พงศาวดารมอญฉบับชเวนอ
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | မွန်ရာဇဝင် โมน-ยาซะวีน |
---|---|
ผู้แปล | ชเวนอ |
ภาษา | มอญ (ต้นฉบับ) พม่า |
ชุด | พงศาวดารมอญ |
ประเภท | บันทึกเหตุการณ์, ประวัติศาสตร์ |
วันที่พิมพ์ | 30 มกราคม ค.ศ. 1785 (ต้นฉบับตัวเขียน) ค.ศ. 1922 (โดยเครื่องพิมพ์) |
หน้า | 111 |
พงศาวดารมอญ (พม่า: မွန်ရာဇဝင်, ออกเสียง: [mʊ̀ɴ jàzəwɪ̀ɴ]; โมน-ยาซะวีน[1]) ถูกแปลจากภาษามอญเป็นภาษาพม่าโดย ชเวนอ เป็นบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับอาณาจักรหงสาวดีและการเมืองมอญในยุคก่อน ๆ เป็นบันทึกเหตุการณ์หนึ่งในสองฉบับที่มีชื่อในภาษาพม่าว่า "โมน-ยาซะวีน" ที่ยังเหลืออยู่
ที่มา
[แก้]มีบันทึกเหตุการณ์สองฉบับที่มีชื่อในภาษาพม่าว่า "โมน-ยาซะวีน" ที่ยังเหลืออยู่[2] เนื้อหาของบทความถูกที่ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1922
เจ.เอ. สจ๊วต กล่าวถึงแหล่งข้อมูลของสิ่งพิมพ์ปี ค.ศ. 1922 ซึ่งเขาแปลออกมาเป็น โมน-ยาซะวีน นั้น เป็นการรวบรวมและแปลเป็นภาษาพม่าจากต้นฉบับที่เขียนเป็นภาษามอญ โดย อู้ชเวนอ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19[note 1] สจ๊วตกล่าวต่ออีกว่าต้นฉบับภาษามอญที่อ้างอิงนั้น แท้จริงแล้วเป็นต้นฉบับที่รวบรวมโดย เซอร์ อาเทอร์ เพอร์เวส ฟาเยอร์ จากสยาม และต้นฉบับภาษาพม่าของ ชเวนอ นั้นพบที่ มี่นกู้นบิดะกะไต (หอสมุดมี่นกู้น) ในภาคซะไกง์[2] ตามที่ ไมเคิล ออง-ทวิน ซึ่งสืบตามคำกล่าวของสจ๊วต ระบุว่าต้นฉบับประวัติศาสตร์ภาษามอญฉบับเดียวนั้นพบในของสะสม เซอร์ อาเทอร์ เพอร์เวส ในหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ เป็นต้นฉบับใบลานซึ่งถูกจัดหมวดหมู่ว่า ประวัติศาสตร์ของตะเลง[note 2] นอกจากนี้ ส่วนบทส่งท้ายของสิ่งพิมพ์ปี ค.ศ. 1922 ระบุว่าต้นฉบับซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นต้นฉบับภาษามอญที่ เซอร์ อาเทอร์ เพอร์เวส สะสมไว้ เสร็จสมบูรณ์ในวันแรม 6 ค่ำ เดือนดะโบ่-ดแว ปี 1146 ตามปฏิทินพม่า (30 มกราคม ค.ศ. 1785)[3]
เนื้อหา
[แก้]บันทึกเหตุการณ์นี้ครอบคลุมประวัติศาสตร์ของกษัตริย์เมาะตะมะ–หงสา ตั้งแต่สมัยพระเจ้าฟ้ารั่วจนถึงสมัยพระเจ้าสการะวุตพีเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีประวัติศาสตร์ช่วงต้นโดยย่อของอาณาจักรสุธรรมวดีและอาณาจักรหงสาวดีด้วย[2] ลำดับเวลาในบันทึกนั้นไม่น่าเชื่อถืออย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่วันที่จะต่างกันอย่างมากจากวันที่ในบันทึกฉบับอื่น ๆ ที่มีช่วงเหตุการณ์เดียวกันเท่านั้น แต่วันที่ในส่วนต่าง ๆ ของบันทึกยังไม่ตรงกันอีกด้วย[note 3]
ตารางต่อไปนี้เป็นรายชื่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์ฟ้ารั่วตามที่มีบันทึกไว้
พระมหากษัตริย์ | พรรษาเมื่อขึ้นครองราชย์ | ระยะเวลาครองราชย์ | พรรษาเมื่อสวรรคต | ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
พระเจ้าฟ้ารั่ว | 24 (ปี 1064 ปฏิทินพม่า) | 37 | 61 | สถาปนา | [note 4] |
พระเจ้ารามประเดิด | 59 | 4 | 63 | พระอนุชา | [4] |
พระเจ้าแสนเมือง | 19 | 6 | 31 | พระราชโอรส | [4] |
พระเจ้ารามมะไตย | 18 | 7 | 25 | พระอนุชา | [5] |
ชีปอน | ไม่ได้บันทึก | 7 วัน | ไม่ได้บันทึก | แย่งชิง | [5] |
พระยาอายกำกอง | ไม่ได้บันทึก | 49 วัน | ไม่ได้บันทึก | พระราชโอรสของพระเจ้าแสนเมือง | [5] |
พระยาอายลาว | 21 | 23 | 44 | พระราชโอรสของพระเจ้ารามประเดิด | [5] |
พระยาอู่ | 21 (ปี 1060 ปฏิทินพม่า), และ 24 |
35 | 59 | พระราชโอรสของพระเจ้ารามมะไตย | [note 5] |
พระเจ้าราชาธิราช | ไม่ได้บันทึก | 38 | ไม่ได้บันทึก | พระราชโอรส | [note 6] |
พญาธรรมราชา | 28 | 3 | 31 (ปี 1075 ปฏิทินพม่า) | พระราชโอรส | [6] |
พญารามที่ 1 | 28 (ปี 1075 ปฏิทินพม่า) | 32 | 60 | พระอนุชา | [6] |
พญาพะโร | 21 | 5 | 26 | พระราชโอรสของพญาธรรมราชา | [7] |
พญาเกียรติ์ | 24 | 3 | 27 | พระอนุชา | [8] |
มะมุดตาว | ไม่ได้บันทึก | 7 เดือน | ไม่ได้บันทึก | พระราชโอรสของพญารามที่ 1 | [8] |
พระนางเชงสอบู | 49 | 25 | 74 (ปี 832 ปฏิทินพม่า) | พระราชธิดาของพระเจ้าราชาธิราช | [9] |
พระเจ้าธรรมเจดีย์ | 47 | 27 | 74 | พระโอรสบุญธรรม | [10] |
พญารามที่ 2 | 22 | 35 | 57 (ปี 888 ปฏิทินพม่า) | พระราชโอรส | [11] |
พระเจ้าสการะวุตพี | 15 | ไม่ได้บันทึก | ไม่ได้บันทึก | พระราชโอรส | [12] |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ (Aung-Thwin 2017: 221–222, 337) : อ้างอิง (Stewart in Journal of the Burma Research Society, Vol. 13, No. 2, 1923: 69–76)
- ↑ (Aung-Thwin 2017: 222) : ต้นฉบับใบลานภาษามอญสำหรับ ประวัติศาสตร์ของตะเลง ได้รับการจัดหมวดหมู่เป็น OR 3414 ในหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ โปรดทราบว่า Aung-Thwin ซึ่งไม่ได้อ่านภาษามอญไม่ได้ระบุว่าข้อความดังกล่าวเป็นงาน (หรืองานชิ้นหนึ่ง) ที่ ชเวนอ ใช้รวบรวมบันทึกเหตุการณ์ โมน-ยาซะวีน
- ↑ (Mon Yazaw 1922). ชเวนอ ไม่ได้ตรวจสอบวันที่กับบันทึกเหตุการณ์อื่น ๆ ตัวอย่างเช่น (Mon Yazaw 1922: 39) กล่าวว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว ยึดตำแหน่งเจ้าเมืองเมาตะมะ ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือนดะโบ่-ดแว ปี 1064 ตามปฏิทินพม่า (6 มกราคม ค.ศ. 1703) ในขณะที่บันทึกเหตุการณ์อื่น ๆ ทั้งหมดระบุปี 643 ตามปฏิทินพม่า (ค.ศ. 1281/82) หรือ ปี 646 ตามปฏิทินพม่า (ค.ศ. 1284/85) และยังไม่สอดคล้องกับวันที่ของตนเองด้วย แม้จะระบุว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว ยึดเจ้าเมืองในปี 1064 ตามปฏิทินพม่า (ค.ศ. 1702/03) (Mon Yazaw 1922: 44–45) บันทึกว่า 83 ปีและกษัตริย์เจ็ดพระองค์ต่อมา พระยาอู่กษัตริย์องค์ที่แปดขึ้นครองราชย์ในปี 1060 ตามปฏิทินพม่า (ค.ศ 1698/99)
- ↑ (Mon Yazaw 1922: 44) : พระเจ้าฟ้ารั่วครองราชย์ในปีที่ 25 (24 พรรษา) ครองราชย์ 37 ปี และสวรรคตในปีที่ 62 (61 พรรษา) ซึ่งแตกต่างจากในบันทึกของ ราชาธิราช (Pan Hla 2005: 35–36) ซึ่งระบุว่าพระเจ้าฟ้ารั่วครองราชย์ 22 ปี และสวรรคตในปีที่ 54 (53 พรรษา) แสดงให้เห็นว่า โมน-ยาซะวีน มีข้อผิดพลาดในการคัดลอก 3 ครั้ง: (1) มีการปะปนระหว่างอายุเมื่อขึ้นครองราชย์กับระยะเวลาการครองราชย์; (2) 25 ปีอาจเป็น 21 ปี เนื่องจากตัวเลขพม่า ၁ (1) อาจคัดลอกผิดเป็น ၅ (5) ; (3) 37 ปีอาจเป็น 33 ปี เนื่องจากตัวเลขพม่า ၃ (3) อาจคัดลอกผิดเป็น ၇ (7) หลังจากนำการแก้ไขมาพิจารณาแล้ว พระชนมายุของพระเจ้าฟ้ารั่วเมื่อสวรรคตจะเป็น 53 พรรษา ซึ่งเป็นพรรษาที่เท่ากับใน ราชาธิราช
- ↑ บันทึกเหตุการณ์ (Mon Yazaw 1922: 45) กล่าวว่า พระยาอู่ ขึ้นสู่อำนาจในปีที่ 22 (เมื่อพระชนมายุได้ 21 พรรษา) ในปี 1060 ตามปฏิทินพม่า; จากนั้นในหน้าถัดไป (Mon Yazaw 1922: 46), กล่าวว่า พระยาอู่ ขึ้นครองราชย์ในปีที่ 25 (เมื่อพระชนมายุได้ 24 พรรษา) ใน ราชาธิราช (Pan Hla 2005: 161) กล่าวว่า พระยาอู่ ขึ้นครองราชย์ในปีที่ 26 และสวรรคตในปีที่ 61
- ↑ บันทึกเหตุการณ์ (Mon Yazaw 1922: 46–49) ใช้มากกว่า 3 หน้าสำหรับ พระเจ้าราชาธิราช เพียงพระองค์เดียว และไม่ได้ระบุพระชนมายุของพระมหากษัตริย์เมื่อขึ้นครองราชย์หรือเมื่อสวรรคต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Aung-Thwin 2017: 221
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Aung-Thwin 2017: 221–222
- ↑ Mon Yazawin 1922: 107
- ↑ 4.0 4.1 Mon Yazawปี 1922: 44
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 Mon Yazawปี 1922: 45
- ↑ 6.0 6.1 Mon Yazawปี 1922: 49
- ↑ Mon Yazawปี 1922: 50–55
- ↑ 8.0 8.1 Mon Yazawปี 1922: 55
- ↑ Mon Yazawปี 1922: 69
- ↑ Mon Yazawปี 1922: 96
- ↑ Mon Yazawปี 1922: 98, 104
- ↑ Mon Yazawปี 1922: 104
บรรณานุกรม
[แก้]- Aung-Thwin, Michael A. (2017). Myanmar in the Fifteenth Century. Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-0-8248-6783-6.
- Pan Hla, Nai (2005) [1968]. Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.
- Shwe Naw, บ.ก. (1922) [1785]. Mon Yazawin (ภาษาพม่า). แปลโดย Shwe Naw. Yangon: Burma Publishing Workers Association Press.