พระเจ้าโคลทาร์ที่ 1
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
โคลธาร์ที่ 1 (อังกฤษ: Chlothar I) หรือโคลแทร์ที่ 1 (อังกฤษ: Clotaire I) หรือผู้อาวุโส (le Vieux) กษัตริย์ของชาวแฟรงก์ เป็นหนึ่งในสี่พระโอรสของโคลวิสที่ 1 แห่งราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง
พระบิดาของโคลธาร์ โคลวิสที่ 1 แบ่งอาณาจักรให้พระโอรสสี่คน ใน ค.ศ. 511 โคลธาร์ที่ 1 รับช่วงต่อสองอาณาเขตใหญ่บนชายฝั่งตะวันตกของฟรานเกียที่ถูกแยกจากกันโดยดินแดนของอาณาจักรปารีสพระเชษฐา ชิลเดอแบต์ที่ 1 โคลธาร์ใช้เวลาในชีวิตส่วนใหญ่ในการสู้รบเพื่อขยายอาณาเขตไปในราชอาณาจักรของพระญาติหรือไม่ก็เพื่อนบ้าน
พระเชษฐาของพระองค์หลีกเลี่ยงการทำสงครามเองโดยตรงด้วยการร่วมมือกับพระองค์โจมตีดินแดนเพื่อนบ้านหรือไม่ก็รุกรานดินแดนในตอนที่ผูกปกครองของพวกเขาตาย ดินแดนที่ยึดมาได้ถูกแบ่งกันระหว่างพระเชษฐาพระอนุชาที่ร่วมมือกัน ในบั้นปลายพระชนมชีพ โคลธาร์ได้จัดการรวมฟรานเกียให้เป็นหนึ่งเดียวโดยการยึดเอาดินแดนของพระเชษฐามาหลังจากที่พวกเขาสิ้นพระชนม์ ต่อเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ อาณาจักรของชาวแฟรงก์ถูกแบ่งอีกครั้งให้กับพระโอรสของพระองค์เองสี่คนที่ยังมีชีวิตอยู่ พระโอรสคนที่ห้าก่อกบฏและถูกสังหารพร้อมกับครอบครัวของตน
พระบิดาของโคลธาร์ โคลวิสที่ 1 ได้เปลี่บนไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายไนซีน แต่โคลธาร์ เหมือนกับชาวเมรอแว็งเฌียงคนอื่นๆ ไม่ได้มองว่าหลักธรรมคำสอนเรื่องการมีคู่สมรสเพียงคนเดียวเป็นสิ่งที่กษัตริย์ต้องยึดถือ พระองค์มีพระชายาห้าคน เพื่อเอื้อประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าเป็นความต้องการส่วนพระองค์ แม้การยุยงส่งเสริมของเหล่าชายาจะทำให้พระองค์มอบเงินให้กับสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาใหม่ๆหลายครั้ง แต่พระองค์ก็ไม่ใช่ชาวคริสต์ที่มีศรัทธาแรงกล้าและประสบความสำเร็จในการนำการเก็บภาษีมาใช้กับอสังหาริมทรัพย์ทางศาสนา
พระชนม์ชีพ
[แก้]พระชนมชีพในวัยเยาว์
[แก้]โคลธาร์เป็นพระโอรสคนที่ห้าของโคลวิสที่ 1 และเป็นพระโอรสคนที่สี่ของราชินีโคลทิลด์ ชื่อ "โคลธาร์" มีความหมายว่า "ความรุ่งโรจน์" โคลธษร์เสด็จพระราชสมภพราว ค.ศ. 497 ในซอยส์ซงส์ หลังการสิ้นพระชนม์ของพระบิดาเมื่อ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 511 พระองค์ได้รับอาณาจักรที่เป็นส่วนแบ่งของพระองค์ คือ นครซอยส์ซงส์ที่พระองค์ตั้งให้เป็นเมืองหลวงของพระองค์, เมืองล็อง, โนยม, ค็อมเบร และมาสตริชต์ และตอนล่างของแม่น้ำมูส แต่พระองค์ทะเยอทะยานมากและหาทางขยายเขตแดนของตน
