ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Maewboran/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


แมวศุภลักษณ์
อ่ำแดงมณี แมวศุภลักษณ์
ถิ่นกำเนิดของสายพันธุ์
ถิ่นกำเนิดไทย ประเทศไทย
มาตรฐานสายพันธุ์
น้ำหนักประมาณ 3-5 กิโลกรัม
ลักษณะขนขนสั้น
สีขนสีน้ำตาลล้วน หรือ ทองแดง
จัดอยู่ในกลุ่มแมวไทย

แมวศุภลักษณ์ หรือ แมวทองแดง เป็นแมวที่มีขนสั้น มีสีขนน้ำตาลล้วน เงาสวย หางยาวตรง มีดวงตาสีเหลือง เป็นแมวที่หายากมากที่สุดของกลุ่มแมวไทยโบราณ เนื่องจากแมวไทยในตำราในสมัยกรุงศรีอยุธยา สามัญชนทั่วไปไม่มีสิทธิ์เลี้ยง เลี้ยงได้เฉพาะในวัง หรือตามวัดวาอารามในสมัยนั้น เพราะถือว่าเป็นแมวมงคล ตามตำราได้กล่าวไว้ ในปัจจุบันมีคนไทยเข้าใจผิดจำนวนมาก คิดว่า แมวเบอร์มิส เรียกว่า แมวศุภลักษณ์ อันที่จริงแล้วแมว 2 สายพันธุ์นี้มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แมวศุภลักษณ์ไม่ใช่แมวเบอร์มิสแต่อย่างใด แต่แมวเบอร์มิสก็ยังถือเป็นแมวไทยเช่นกัน จากประวัติศาสตร์ที่เล่าขานกันมา

ประวัติศาสตร์ไทยควบคู่กับแมวศุภลักษณ์

[แก้]

การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งที่สอง ระหว่างราชวงศ์อลองพญาแห่งพม่า กับราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่งสยามในสมัยอาณาจักรอยุธยา ในการทัพครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีสยามยาวนานเกือบสี่ศตวรรษได้เสียแก่พม่าและถึงกาลสิ้นสุดลงไปด้วย เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศแห่งอาณาจักรอยุธยา และพระเจ้ามังระแห่งอาณาจักรพม่า

ยุทธนาการนี้เป็นผลพวงของสงครามพระเจ้าอลองพญาเมื่อ พ.ศ. 2303 และก่อตัวขึ้นใน พ.ศ. 2308 เมื่อพม่าส่งกองทัพเข้ารุกรานอยุธยาเป็นสองทางแบบคีม ทัพพม่าพิชิตการป้องกันของฝ่ายอยุธยาที่ประกอบด้วยกำลังอันเหนือกว่าแต่ขาดการประสานงานกันได้ และเริ่มปิดล้อมกรุงศรีอยุธยานาน 14 เดือนกระทั่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 พระเจ้าเอกทัศทรงยอมเป็นประเทศราชของพม่า แต่พม่าประสงค์ให้ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข ในที่สุดกองทัพพม่าหักเข้าพระนครได้เป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ แล้วทำลายล้างพระนคร ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่าเสื่อมลงจนถึงปัจจุบัน การเสียกรุงครั้งนี้ นอกจากจะส่งผลให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลายลงแล้ว ตะนาวศรีตอนใต้ยังได้ตกเป็นของพม่าเป็นการถาวร แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงต่างๆรวมกระทั่งแมวไทยสายพันธุ์ศุภลักษณ์ที่ได้โดนชาวพม่ากวาดต้อนกลับประเทศพม่า ในครั้งนั้นด้วย เนื่องจากชาวพม่าเห็นว่าแมวศุภลักษณ์สามารถเลี้ยงได้เฉพาะในราชวังเท่านั้น จึงคิดว่าแมวสายพันธุ์นี้มีความสำคัญกับประเทศไทยเป็นแน่แท้ จึงเป็นสาเหตุให้แมวสายพันธุ์นี้สูญพันธุ์ไป จากประเทศไทย เมื่อ ประเทศพม่าจำต้องถอนกำลังส่วนใหญ่ ในอาณาจักรอยุธยาเดิมกลับคืนประเทศไปเมื่อถูกจีนรุกราน จึงเป็นเหตุให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเถลิงอำนาจ ในรัชสมัยของพระองค์ ชาติก็ฟื้นกลับเป็นปึกแผ่นและรุ่งโรจน์อีกครั้ง และสยามยังสามารถขับพม่าออกจากแคว้นล้านนาได้นับแต่บัดนั้นมา

