ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Stirz117/ทดลองเขียน9

พิกัด: 13°50′50″N 100°33′14″E / 13.84722°N 100.55389°E / 13.84722; 100.55389
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เรือนจำกลางคลองเปรม หรือ คุกลาดยาว หรือฉายาโดยชาวต่างชาติ แบงคอก ฮิลตัน ชื่อเดิม คุกกองมหันตโทษ เป็นเรือนจำความมั่นคงสูงสุด โดยย้ายมาจากเรือนจำกลางคลองเปรมเดิม (ปัจจุบันคือสวนรมณีนาถ) โดยเป็นเรือนจำที่ใช้คุมขังนักโทษในคดีอุกฉกรรจ์ อยู่ในความดูแลของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม โดยเรือนจำแห่งนี้คุมขังนักโทษเด็ดขาดที่มีโทษตั้งแต่ 15 ปี ถึงประหารชีวิต เรือนจำตั้งอยู่ที่ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยเรือนจำแห่งนี้เป็นที่ตั้งของทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลางโดยเป็นสถานที่คุมขังนักโทษเด็ดขาดในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดติดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 15 ปี และนักโทษระหว่างรอการพิจารณาคดีในความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติดที่มีกำหนดโทษถึงจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งเรือนจำแห่งนี้เป็นที่ตั้งของเรือนจำพิเศษกรุงเทพโดยเป็นที่คุมขังนักโทษระหว่างพิจารณาคดีและนักโทษเด็ดขาดที่โทษไม่เกิน 15 ปี และเรือนจำแห่งนี้เป็นที่ตั้งของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ โดยในปี พ.ศ.2545 ในแดนคุมขังนักโทษชายคุมขังนักโทษชาวต่างชาติ 1,158 คน จาก 56 ประเทศ โดยนักโทษทั้งหมด 7,218 คน[1][2][3] โดยในปี พ.ศ. 2563 เรือนจำแห่งนี้มีผู้ต้องขังทั้งหมด 7,921 คน โดยนักโทษที่รับโทษจำคุกตลอดชีวิตภายในเรือนจำจะถูกคุมขังในห้องขนาด 2 x 3 เมตร และเพดานสูงจากพื้น 2.2 เมตร โดย 1 ห้องจะมีนักโทษอย่างน้อย 4 คน[4]

โดยส่วนคุมขังนักโทษหญิงซึ่งใกล้กับเรือนจำมีชื่อว่าทัณฑสถานหญิงกลาง ซึ่งเป็นสถานที่คุมขังนักโทษหญิงและนักโทษประหารหญิง[5][6]

เรือนจำกลางคลองเปรม
แผนที่
ที่ตั้งถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (เรือนจำแห่งเดิม)
ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร (สถานที่ในปัจจุบัน)
พิกัดภูมิศาสตร์13°50′50″N 100°33′14″E / 13.84722°N 100.55389°E / 13.84722; 100.55389
สถานะเปิดใช้งาน
ระดับความปลอดภัยความมั่นคงสูงสุด
ความจุ10,831
นักโทษ6,541 (ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567)[7]
เปิดให้บริการ2433 (เรือนจำแห่งเดิม)
2505 ย้ายมายังเขตบางเขน
ปิดให้บริการ2513 (เรือนจำแห่งเดิม
ชื่อเดิมคุกกองมหันตโทษ, เรือนจำกลางประจำเขตคลองเปรม
บริหารโดยกรมราชทัณฑ์
ผู้บัญชาการสมบูรณ์ ศิลา

ประวัติ

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2478 ขุนศรีสรากร อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เห็นว่าเรือนจําลหุโทษ(ปัจจุบันคือสวนรมณีนาถ) ควรถูกสร้างใหม่และย้ายไปที่อื่นเนื่องจากเรือนจำแห่งเดิมเก่าแก่และทรุดโทรม โดยได้เลือกที่ดินที่ตั้งเรือนจำเป็นฝั่งตรงข้ามคลองเปรมประชากรของตำบลลาดยาว อำเภอบางเขน ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 กรมราชทัณฑ์ได้ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ได้มีประกาศสํานักนายกรัฐมนตรีจัดตั้งกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลลาดยาว[8]

ในปีพ.ศ. 2496 กรมราชทัณฑ์ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 86 ล้านบาท และในปีเดียวกันได้มีการเปลี่ยนชื่อกองลหุโทษเป็นเรือนจำกลางคลองเปรม ต่อมาในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2502 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 21 และ 43 ให้กรมราชทัณฑ์ใช้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อบรม และฝึกวิชาชีพ ให้กับผู้ประพฤติตนเป็นอันธพาล

เมื่อการก่อสร้างเรือนจำเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2513 ได้มีการย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำกลางคลองเปรมแห่งเดิมที่ถนนมหาชัยไปยังเรือนจำกลางคลองเปรมแห่งใหม่ที่บางเขน ส่วนเรือนจำแห่งเดิมได้ถูกยุบและเปลี่ยนชื่อเป็นเรือนจำจังหวัดพระนครและธนบุรี[9]

ในปีพ.ศ.2516 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงของประเทศเป็นกรุงเทพมหานครนครส่งผลให้เรือนจำถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ในปีพ.ศ. พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการปรับปรุงทัณฑสถานวัยหนุ่มบางเขน หรือ "เรือนจำกลางคลองเปรม" และได้ย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครมาควบคุมรวมกัน และให้ปรับปรุงพื้นที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเป็นสวนสาธารณะ[10]

