ข้ามไปเนื้อหา

ปรัสเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พรอยส์เซิน)
ปรัสเซีย

Preußen (เยอรมัน)
Prūsa (Prussian)
ค.ศ. 1525–1947
ธงชาติปรัสเซีย
ธงชาติ (1803–1892)
ตราแผ่นดิน (1871–1918)
คำขวัญก็อทท์มิทอุนส์
"พระเจ้าสถิตกับเรา"
เพลงชาติ(1830–1840)
พร็อยเซินลีด
เพลงปรัสเซีย
เพลงสรรเสริญพระบารมี
(1795–1918)
ไฮล์เดียร์อิมซีเกอร์ครันทซ์[1]
ปรัสเซีย (สีน้ำเงิน) ในช่วงแผ่ไพศาลที่สุด
ปรัสเซีย (สีน้ำเงิน) ในช่วงแผ่ไพศาลที่สุด
เมืองหลวงเคอนิชส์แบร์ค (1525–1701)
เบอร์ลิน (1701–1947)
ภาษาทั่วไปเยอรมัน (ภาษาราชการ)
ศาสนา
ส่วนใหญ่:
โปรเตสแตนต์
เดมะนิมPrussian
การปกครองราชาธิปไตยแบบศักดินา (1525–1701)
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (1701–1848)
สหพันธ์ ระบบรัฐสภา
กึ่งรัฐธรรมนูญ ราชาธิปไตย (1848–1918)
สหพันธ์ ระบบกึ่งประธานาธิบดี
สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ (1918–1930)
ลัทธิอำนาจนิยมประธานาธิบดี สาธารณรัฐ (1930–1933)
ชาติสังคมนิยม รัฐพรรคเดียว (1933–1945)
พระมหากษัตริย์ 
• 1701–1713
ฟรีดริชที่ 1 (องค์แรก)
• 1888–1918
วิลเฮล์มที่ 2 (สุดท้าย)
ดยุกปรัสเซีย 
• 1525–1568
อัลเบร็คท์ (คนแรก)
• 1688–1701
ฟรีดริชที่ 3 (สุดท้าย)
มุขมนตรี1, 2 
• 1918
ฟรีดริช เอเบิร์ท (คนแรก)
• 1933–1945
แฮร์มันน์ เกอริง (สุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์ต้นสมัยใหม่
10 เมษายน ค.ศ. 1525
27 สิงหาคม 1618
18 มกราคม 1701
9 พฤศจิกายน 1918
• เสียอิสรภาพ
30 มกราคม 1934
• ปรัสเซียถูกยุบ
25 กุมภาพันธ์ 1947
พื้นที่
1907348,702 ตารางกิโลเมตร (134,635 ตารางไมล์)
1939297,007 ตารางกิโลเมตร (114,675 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1816
103490003
• 1871
24689000
• 1939
41915040
สกุลเงินReichsthaler
German gold mark (1873–1914)
German Papiermark (1914–1923)
Reichsmark (since 1924)
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เยอรมนี
 โปแลนด์
 รัสเซีย
 ลิทัวเนีย
 เดนมาร์ก
 เบลเยียม
 เช็กเกีย
 สวิตเซอร์แลนด์
 ฝรั่งเศส
1 The heads of state listed here are the first and last to hold each title over time. For more information, see individual Prussian state articles (links in above History section).
2 The position of Ministerpräsident was introduced in 1792 when Prussia was a Kingdom; the prime ministers shown here are the heads of the Prussian republic.
3 Population estimates:[2]

ปรัสเซีย (อังกฤษ: Prussia) หรือ พร็อยเซิน (เยอรมัน: Preußen) หรือ โบรุสซีอา (ละติน: Borussia) เป็นรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน มีจุดกำเนิดจากดัชชีปรัสเซียและแคว้นชายแดนบรันเดินบวร์ค อันเป็นแคว้นของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคที่ชื่อว่าพร็อยเซิน รัฐแห่งนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์นเป็นเวลาหลายศตวรรษ การมีกองทัพที่เข็มแข็งทำให้ปรัสเซียประสบความสำเร็จในการแผ่ขยายดินแดน ปรัสเซียมีเมืองหลวงเดิมอยู่ที่เคอนิชส์แบร์คก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเบอร์ลินในปี 1701

ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกันเสียอีก ชนชั้นนำของปรัสเซียมักจะระบุว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวเยอรมัน" มากกว่าบอกว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวปรัสเซีย"