การขึ้นครองบัลลังก์
[แก้]หลังการสิ้นพระชนม์ของโคลวิสที่ 1 ใน ค.ศ. 511 อาณาจักรแฟรงก์ถูกแบ่งให้กับโคลธาร์และพระเชษฐา เธอเดริค, ชิลเดอแบต์ และโคลโดเมอร์ ด้วยสิทธิ์ของความเป็นมารดา พระราชินีจะได้รับส่วนแบ่งในอาณาจักรของพระโอรส โคลวิสที่ 1 ซึ่งมีพระชายาสองคนแบ่งอาณาจักรของตนเป็นสองส่วนให้พระชายาแต่ละคน แล้วค่อยแบ่งเป็นส่วนๆให้พระโอรสไล่ไปตามลำดับ คนโตสุด เธอเดริค พระโอรสของพระชายาคนแรก ได้รับครึ่งหนึ่งของอาณาจักรฟรานเกีย ไรม์ โคลธาร์แบ่งอีกครึ่งหนึ่งของอาณาจักรกับพระเชษฐา ชิลเดอแบต์กับโคลโดแมร์ โคลแธร์ได้รับส่วนแบ่งทางตอนเหนือ ชิลเดอแบต์ได้อาณาจักรปารีสที่อยู่ตรงกลาง ส่วนโคลโดแมร์ได้อาณาจักรเออร์ลียงทางตอนใต้ เขตแดนที่รับช่วงต่อโดยโคลแธร์ประกอบด้วยสองส่วนที่แยกจากกันชัดเจน ส่วนแรกอยู่ในกอลิคเบลเยี่ยม ตรงกับอาณาจักรของชาวซาเลี่ยนแฟรงก์ที่พระองค์สถาปนาเมืองหลวงขึ้นที่ซอยส์ซงส์ และรวมไปถึงเขตปกครองของบิชอป เอเมียง, อาราส, แซ็งต์-กอนต็อง และทัวร์เน และที่อื่นๆในอากีแตนที่รวมไปถึงเขตปกครองของบิชอป อาฌ็อง, บาซาส เปริกูซ์
สงครามเบอร์กันดีครั้งแรก
[แก้]ใน ค.ศ. 516 กุนโดบาด กษัตริย์แห่งเบอร์กันดี สิ้นพระชนม์ และบัลลังก์ถูกส่งต่อให้กับพระโอรสของพระองค์ ซิกิสมุสนด์ ที่เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ ซิกิสมุนด์รับนโบายที่ต่อต้านผู้นับถือนิกายอาเรียนแบบสุดขั้วมา กระทำการประหารชีวิตพระโอรสที่เป็นผู้นับถือนิกายอาเรียนของตน ซิเกริค ที่เป็นพระนัดดาของกษัตริย์ออสโทรโกธ เธโอเดริคมหาราช ซิกิสมุนด์ยังกระตุ้นชาวแฟรงก์ลงมือโจมตีพระองค์ แต่ทรงหลีกเลี่ยงความขัดแย้งด้วยการมอบพระธิดา ซูอาเวโกธ่า ให้แต่งงานกับพระเชษฐาร่วมบิดาของโคลธาร์ เธอเดริคที่ 1
ใน ค.ศ. 523 ด้วยการยุยงส่งเสริมของพระมารดา โคลทิลด์ โคลธาร์, ชิลเดอแบต์ และโคลโดแมร์ ตั้งกองทัพร่วมเดินทางไปต่อสู้กับชาวเบอร์กันดี กองทัพเบอร์กันดีพ่ายแพ้ และซิกิสมุนด์ถูกจับกุมตัวและประหารชีวิต พระอนุชาของซิกิสมุนด์ โกโดมาร์ แทนที่พระองค์บนบัลลังก์ด้วยการสนับสนุนของชนชั้นสูง ส่วนชาวแฟรงก์ก็ถูกบีบให้ออกไป
ใน ค.ศ. 524 โคลธาร์กับพระเชษฐา รวมถึงเธอเดริค เริ่มการสู้รบครั้งใหม่ มุ่งหน้าสู่หุบเขาอีแซร์ แต่ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 524 พวกพระองค์พ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สมรภูมิแห่งเวเซโรนซ์และโคลโดแมร์ถูกสังหาร ชาวแฟรงก์ออกจากเบอร์กันดี ส่วนโกโดมาร์กลับไปปกครองจนถึง ค.ศ. 534