การเยี่ยมญาติ

[แก้]

ผู้มาติดต่อมาขอเยี่ยมผู้ต้องขัง ต้องกรอกรายละเอียดต่างๆลงในแบบฟอร์มใบเยี่ยมญาติ ซึ่งการเยี่ยมญาติถูกแบ่งออกเป็นแดนตามรอบเช้ากับรอบบ่ายของแต่ละวัน โดยไม่สามารถมาเยี่ยมในวันเสาร์และอาทิตย์ได้[11] ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19การเยี่ยมญาติต้องจองคิวผ่านไลน์[12][13]

กิจกรรมในเรือนจำ

[แก้]

เรือนจำแห่งนี้มีการจัดการศึกษานอกระบบของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และในบางครั้งมีการจัดคอนเสิร์ตให้กับผู้ต้องขัง[14]

เนื่องจากเรือนจำแห่งนี้มีนักโทษชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากส่งผลให้มีการจัดฟุตบอลโลกเรือนจำหรือPrison World Cup โดยนักฟุตบอลจะถูกคัดเลือกมาจากเจ้าหน้าที่เรือนจำ ซึ่ง 1 ทีมจะมี 10 คน ซึ่งทีมนักฟุตบอลที่ถูกคัดเลือกมา ให้เป็นตัวแทนของประเทศไนจีเรีย, ประเทศญี่ปุ่น, ประเทศสหรัฐอเมริกา, ประเทศอิตาลี, ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศอังกฤษ, ประเทศเยอรมนี และประเทศไทย ซึ่งทีมที่ชนะจะได้รับแบบจำลองถ้วยฟุตบอลโลกที่ทำขึ้นจากไม้ในโรงงานไม้ของเรือนจำ[15][1]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

การแหกคุกในปี พ.ศ. 2539

[แก้]
เดวิด แมคมิลแลนในปีพ.ศ. 2548

เมื่อปี พ.ศ. 2536 เดวิด แมคมิลแลน พ่อค้ายาเสพติดชาวอังกฤษ-ออสเตรเลีย ซึ่งถูกจับกุมที่เยาวราช โดยตำรวจนอกเครื่องแบบ 4 นายที่ปลอมตัวเป็นตัวแทนสำนักท่องเที่ยว ซึ่งเขาถูกตั้งข้อหาจำหน่ายเฮโรอีนและถูกส่งตัวไปยังเรือนจำกลางคลองเปรม เดวิดอ้างว่าเขาใช้เงินจำนวน 200 ดอลลาร์ ติดสินบนผู้คุม เพื่อให้ย้ายไปอยู่ในห้องขังที่สะดวกสบายมากขึ้น โดยเดวิดกล่าวว่าวิธีเดียวที่จะอยู่รอดในเรือนจำแห่งนี้คือการติดสินบนผู้คุมและนักโทษผู้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ ส่งผลให้เดวิดมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่านักโทษคนอื่น เดวิดมีพ่อครัวและคนรับใช้ของตนเอง และมีวิทยุ ต่อมาเขาถูกศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิตและจะต้องส่งตัวไปยังเรือนจำกลางบางขวาง เขาจึงตัดสินใจที่จะหลบหนีจากเรือนจำ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2539 เมื่อเวลา 24.00 น. เดวิดได้ใช้ใบเลื่อยที่ลักลอบนำเข้ามาตัดลูกกรง หลังจากออกจากห้องขัง หลังจากนั้นได้ปีนชั้นหนังสือเพื่อออกจากแดนที่คุมขังทางหน้าต่าง หลังจากนั้นได้ใช้บันไดไม้ไผ่ที่ยึดด้วยเชือกผูกรองเท้าข้ามกำแพงเรือนจำ 6 กำแพง เมื่อผ่านกำแพงชั้นนอก เขาใส่กางเกงสีกากีและใช้ร่มปิดบังใบหน้าของตนเองขณะเดินผ่านหอสังเกตการณ์ หลังจากออกจากเรือนจำเขาได้นั่งแท็กซี่ไปยังแฟลตเพื่อรับหนังสือเดินทางปลอม และเดินทางไปยังสนามบิน เพื่อเดินทางไปยังประเทศสิงโปร์ โดยใช้เวลาไม่เกิน 4 ชั่วโมงหลังจากออกจากเรือนจำ ซึ่งขณะที่เครื่องบินกำลังจะออกจากสนามบิน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำกำลังมายังสนามบิน แต่ไม่สำเร็จเพราะเครื่องได้ออกจากสนามบินไปแล้ว[16] หลังจากนั้นเขาได้เดินทางไปยังประเทศปากีสถาน แต่ก็ถูกจับกุมในความผิดฐานลักลอบขนยาเสพติดที่ลาฮอร์หลังจากผู้จัดส่งยาเสพติดซัดทอดไปยังเดวิด หลังจากพ้นโทษเขาเดินทางมายังกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปีพ.ศ. 2542[17] ต่อมาในปีพ.ศ. 2545 เขาถูกจับกุมที่สนามบินฮีทโธรว์ ในความผิดฐานลักลอบขนยาเสพติดระดับ A จำนวน 500 กรัม และติดคุกเป็นเวลา 2 ปี[18] ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 เขาถูกตำรวจออร์พิงตันจับกุมอีกครั้งในความผิดฐานลักลอบนำเข้ายาเสพติดระดับ A และถูกตัดสินจำคุก 6 ปี และเดวิดถูกปล่อยตัวในปีพ.ศ. 2557[19] ในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน ประเทศไทยได้เจรจากับประเทศอังกฤษเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของเดวิด[20] แต่สองสัปดาห์ก่อนการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนประเทศไทยได้ยกเลิกแผนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของเดวิด [21]

ความพยายามแหกคุกในปีพ.ศ. 2541

[แก้]

เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2541 นักโทษคดียาเสพติด จำนวน 2 คน ได้ใช้เหล็กแหลมขู่คนขับรถขยะที่ขับรถเข้ามาในแดน 4 หลังจากนั้นนักโทษ 2 คนได้ขึ้นมาบนรถ ส่วนอีก 3 คนได้วิ่งตามรถขยะ และขับรถขยะพุ่งชนะประตูแดนที่ 4 หลังจากชนประตูทั้งหมด 2 บาน รถขยะได้พุ่งชนประตูเหล็ก ส่งผลให้รถเสียหลักตกข้างทาง ทำให้นักโทษที่อยู่บนรถทั้งหมด 4 คน ได้พยายามปีนรั้วไฟฟ้าหลบหนีแต่ก็ถูกผู้คุมยิงจนเสียชีวิตทั้ง 4 คน ส่วนนักโทษที่วิ่งตามรถ บางคนได้รับบาดเจ็บหรือถูกจับกุม[22]

แผนการแหกคุกของบรรยิน ตั้งภากรณ์

[แก้]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 บรรยิน ตั้งภากรณ์ได้วางแผนให้นักโทษอีกคนลักพาตัวภรรยาของผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพเพื่อแลกกับการให้บรรยินออกไปจากเรือนจำ แต่แผนดังกล่าวเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์สืบทราบได้ก่อน ส่งผลให้เขาถูกย้ายตัวไปยังเรือนจำกลางบางขวาง[23][24][25]

นักโทษที่มีชื่อเสียง

[แก้]
  • วิกเตอร์ บูท นักธุรกิจและพ่อค้าอาวุธสงครามชาวรัสเซีย ซึ่งถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่กองปราบปรามและเจ้าหน้าที่DEA ที่โรงแรมในย่านสีลม เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2551[26] ในข้อหาร่วมกันจัดหาและรวบรวมทรัพย์สินเพื่อการก่อการร้าย[27] โดยเขาถูกคุมขังที่เรือนจำกลางคลองเปรมเพื่อรอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐ[28] และเขาถูกส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[29][30]
  • ปิ่น พึ่งญาติ สามีของกิ่งแก้ว ลอสูงเนินและเป็นผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานลักพาตัวเด็กไปเพื่อฆ่า - ถูกย้ายตัวไปยังเรือนจำกลางบางขวางเพื่อประหารชีวิตและถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2522[31]
  • เกษม สิงห์ลา ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานลักพาตัวเด็กไปเพื่อฆ่า (ถูกตัดสินประหารชีวิตร่วมกับปิ่นและกิ่งแก้ว) - ถูกถูกย้ายตัวไปยังเรือนจำกลางบางขวางเพื่อประหารชีวิตและถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2522[32]
  • อำพล ตั้งนพกุล มักเรียกกันว่า อากง ผู้ถูกฟ้องว่าได้ส่งข้อความสั้นซึ่งมีเนื้อหาเนื้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์และพระราชินีทางโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 4 ข้อความไปหาเลขานุการของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะมี อำพลถูกตัดสินจำคุก 20 ปี และเสียชีวิตภายในเรือนจำเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555[33]
  • รักเกียรติ สุขธนะ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 7 สมัย และอดีตรัฐมนตรี 5 สมัย ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานรับสินบน 5 ล้านบาทจากบริษัทยาและมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่งผลให้เขาถูกศาลตัดสินในปีพ.ศ. 2546 รวมโทษทั้งสิ้นเป็น 17 ปี 6 เดือน แต่เขาไม่มาฟังคำพิพากษา ส่งให้เขาถูกตำรวจจับกุมเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 แต่ก็ได้รับการลดโทษหลายครั้งและถูกพักโทษเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552[34][35]
  • เดวิด แมคมิลแลน พ่อค้ายาเสพติดชาวอังกฤษ-ออสเตรเลีย ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีน และถูกตัดสินประหารชีวิต โดยเขาได้แหกคุกเรือนจำกลางคลองเปรมเมื่อปีพ.ศ 2539 และหลบหนีไปยังประเทศสิงโปร์ โดยการแหกคุกของเขานับเป็นนักโทษชาวต่างชาติคนแรกที่สามารถแหกคุกเรือนกลางคลองเปรมสำเร็จและเขาได้เขียนหนังสือซึ่งเกี่ยวกับการแหกคุกของเขาโดยมีชื่อว่า Escape: The True Story of the Only Westerner Ever to Break out of Thailand's Bangkok Hilton ซึ่งถูกตีพิมพ์ในปีพ.ศ 2550[36]
  • ซาเวียร์ อันเดร จัสโต้ อดีตผู้บริหารของบริษัท ปิโตซาอุดิ อินเตอร์เนชันแนล จำกัด ติดคุกจากการข่มขู่เพื่อรีดทรัพย์ และอ้างว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีเบอร์ฮัดการพัฒนา 1มาเลเซีย
  • สนธิ ลิ้มทองกุล นักหนังสือพิมพ์ นักเขียน ผู้ก่อตั้งและเจ้าของหนังสือพิมพ์ในเครือผู้จัดการ และแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ถูกตัดสินจำคุก 20 ปี[37] ในความผิดฐานร่วมกันกระทำผิดต่อหน้าที่เป็นเหตุให้บริษัทเสียหายโดยร่วมกันกระทำการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้, ร่วมกันไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของบริษัท และร่วมกันทำบัญชีไม่ครบถ้วนไม่เป็นปัจจุบันซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริงเพื่อลวงให้บริษัทและผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์[38] จากการร่วมกันทำรายงานการประชุมเท็จของบริษัทแมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2540 ต่อมาได้รับการพระราชทานอภัยโทษและได้รับการปล่อยตัวหลังจากติดคุกเป็นเวลา 3 ปี 1 เดือน[39][40]
  • บุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ผู้ถูกตัดสินจำคุก 48 ปี จากคดีระบายข้าวจีทูจี ได้รับพระราชทานอภัยโทษ 2 ครั้ง เหลือโทษจำคุก 10 ปี และจะพ้นโทษในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2571[41][42]
  • ภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น ผู้ถูกตัดสินจำคุก 36 ปี จากคดีระบายข้าวจีทูจี[43][44] ได้รับพระราชทานอภัยโทษ 2 ครั้ง เหลือโทษจำคุก 8 ปี และจะพ้นโทษในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2568[45]
  • วัฒนา เมืองสุข อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปราจีนบุรี จากการเรียกรับเงินสินบนจากบริษัทผู้รับเหมาโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 82.6 ล้านบาท เพื่อแลกกับการช่วยเหลือให้ได้สัญญาก่อสร้าง ถูกตัดสินจำคุก 99 ปี แต่จำคุกจริง 50 ปี[46][47][48][49]

เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร

[แก้]

เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเป็นเรือนจำซึ่งคุมขังผู้ต้องขังชายระหว่างพิจารณาคดี และนักโทษเด็ดขาดชายคดีทั่วไป ที่มีโทษจำคุกไม่เกิน ๑๕ ปี[50]

  • บรรยิน ตั้งภากรณ์, มานัส ทับนิล, ณรงค์ศักดิ์ ป้อมจันทร์, ชาติชาย เมณฑ์กูล, ประชาวิทย์ ศรีทองสุขและ ธงชัย วจีสัจจะ ผู้ร่วมกันก่อเหตุฆาตกรรมวีรชัย ศกุนตะประเสริฐ พี่ชายของผู้พิพากษาอาวุโสของศาลอาญากรุงเทพใต้เพื่อให้ยกฟ้องในคดีโอ้นหุ้นนายชูวงษ์ แซ่ตั๊งของบรรยิน ตั้งภากรณ์ โดยบรรยินถูกย้ายตัวไปเรือนจำกลางบางขวางเนื่องจากแผนการลักพาตัวภรรยาของผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพ[51][52][53][54]
  • ประวีณ จันทร์คล้าย หรือ กำนันนก กำนันตำบลตาก้อง อำเภอเมืองนครปฐม ผู้ก่อเหตุใช้ให้หน่อง หมั่นมากหรือหน่องท่าผา ยิงพลตำรวจตรีศิวกร สายบัว ตำรวจทางหลวงจนเสียชีวิตและพลตำรวจโทวศิน พันปีจนได้รับบาดเจ็บ ถูกย้ายตัวจากเรือนจำกลางสมุทรสงครามมายังเรือนจำพิเศษกรุงเทพ[55][56][57][58]
  • ประสิทธิชัย เขาแก้ว ผู้ก่อเหตุโจรกรรมร้านทองออโร่ร่าภายในห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จังหวัดลพบุรีส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน และบาดเจ็บ 4 คน ถูกย้ายตัวไปยังเรือนจำกลางบางขวาง[59]
  • ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตสมาชิกผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อของพรรครักประเทศไทย ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานปกปิดบัญชีทรัพย์สินและแจ้งบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จ ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยถูกตัดสินจำคุก 1 เดือนและได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561[60][61][62]
  • จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[63]
  • สรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวและผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานของรัฐกระทำผิดด้วยการยักยอกเงินค่าโฆษณาเกินเวลาในรายการ “คุยคุ้ยข่าว” จากการยักยอกเงินค่าโฆษณาเกินเวลาในรายการ "คุยคุ้ยข่าว" ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ถูกตัดสินจำคุก 13 ปี 4 เดือน แต่ศาลฎีกาตัดสิน 6 ปี 24 เดือน พระราชทานอภัยโทษ 2 ครั้ง จนได้รับการพักโทษเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2564[64][65][66][67]
  • ทักษิณ ชินวัตร นักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคไทยรักไทย โดยถูกจับกุมหลังเดินทางกลับมายังประเทศไทยที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ตามหมายจับ 3 คดี ของศาลฎีกา ถูกตัดสินจำคุก 8 ปี[68][69] แต่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษโดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เหลือโทษจำคุก 1 ปี[70][71] เขาถูกย้ายตัวไปยังโรงพยาบาลตำรวจเนื่องจากอาการป่วยฉุกเฉินในวันที่ 23 สิงคม พ.ศ. 2566 โดยเขาได้รับการพักโทษเมื่อวันที่18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567[72][73][74][75]
  • พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักเคลื่อนไหวและนักกิจกรรมทางการเมือง นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • แวมาฮาดี แวดาโอะ หรือ หมอแว เขาถูกอาราฟิน บิน อาลี สมาชิกกลุ่มก่อการร้ายเจมาห์ อิสลามิยาห์ ซัดทอดว่ามีส่วนร่วมกับวางแผนก่อวินาศกรรมระเบิดสถานทูต 5 แห่งในกรุงเทพ ในช่วงการประชุมเอเปค ส่งผลให้เขาถูกจับกุมในพ.ศ. 2546 และติดคุกเป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะยกฟ้อง
  • ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ นักเคลื่อนไหว, นักร้อง, นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์ชาวไทย
  • อานนท์ นำภา ทนายความและมีชื่ออยู่ในรายชื่อผู้กระทำผิดกฎหมายในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติเนื่องจากกิจกรรมทางการเมือง ในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2565 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566ขาถูกตัดสินจำคุก 4 ปี ตามความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน จากการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563 และถูกตัดสินจำคุกเพิ่ม 4 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.112 จากการโพสต์ทางโซเชียลมีเดียเมื่อ พ.ศ. 2564
  • พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีตนักแสดง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เขาถูกตัดสินจำคุก 1 ปี จากกรณีหมิ่นประมาทนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนจะได้รับการพักโทษในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 หลังจากติดคุกเป็นเวลา 9 เดือน 16 วัน[76]
  • วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักกฎหมาย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองและถูกนำตัวไปฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ซึ่งเขาถูกศาลแขวงดุสิตยกฟ้องจากคดีไม่ไปรายงานตัว[77]
  • สมตระกูล จอบกระโทก, พ.อ.อ.กิตติชาติ กุลประดิษฐ์, ทองสุข ชนะการี, ณรงค์ อุ่นแพทย์ (กลม บางกรวย), สุริยัน ดวงแก้ว (ผู้ใหญ่หมึก), พิชัย เทพอารักษ์ (ชัย โคกสำโรง) ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดจากเหตุการณ์ทุจริตการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2544 ถูกตัดสินจำคุก 6 ปี ส่วนพิชัยถูกตัดสินจำคุก 2 ปี

ทัณฑสถานหญิงกลาง

[แก้]
ทัณฑสถานหญิงกลาง
แผนที่
ที่ตั้งถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
พิกัดภูมิศาสตร์13°50′42.2″N 100°33′25.1″E / 13.845056°N 100.556972°E / 13.845056; 100.556972
สถานะเปิดใช้งาน
ระดับความปลอดภัยความมั่นคงสูงสุด
ความจุ4,302[78]
นักโทษ4,082 (ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567)[79]
เปิดให้บริการ2515
เว็บไซต์https://www.app-cwci.com/

ทัณฑสถานหญิงกลาง เป็นเรือนจำที่คุมขังผู้ต้องหาหญิง ซึ่งถูกบริหารโดยกรมราชทัณฑ์ ตั้งอยู่ที่ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ใกล้กับเรือนจำกลางคลองเปรม โดยเรือนจำแห่งนี้เป็นที่คุมขังผู้ต้องขังหญิงที่มีโทษจนถึงประหารชีวิต[80][81]

ประวัติ

[แก้]

ทัณฑสถานหญิงกลาง เคยเป็นส่วนหนึ่งของเรือนจำกลางคลองเปรมแห่งเดิมที่ตำบลสำราญราษฎร์ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 กรมราชฑัณฑ์ได้แยกทัณฑสถานหญิงออกเป็นเอกเทศโดยมีชื่อใหม่ว่าทัณฑสถานหญิงพระนคร ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2515 กรมราชฑัณฑ์ได้ย้ายผู้ต้องขังหญิงมายังทัณฑสถานหญิงแห่งใหม่ที่ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เนื่องจากมีจำนวนผู้ต้องขังมากขึ้นและไม่เอื้อต่อการดําเนินงานด้านการควบคุมงาน โดยเปลี่ยนชื่อสถานที่ใหม่เป็นฑัณฑสถานหญิง ต่อมาในวันที่ 16 เดือนมกราคม พ.ศ. 2538 ได้เปลี่ยนชื่อสถานที่ใหม่เป็นฑัณฑสถานหญิงกลาง[82]

ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ห้องซักรีดของฑัณฑสถาน ส่งผลให้มีผู้ต้องขังหญิงได้รับบาดเจ็บ 7 คน จากการสำลักควันไฟ[83]

กิจกรรมภายในเรือนจำ

[แก้]

เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 ฑัณฑสถานหญิงกลางได้นิมนต์พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) มาเป็นผู้บรรยายในโครงการให้คำปรึกษาซึ่งมีชื่อว่าปัญญาบำบัด โดยโครงการดังกล่าวจะจัดที่ห้องประชุมของฑัณฑสถาน ทุกๆวันศุกร์เวลา 9.00 น.[84][85]

นักโทษที่มีชื่อเสียง

[แก้]
  • สรารัตน์ รังสิวุฒาภรณ์ ผู้ก่อเหตุฆาตกรรมต่อเนื่องโดยใช้การวางไซยาไนด์ในอาหารหรือเครื่องดื่ม โดยมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 14 คน และรอดชีวิต 1 คน โดยในปัจจุบันยังถุกคุมขังเพื่อรอการพิจารณาคดีและได้แท้งลูกไปแล้ว[86][87]
  • สมศรี เกตุจันทร์ ผู้ช่วยพยาบาลผู้ก่อเหตุพามือปืนมาก่อเหตุฆาตกรรมครอบครัวของนายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ สามีของเธอ เมื่อปีพ.ศ. 2528 ถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ไม่ทราบสถานะทางคดีในปัจจุบันคาดว่าได้รับการลดโทษไปแล้ว
  • กิ่งแก้ว ลอสูงเนิน ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานลักพาตัวเด็กไปเพื่อฆ่า (ถูกตัดสินประหารชีวิตร่วมกันปิ่นและเกษม) ย้ายไปเรือนจำกลางบางขวางเพื่อประหารชีวิต โดยถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2522 โดยในการประหารชีวิตกิ่งแก้ว เธอไม่เสียชีวิตในการยิงชุดแรก ทำให้ถูกนำตัวมายิงเป้าในรอบที่สองส่งผลให้เธอเสียชีวิต[88][89]
  • สมัย ปานอินทร์ ผู้จำหน่ายยาเสพติดชาวไทย ซึ่งร่วมกับนางสมใจ ทองโอ, นางมาลี เดชาภิรมย์, นายอรุณศักดิ์ หงษ์สร้อยคำและ ด.ช.เล็ก (นามสมมุติ) ร่วมกันค้าขายเฮโรอีน โดยสมัยเป็นคนนำเฮโรอีนไปขายที่ชุมชนคลองเตยล็อกที่ 4 ทำให้เธอได้รับฉายาว่าเจ้าแม่ล็อก 4 โดยเธอถูกตัดสินประหารชีวีตและถูกย้ายตัวไปเรือนจำกลางบางขวางเพื่อประหารชีวิต โดยถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542และนับเป็นนักโทษประหารหญิงคนสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าโดยประเทศไทย[90][91][92]
  • สมควร พยัคฆ์เรือง ภรรยาของบัณฑิต เจริญวานิช โดยถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษประเภทที่1ไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย และถูกตัดสินประหารขีวิตร่วมกับบัณฑิตและจิรวัฒน์ แต่เธอได้รับการลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต ส่วนบัณฑิตและจิรวัฒน์ถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552
  • กัลยาณี อร่ามเวชอนันต์ ผู้ส่งลูกชาย 2 คนไปเรียนวิชาเคมีที่ประเทศไต้หวัน เพื่อผลิตยาบ้า ต่อมาครอบครัวของเธอได้เช่าบ้านในอำเภอบางกรวยเพื่อผลิตยาบ้ายี่ห้อเปาบุ้นจิ้น ในปีพ.ศ. 2530 ได้มีการประกาศให้ยาบ้าผิดกฏหมาย ส่งผลให้เธอ สามีและลูกชาย 2 คนถูกจับกุม[93]
  • เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี พระสนมในพพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถูกถอดยศและถูกคุมขังเนื่องจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหลายประการรวมทั้งการไม่เคารพต่อสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พระบรมราชินี โดยได้รับการปล่อยตัวภายหลังการพระราชทานอภัยโทษเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2563[94]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Jason Gagliardi (17 June 2002). "Gaaoooool!". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2010. สืบค้นเมื่อ 17 May 2009.
  2. การย้ายผู้ต้องขังกำหนดโทษสูงเกินอำนาจการควบคุม
  3. กฎกระทรวงกำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลด วันต้องโทษจำคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๖๒
  4. โลกอีกใบใน ‘เรือนจำกลางคลองเปรม’
  5. ประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง การกําหนดอํานาจการคุมขังของเรือนจํา พ.ศ. ๒๕๕๔
  6. Joseph, Joanne and Larissa Focke. Drug Muled: Sixteen Years in a Thai Prison. Jacana Media, 2013. ISBN 1920601201, 9781920601201. p. 195. "Goosen says that[...]when she was on death row,[...]She tells of how, shortly after she arrived at Lard Yao,[...]"
  7. รายงานแสดงสภาพความแออัดในเรือนจำ/ทัณฑสถาน ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2567
  8. [1]
  9. ผู้ต้องหาคดีทางการเมืองเปลี่ยน “คุกกลางกรุงเทพฯ” เป็น “มหาลัยลาดยาว”
  10. 134 ปี ประวัติ “เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ” ตั้งอยู่ที่ไหน เยี่ยมนักโทษอย่างไร
  11. อธิบดีเยี่ยมคุมคลองเปรมย้ำบริการญาติให้ดี
  12. กรมราชทัณฑ์เตรียมย้าย"วัฒนา"เข้าเรือนจำคลองเปรม
  13. บันทึกเยี่ยม 4 ผู้ต้องขัง: คาดหวังการประกันตัวและเป็นห่วงครอบครัวที่อยู่ไกล
  14. โลกอีกใบใน ‘เรือนจำกลางคลองเปรม’
  15. Thailand prisoners host their own World Cup behind bars
  16. How to plan a successful jailbreak
  17. อดีตนักโทษออสเตรเลีย เผยนาทีแหกคุกคลองเปรมสำเร็จคนแรก จนกระหึ่มโลก
  18. Drug dealer who escaped Bangkok jail is on the run in London
  19. อดีตนักโทษ เผยนาทีระทึก หนีคุกไทย ใช้เลื่อยตัดเหล็ก นิตยสารโป๊ และร่ม!!
  20. From escaping a deadly fire inside the most notorious jail in Melbourne to sawing his way out of cell in Thailand: Australian drug smuggler relives 20 years of survival in world's worst prisons
  21. 'Press Pack 2'|http://davidmcmillan.net/gallery/press%20pack%202.pdf เก็บถาวร 23 เมษายน 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  22. แหกคุกมรณะ 7 ผู้ต้องขังลาดยาว จี้รถขยะฝ่าด่านแดน 4
  23. แฉแผนลับ แหกคุกช่วย บรรยิน ระเบิดเรือนจำ จับเมียผบ.ต่อรอง
  24. 'บรรยิน' สารภาพกลางศาลฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา เล่าแผนสุดเลือดเย็น
  25. หน่วยหนุมาน คุม "บรรยิน" มาศาลฯ คดีอุ้มพี่ชายผู้พิพากษา
  26. ศาล US ชี้คำแถลง “วิคเตอร์ บูท” ในคุกไทยเป็น “โมฆะ” เหตุถูกข่มขู่สารพัด
  27. ปิดฉาก "วิคเตอร์ บูท" พ่ อ ค้ า ค ว า ม ต า ย
  28. คดี วิคเตอร์ บูท ไทยตกอยู่ในหว่างเขาควายพญาอินทรี - หมีขาว
  29. วิคเตอร์ บูท : สหรัฐฯ แลกตัว “พ่อค้าความตาย” ที่ไทยจับส่ง กับนักบาสหญิงอเมริกันในคุกรัสเซีย
  30. ทนาย “วิคเตอร์ บูท” ยันต่อศาลสหรัฐฯ ลูกความไม่เคยค้าอาวุธ
  31. Chapter Nine – The Last Executioner
  32. Chapter Nine – The Last Executioner
  33. "Thai man dies during 20-year jail term for insulting queen". The Guardian. 8 May 2012. สืบค้นเมื่อ 9 May 2012.
  34. http://www.bangkokpost.com/print/158506/ Rakkiat to be released from jail today Published: 29/10/2009 at 05:36 PM
  35. "ราชทัณฑ์อนุมัติพักการลงโทษ'รักเกียรติ สุขธนะ'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-01. สืบค้นเมื่อ 2009-10-30.
  36. 'Press Pack 2'|http://davidmcmillan.net/gallery/press%20pack%202.pdf เก็บถาวร 23 เมษายน 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  37. ย้อนรอยจำคุก20ปี สนธิ ทำเอกสารเท็จค้ำประกันกู้กรุงไทยพันล้าน
  38. ศาลฎีกาจำคุก "สนธิ ลิ้มทองกุล" 20 ปี ไม่รอลงอาญา คดีทำเอกสารเท็จกู้เงิน ธ.กรุงไทย
  39. 'ชูวิทย์' ไขข้อสงสัย ทำไม 'สนธิ' ติดคุกแค่ 3 ปี ได้รับพระราชทานอภัยโทษ
  40. ฎีกายืนจำคุก‘สนธิ ลิ้มฯ’ 20ปี! ทำเอกสารเท็จ ค้ำประกันกู้กรุงไทยพันล้าน
  41. ราชทัณฑ์ย้าย ‘บุญทรง-ภูมิ’ เข้าคุกคลองเปรม เผยทั้งคู่ป่วยโรคผู้สูงวัย
  42. "บุญทรง เตริยาภิรมย์" ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดวันต้องโทษ
  43. สั่งจำคุก "บุญทรง" 42 ปี "ภูมิ สาระผล" 36 ปี คดีทุจริตขายข้าว "จีทูจี"
  44. 'บุญทรง-ภูมิ' คุกคืนแรกเจอ 'จตุพร' สหายเก่า-จ่อส่งคลองเปรม
  45. ย้อนรอย "อดีต 9 นักการเมืองชื่อดัง" ถูกจองจำในคุกจริง
  46. 'วัฒนา'มีโรคประจำตัวฉีควันซีน3เข็มแล้ว เตรียมย้ายขังคุกคลองเปรม
  47. ศาลฎีกาฯ พิพากษายืนจำคุก "วัฒนา" 50 ปี คดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร
  48. ราชทัณฑ์เตรียมย้าย'วัฒนา เมืองสุข' ไปคุกคลองเปรม
  49. บ้านเอื้ออาทร: พิพากษายืนจำคุก 99 ปี วัฒนา เมืองสุข คดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร
  50. การย้ายผู้ต้องขังกำหนดโทษสูงเกินอำนาจการควบคุม
  51. แฉแผนลับ แหกคุกช่วย บรรยิน ระเบิดเรือนจำ จับเมียผบ.ต่อรอง
  52. 'บรรยิน' สารภาพกลางศาลฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา เล่าแผนสุดเลือดเย็น
  53. หน่วยหนุมาน คุม "บรรยิน" มาศาลฯ คดีอุ้มพี่ชายผู้พิพากษา
  54. แบบอย่างงานสืบสวน
  55. ย้ายเรือนจำ 6 ตร. มาขังกรุงเทพ แยกกำนันนก แดนมั่นคงสูง
  56. ย้อนประวัติ "กำนันนก" วันที่ถูกเด็ดปีก จากเสี่ยพันล้านสู่ผู้ต้องหาจ้างฆ่า
  57. 10 ปมสั่งตาย ทลายเครือข่าย “กำนันนก”
  58. เหตุการณ์ “ยิงสารวัตรทางหลวง” จะไปถึงไหน?
  59. คุม "ประสิทธิชัย เขาแก้ว" โจรปล้นร้านทองฝากขัง ชาวบ้านตะโกน "ขอให้โดนประหาร"
  60. หมดเคราะห์เสียที! 'เสี่ยชูวิทย์' รับโทษครบ พรุ่งนี้กลับสู่อิสรภาพ
  61. เคยติดคุกมาแล้ว! ชูวิทย์ อยู่ในเรือนจำวันแรก สบายดีไม่มีเครียด
  62. คุ้นเคย! ชูวิทย์ ไม่เครียด! เจอจตุพรในคุก ชวนเม้าธ์มอยทั้งคืนจนหลับ!
  63. พลิกแฟ้มคดีการเมือง แกนนำเหลือง-แดง-นกหวีด ใครติด ใครหลุด
  64. ชัด ๆ คำพิพากษาศาล! คดี‘สรยุทธ-พวก’โฆษณาเกินเวลา 138 ล.
  65. "สรยุทธ" ไม่รอด ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 6 ปี 24 เดือน ไม่รอลงอาญา
  66. ปีนิดๆ คอนเฟิร์ม "สรยุทธ" พ้นห้องขัง 14 มีนาฯ นี้
  67. สรยุทธ สุทัศนะจินดา : ขอใช้เวลาสักพักก่อนตัดสินใจหวนกลับวงการสื่อ ยืนยันยังจะทำงานกับช่อง 3 หลังถูกปล่อยตัว พักโทษติดกำไลอีเอ็ม
  68. ศาลฎีกาฯ สั่งจำคุก ‘ทักษิณ’ จากความผิด 3 คดี ส่งตัวเข้าเรือนจำทันที
  69. ทักษิณ ชินวัตร จะอยู่ตรงไหน หลังมีระเบียบใหม่ราชทัณฑ์ “คุมขังนอกเรือนจำ”
  70. ในหลวง "พระราชทานอภัยลดโทษ" ทักษิณ ชินวัตร เหลือจำคุก 1 ปี หวังให้ “ทำคุณประโยชน์” แก่ชาติ-สังคม-ประชาชน หลังพ้นโทษ
  71. ส่งตัว 'ทักษิณ' เข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ แยกขังเดี่ยวแดน 7 จัดจนท.เฝ้าระวัง 24 ชม.
  72. เผยอาการป่วย "ทักษิณ" ยังทรง ยืนยันไม่ให้ย้ายโรงพยาบาล "อิ๊ง" สวนพวกเกรียน
  73. วิกฤตป่วย "ทักษิณ" 180 วัน ตั้งแต่กลับไทยถึงพักโทษ
  74. เปิดระเบียบราชทัณฑ์ เอื้อ ‘ทักษิณ’หรือไม่ นอนรักษาตัว รพ.เกิน120 วัน ใครมีอำนาจเห็นชอบ
  75. “เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ” เตรียมแผนรับ “ทักษิณ”
  76. พักโทษ"พร้อมพงศ์-เกียรติอุดม"คืนสู่อิสรภาพ
  77. prachachat (2021-06-08). "ศาลยกฟ้อง! "วรเจตน์" ชนะคดีไม่ไปรายงานตัว "คสช." เมื่อปี 57". ประชาชาติธุรกิจ.
  78. กรมราชทัณฑ์ขอแจ้งข้อมูลความจุผู้ต้องขังของเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศ ณ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘ มาเพื่อใช้เป็นประโยชน์สำหรับการวางแผนบริหารจัดการในด้านต่างๆ ให้เกิด ประสิทธิภาพ ดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้
  79. รายงานแสดงสภาพความแออัดในเรือนจำ/ทัณฑสถาน ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2567
  80. ประกาศกระทรวงยุติธรรม เรื่อง การกําหนดอํานาจการคุมขังของเรือนจํา พ.ศ. ๒๕๕๔
  81. Joseph, Joanne and Larissa Focke. Drug Muled: Sixteen Years in a Thai Prison. Jacana Media, 2013. ISBN 1920601201, 9781920601201. p. 195. "Goosen says that[...]when she was on death row,[...]She tells of how, shortly after she arrived at Lard Yao,[...]"
  82. ทัณฑสถานหญิงกลาง
  83. เพลิงไหม้เรือนจำคลองเปรมเจ็บ 7 ราย
  84. เรือนจำหญิงกลางใช้ "ปัญญาบำบัด" ช่วยผู้ต้องขังต่างชาติให้เป็นอิสระทางใจ
  85. นอกจากกำลังใจ มนุษย์ยังต้องการโอกาส
  86. แอม ไซยาไนด์ แท้งลูกเพราะครรภ์เป็นพิษ แอดมิต รพ.ราชทัณฑ์ ล่าสุดปลอดภัยแล้ว
  87. สรุปข่าวเด่นในรอบปี 2566
  88. Chapter Nine – The Last Executioner
  89. 3 นาทีคดีดัง : เรื่องจริง “กิ่งแก้ว” นักโทษประหารหญิง ยิงเป้าไม่ยอมตาย
  90. นักโทษประหาร...ในบันทึก'เพชฌฆาต'
  91. รายนามเพชฌฆาตที่ทำหน้าที่ยิงเป้า ของเรือนจำกลางบางขวาง
  92. Newsmakers: Making News Why Just Jimmy Lai
  93. ต้นกำเนิดยาม้าในประเทศไทย
  94. Andrew MacGregor Marshall [@zenjournalist] (28 August 2020). "Here's the notice from the Central Women's Correctional Institution at Lat Yao banning visitors yesterday and today due to a "big cleaning day". This is to enable King Vajiralongkorn's former consort Sineenat "Koi" Wongvajirapakdi to be quietly removed from the prison" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.