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เดิมทีปรัสเซียเป็นรัฐบริวารของโปแลนด์ ก่อนที่ในปี 1651 ปรัสเซียจำยอมต้องโอนอ่อนหันไปอยู่กับจักรวรรดิสวีเดน แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปีก็เกิดสงครามเหนือครั้งที่สอง ปรัสเซียฉวยโอกาสต่อรองกับสวีเดน ว่าจะยอมช่วยสวีเดนทำศึกแลกกับการให้เอกราชแก่ปรัสเซีย หลังปรัสเซียได้รับเอกราชแล้วก็เริ่มผงาดตนเองขึ้นมาจนสามารถสถาปนาเป็นราชอาณาจักรในปี 1701[3][4][5][6] และมีอิทธิพลสูงที่สุดในศตวรรษที่ 18 ถึง 19 ปรัสเซียรุ่งเรืองอย่างก้าวกระโดดและกลายเป็นมหาอำนาจในสมัยพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 มหาราช โดยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีกองทัพบกที่ทรงแสนยานุภาพมากที่สุดในโลก และยิ่งเรืองอำนาจขึ้นอีกในสมัยมุขมนตรี ออทโท ฟอน บิสมาร์ค ชัยชนะของปรัสเซียในสงครามสามครั้งได้แก่ สงครามชเลสวิชครั้งที่สองกับเดนมาร์กในปี 1864, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซียในปี 1866 และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียในปี 1870–71 ทำให้บิสมาร์คสามารถรวมรัฐเยอรมันเล็กน้อยต่างๆเข้าด้วยกันเป็นสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ โดยกีดจักรวรรดิออสเตรีย (ซึ่งถือเป็นรัฐเยอรมันเช่นกัน) ออกไป

ในปีค.ศ. 1871 บรรดารัฐเยอรมันทั้งหลายได้ถูกผนวกเข้าด้วยกันเป็นจักรวรรดิเยอรมันภายใต้การนำของปรัสเซีย อย่างไรก็ตาม การพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้บ้านเมืองเกิดกลียุค จนเกิดการปฏิวัติเยอรมันขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 1918 ซึ่งได้ทำให้ระบอบจักรพรรดิได้ล่มสลายลงและขุนนางทั้งหลายต่างก็สูญสิ้นอิทธิพลทางการเมือง ราชอาณาจักรปรัสเซียจึงถูกยุบและมีการจัดตั้งเสรีรัฐปรัสเซียซึ่งปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐขึ้น ตั้งแต่นั้นมาปรัสเซียก็มีสถานะเป็นรัฐอิสระในประเทศเยอรมนีจนกระทั่งในปี 1933 เมื่อพรรคนาซีขึ้นเถลิงอำนาจ รัฐบาลนาซีได้ใช้กฎหมาย ไกลช์ชัลทุง (Gleichschaltung) เพื่อจัดตั้งการปกครองแบบรัฐเดี่ยว โดยรวบอำนาจการปกครองทั้งหมดในเยอรมนีไว้ที่รัฐบาลนาซีในกรุงเบอร์ลิน เมื่อระบอบนาซีล่มสลายลงในปี 1945 เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็นโซนต่างๆซึ่งอยู่ในบังคับของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร และมีการแบ่งเยอรมนีออกเป็นตะวันออกและตะวันตก ซึ่งถือเป็นจุดจบทางพฤตินัยของปรัสเซีย แต่ในทางนิตินัย ปรัสเซียยังคงดำรงอยู่จนถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 1947 อันเป็นวันที่มีข้อบัญญัติสภาบังคับแห่งสัมพันธมิตรที่ 46 ซึ่งได้ยุบปรัสเซียอย่างเป็นทางการ[7]

ราชอาณาจักรปรัสเซียสิ้นสุดลงในปี 1918 พร้อมๆกับบรรดาราชวงศ์ต่างๆในรัฐต่างๆของเยอรมันจากผลของการปฏิวัติในประเทศภายหลังจากที่เยอรมันพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังจากนั้น ในสมัยสาธารณรัฐไวมาร์ ปรัสเซียมีสถานะเป็นเสรีรัฐปรัสเซียโดยยังมีอำนาจในการปกครองและออกกฎหมายเอง ปรัสเซียสูญเสียอำนาจทางการเมืองและนิติบัญญัติของตัวเองแทบทั้งหมดเมื่อมีการรัฐประหารปี 1932 ที่นำโดยฟรันซ์ ฟอน พาเพิน ต่อมาในปี 1935 รัฐบาลนาซีได้ยุบรัฐเล็กน้อยต่างๆทั้งหมดในเยอรมนีและจัดตั้งระบบเขตปกครองที่เรียกว่า เกา (Gau เทียบเท่าจังหวัด) ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ยังมีการคงตำแหน่งในคณะมนตรีปรัสเซียบางตำแหน่งไว้ และแฮร์มันน์ เกอริง ยังคงเป็นมุขมนตรีปรัสเซียไปจนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Fischer, Michael; Senkel, Christian (2010). Klaus Tanner (บ.ก.). Reichsgründung 1871: Ereignis, Beschreibung, Inszenierung. Münster: Waxmann Verlag.
  2. tacitus.nu
  3. Fueter, Eduard (1922). World history, 1815–1920. United States of America: Harcourt, Brace and Company. pp. 25–28, 36–44. ISBN 1-58477-077-5.
  4. Danilovic, Vesna. When the Stakes Are High—Deterrence and Conflict among Major Powers, University of Michigan Press (2002), p 27, p225–228
  5. Aping the Great Powers: Frederick the Great and the Defence of Prussia's International Position 1763–86, pp. 286–307.
  6. "The Rise of Prussia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-10. สืบค้นเมื่อ 2017-11-02.
  7. Allied Control Council Enactment No. 46 of 25 February 1947 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ฝรั่งเศส)

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Avraham, Doron (Oct 2008). "The Social and Religious Meaning of Nationalism: The Case of Prussian Conservatism 1815–1871". European History Quarterly. 38 (38#4): 525–550. doi:10.1177/0265691408094531. S2CID 145574435.
  • Barraclough, Geoffrey (1947). The Origins of Modern Germany (2d ed.)., covers medieval period
  • Carroll, E. Malcolm. Germany and the great powers, 1866–1914: A study in public opinion and foreign policy (1938) online; online at Questia เก็บถาวร 2020-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน also online review; 862pp; written for advanced students.
  • Friedrich, Karin (2000). The Other Prussia. Royal Prussia, Poland and Liberty, 1569–1772. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-58335-0. online review
  • Friedrich, Karin. Brandenburg-Prussia, 1466–1806: The Rise of a Composite State (Palgrave Macmillan, 2011); 157pp. Emphasis on historiography.
  • Haffner, Sebastian (1998). The Rise and Fall of Prussia.
  • Hamerow, Theodore S. Restoration, Revolution, Reaction: Economics and Politics in Germany, 1815–1871 (1958)
  • Henderson, William O. The state and the industrial revolution in Prussia, 1740–1870 (1958)
  • Holborn, Hajo. A History of Modern Germany (3 vol 1959–64); col 1: The Reformation; vol 2: 1648–1840. Vol. 3.1840–1945. ASIN 0691007969. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |asin= (help)
  • Horn, David Bayne. Great Britain and Europe in the eighteenth century (1967) covers 1603–1702; pp 144–177 for Prussia; pp 178–200 for other Germany; 111–143 for Austria
  • Jeep, John M. (2001). Medieval Germany: An Encyclopedia. ASIN 0824076443. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |asin= (help)
  • Koch, H. W. (1987). History of Prussia. – a short scholarly history.
  • Maehl, William Harvey (1979). Germany in Western Civilization.
  • Nipperdey, Thomas. Germany from Napoleon to Bismarck: 1800–1866 (1996). excerpt
  • Reinhardt, Kurt F. (1961). Germany: 2000 Years. Vol. 2 vols., stress on cultural topics
  • Shennan, M. (1997). The Rise of Brandenburg Prussia. ASIN 0415129389. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |asin= (help)
  • Taylor, A. J. P. (2001). The Course of German History: A Survey of the Development of German History since 1815. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-31. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19. {{cite book}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  • Treasure, Geoffrey. The Making of Modern Europe, 1648–1780 (3rd ed. 2003). pp 427–462.
  • Wheeler, Nicholas C. (Oct 2011). "The Noble Enterprise of State Building Reconsidering the Rise and Fall of the Modem State in Prussia and Poland". Comparative Politics. 44 (44#1): 21–38. doi:10.5129/001041510X13815229366480.