การแต่งงานกับกุนเธิค
[แก้]โคลธาร์แต่งงานกับกุนเธิค ราชินีแห่งเออร์ลียงและชายาม่ายของโคลโดแมร์ พระเชษฐาของพระองค์ การสมรสครั้งนี้มอบสิทธิ์ในการเข้าถึงทรัพย์สมบัติของโคลโดแมร์ให้กับโคลธาร์ และเป็นการรับรองตำแหน่งของกุนเธิคในฐานะทายาทหญิงในดินแดนของโกเดจิซีล กฎหมายของชาวแฟรงก์อนุญาตให้ผู้หญิงรับสืบทอดดินแดนได้หากพวกเธอไม่มีบุตรชาย
การแต่งงานกับอาเรกุนด์
[แก้]พระชายาของโคลธาร์ อินกุนด์ เรียกร้องให้พระสวามีของตนหาสามีที่คู่ควรให้กับพระขนิษฐา อาเรกุนด์ เมื่อหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ โคลธาร์จึงรับอาเรกุนด์เป็นหนึ่งในพระชายาของพระองค์เองในปี ค.ศ. 533-538 พระองค์ยังคงเป็นพระชายาจนกระทั่งพระเชษฐภคินี อินกุนด์ สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 546 หลังจากนั้นพระองค์ก็หล่นจากการเป็นที่โปรดปรานของโคลธาร์
การพิชิตธูริงเกีย
[แก้]ใน ค.ศ. 531 แอร์มานาฟรีด กษัตริย์ของชาวธูริงเกีย สัญญาจะยกส่วนหนึ่งของอาณาจักรธุริงเกียให้พระเชษฐาร่วมบิดาของโคลธาร์ เธอเดริค หากพระองค์ช่วยปลดบาเดริก ศัตรูของแอร์มานาฟรีดกับพระอนุชา ออกจากตำแหน่ง เธอเดริคตกลง ทว่าบาดเจ็บหลังจากได้รับชัยชนะ พระองค์ขอร้องโคลธาร์ให้ทำสงครามต่อ แอร์มานาฟรีดสิ้นพระชนม์ราวๆช่วงเวลานั้น และเป้าหมายกลายเป็นพิชิตธูริงเกียแทน
พันธมิตร ร่วมด้วยความช่วยเหลือของพระนัดดา เธอเดแบต์ที่ 1 พิชิตธูริงเกียได้ และมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของเขตแดนแฟรงก์ ในช่วงที่แบ่งดินแดนที่ยึดมาได้กัน โคลธาร์กับเธอเดริคโต้เถียงกันอย่างรุนแรงเรื่องใครจะได้แต่งงานกับเจ้าหญิงราเดกุนด์ แต่ท้ายที่สุดโคลธาร์ชนะการโต้แย้งบนพื้นฐานที่ว่าคนของพระองค์เป็นคนจับกุมพระนางได้
เจ้าหญิงราเดกุนด์
[แก้]ใน ค.ศ. 538 ราเดกุนด์ถูกนำตัวไปที่ซอยส์ซงส์เพื่อแต่งงานกับโคลธาร์เป็นราชินีที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ช่วยให้อำนาจเหนือธูริงเกียของพระองค์แข็งแกร่งขึ้นได้
ขณะที่พระยศและสถานะของพระนางเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโคลธาร์ในการได้มาซึ่งอำนาจเหนือธูริงเกีย ราเดกุนด์ยังคงสวมใส่เสื้อผ้าธรรมดาและไม่ได้รับการปฏิบัติเยี่ยงราชินี ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากความศรัทธาในศาสนาคริสของพระนาง ทรงไม่ต้องการความหรูหราฟุ่มเฟือย