จุดเด่นของแมวศุภลักษณ์

[แก้]

แมวศุภลักษณ์ มีสีขนมีสีน้ำตาลออกทองแดงจัด เมื่อต้องแสงแดด จากตำราแมว ได้เขียนระบุไว้ชัดเจนว่า แมวศุภลักษณ์เป็นแมวที่มีขนสีทองแดงทั่วทั่งตัว ไม่มีแต้มเข้มบริเวณหน้า หาง ขา และอวัยวะเพศ เหมือนแมวเบอร์มิสหรือแมววิเชียรมาศ แต่ทั้ง 3 สายพันธุ์จัดอยู่ในกลุ่มแมวไทยหายาก

การดูลักษณะแมวศุภลักษณ์ มีดังนี้

[แก้]
  1. สีขนน้ำตาลเข้ม เมื่ออยู่กลางแดดสีขนจะออกทองแดงทั้งตัว
  2. หนวดมีสีทองแดง
  3. ตาสีเหลืองอำพัน
  4. อุ้งเท้ามีสีชมพูส้ม อมแดง
  5. ไม่มีแต้มเข้ม เหมือนแมววิเชียรมาศ
  6. แมวศุภลักษณ์ กับแมวเบอร์มิส เป็นแมวคนละชนิดกัน มีสีขนแตกต่างกันอย่างชัดเจน แมวเบอร์มิส จะมีแต้มเข้ม 9 แห่ง ซึ่งแมวศุภลักษณ์แท้จะไม่มีแต้มเข้ม

จุดเริ่มต้นการอนุรักษ์แมวศุภลักษณ์

[แก้]
อโยเดีย แมวศุภลักษณ์

เนื่องจากแมวศุภลักษณ์มีความสำคัญมากในวงการแมวไทย กำนันปรีชา พุคคะบุตร[1] เจ้าของพิพิธภัณฑ์ศูนย์อนุรักษณ์แมวไทยโบราณ ที่อัมพวา จึงเริ่มผสมแมวศุภลักษณ์ให้กลับมาอีกครั้ง ซึ่งใช้เวลาเกือบ 10 ปี เพราะขาดพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ถูกต้องตามลักษณะตำราแมวเมื่อ 300 ปีก่อน ท่านมีความมุ่งมั่นตอนนี้ท่านทำสำเร็จในระดับหนึ่ง ซึ่งกำนันปรีชา[2] ได้กล่าวไว้ว่า อยากให้คนไทยได้มีสมบัติชาติไว้อนุรักษ์ และจะจดทะเบียนแมวโลกสายพันธุ์แท้ให้สำเร็จ เพื่อให้คนไทยได้ชื่นชมแมวไทย เหมือนกับที่ชาวต่างชาติชื่นชม และนิยมเลี้ยงแมวไทยกันอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นแมวมงคล และเป็นแมวที่มีเสน่ห์ที่สุดของโลก ท่านเป็นนักอนุรักษ์แมวไทยที่สำคัญคนหนึ่งของประเทศไทย

ต่อมาในปี พ.ศ 2556 มีผู้ไปพบแมวศุภลักษณ์ ลักษณะดีตามตำรา ชื่อ อโยธยา ซึ่งเป็นแมวจร แถวสมุทรปราการ และได้มีการส่ง ดีเอ็นเอ ของแมวตัวนี้ไปตรวจที่ประทศอังกฤษ ผลออกมา คือแมวตัวนี้สีน้ำตาลล้วน ไม่มีสีอื่นเจอป่น ซึ่งความดีใจให้กับกลุ่มผู้เพาะพันธุ์แมวไทยเป็นอย่างมาก เท่ากับว่าเรามีแมวศุภลักษณ์แท้ 1 ตัว หลังจากที่สูญหายไปนานในสมัยกรุงศรีอยุธยา และทางกลุ่มเริ่มเสาะหาแมวศุภลักษณ์มาเพิ่มทั้งเพศเมียและเพศผู้มาจากที่ต่างๆมาเพิ่ม ในปีเดียวกัน ได้นำ อโยธยา ไปที่ศูนย์อนุรักษ์แมวไทยโบราณ ให้กำนันปรีชา พุคคะบุตร ลองผสมแมวศุภลักษณ์ชื่อ อโยธยา กับแม่พันธุ์ที่ฟาร์ม แต่ไม่เป็นผล ลูกแมวออกมามีสีดำทั้งหมด ทางเราจึงนำอโยธยา และแม่แมวพร้อมลูกแมวทั้งสี่ตัวกลับกรุงเทพมหานคร


ปี พ.ศ 2557 ทางกลุ่มได้ไปเยี่ยมฟาร์ม แมวไทย.com[3] ของคุณปรีชา วัฒนา[4] และได้นำรูปภาพ อโยธยา ให้ท่านดู ท่านมีความสนใจเป็นอย่างมากที่จะผสมแมวศุภลักษณ์ให้สำเร็จ เนื่องจากลักษณะ ของอโยธยาเป็นไปตามตำราได้กล่าวไว้ บวกกับผล ดีเอ็นเอ ที่ยืนยันลักษณะสีขนอย่างถูกต้อง ทางเราจึงได้มอบ อโยธยา ให้คุณปรีชา วัฒนา[5] ผสมกับแม่พันธุ์ที่ท่านหาได้ชื่อ ทองประกายแสด หลังจากนั้นไม่นานท่านก็ประสบความสำเร็จ แมวครอกแรกเกิดมา มีแมวศุภลักษณ์ 3 ตัว เหลือ 2 ตัว และเป็นแมวดำ 2 ตัว แต่เหลือเพียง 1 ตัวเท่านั้น เนื่องจากแม่พันธุ์ไม่กัดถุงน้ำคร่ำจึงทำให้ลูกน้อยเสียชีวิตก่อนที่ท่านจะมาพบ การประสบความสำเร็จครั้งนี้จึงทำให้ท่านมีความหวังเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้แมวศุภลักษณ์กลับมาสู่ประเทศไทยอีกครั้ง และทางเราได้เปิดเพจแมวศุภลักษณ์เพื่อให้ผู้ที่สนใจติดตามได้ใน Facebook ชื่อ แมวศุภลักษณ์ หรือที่ www.แมวไทย.com หลังจากที่เราเปิด เพจแมวศุภลักษณ์ได้ไม่นาน ทางเราได้รับการติดต่อ จากหลายๆท่านที่ได้เลี้ยงแมวศุภลักษณ์ไว้ ได้มาร่วมกันอนุรักษ์และร่วมทำโครงการกับทางเรา ซึ่งทำให้ทางเรามีกำลังใจและหวังว่าจะผสมแมวศุภลักษณ์ได้สำเร็จในอนาคตอันใกล้ ทางกลุ่มอยากให้ทุกๆท่านมีส่วนร่วมกัน ในการจดทะเบียนแมวโลก ทางกลุ่มร่วมกับสมาคมทิมบา แมวโบราณนานาชาติ หรือ www.TIMBA.org[6] เพื่อเป็นผู้ประสานงานการจดทะเบียนแมวโลกในครั้งนี้ด้วย

