ปัญญาจารย์ 1
ปัญญาจารย์ 1 | |
---|---|
ภาพซาโลมอนทรงถือดอกไม้และความเยาว์วัย จุลจิตรกรรมจากหน้าเปิดของหนังสือปัญญาจารย์ (ในภาษาละติน) ในคัมภีร์ไบเบิลแห่งอาราม Santa Maria de Alcobaça, ราวคริสต์ทศวรรษ 1220 (หอสมุดแห่งชาติโปรตุเกส ALC.455, fl.207). | |
หนังสือ | หนังสือปัญญาจารย์ |
ภาคในคัมภีร์ฮีบรู | เคทูวีม |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 21 |
ปัญญาจารย์ 1 (อังกฤษ: Ecclesiastes 1) เป็นบทแรกของหนังสือปัญญาจารย์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] หนังสือปัญญาจารย์ประกอบด้วยคำพูดเชิงปรัชญาของตัวละครที่เรียกว่าปัญญาจารย์ (โคเฮเลท; "ผู้สอน"; "ผู้พูดต่อหน้าที่ชุมนุมชน") อาจประพันธ์ขึ้นในช่วงศตวรรษ 5 ถึง 2 ก่อนคริสตกาล[3] เพชิตตา, ทาร์กุม และทัลมุด ตลอดจนผู้อ่านชาวยิวและคริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ถือว่าผู้เขียนหนังสือปัญญาจารย์คือกษัตริย์ซาโลมอน[4] บทที่ 1 ของหนังสือปัญญาจารย์ประกอบด้วยชื่อหนังสือ, อรรถาธิบายของข้อสังเกตพื้นฐานบางประการ และปัญญาของชีวิต โดยเฉพาะความอนิจจังของการแสวงหาปัญญา[5]
ต้นฉบับ
[แก้]บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 18 วรรค
พยานต้นฉบับ
[แก้]บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[6][a] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4QQohb (4Q110; 30 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 30; วรรคที่หลงเหลือ 8–15)[8][9][10]
ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[11] ต้นฉบับภาษากรีกอาจมาจากผลงานของ Aquila of Sinope และผู้ติดตาม[3]
วรรค 1
[แก้]- ถ้อยคำของปัญญาจารย์ ผู้เป็นเชื้อสายของดาวิด กษัตริย์ในเยรูซาเล็ม[12]
- "ปัญญาจารย์": "ผู้เรียกประชุม" หรือ "ผู้รวบรวม"; ฮีบรู: קהלת Qoheleth[13][14] มีความหมายอย่างง่ายว่า "ผู้สอน" (คำ participle ในภาษาฮีบรู)[15] รากศัพท์มาจากคำว่า qahal ที่มีความหมายว่า "การเรียกประชุม"[16]
- "เชื้อสายของดาวิด กษัตริย์ในเยรูซาเล็ม": อาจหมายถึงกษัตริย์พระองค์ใด ๆ ในเชื้อสายของดาวิด ("Davidic King")[16][3] ในปัญญาจารย์ 1:12 ระบุว่าปัญญาจารย์ปกครอง "อิสราเอล" ในกรุงเยซูซาเล็ม หาก "อิสราเอล" หมายรวมถึงราชอาณาจักรอิสราเอลเหนือแล้ว เชื้อสายของดาวิดที่ได้ปกครองก็มีเพียงซาโลมอนและพระโอรสคือ "เรโหโบอัมผู้ห่างไกลจากปัญญา"[3][b] จากคำอธิบายเพิ่มเติมในบทที่ 1 และ 2 เป็นที่แน่ชัดว่า "ปัญญาจารย์"นั้นหมายถึงซาโลมอน แม้ว่าจะเลี่ยงการกล่าวพระนาม "ซาโลมอน" ก็ตาม ไม่ได้อ้างถึงอย่างชัดเจนอย่างในเพลงซาโลมอน 1:1 หรือสุภาษิต 1:1 [16]
บทนำ (วรรค 2-11)
[แก้]วรรค 2
[แก้]- ปัญญาจารย์กล่าวว่า อนิจจัง อนิจจัง
- อนิจจัง อนิจจัง สารพัดอนิจจัง[17]
คัมภีร์ไบเบิลอังกฤษเล็กซ์แฮมเรียกวรรคนี้ว่าเป็น "คติพจน์" (motto) ของปัญญาจารย์[18] คติพจน์นี้ปรากฏอีกครั้งในช่วงท้ายของคำสอนของปัญญาจารย์ในปัญญาจารย์ 12:8[3] "อนิจจัง" ซึ่งเป็นคำสำคัญของหนังสือปัญญาจารย์[3] แปลมาจากคำภาษาฮีบรูว่า הבל, hebel[19] ซึ่งมีความหมายว่า "ความไม่มีสาระ" หรือ "ความไร้แก่นสาร" ในทางรูปธรรมใช้หมายถึง "ควัน", "ไอน้ำ", หรือ "ลมหายใจ" และในเชิงเปรียบเทียบใช้หมายถึง 'สิ่งที่หายวับไปหรือว่องไว' (มีความแตกต่างกันขึ้นกับบริบท)[20] อาจแปลได้ว่า 'ความไร้เหตุผล, ความคับข้องใจ, ความไร้ประโยชน์, ความไร้สาระ'[21] คำนี้ปรากฏ 5 ครั้งในวรรคนี้วรรคเดียวและปรากฏอีก 29 ครั้งในหนังสือปัญญาจารย์[20]
"อนิจจัง อนิจจัง" มาจากความในภาษาฮีบรู: הבל הבלים (habel habalim)[19]
วรรค 3
[แก้]- มนุษย์ได้ประโยชน์อะไรจากการตรากตรำทุกอย่างของเขา
- ซึ่งเขาตรากตรำภายใต้ดวงอาทิตย์นั้น[22]
คำถามเชิงโวหารนี้เป็นไปตามคำกล่าวเกี่ยวกับ "อนิจจัง" และเป็นไปตามการพรรรณนาถึงโลกที่ 'ไม่ยอมรับความพยายามของมนุษย์'[3]
- "ประโยชน์" (ฮีบรู: יתרון, แม่แบบ:Strong-number[23]): คำที่ใช้ในการค้าขาย (โบราณ)[24]
- ทั้งคำนาม "การตรากตรำ" และคำกริยา "ตรากตรำ" มาจากรากศัพท์ภาษาฮีบรู amal (עמל, เป็นคำนามหรือคำกริยา[23]) ที่อาจหมายถึง 'ความพยายามทางกาย' (เปรียบเทียบกับปัญญาจารย์ 2:4 -8; สดุดี 127:1 ) หรือ 'ความหนักหน่วงทางจิตใจและอารมณ์' (เปรียบเทียบกับปัญญาจารย์ 2:3 ; สดุดี 25:18 [24]
วรรค 9
[แก้]วรรค 9 มีคำกล่าวที่เป็นที่รู้จักอย่างดีว่า "ไม่มีสิ่งใดใหม่ภายใต้ดวงอาทิตย์"
วรรค 11
[แก้]- ไม่มีการจดจำถึงคนสมัยก่อน
- และไม่มีการจดจำถึงคนสมัยหลังที่จะเกิดมา
- โดยคนรุ่นต่อมา[25]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความอนิจจังของการแสวงหาปัญญา (วรรค 12–18)
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]- ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: สดุดี 127, ปัญญาจารย์ 12
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ หนังสือปัญญาจารย์ทั้งเล่มหายไปจากฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex) ตั้งแต่การจลาจลต่อต้านชาวยิวในอะเลปโปในปี ค.ศ. 1947[7]
- ↑ 1 พงศ์กษตริย์ 12 บันทึกว่าเรโหโบอัมทรงขอคำแนะนำจากผู้อาวุโสที่เคยรับใช้พระบิดา แล้วปฏิเสธคำแนะนำเหล่านั้นเพราะทรงโปรดคำแนะนำของเหล่าชายหนุุ่มที่เติบโตมาด้วยกันกับพระองค์มากกว่า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Halley 1965, p. 275.
- ↑ Holman Illustrated Bible Handbook. Holman Bible Publishers, Nashville, Tennessee. 2012.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Weeks 2007, p. 423.
- ↑ Jastrow, Morris; Margoliouth, David Samuel (1901–1906). "Ecclesiastes, Book of". ใน Singer, Isidore; และคณะ (บ.ก.). The Jewish Encyclopedia. New York: Funk & Wagnalls.
- ↑ Eaton 1994, pp. 610–611.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 35–37.
- ↑ P. W. Skehan (2003), "BIBLE (TEXTS)", New Catholic Encyclopedia, vol. 2 (2nd ed.), Gale, pp. 355–362
- ↑ Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill. pp. 746. ISBN 9789004181830. สืบค้นเมื่อ May 15, 2017.
- ↑ Dead sea scrolls - Ecclesiastes. Quote: 4QQohb 1:1-14
- ↑ Fitzmyer, Joseph A. (2008). A Guide to the Dead Sea Scrolls and Related Literature. Grand Rapids, MI: William B. Eerdmans Publishing Company. p. 43. ISBN 9780802862419. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019. Quote: 4QQohb 1:10-15.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ ปัญญาจารย์ 1:1 THSV11
- ↑ Hebrew Text Analysis: Ecclesiastes 1:1. Biblehub
- ↑ หมายเหตุ [a] ของปัญญาจารย์ 1:1 ใน ESV
- ↑ Eaton 1994, p. 610.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Eaton 1994, p. 609.
- ↑ ปัญญาจารย์ 1:2 THSV11
- ↑ ปัญญาจารย์ 1:2 Lexham English Bible
- ↑ 19.0 19.1 Hebrew Text Analysis: Ecclesiastes 1:2. Biblehub
- ↑ 20.0 20.1 หมายเหตุ [a] ของปัญญาจารย์ 1:2 ใน ESV
- ↑ หมายเหตุ a ของปัญญาจารย์ 1:2 ใน NKJV
- ↑ ปัญญาจารย์ 1:3 THSV11
- ↑ 23.0 23.1 Hebrew Text Analysis: Ecclesiastes 1:3. Biblehub
- ↑ 24.0 24.1 Eaton 1994, p. 611.
- ↑ ปัญญาจารย์ 1:11 THSV11
บรรณานุกรม
[แก้]- Eaton, Michael A. (1994). "Ecclesiastes". ใน Carson, D. A.; France, R. T.; Motyer, J. A.; Wenham, G. J. (บ.ก.). New Bible Commentary: 21st Century Edition (4, illustrated, reprint, revised ed.). Inter-Varsity Press. pp. 609–618. ISBN 9780851106489.
- Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
- Weeks, Stuart (2007). "20. Ecclesiastes". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 423–429. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คำแปลในศาสนายูดาห์:
- Kohelet – Ecclesiastes - Chapter 1 (Judaica Press) translation [with Rashi's commentary] at Chabad.org
- คำแปลในศาสนาคริสต์:
- Online Bible at GospelHall.org (ESV, KJV, Darby, American Standard Version, Bible in Basic English)
- Ecclesiastes Chapter 1 King James Version
- Ecclesiastes หนังสือเสียงสาธารณสมบัติที่ LibriVox Various versions
- ปัญญาจารย์ 1. ยูเวอร์ชัน