบูร์กอญไป หรือไม่พระองค์ก็อาจจะรักฌานมาก[5]
ความสำเร็จ
[แก้]พระองค์ให้ความสนใจกับกิจการภายในมากกว่าพระบิดาที่สนใจการทำสงครามและการเก็บภาษีประชาชนมาจ่ายหนี้ส่วนพระองค์เป็นหลัก พระเจ้าฟีลิปพยายามปฏิรูปหน่วยงานบริหารปกครอง อาทิ ทรงตั้งทหารกองหนุนขึ้นมารักษาความสงบสุข ซึ่งประกอบด้วยพลเมืองท้องถิ่นภายใต้การควบคุมของนายทหารตราตั้งซึ่งมีหน้าที่รายงานต่อกษัตริย์ ทรงสร้างมาตรฐานให้ระบบชั่งตวงวัด ทรงทำให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ยากขึ้น ทรงประกาศใช้กฎข้อบังคับเพื่อควบคุมผู้ที่อยู่ในครัวเรือนของกษัตริย์ พระองค์ยังคืนสมบัติและเกียรติภูมิให้ผู้มีฐานันดรศักดิ์และผู้ร่วมงานหลายคนของพระบิดาที่เคยถูกพระเจ้าหลุยส์ที่ 10 เนรเทศ ทรงเป็นกษัตริย์คนหนึ่งที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในมือเช่นเดียวกับพระบิดา และทรงพยายามปกครองโดยมีสภานิติบัญญัติคอยให้ความช่วยเหลือ ทรงเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่สภาฐานันดร แม้สมาชิกสภาหลายคนจะคัดค้านความพยายามที่สร้างมารตราฐานและรวมอำนาจในการผลิตเหรียญเงินของราชอาณาจักรเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมองว่าจะเป็นการผูกขาดรายได้ พระองค์ขูดรีดเงินมากมายมาจากชาวยิวของฝรั่งเศสเหมือนเช่นพระบิดา ในปีที่พระองค์สิ้นพระชนม์ ชาวยิวถูกขับไล่ออกจากราชอาณาจักร
พระเจ้าฟีลิปที่ 5 ทำให้ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น เป็นระบบระเบียบสอดคล้องกันมากขึ้น มีความมั่นคงมากขึ้น และเป็นราชอาณาจักที่สงบสุขกว่าในรัชสมัยของพระบิดา พระองค์ไม่ได้ต้องการที่จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จเหมือนพระบิดา ทรงปกครองโดยมีสภานิติบัญญัติคอยช่วยเหลือ
ด้านวัฒนธรรม
[แก้]พระองค์รักบทกวี ราชสำนักของพระองค์เต็มไปด้วยผู้ทรงปัญญา ราชสำนักของพระสันตะปาปาที่ถูกพระบิดาของพระองค์ย้ายมาอยู่ที่อาวินญงเองก็เต็มไปด้วยศิลปินและปัญญาชน หนึ่งในนั้นคือเปตรากและซีโมเน มาร์ตีนี
การสิ้นพระชนม์และทายาท
[แก้]พระเจ้าฟีลิปที่ 5 สิ้นพระชนม์ที่ลงช็อมป์ในปารีสในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1322 โดยไร้ซึ่งทายาทชาย ร่างของพระองค์ถูกฝังในมหาวิหารแซ็งต์เดอนีส์ ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์คือพระเจ้าชาร์ลที่ 4 พระอนุชาของพระองค์
อ้างอิง
[แก้]- Weir, Alison, Isabella
- Philip V: New World Encyclopedia