พระมหาพิชัยมงกุฎ
พระมหาพิชัยมงกุฎ | |
---|---|
พระมหาพิชัยมงกุฎ | |
ตราสัญลักษณ์ | |
รายละเอียด | |
สำหรับ | ไทย ไทย |
ผลิตเมื่อ | พ.ศ. 2325 |
ผู้ครอบครอง | พระมหากษัตริย์ไทย |
น้ำหนักสุทธิ | 7.3 กิโลกรัม |
วัตถุดิบหลัก | ทองคำลงยาบริสุทธิ์ |
อัญมณีสำคัญ | พระมหาวิเชียรมณี |
พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นหนึ่งในห้าของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์[1] อันเป็นเครื่องทรงในพระมหากษัตริย์แห่งพระราชอาณาจักรสยามตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
[แก้]เครื่องประดับพระเศียรองค์แรก สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 1 ในปีพุทธศักราช 2325 ทำด้วยทองคำลงยาบริสุทธิ์ ประดับเพชร เฉพาะองค์พระมหามงกุฎ ไม่รวมพระกรรเจียกจอน สูง 51 ซ.ม. ถ้ารวมพระกรรเจียกจอนสูง 66 ซ.ม. มีน้ำหนักถึง 7.3 กิโลกรัม ที่ยอดประดับเพชรเม็ดใหญ่ ซึ่งรัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หามาจากเมืองกัลกัตตา ประเทศอินเดีย มาประดับที่ยอดพระมหามงกุฎ พระราชทานนามเพชรเม็ดนั้นว่า "พระมหาวิเชียรมณี"[2][3]
สถาบันการศึกษาที่ใช้พระมหามงกุฎเป็นสัญลักษณ์
[แก้]การใช้พระมหามงกุฎหรือพระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นเครื่องหมายประจำสถาบันการศึกษานั้น ต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัจจุบัน มีสถาบันการศึกษาที่ใช้พระมหามงกุฎหรือพระมหาพิชัยมงกุฎดังนี้
สถาบันอุดมศึกษา
[แก้]- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมายถึง พระมหามงกุฎถอดพระจอน ในนัยยะของพระเกี้ยว พิจิตรเรขาประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หมายถึง พระมหามงกุฎถอดจอน ในนัยยะของพระเกี้ยวพิจิตรเรขาประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เบื้องหลังพระมหามงกุฎ ประกอบด้วยพระธรรมจักร แสดงถึงอุดมการณ์ทางการศึกษาตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงหมายให้สถาปนาขึ้นเพื่อเป็นสถาบันศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาการชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสงฆ์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย
- โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
โรงเรียน
[แก้]- โรงเรียนจิตรลดา
- โรงเรียนจิตรลดา (สายวิชาชีพ)
- โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง
- โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล
- โรงเรียนพรตพิทยพยัต
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
- โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร
- โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ
- โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
- โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน
- โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ
- วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ
- โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์
- โรงเรียนราชวินิต
- โรงเรียนราชวินิต มัธยม
- โรงเรียนราชวินิตบางเขน
- โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์
- โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ
- โรงเรียนราชวินิตสุวรรณภูมิ
- โรงเรียนศรีพฤฒา
- โรงเรียนสารวิทยา
- โรงเรียนวัดราชโอรส
- โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ทุกแห่ง
- โรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์
- โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
- โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย
- โรงเรียนวังไกลกังวล ในพระบรมราชูปถัมภ์
- โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช
- โรงเรียนร่มเกล้า
- โรงเรียนวิเชียรมาตุ
- โรงเรียนศรียานุสรณ์
- โรงเรียนเทพมงคลรังษี ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
- โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี
- โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
- โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ๒
- โรงเรียนสายปัญญารังสิต
- โรงเรียนมอ.วิทยานุสรณ์ สุราษฎร์ธานี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เบญจราชกกุธภัณฑ์ ของล้ำค่าของปวงชนชาวไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2011-07-09.
- ↑ "พระมหาพิชัยมงกุฎ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-07. สืบค้นเมื่อ 2011-07-09.
- ↑ "พระมหาพิชัยมงกุฎ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-12. สืบค้นเมื่อ 2011-07-09.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระมหาพิชัยมงกุฎ
- ข้อมูลเครื่องราชกกุธภัณฑ์จากราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2012-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน