ปีเตอร์ ซี. โดเฮอร์ที
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ปีเตอร์ ชาร์ลส์ โดเฮอร์ที | |
---|---|
เกิด | 15 ตุลาคม ค.ศ. 1940[1] บริสเบน ในรัฐควีนส์แลนด์ |
สัญชาติ | ออสเตรเลีย |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยลัยควีนส์แลนด์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ |
มีชื่อเสียงจาก | Major histocompatibility complex |
รางวัล | รางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (ค.ศ. 1996) บุคคลดีเด่นประจำปีของออสเตรเลีย (ค.ศ. 1997) รางวัลเลเวินฮุก (ค.ศ. 1999)[2] |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | แพทยศาสตร์ วิทยาภูมิคุ้มกัน |
สถาบันที่ทำงาน | สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ John Curtin มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | G. L. Montgomery J. T. Stamp[3] |
ปีเตอร์ ชาร์ลส์ โดเฮอร์ที (อังกฤษ: Peter Charles Doherty, FRS AC FMedSci, 15 ตุลาคม ค.ศ. 1940)[1] เป็นสัตวแพทย์และนักวิจัยในสาขาการแพทย์ชาวออสเตรเลีย โดเฮอร์ทีได้รับรางวัลอัลเบิร์ต ลาสเกอร์สาขาแพทย์ใน ค.ศ. 1995 โดเฮอร์ทีและ Rolf M. Zinkernagel ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์[4]ใน ค.ศ. 1996 นอกจากนี้แล้วโดเฮอร์ทีได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นประจำปีของออสเตรเลีย[5]และเครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติมศักดิ์[6]ใน ค.ศ. 1997 เนื่องจากงานที่ได้ร่วมมือทำกับ Zinkernagel โดเฮอร์ทีได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นบุคคลที่มีคุณค่าแห่งชาติออสเตรเลีย[7] ใน ค.ศ.2009 งานวิจัยของโดเฮอร์ทีเรื่องระบบภูมิคุ้มกันได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งใน 150 ไอคอนของควีนส์แลนด์[8]
ประวัติวัยเด็กและการเรียน
[แก้]โดเฮอร์ทีเกิด ณ บริสเบน ในรัฐควีนส์แลนด์ และได้เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยม Indooroopilly (ณ ตอนนี้โรงเรียนใช้ชื่อโดเฮอร์ทีเป็นชื่อห้องบรรยาย) โดเฮอร์ทีได้รับปริญญาตรีสาขาสัตวแพทย์ศาสตร์ใน ค.ศ. 1966 จากมหาวิทยลัยควีนส์แลนด์ หลังจากที่ได้รับปริญญาเอกใน ค.ศ. 1970 จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ณ ประเทศสกอตแลนด์[3] โดเฮอร์ทีได้กลับไปยังบ้านเกิดเพื่อทำงานวิจัยเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน ณ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ John Curtin ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียในเมืองแคนเบอร์รา
งานวิจัยและอาชีพ
[แก้]งานวิจัยของโดเฮอร์ทีมุ่งเน้นไปที่ระบบภูมิคุ้มกันและงานวิจัยที่ได้รับรางวัลโนเบลอธิบายเกี่ยวกับการตอบโต้ของเซลล์ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อไวรัส[9] โดเฮอร์ทีและ Rolf M. Zinkernagel ซึ่งเป็นผู้ร่วมงาน ได้ค้นพบวิธีการที่ทีเซลล์ตรวจจับสารก่อภูมิต้านทาน โดยร่วมมือกับโปรตีนที่ผลิตโดยกลุ่มของยีนซึ่งเป็นตัวกำหนดและควบคุมลักษณะของแอนติเจนบนผิวเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการตอบรับหรือปฏิเสธเนื้อเยื้อรวมทั้งการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน (Major histocompatibility complex protein)
ไวรัสจะแพร่กระจายไปยังเซลล์เจ้าบ้านและเปลี่ยนระบบภายในเซลล์เพื่อที่จะเพิ่มจำนวนไวรัส คิลเลอร์ทีเซลล์ (Cytotoxic T cell) จะทำการกำจัดเซลล์ที่ติดไวรัสเพื่อที่จะยับยั้งการแพร่กระจาย โดเฮอร์ทีและ Rolf M. Zinkernagel ค้นพบว่าการที่คิลเลอร์ทีเซลล์จะทำอย่างเช่นนั้นได้ คิลเลอร์ทีเซลล์ต้องพบเจอโมเลกุลสองตัวบนเยื่อหุ้มเซลล์ก่อนซึ่งมีแอนติเจนไวรัสและโมเลกุลจาก MHC คิลเลอร์ทีเซลล์มีตัวรับโมเลกุลสองตัวอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ของตัวมันเอง ก่อนหน้างานวิจัยของโดเฮอร์ที MHC ถูกระบุว่าเป็นตัวการในการปฏิเสธเนื้อเยื่อระหว่างการปลูกถ่าย นอกจากนี้แล้วโดเฮอร์ทีและ Rolf M. Zinkernagel ค้นพบว่า MHC สามารถต่อต้านไวรัสที่ก่อโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ด้วย[10]
นอกจากงานวิจัยแล้ว โดเฮอร์ทีได้ประพันธ์หนังสือ เช่น The Beginner's Guide to Winning the Nobel Prize[11] หรือ เส้นทางสร้างฝันสู่รางวัลโนเบล ในชีวิตนักวิทยาศาสตร์[12] (ค.ศ. 2005) A Light History of Hot Air[13] (ค.ศ. 2007) Sentinel Chickens[14] (ค.ศ.2012) และ The Knowledge Wars[15] (ค.ศ. 2015) เป็นต้น
