ข้ามไปเนื้อหา

พระสุตตันตปิฎก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระสุตตันตปิฏก)

คัมภีร์หลักในพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎกเถรวาท
๔๕ เล่ม

    พระวินัยปิฎก    
   
                                       
คัมภีร์
สุตตวิภังค์
คัมภีร์
ขันธกะ
คัมภีร์
ปริวาร
               
   
    พระสุตตันตปิฎก    
   
                                                      
คัมภีร์
ทีฆนิกาย
คัมภีร์
มัชฌิมนิกาย
คัมภีร์
สังยุตตนิกาย
                     
   
   
                                                                     
คัมภีร์
อังคุตตรนิกาย
คัมภีร์
ขุททกนิกาย
                           
   
    พระอภิธรรมปิฎก    
   
                                                           
สงฺ วิภงฺ ธา
ปุ.
กถา ยมก ปัฏฐานปกรณ์
                       
   
         

พระสุตตันตปิฎก เป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก ซึ่งประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่าง ๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 5 นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที มะ สัง อัง ขุ) ได้แก่

  • ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว 34 สูตร
  • มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง 152 สูตร
  • สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่ม ๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่ง ๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม 56 สังยุตต์ มี 7,762 สูตร
  • อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวด ๆ เรียกว่านิบาตหนึ่ง ๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม 11 นิบาต หรือ 11 หมวดธรรม มี 9,557 สูตร
  • ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตร คาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้ มี 15 คัมภีร์[1]

เนื้อหา[2][3]

[แก้]

พระสุตตันตปิฎก 25 เล่ม

[แก้]
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 9 ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว 13 สูตร หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 10 ทีฆนิกาย มหาวรรค มีพระสูตรยาว 10 สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย "มหา" เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 11 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว 11 สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียงเช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญสูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 12 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ บั้นต้น มีพระสูตรขนาดกลาง 50 สูตร
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 13 มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ บั้นกลางมีพระสูตรขนาดกลาง 50 สูตร
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 14 มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ บั้นปลายมีพระสูตรขนาดกลาง 52 สูตร
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 15 สังยุตตนิกาย สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่าง ๆ เช่น เทวดามาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้าโกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี 11 สังยุตต์
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 16 สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรม สังสารวัฏ ลาภสักการะ เป็นต้น จัด เป็น 10 สังยุตต์
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 17 สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ 5 ในแง่มุมต่าง ๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง สมาธิและทิฏฐิต่าง ๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น 13 สังยุตต์
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 18 สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ 6 ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึงอสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น 10 สังยุตต์
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 19 สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม 37 แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธานพละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ ฌาน ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอา นิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น 12 สังยุตต์ (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความสำคัญของความ มีกัลยาณมิตร เป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 อังคุตตรนิกาย เอกะ-ทุกะ-ติกะนิบาต (ว่าด้วยชุมนุมหมวดธรรมะที่มี 1, 2 และ 3 ข้อ)
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 21 อังคุตตรนิกาย จตุกกะนิบาต (ว่าด้วยชุมนุมหมวดธรรมะที่มี 4 ข้อ)
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 อังคุตตรนิกาย ปัญจกะ-ฉักกะนิบาต (ว่าด้วยชุมนุมหมวดธรรมะที่มี 5 และ 6 ข้อ)
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย สัตตกะ-อัฏฐกะ-นวกะนิบาต (ว่าด้วยชุมนุมหมวดธรรมะที่มี 7, 8 และ 9 ข้อ)
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 24 อังคุตตรนิกาย ทสกะ-เอกาทสกนิบาต (ว่าด้วยชุมนุมหมวดธรรมะที่มี 10 และ 11 ข้อ)
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 25 ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ (บทสวดย่อยๆ), ธัมมปทคาถา (นิยมเรียกอีกอย่างว่า "ธรรมบท" มีบทคาถา 423 เรื่อง), อุทาน (พุทธอุทาน 80), อิติวุตตกะ (พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย "เอวัมเม สุตัง"แต่เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า "อิติ วุจจะติ" รวม 112 สูตร), สุตตนิบาต (ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่งเป็นคาถาล้วนหรือมีความนำเป็นร้อยแก้ว รวม 71 สูตร)
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 26 ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ (เรื่องผู้เกิดในสวรรค์อยู่วิมาน เล่าการทำความดีของตนในอดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น 85 เรื่อง), เปตวัตถุ (เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน 51 เรื่อง), เถรคาถา (คาถาของพระอรหันตเถระ 264 รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรมเป็นต้น), เถรีคาถา (คาถาของพระอรหันตเถรี 73 รูป ที่กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นนั้น)
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ 1 รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี 40 คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม 525 เรื่อง
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 28 ขุททกนิกาย ชาดก ภาคที่ 2 รวมคาถาอย่างในภาค 1 นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี 50 คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี 1,000 คาถา รวมอีก 22 เรื่อง บรรจบทั้งสองภาค เป็น 547 ชาดก
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 29 ขุททกนิกาย มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร 16 สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 30 ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร 16 สูตร ในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตร ในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 ปฏิสัมภิทามรรค (ทางแห่งความแตกฉาน) ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่าง ๆ เช่นเรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปาน อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 32 ขุททกนิกาย อปทาน ภาคที่ 1 คาถาประพันธ์แสดงประวัติโดยเฉพาะในอดีตชาติ เริ่มด้วยพุทธาปทาน (ประวัติของพระพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธาปทาน (เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า) ต่อด้วยเถราปทาน (อัตตประวัติแห่งพระอรหันตเถระ) เรียงลำดับเริ่มแต่พระสารีบุตร ตามด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธ พระปุณณะมันตานีบุตร พระอุบาลี พระอัญญาโกณฑัญญะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระขทิรวนิยเรวตะ พระอานนท์ ต่อเรื่อย ไปจนจบภาค 1 รวม พระอรหันตเถระ 410 รูป
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ 33 ขุททกนิกาย อปทาน ภาคที่ 2 คาถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระต่ออีกจนถึงรูปที่ 550 ต่อนั้น เป็น เถรีปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี 40 เรื่อง เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม 16 รูป ต่อด้วยพระเถรีที่ สำคัญเรียงลำดับคือพระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระกุณฑลเกสี พระกีสา โคตมี พระธรรมทินนา พระสกุลา พระนันทา พระโสณา พระภัททกาปิลานี พระยโสธรา และท่านอื่น ๆ ต่อไปจน จบ ครั้นจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม 33 นี้ มีคัมภีร์ พุทธวงศ์ เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต 24 พระองค์ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์จนถึงประวัติของพระองค์เองรวม เป็นพระพุทธเจ้า 25 พระองค์ จบแล้วมีคัมภีร์สั้น ๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ 35 เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ความหมายของพระไตรปิฎก". 84000.org.
  2. ปุญญานุภาพ, สุชีพ. “สารบัญ.”, พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, เขตพระนคร, กรุงเทพมหานคร, ฉบับรวมเป็นเล่มเดียวจบ พิมพ์ครั้งที่ 17/2550, น. (21)-(43)
  3. "ความหมายของพระไตรปิฎก". 84000.org.