ต่อมาในปีเดียวกัน ทางเราได้รับการติดต่อ จาก คุณจักรพันธ์ จินะ ซึ่งอยู่ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ได้นำแมวศุภลักษณ์มาจากฝั่งพม่าด้วยความบังเอิญ เนื่องจากแม่แมวท้องโตใกล้คลอดและไม่มีเจ้าของดูแล จึงเกิดความสงสาร จึงนำมาเลี้ยงไว้ในบ้าน ต่อมาได้เจอ เพจแมวศุภลักษณ์ ใน Facebook จึงส่งรูปภาพมาให้ทางเราได้ดู หลังจากที่เห็นรูปภาพแล้ว สร้างความดีใจให้กับทางเรา เนื่องจากแมวตัวนี้มีสีทองแดงทั้งตัว ขนเงางาม มีอุ้งเท้าสีชมพู ซึ่งตรงตามตำราแมวทุกประการ ทางเราจึงตัดสินใจขอซื้อแมวศุภลักษณ์ตัวนี้ไว้เพื่อขยายพันธุ์เพิ่ม และได้ตั้งชื่อแมวตัวนี้ว่า อโยเดีย ในวันถัดมาเราได้ไปเยี่ยม ผู้ที่เลี้ยงแมวศุภลักษณ์อีก 2 ท่าน ที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองเชียงรายกับเชียงใหม่ และเจ้าของแมวทั้ง 2 ท่านยินดีให้เรานำมาแมวมาผสมเมื่อแมวพร้อม ซึ่งเราได้นำข่าวดีนี้มาแจ้งทางกลุ่มด้วยเช่นกัน

ในปี 2558 แมวศุภลักษณ์ครอกประวัติศาสตร์ได้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 เวลาตี 2.30 น. จากแม่พันธุ์ชื่อ อโยเดีย กับ พ่อพันธุ์ชื่อ อโยธยา มีลูกด้วยกันทั้งหมด จำนวน 6 ตัว เพศผู้ 2 ตัว และเพศเมีย 4 ตัว ที่ทางเราเรียกครอกนี้ว่าเป็นครอกแมวประวัติศาสตร์ในรอบ 248 ปี เนื่องจากเป็นครอกแรกที่ลูกแมวเกิดมาเป็นศุภลักษณ์แท้ทั้งหมด

ประวัติแมวศุภลักษณ์ ชื่อ อโยเดีย

[แก้]
อุ้งเท้าสีส้มอมชมพูของแมวศุภลักษณ์
ลูกแมวศุภลักษณ์

ในปี 2557 ทางผู้อนุรักษ์ได้อโยเดียมาจากชายแดนพม่า ใกล้แม่สาย จังหวัดเชียงราย ทางกลุ่มขอผู้พบเห็น อโยเดีย ส่งแมวมาทางเครื่องบิน แต่เนื่องอโยเดียท้องแก่ใกล้คลอด เลยไม่สามารถส่งทางเครื่องบินได้ ทางกลุ่มจึงตัดสินใจขับรถจากกรุงเทพไปรับถึงเชียงรายในคืนนั้น เพราะกลัวอโยเดียหนีแอบไปคลอดลูก เนื่องจากไม่มีคนอยู่บ้านคอยดูแล อโยเดีย ทางกลุ่มใช้เวลาขับรถประมาณ 10 กว่าชัวโมงกว่าจะถึงเชียงราย เพื่อต้องการนำอโยเดียกลับมากรุงเทพฯโดยด่วน พอกลับมากรุงเทพได้ 1 วัน อโยเดียก็คลอดลูก ได้ช่วยกันทำคลอดทั้งคืน ซึ่งอโยเดียอาจจะท้องกับแมวจรในพม่า ทางเราทราบดีว่าลูกอโยเดียน่าจะดำล้วนทั้งครอก เนื่องจากอโยเดียเป็นแมวศุภลักษณ์แท้ ถ้าผสมผิดหรือผสมกับแมวที่ไม่ใช่ศุภลักษณ์แท้ ลูกแมวจะเกิดมาดำทั้งหมด เป็นไปตามความคาดหมาย อโยเดียคลอดลูกมา 5 ตัว ดำสนิทหมด แต่ขนเงาสวยมาก หรือที่เรียกว่าแมวโกนจานั่นเอง หลังจากนั้นเราก็นำเด็กๆหาบ้าน ต้องขอบคุณผู้ที่รับเด็กๆไปเลี้ยงด้วย เด็กๆแมวดำได้บ้านที่อบอุ่นทั้ง 5 ตัว มีการอัพเดตกันตลอด โดยเฉพาะน้องแมวดำ ที่ชื่อ นำโชค เล่นเอาครอบครัวผู้อุปการะรักกันทั้งบ้าน เพราะนิสัย ขี้อ้อน ขี้เล่น ฉลาด

จากประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยา ช่วงที่พม่ามารบที่กรุงศรี พม่ามีอำนาจมากในช่วงนั้น ทำให้อยุธยาเกิดความพ่ายแพ้ต่อสงคราม หลังจากพม่าชนะศึก และทำลายวัดวาอารามและหลอมทองคำไป และนอกจากนั้นได้นำแมวศุภลักษณ์กลับไปประเทศของตนด้วย จึงทำให้แมวศุภลักษณ์สูญพันธุ์ไป หรือมีหลงเหลือเพียงไม่กี่ตัวในสมัยนั้น ในขณะนั้นเองชาวพม่าเรียกกรุงศรีอยุธยาว่า โยเดีย ซึ่งแปลว่า เมืองขี้แพ้ เหมือนกับการแช่งเรานั้นเอง

พอทางกลุ่มได้ตัว อโยเดีย มา เริ่มคิดชื่อแม่แมว โดยให้สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ และต้องมีชื่อสอดคล้องกับพ่อพันธุ์ที่ชื่อ อโยธยา ด้วย และได้ทำการหาข้อมูลจึงได้ชื่อมาว่า "อโยเดีย" แปลว่า เมืองที่ไม่ยอมแพ้ นี้คือเรื่องราวดีๆของแม่แมวอโยเดีย

รายละเอียดจากตำราแมว

[แก้]
ตำราแมวศุภลักษณ์ จากหอสมุดแห่งชาติ

หนึ่งนามทองแดงแสงใสย แลบลิ่นในผันใน นั้นแดงดังแก่ลง ย้อมมา ใครเลียงจักได้ยศถา ยิ่งภ้นคณหนา เป็นที่มนตรี

นามว่าแมวทองแดง มีลิ้นสีแดงเข้ม ผุ้ใดได้เลี้ยงแมวศุภลักษณ์นี้ จะมียศฐา เป็นอำมาตย์มนตรี จากรูปภาพเราจะเห็นได้ว่า แมวทองแดงนี้ ไม่มีแต้มเข้มบนใบหน้าเหมือนแมววิเชียรมาศแต่อย่างใด

ในตำราแมวหรือสมุดข่อยโบราณทุกฉบับ มีแมวชื่อทองแดงหรือแมวศุภลักษณ์ ปรากฏอยู่ “ศุภ” ภาษาสันสกฤต แปลว่า ดี งาม, “ลกฺษณ” ภาษาสันสกฤต แปลว่า รูปร่าง รูปลักษณ์ หรือ ลักษณะ อย่างที่เราๆ ใช้กันในภาษาไทยนั่นเอง รวมความแล้ว “ศุภลักษณ์” ก็แปลได้ว่า ลักษณะที่ดี ลักษณะที่งาม

สรุปรูปพรรณของแมวศุภลักษณ์ – เป็นแมวสีทองแดงตลอดตัว (บางทีเรียก ‘แมวทองแดง’) มีเล็บ ลิ้น และฟันเป็นสีแดงดังย้อม ผู้ใดได้เลี้ยงจะเจริญด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ แมวศุภลักษณ์นี้เป็นแมวพันธุ์หายากพันธุ์หนึ่ง แม้จะยังมีเลี้ยงอยู่บ้างในปัจจุบัน แต่ก็มักจะเป็นพันธุ์ผสม หรือไม่ตรงตามตำราซะทีเดียว หากพบเห็นหรือมีกำลังพอที่จะเลี้ยง...ก็ไม่ควรมองข้าม




อ้างอิง

[แก้]
  1. "Kamnan Preecha YouTube". YouTube. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015.
  2. "Kamnan Preecha YouTube". YouTube. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015.
  3. "Preecha Vadhana Maew Thai". Maew Thai. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015.
  4. "รายการคุณพระช่วย". YouTube. สืบค้นเมื่อ 6 May 2015.
  5. "งานประกวดแมว WCF". YouTube. สืบค้นเมื่อ 6 May 2015.
  6. "TIMBA". TIMBA. สืบค้นเมื่อ 3 May 2015.