เกียรติคุณและรางวัล
[แก้]โดเฮอร์ทีได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในสมาชิกของราชสมาคมแห่งลอนดอน (FRS)[2] โดเฮอร์ทีเป็นผู้อุปถัมภ์ของสถาบันการศึกษาเรื่องการติดเชื้อและภูมิคุ้มกันปีเตอร์โดเฮอร์ที ซึ่งเป็นสถาบันที่จัดทำร่วมกับมหาวิทยลัยเมลเบิร์นและสถาบันสุขภาพแห่งเมลเบิร์น โดยสถาบันปีเตอร์โดเฮอร์ทีเริ่มปฏิบัติการเมื่อ ค.ศ. 2014[16] และเป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุ้มกันและโรคติดเชื้อมากมาย เช่น ศาสตราจารย์ Sharon Lewin ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในแนวหน้าการต่อต้านโรคติดต่อในมนุษย์ โดเฮอร์ทีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์อังกฤษ (FMedSci)[17] และสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ออสเตรเลีย (FAHMS)[18] ใน ค.ศ.2015 ต่อมาโดเฮอร์ทีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชสมาคมแห่งรัฐวิกตอเรีย (FRSV)[19]
โรงเรียนวิทยาศาสตร์ John Monash[20] และ โรงเรียนชายล้วน Moreton Bay[21] ใช้ชื่อของโดเฮอร์ทีเป็นชื่อคณะ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Anon (2017). Doherty, Prof. Peter Charles. ukwhoswho.com. Who's Who (online Oxford University Press ed.). A & C Black, an imprint of Bloomsbury Publishing plc. doi:10.1093/ww/9780199540884.013.13865. (ต้องรับบริการ)
- ↑ 2.0 2.1 "Peter Doherty". royalsociety.org.
- ↑ 3.0 3.1 Doherty, Peter Charles (1970). Studies in the experimental pathology of louping-ill encephalitis. lib.ed.ac.uk (วิทยานิพนธ์ PhD). [[EThOS]] 699841.
- ↑ "Peter Doherty - Nobel Prize Inspiration Initiative". Nobel Prize Inspiration Initiative.
- ↑ Lewis, Wendy (2010). Australians of the Year. Pier 9 Press. ISBN 978-1-74196-809-5.
- ↑ "It's an Honour - Honours - Search Australian Honours". www.itsanhonour.gov.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-05. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.
- ↑ "Peter C. Doherty, PhD".
- ↑ Bligh, Anna (10 June 2009). "PREMIER UNVEILS QUEENSLAND'S 150 ICONS". Queensland Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2017. สืบค้นเมื่อ 24 May 2017.
- ↑ Doherty, Peter C. "Professor of Microbiology and Immunology".
- ↑ "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1996".
- ↑ The Beginner's Guide to Winning the Nobel Prize: The Miegunyah Press, an imprint of Melbourne University Publishing Ltd, 2005
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-27. สืบค้นเมื่อ 2018-10-28.
- ↑ A Light History of Hot Air (2011)
- ↑ Miegunyah Press, accessed 8 July 2014 [ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- ↑ "Interview: Peter Doherty, Nobel Prize Winner for Medicine in 1996", in ABC Lateline, 25 August 2015 [ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- ↑ "Peter Doherty Institute, University of Melbourne".
- ↑ "Report of the Annual Fellows' Meeting 2015 - The Academy of Medical Sciences". www.acmedsci.ac.uk.
- ↑ "Fellowship | AAHMS – Australian Academy of Health and Medical Sciences". www.aahms.org (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 2018-06-26.
- ↑ "Elected Fellows of the Royal Society of Victoria - The Royal Society of Victoria". The Royal Society of Victoria (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-06-27.
- ↑ "House Programs". www.jmss.vic.edu.au (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-26. สืบค้นเมื่อ 2018-06-26.
- ↑ "Moreton Bay Boys' College School House Program". Moreton Bay Boys' College (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-06-26.
- Pages with missing ISBNs
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์
- ชาวออสเตรเลียผู้ได้รับรางวัลโนเบล
- สัตวแพทย์ชาวออสเตรเลีย
- นักวิทยาภูมิคุ้มกันชาวออสเตรเลีย
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
- บุคคลจากบริสเบน
- ภาคีสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอน