ข้ามไปเนื้อหา

ราชสมาคม

พิกัด: 51°30′21.53″N 0°07′56.86″W / 51.5059806°N 0.1324611°W / 51.5059806; -0.1324611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ราชสมาคมแห่งลอนดอน)
ราชสมาคม
ก่อตั้ง28 พฤศจิกายน 1660; 363 ปีก่อน (1660-11-28)
สํานักงานใหญ่ลอนดอน, SW1
สหราชอาณาจักร
พิกัด51°30′21.53″N 0°07′56.86″W / 51.5059806°N 0.1324611°W / 51.5059806; -0.1324611
สมาชิก
  • สมาชิก ~ 1600 คน
  • สมาชิกต่างชาติ ~ 140 คน
  • สมาชิกหลวง 6 พระองค์
ประธาน
Venkatraman Ramakrishnan
เว็บไซต์royalsociety.org
หมายเหตุคำขวัญ: Nullius in verba
("Take nobody's word for it")
สถานที่ตั้งของราชสมาคมแห่งลอนดอน

ราชสมาคมแห่งลอนดอน (อังกฤษ: Royal Society หรือชื่อเต็มว่า The Royal Society of London for the Improvement of Natural Knowledge) เป็นสมาคมนักปราชญ์ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ รวมถึง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ในวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์การแพทย์ [1] มีความเป็นไปได้ว่าเป็นสมาคมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงอยู่[2] ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1660 โดยพระบรมราชานุญาตของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในชื่อ ราชสมาคมแห่งลอนดอน (Royal Society of London) เดิมทีสมาคมเป็นส่วนเพิ่มเติมของ วิทยาลัยอินวิซิเบิล (Invisible College) ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานที่วิจัยและอภิปราย ปัจจุบันราชสมาคมเป็นผู้ให้คำแนะนำวิทยาศาสตร์แก่รัฐบาลอังกฤษ ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ราชสมาคมทำหน้าที่เป็นสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร หาทุนวิจัยให้นักวิจัยและบริษัทด้านวิทยาศาสตร์

ประวัติ

[แก้]

เมื่อเริ่มแรก ราชสมาคมฯ เป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ประมาณ 12 คน รู้จักในชื่อ วิทยาลัยอินวิซิเบิล (วิทยาลัยที่มองไม่เห็น) โดยพบปะกันตามสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงบ้านของบรรดาสมาชิกและวิทยาลัยเกรแชม สมาชิกยุคแรก ๆ ได้แก่ จอห์น วิลกินส์, โจนาทาน ก็อดเดิร์ด, โรเบิร์ต ฮุก, คริสโตเฟอร์ เรน, วิลเลียม เพตตี, และ โรเบิร์ต บอยล์ โดยมาอภิปรายกันเกี่ยวกับ "วิทยาศาสตร์สมัยใหม่" ซึ่งฟรานซิส เบคอน พยายามส่งเสริมในงานเขียน New Atlantis ของเขาตั้งแต่ราว ค.ศ. 1645 เป็นต้นมา[3] ในช่วงแรกไม่มีกฎระเบียบอะไร เป้าหมายมีเพียงการรวมกลุ่มกัน ดูผลการทดลอง และแลกเปลี่ยนสิ่งที่แต่ละคนค้นพบ[4] กลุ่มมีการแปรเปลี่ยนมาตลอด ในที่สุดก็แยกออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ ในช่วง ค.ศ. 1638 คือกลุ่มสมาคมลอนดอน กับสมาคมออกซฟอร์ด เนื่องมาจากปัญหาในการเดินทาง กลุ่มออกซฟอร์ดนั้นกระตือรือร้นกว่าเพราะสมาชิกส่วนใหญ่ของวิทยาลัยพำนักอยู่ที่นั่น ต่อมาจึงก่อตั้งเป็น สมาคมปรัชญาแห่งออกซฟอร์ด (The Philosophical Society of Oxford) ดำเนินการภายใต้กฎเกณฑ์จำนวนหนึ่งซึ่งยังคงดำรงอยู่โดยห้องสมุด Bodleian[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Anon (2015). "Royal Society Elections". London: Royal Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-06.
  2. สมาคมวิทยาศาสตร์เลโอโปลดินาแห่งเยอรมัน (German Academy of Sciences Leopoldina, Deutsche Akademie der Naturforscher Leopoldina) อ้างว่าเป็นสมาคมที่ตั้งอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนานที่สุด ด้วยสามารถสืบค้นประวัติย้อนไปได้ถึงปี ค.ศ. 1652 ในชื่อเรียกว่า Academia Naturae Curiosorum อย่างไรก็ดี ราชสมาคมแห่งลอนดอนนั้นเข้าอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ในปี ค.ศ. 1660 ขณะที่เลโอโปลดินายังไม่ได้รับอุปถัมภ์อย่างเป็นทางการเลยจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1687
  3. Syfret (1948) p.75
  4. Sprat (1722) p.56
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ sy1s

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]