ข้ามไปเนื้อหา

พระนันทะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระนันทเถรศากยะ)
นันทะ
ประติมากรรมศิลปะคันธาระตอนพระพุทธเจ้าโปรดนันทกุมาร ที่พิพิธภัณฑ์บริติช
ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ประสูติพระราชวัง กรุงกบิลพัสดุ์
สถานที่บวชนิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์
วิธีบวชเอหิภิกขุอุปสัมปทา
เอตทัคคะผู้เลิศในอินทรีย์สังวร (สำรวม)[1]
ฐานะเดิม
ชาวเมืองเมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
บิดาสุทโธทนะ
มารดามหาปชาบดี
วรรณะเดิมกษัตริย์
ราชวงศ์ศากยราชวงศ์
สถานที่รำลึก
สถานที่โบราณสถานพระราชวังเมืองกบิลพัสดุ์, นิโครธาราม
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

พระนันทเถรศากยะ หรือ พระนันทเถระ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะในศาสนาของพระโคตมพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระนันทเถรศากยะเป็นพระประยูรญาติของเจ้าชายสิทธัตถะ โดยท่านเป็นพระภาดา ผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระมาตุจฉาของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[2]

พระนันทเถรศากยะ ออกผนวชด้วยความจำใจ เพราะมีความเกรงใจต่อพระพุทธเจ้าที่ชวนท่านออกผนวชในวันที่ท่านจะอภิเษกสมรสกับนางชนบทกัลยาณี ทำให้ในช่วงแรกที่ท่านออกผนวชท่านไม่ได้มีความตั้งใจในการปฏิบัติธรรมเลยเพราะความกระสันใคร่จะลาผนวช แต่หลังจากท่านได้สติแล้วจึงได้ตั้งใจบำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหันต์ได้ในที่สุด โดยหลังบรรลุธรรมแล้วท่านกลับกลายเป็นผู้ที่มีความสำรวมระวังอินทรีย์เป็นอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องท่านให้เป็นพระเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้าน ผู้ทรงอินทรีย์สังวร

ชาติภูมิ

[แก้]

พระนันทเถรศากยะ เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยท่านเป็นพระภาดาต่างพระราชมารดาของพระพุทธเจ้า พระราชบิดาของท่านคือพระเจ้าสุทโธทนศากยราชาพระมหากษัตริย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ โดยเป็นพระราชบิดาร่วมพระองค์กับเจ้าชายสิทธัตถะ พระราชมารดาของพระนันทศากยะมีพระนามว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระมาตุจฉาและทรงเคยเป็นพระอภิบาลของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อยังทรงพระเยาว์

ออกผนวช

[แก้]

เจ้าชายนันทศายะ ออกผนวชในวันที่ทรงจะเข้าอภิเษกสมรสกับนางชนบทกัลยาณี โดยในวันที่มีพิธีอภิเษกนั้นพระประยูรญาติได้นิมนต์พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ไปรับภัตตาหารภายในพระราชฐาน เมื่อพระพุทธเจ้าเสวยภัตตาหารเสร็จได้ทรงอนุโมทนาและเสด็จกลับ โดยมีเจ้าชายนันทะถือบาตรตามส่งเสด็จ แต่พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าเจ้าชายนันทะมีบารมีควรแก่อริยผล จึงทรงใช้อุบายไม่รับบาตรคืนจากเจ้าชายนันทะ เจ้าชายนันทะจึงจำต้องถือบาตรตามเสด็จกลับ ทำให้นางชนบทกัลยาณีกังวลและร้องขอวิงวอนให้เจ้าชายนันทะรีบเสด็จกลับเพื่อทำพิธีอภิเษก ทำให้เจ้าชายนันทะถือบาตรตามเสด็จด้วยความกระวลกระวายใจ เมื่อทั้งสองพระองค์เสด็จมาถึงพระคันธกุฎี ภายในนิโครธาราม พระพุทธเจ้าจึงทรงถามเจ้าชายนันทะว่า "นันทะ เธอจะบวชหรือ?" ด้วยเหตุนั้น เจ้าชายนันทะแม้ไม่เต็มใจที่จะผนวชแต่ด้วยความเกรงพระทัยและมีความเคารพในพระพุทธเจ้ามากจึงจำต้องทรงออกผนวชในวันนั้นเอง

บรรลุธรรม

[แก้]

เมื่อออกผนวชแล้ว พระนันทะมีความกังวลคำนึงถึงแต่คำขอร้องของนางชนบทกัลยาณีที่ให้รีบเสด็จกลับ พระนันทะจึงไม่มีความตั้งใจอันใดในการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าทราบความนั้นจึงเสด็จมาเยี่ยมและชวนพระนันทะไปที่ต่าง ๆ เพื่อให้เห็นหญิงที่สวยงามกว่านางชนบทกัลยาณี พระนันทะเที่ยวตามเสด็จเรื่อยไปจนมีความชอบใจในหญิงเหล่านั้น พระพุทธเจ้าทราบความจึงออกพระโอษฐ์ค้ำประกันว่า ถ้าพระนันทะสามารถปฏิบัติธรรมจนบรรลุพระอรหันต์ได้ พระองค์จะสามารถพาหญิงเหล่านั้นมาให้แต่งงานกับพระนันทะเอง จากนั้นมาท่านพระนันทะจึงตั้งใจบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก พระสงฆ์ที่ทราบความจึงพากันล้อเลียนท่าน ทำให้ท่านเกิดความละอายใจ จึงหลีกตนหนีไปบำเพ็ญเพียรแต่ผู้เดียว จนในที่สุดท่านได้สติว่า

"ความรักไม่มีที่สิ้นสุด... ความรักทำให้เกิดความทุกข์ และความเศร้าโศกเสียใจไม่มีที่สิ้นสุด"

— พระนันทเถรศากยะ[3]

ท่านจึงเกิดความสลดใจและละวางความรักลงได้ ในไม่ช้าท่านก็บำเพ็ญเพียรต่อจนได้บรรลุพระอรหันต์[4]

เมื่อท่านบรรลุธรรมแล้ว ท่านกลับกลายเป็นผู้มีความสำรวมระวังอินทรีย์สังวรเป็นอย่างมาก พระพุทธเจ้าจึงยกย่องท่านว่าเป็น ผู้เลิศในทางอินทรีย์สังวร

บั้นปลายพระชนม์ชีพ

[แก้]

ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาไม่ระบุว่าท่านดับขันธปรินิพพานเมื่อใดและที่ใด แต่ท่านคงดำรงขันธ์อยู่พอสมควรแก่กาลจึงปรินิพพาน

ราชตระกูล

[แก้]

พระราชตระกูลในพระนันทะ

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระเจ้าสีหนุ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระเจ้าสุทโธทนะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางกัญจนา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระนันทะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระเจ้าอัญชนะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระนางมหาปชาบดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางยโสธรา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต วรรคที่ ๔. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 4-9-52
  2. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2525). ธรรมวิภาคปริเฉทที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการแผนกตำรา มหามกุฏราชวิทยาลัย.
  3. ภิกษุเอตทัคคะ. เว็บไซต์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐออนไลน์ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เข้าถึงเมื่อ 4-9-52
  4. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท นันทสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก [3]. เข้าถึงเมื่อ 4-9-52

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  1. เว็บไซต์ 84000
  2. เว็บไชต ธรรมะ เกตเวย์ เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน