ข้ามไปเนื้อหา

ผื่นแพ้ยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Drug eruption
Examples of drug eruptions. (A) Bullous dermatitis caused by sulfathiazole (B) Fixed drug eruption caused by phenolphtalein (C) Bullous erythema multiforme (D) Diffuse photosensitivity reaction.
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10L27.0, L27.1
ICD-9692.3, 782.1
eMedicinederm/104
MeSHD003875

ผื่นแพ้ยาคือ ผลไม่พึงประสงค์ของยา (Adverse drug reaction) เกิดขึ้นหลังจากที่รับประทานยาที่แพ้ โดยอาจเกิดขึ้นทันทีหลังทานยาไม่เกินชั่วโมง หรืออาจใช้ระยะเวลานานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนกว่าจะร่างกายจะตอบสนองต่ออาการแพ้แล้วเกิดผื่นขึ้นกับยาแต่ละชนิด การเกิดผื่นแพ้ยาสามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงหรือเพศชายและไม่ขึ้นกับอายุ บางรายหลังรับประทานยาที่แพ้ครั้งแรกอาจจะยังไม่ปรากฏผื่นแพ้ขึ้น อาจจะพบผื่นหลังจากได้รับยาซ้ำ แต่บางรายอาจพบผื่นแพ้ได้ทันทีที่รับยาครั้งแรก ทั้งนี้หากรับประทานยาที่แพ้ซ้ำจะทำให้เกิดอาการผื่นแพ้หรืออาการอื่นที่รุนแรงมากขึ้น

อาการของผื่นแพ้ยา

ผื่นแพ้ยาอาจเกิดขึ้นบริเวณผิวหนัง บริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือลามทั่วร่างกาย หรืออาจเกิดบริเวณเยื่อบุอ่อนของร่างกาย เช่น เยื่อบุตา ช่องปาก อวัยวะเพศ ความรุนแรงของอาการผื่นจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย และลักษณะผื่นที่พบ จะมีหลายแบบแตกต่างกัน เช่น เป็นผื่นแดงราบ ผื่นจุดแดงเล็กกระจายทั่ว ผื่นนูนร่วมกับผื่นราบ อาจมีอาการคันร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ นอกจากอาการผื่น อาจพบอาการผิดปกติอื่น เช่น ผิวหนังลอก ปากบวม ตาบวม แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่มหรือมีเสียงหวีด ซึ่งเป็นอาการของทางเดินหายใจตีบจะต้องรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที เพราะหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

วิธีปฏิบัติตนเมื่อพบผื่นแพ้ยา

หากรับประทานยาใดก็ตามแล้วเกิดผื่นแดงคันขึ้นผิดปกติ และสงสัยว่าจะแพ้ยาให้หยุดยาแล้วกลับไปพบแพทย์หรือเภสัชกรทันที เพื่อประเมินว่าผื่นที่เกิดขึ้นเป็นผื่นแพ้ยาหรือเป็นผื่นโรคผิวหนัง เพราะโรคบางโรค เช่น การติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย การแพ้อาหารหรือผลิตภัณฑ์สขภาพต่าง ๆ ก็อาจแสดงอาการผื่นเช่นเดียวกันกับผื่นแพ้ยาได้ หากผื่นที่เกิดขึ้นไม่ใช่ผื่นแพ้ยาแต่ผู้ป่วยหยุดยาเองแล้วแจ้งแพทย์ว่าแพ้ยา จะทำให้เสียโอกาสในการใช้ยานั้นรวมทั้งยาอื่นในกลุ่มเดียวกัน แต่หากไม่ทราบว่าแพ้ยาแล้วรับประทานยาเดิมซ้ำ อาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงกว่าเดิมจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

การรักษาผื่นแพ้ยา

โดยทั่วไปหากเป็นผื่นแพ้ยาไม่รุนแรงและมีการหยุดยาทันทีหลังเกิดผื่นแพ้ ผื่นจะสามารถยุบหายเองได้ แต่บางรายอาจมีอาการผื่นแพ้ยารุนแรง อาจมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมรวมถึงติดตามอาการอื่นร่วมด้วย แล้วการแพ้ยาเป็นอาการที่เกิดขึ้นแล้วจะเป็นไปตลอดชีวิตไม่สามารถหายได้ ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องระมัดระวังไม่รับประทานยาเดิมซ้ำอีก

บัตรแพ้ยา

ผู้ป่วยที่ได้รับการประเมินอาการแพ้ยาจากแพทย์หรือเภสัชกร และได้รับการยืนยันว่าแพ้ยา จะได้รับบัตรแพ้ยาระบุชื่อยา อาการที่แพ้ ความรุนแรงของอาการแพ้ วันที่พบอาการแพ้ ผู้ป่วยจะต้องพกบัตรแพ้ยานี้ติดตัวตลอดเวลาและยื่นแสดงต่อสถานพยาบาลหรือร้านยาที่เข้ารับการรักษาทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการสั่งใช้ยาที่ผู้ป่วยแพ้ซ้ำ

แม่แบบ:Dermatitis and eczema

แม่แบบ:Skin and subcutaneous tissue symptoms and signs