อินทรีย์ 5
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก อินทรีย์ ๕)
เป็นส่วนหนึ่งของ |
ธรรมะหนทางสู่การรู้แจ้ง |
---|
อินทรีย์ หรือ อินทรีย์ 5 คือ ความสามารถหลักทางจิตห้าประการ[1] ได้แก่
- สัทธินทรีย์ คือ ความศรัทธา ในโพธิปักขิยธรรม
- วิริยินทรีย์ คือ ความเพียร ในสัมมัปปธาน 4
- สตินทรีย์ คือ ความระลึกได้ ในสติปัฏฐาน 4
- สมาธินทรีย์ คือ ความตั้งมั่น ในฌานทั้ง 4
- ปัญญินทรีย์ คือ ความเข้าใจ ในอริยสัจ 4
อินทรีย์ 5 เป็นหลักธรรมที่คู่กับ พละ 5
- สัทธินทรีย์ เปรียบเสมือน การหาภาชนะดี ๆ มาใส่น้ำ
- วิริยินทรีย์ เปรียบเสมือน การเติมน้ำสะอาดแทนน้ำสกปรกเสมอ
- สตินทรีย์ เปรียบเสมือน การระวังไม่ให้สิ่งใดหล่นใส่ในน้ำ
- สมาธินทรีย์ เปรียบเสมือน การถือภาชนะใส่น้ำไว้นิ่ง ๆ และไม่ให้สิ่งใดมากระทบกระเทือนให้หวั่นไหว
- ปัญญินทรีย์ เปรียบเสมือน การเห็นนำสิ่งสกปรกออกจากน้ำ
อินทรีย์ 5 กับ อิทธิบาท 4
[แก้]อินทรีย์ 5 เป็นธรรมที่ส่งเสริมธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งกุศล คือ อิทธิบาท 4
- สัทธินทรีย์ ส่งเสริม ฉันทะอิทธิบาท ความยินดีพอใจ
- วิริยินทรีย์ ส่งเสริม วิริยะอิทธิบาท ความเพียร แข็งใจปฏิบัติ
- สมาธินทรีย์ ส่งเสริม จิตตะอิทธิบาท ความตั้งใจ
- ปัญญินทรีย์ ส่งเสริม วิมังสาอิทธิบาท ความเอาใจฝักใฝ่สิ่งนั้น พิจารณาใคร่ครวญ
อิทธิบาททั้ง 4 ก็จะมาส่งเสริม สตินทรีย์ ความมีสติระลึกเห็นสภาพธรรมะเป็นจริงและมีอยู่จริง แต่ตัองอยู่ภายใต้กฎแห่งพระไตรลักษณ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. นวโกวาท. กรุงเทพ: สำนักพืมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