ราเดกุนด์ไม่ทานเกินความจำเป็น พระนางยืนกรานว่าอาหารมากมายจะพระองค์จะต้องถูกมอบให้กับคนจน พระนางใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการสวดมนต์และขับร้องบทสวด ทรงใช้เวลากับกษัตริย์น้อยมาก ความจงรักภักดีของพระนางมอบให้กับพระเจ้าเป็นอันดับหนึ่งและโคลธาร์เป็นอันดับสอง โคลธาร์เริ่มโกรธเคืองและขัดแย้งกับพระนางหลายครั้ง
พระนางเกษียณตัวเข้าสู่คอนแวนต์และไปก่อตั้งแอบบีย์ในปัวติเยร์ แซ็งต์ครูซ์ สำนักชีแห่งแรกในยุโรป พระนางได้รับยกย่องเป็นนักบุญราเดกุนด์
การได้มาซึ่งอาณาจักรเออร์ลียง
[แก้]โคลธาร์เป็นผู้ยุงยงส่งเสริมหลักในการฆาตกรรมพระโอรสของพระเชษฐา โคลโดแมร์ ใน ค.ศ. 524 และส่วนแบ่งของพระองค์ในดินแดนที่ยึดมาได้ประกอยด้วยเมืองทัวร์และปัวติเยร์
พระเชษฐาของโคลธาร์ โคลโดแมร์ถูงสังหารเมื่อ 25 มิถุนายน ค.ศ. 524 ในช่วงที่เดินทางไปต่อสู้กับชาวเบอร์กันดีที่สมรภูมิแห่งเวเซโรนซ์ หลังการสิ้นพระชนม์ของโคลโดแมร์ พระโอรสสามคนของพระองค์ เธโอเดบาลด์, กุนเธอร์ และโคลโดอาลด์ ถูกมอบให้อยู่ในการดูแลของพระอัยกี เจ้าชายน้องจึงได้รับการเลี้ยงดูในปารีสโดยพระมารดาของโคลโดแมร์ โคลทิลด์
เพื่อยับยั้งไม่ให้อาณาจักรเออร์ลียงกลับไปเป็นของพระนัดดา โคลธาร์ร่วมมือกับพระเชษฐา ชิลเดแบต์ ใน ค.ศ. 532 ข่มขู่ทายาทน้อยด้วยความตายเว้นแต่พวกเขาจะยอมตกลงเข้าสู่ศาสนา ทั้งสองพระองค์ส่งอาร์คาดิอุส หลานชายของซิโดนิอุส อาโปลลินาริส ไปหาพระมารดา โคลทิลด์ พร้อมกับกรรไกรและบาดคู่หนึ่ง เขายื่นคำขาดแก่พระราชินี เด็กๆจะมีชีวิตในฐานะพระหรือจะตายก็ได้
ธรรมเนียมแบบเจอร์มานิกทำให้พระราชินีโคลทิเด้ ในฐานะมารดา มีสิทธิ์ในฐานะประมุขของครัวเรือนของตน ทว่าสายเลือดของกษัตริย์จะถูกส่งต่อไปยังพระอนุชาก่อนจะส่งต่อไปยังอีกรุ่น เนื่องด้วยการเมืองของชนเผ่า การยอมให้เด็กชายไว้ผมยาวจะนำไปสู่สงครามกลางเมืองได้ ผมยาวเป็นสัญลักษณ์ของเชื้อพระวงศ์ชาวแฟรงก์ และการกำจัดมันถูกมองว่าเป็นการหยามหมิ่นอย่างร้ายแรง แต่เธโอเดบาลด์, กุนเธอร์ และโคลโดอาลด์ วันหนึ่งจะอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ได้ และเป็นหน้าที่ของโคลธาร์และชิบเดแบต์ที่จะส่งต่ออำนาจไปให้พวกเขา
โคลทิลด์รังเกียจและตกตะลึงกับข้อเรียกร้องที่ได้รับจากอาร์คาดิอุสและกล่าวว่าพระนางยอมเห็นพระโอรสสิ้นพระชนม์ดีกว่ามองเห็นพวกเขาถูกตัดผม
พระปิตุลาทั้งสองมาพร้อมกับแผนการฆาตกรรมเด็กน้อย โคลธาร์แทงเธโอเดบาลด์ที่รักแร้ กุนเธอร์ทิ้งตัวลงแทบเท้าชิลเดแบต์ที่ร้องไห้และเกือบจะขอร้องแทนพระนัดดา ทว่าโคลธาร์เรียกร้องให้ชิลเดแบต์ทำการฆาตกรรม กล่าวว่ามันเป็นวิธีเดียวที่จะสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับอำนาจ ชิลเดแบต์ส่งกุนเธอร์ให้โคลธาร์ที่แทงและบีบคอเขา เธโอเดบาลด์กับกุนเธอร์อายุสิบปีและเจ็ดปีตามลำดับ
โคลโดอาลด์ยังคงมีชีวิตด้วยหาทางหนีออกมาได้ ได้รับการซ่อนตัวโดยผูสนับสนุนที่ภักดี เขาสละการอ้างสิทธิ์ทั้งหมดและเลือกใช้ชีวิตในร่มเงาศาสนา ชิลเดแบต์กับโคลธาร์จึงแบ่งอาณาเขตที่ได้มาได้อย่างอิสระ ขณะเดียวกัน เธอเดริคยึดส่วนแบ่งที่ประกอบด้วยอูแซร์รัวส์, แบร์รี และซ็องส์
สงครามเบอร์กันดีครั้งที่สอง
[แก้]ใน ค.ศ. 532 ชิลเดแบต์กับโคลธาร์ยึดอโอทัง ทั้งสองไล่ล่าโกโดแมร์ที่ 3 พระอนุชาของซิกิสมุนด์ ที่ได้รับความช่วยเหลือจากพระบิดาและพันธมิตร กษัตริย์ของชาวออสโทรโกธ เธโอเดริคมหาราช
การตายของแอตตาลาริค พระนัดดาและผู้สืบทอดของเธโอเดริคมหาราช ใน ค.ศ. 534 ก่อให้เกิดวิกฤตการสืบทอดต่อในอาณาจักรออสโทรโกธ พันธมิตรของเบอร์กันดี โคลธาร์, เธอเดแบต์ และชิลเดแบต์ฉวยโอกาสบุกอาณาจักรเบอร์กันดีที่ตอนนี้ขาดแคลนการคุ้มกันจากชาวออสโทรโกธ อาณาจักรเบอร์กันดีถูกยึดและแบ่งกันระหว่างผู้ปกครองแฟรงก์สามคน โคลธาร์ได้รับเกรอน็อบ, ดี และเมืองใกล้เคียงอีกหลายแห่ง
สงครามวิซิโกธครั้งแรก
[แก้]ตลอดหลายปี ชาวสแปนิชวิซิโกธบุกรุกเข้ามาในอาณาเขตของชาวแฟรงก์และได้ยึดเอาดินแดนไปหลายครั้ง โคลวิสได้กอบกู้เอาพวกมันกลับมาและพิชิตอาณาเขตของชาวโกธได้ด้วย โคลธาร์ส่งพระโอรสคนโตไปอ้างสิทธิ์ในดินแดนที่เสียไปอีกครั้ง แม้บางครั้งจะประสบความสำเร็จ แต่ด้วยเหตุผลบางอย่างที่ไม่อาจรู้ได้ พระโอรสคนรองของพระองค์ ยุติการสู้รบและกลับมาบ้าน เธอเดแบต์ คนโต ทำสงครามต่อและยึดฐานที่มั่นดิโอ-เอ็ต-วาลเกเรสและกาเบรียเรส ดินแดนของชาวแฟรงก์ที่สูญเสียไปส่วนใหญ่ได้รับการกู้คืน
สงครามกลางเมือง
[แก้]โคลธาร์พยายามใช้ประโยชน์จากการล้มป่วยของเธอเดริคในช่วงเวลานี้ พยายามให้ได้มาซึ่งอาณาจักรของพระองค์ด้วยความช่วยเหลือของชิลเดแบต์ ทว่าเธอเดแบต์ที่ยุ่งอยู่กับการคุ้มกันอาร์ลส์รีบกลับมาช่วยเหลือพระบิดา เธอเดริค เธอเดริคสิ้นพระชนม์ไม่กี่วันต่อมา และเธอเดแบต์ที่ได้รับการสนับสนุนโดยขุนนางศักดินาของพระองค์จัดการรักษาอาณาจักรของพระองค์และยับยั้งพระปิตุลาจากการยึดเอาไปได้
ชิลเดแบต์กับเธอเดแบต์ร่วมมือกันทางกองทัพและประกาศสงครามกับโคลธาร์ ทั้งสองเริ่มปราบพระองค์ บีบพระองค์ให้ลี้ภัยเข้าป่าเพื่อคุ้มกันตนจากทั้งสอง ขณะที่โคลธาร์ถูกปิดล้อม พายุโหมกระหน่ำใส่เครื่องมือ ถนน และม้า และกองทัพพันธมิตรแตกกระเจิง ชิลเดแบต์กับเธอเดแบต์ถูกบีบให้ละทิ้งการปิดล้อมและทำสันติภาพกับโคลธาร์
สงครามวิซิโกธครั้งที่ 2
[แก้]ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 542 ชิลเดแบต์กับโคลธาร์ ร่วมกับโอรสสามคนของพระองค์ นำกองทัพเข้าสู่อีสปาเนียของชาววิซิโกธ พวกพระองค์ยึดเอาปัมโปลนากับซาราโกซ่าแต่สุดท้ายถูกบีบให้ละทิ้งมันหลังจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศถูกพิชิตได้ เนื่องจากกองทัพของกษัตริย์ส่วนใหญ่ยังคงอยู่กับธูดิสและยังมีอำนาจเพียงพอให้แสดงออกมา พวกพระองค์จึงได้รับดินแดนหลักที่อยู่เหนือเทือกเขาพีรินีส์แทน แม้จะไม่มากเท่าที่พวกพระองค์ได้ยึดครองก็ตาม
ชนเผ่าทัสคานี
[แก้]การฆาตกรรมอามาลาซุนธ่า พระธิดาของเธโอโดริกมหาราช และการฆาตกรรมออโดเฟลด้า พระขนิษฐาของโคลวิสที่ 1 ด้วยน้ำมือของกษัตริย์แห่งทัสคานีเป็นเหตุให้โคสธาร์ข่มขู่จะว่าจะบุกหากพระองค์ไม่ได้รับค่าชดเชย ข้อตกลงเพื่อป้องกันไม่ให้เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นคือกษัตริย์ทัสคานีต้องจ่ายเหรียญทองคำ 50,000 เหรียญ ทว่าชิลเดแบต์กับเธอเดแบต์ได้เข้ามาขัดขวาง ขโมยค่าชดเชยมาและแบ่งกันก่อนจะถึงมือโคลธาร์ แต่ทรัพย์สมบัติของโคลธาร์ยังคงมากกว่าของทั้งชิลเดแบต์และเธอเดแบต์อยู่ดี
การสิ้นพระชนม์ของโคลทิลด์
[แก้]เมื่อ 3 มิถุนายน ค.ศ. 548 โคลทิลด์ พระมารดาของโคลธาร์ สิ้นพระชนม์ในเมืองทัวส์ โคลธาร์กับพระเชษฐา ชิลเดแบต์ ย้ายพระศพของพระนางไปทำพิธีศพที่บาซิลิก้าแห่งแซ็งต์อาโพสเติ้ลส์เพื่อฝังเคียงข้างพระสวามีของพระนาง โ๕ลวิสที่ 1 กับนักบุญเจเนเวียฟ
การได้มาซึ่งเม็ตซ์
[แก้]เธอเดบาลด์ พระปนัดดาของโคลธาร์และพระนัดดาของเธอเดริคผู้ล่วงลับ สิ้นพระชนม์โดยไร้โอรสธิดาใน ค.ศ. 555 โคลธาร์จึงรีบไปที่เม็ตซ์เพื่อยึดเอาอาณาจักรมาจากพระนัดดาผู้ล่วงลับ แต่ภายใต้กฎหมายของชาวซาเลี่ยน พระองค์ต้องแบ่งมันกับพระเชษฐา พระองค์จึงแต่งงานกับวูลด์เทรด ชายาม่ายของเธอเดบาลด์และพระธิดาของกษัตริย์ล็อมบาร์ด วาโช ซึ่งจะรับรองความราบรื่นในการสืบทอดต่ออาณาจักรเกรทเม็ตซ์ และเป็นการผูกมิตรกับชาวล็อมบาร์ดที่สถาปนาตนขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยของเธอเดแบต์ แต่บิชอปประณามการแต่งงานกันในเครือญาติครั้งนี้และบังคับให้โคลธาร์หย่ากับพระนาง พวกบิชอปให้พระนางแต่งงานกับดยุคบาวาเรีย การิบาลด์ เพื่อชดเชยความล้มเหลวในการแต่งงานกับวูลด์เทรด (วาลดราด้า) โคลธาร์ให้โคลซินด์ พระธิดาของพระองค์ แต่งงานกับเจ้าชายล็อมบาร์ดและวาที่กษัตริย์ อัลบวน คงดาต์ โดเมสติคุส ผู้บริหารดูแลใหญ่ของพระราชวังของพระเจ้าเธอเดบาลด์ รักษาตำแหน่งของตนไว้ได้หลังการผนวกอาณาจักนเม็ตซ์
การยอมจำนวนของโอแวญ
[แก้]โอแวญ ครั้งหนึ่งเคยเป็นมณฑลโรมันที่รุ่งเรืองที่ต่อต้านชาววิซิโกธและชาวแฟรงก์หวังจะหลีกเลี่ยงการถูกทำลายโดยการเสนอความจงรักภักดีให้ เธอเดริคได้ทำลายล้างดินแดนมากมายและปลอบขวัญดินแดนด้วยการแต่งงานกับหญิงชาวกัลโลโรมันลูกหลานของวุฒิสมาชิก เมื่อเธโอเดบาลด์สิ้นพระชนม์ตามที่หวังไว้ โคลธาร์ส่งพระโอรส ชราม ไปยึดเอาพื้นที่มา ในตอนนั้น ชรามได้ควบคุมพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นและปรารถนาจะแยกตัวออกจากพระบิดาอย่างเด็ดขาด เพื่อให้เป็นไปตามที่ต้องการ เขาร่วมมือทางการเมืองกับชิลเดแบต์ที่ส่งเสริมความขัดแย้ง ในตอนนั้นอิทธิพลของเขาขยายอยู่ทั่วปัวติเยร์, ทัวส์, ลิโมฌ, แคลร์มงต์, บูร์ฌ, เลอ ปุย, แจโวล, โรเดซ์, คาฮอร์, อัลบี และตูลูส
สงครามกับชราม
[แก้]โคลธาร์สู้รบในสงครามกับชาวแซ็กซันอีกครั้ง พระองค์ส่งพระโอรส ชาริแบต์กับกุนแทรม ไปนำกองทัพต่อสู้กับชราม ทั้งสองพระองค์เดินทัพไปโอแวญและลิโมฌและสุดท้ายก็เจอตัวชรามในแซ็งต์-ฌอร์เฌ-นีเกรมงต์ กองทัพของพวกเขาเจอกันที่ตีน "ภูเขาดำ" ที่สองพระองค์เรียกร้องให้ชรามปล่อยมือจากดินแดนที่เป็นของพระบิดา ชรามปฏิเสธ แต่พายุยับยั้งสงครามไว้ ชรามส่งจดหมายไปหาพระเชษฐาพระอนุชาร่วมบิดา แจ้งข่าวผิดๆว่าโคลธาร์สิ้นพระชนม์แล้วด้วยน้ำมือของชาวแซ็กซัน ชาริแบต์กับกุนแทรมรับเดินทัพไปเบอร์กันดี ข่าวลือว่าโคลธาร์สิ้นพระชนม์ในแซ็กโซนีกระจายไปทั่วเกาล์ กระทั่งถึงหูของชิลเดบต์ เป็นไปได้เช่นกันว่าชิลเดแบต์อยู๋เบื้องหลังข่าวลือนี้ ต่อมาชรามฉวยโอกาสขยายอิทธิพลของพระองค์เข้าสู่ชาล็อง-ซูร์-ซุน พระองค์ปิดล้อมเมืองและชนะ ชรามแต่งงานกับชาลด้า ลูกสาวของวิเลียแชร์ (วิลาชาริอุส) เคานต์แห่งเออร์ลียง ที่อยู่ใต้อำนาจของชิลเดแบต์
การรวมฟรานเกียทั้งหมด
[แก้]เมื่อ 23 ธันวาคม ค.ศ. 558 ชิลเดแบต์สิ้นพระชนม์โดยไร้โอรสธิดาหลักล้มป่วยมาอย่างยาวนาน เรื่องนี้ทำให้โคลธาร์รวมอาณาจักรแฟรงก์เป็นหนึ่งได้อีกครั้ง เหมือนที่พระบิดา โคลวิส เคยทำได้ และยึดเอาทรัพย์สมบัติของพระเชษฐามา
ข่าวการสิ้นพระชนม์ของชิลเดแบต์เป็นเหตุให้อาณาจักรมากมายรวมกันเป็นหนึ่งภายใต้โคลธาร์ ปารีสที่ต่อสู้กับพระองค์ยอมจำนวนต่อการปกครองของพระองค์ ชรามจึงร้องขอที่ลี้ภัยจากชาวเบรตัน พระองค์ได้ทำข้อตกลงกับพระสัสสุระ วิลาชาริอุส เคานต์แห่งเออร์ลียง แม้พระองค์ในตอนนั้นจะลี้ภัยไปอยู่ในบาซิลิก้าแห่งแซ็งต์มาแต็งแห่งทัวส์ แต่พระองค์ถูกจับและต่อมาถูกเผา "เพื่อชดเชยบาปของประชาชนและเรื่องน่าอับอายที่กระทำผิดโดยวาเลียแชร์และภรรยา" ต่อมาโคลธาร์ฟื้นฟูบาซิลิก้า