ประเทียบ เทศวิศาล
ประเทียบ เทศวิศาล | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (3 ปี 136 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 บางรัก พระนคร |
เสียชีวิต | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559 (90 ปี 275 วัน) กรุงเทพมหานคร |
ศาสนา | พุทธ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนวัดสุทธิวราราม โรงเรียนนายร้อยทหารบก |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พลเอก |
ผ่านศึก | สงครามเวียดนาม |
พลเอก ประเทียบ เทศวิศาล (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 — 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559) เป็นทั้งอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย, อดีตนายทหาร อดีตหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทย อดีตผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติไทยชุดโอลิมปิกปีพ.ศ. 2511 ที่ประเทศเม็กซิโก และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พล.อ. ประเทียบเกิดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ที่ตำบลบางรัก จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร) เป็นบุตรคนที่ 5 ในบรรดาพี่น้อง 10 คนบิดาชื่อ นายแหวน มารดาชื่อ นางเนื่อง เทศวิศาล
การศึกษา
[แก้]พล.อ. ประเทียบ จบการศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนสาธรสามัญศึกษา ระดับมัธยมที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก (ปัจจุบันคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า) และโรงเรียนช่างเทคนิคทหารบก
ในฐานะนักฟุตบอล
[แก้]ในระหว่างที่รับราชการอยู่ที่กองพลปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานในยุคที่พล.ต. ประเสริฐ รุจิรวงศ์ เป็นผู้บังคับการพลเอกประเทียบในฐานะกัปตันทีม ปตอ. ได้นำทีม ปตอ. คว้าแชมป์ถ้วยน้อยหรือ ฟุตบอลถ้วย ข. ร่วมกับ ทีมตำรวจ เมื่อปี พ.ศ. 2497
ในฐานะผู้ฝึกสอนและผู้จัดการทีม
[แก้]ภายหลังจากแขวนสตั๊ดพล.อ. ประเทียบขณะมียศเป็น"พันตรี"ได้เข้ามาเป็นสภากรรมการบริหารสมาคมและรับตำแหน่งผู้ฝึกสอนเยาวชนทีมชาติไทยในสมัยที่ พล.อ. จำเป็น จารุเสถียร อดีตสมุหราชองครักษ์ เป็นนายกสมาคมโดยรายการแรกในฐานะผู้ฝึกสอนคือรายการเยาวชนชิงแชมป์เอเชียครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2503 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ และอีก 2 ปีต่อมาคือปี พ.ศ. 2505 พล.อ. ประเทียบได้คุมทีมเยาวชนทีมชาติไทยคว้าแชมป์เยาวชนชิงแชมป์เอเชียที่กรุงเทพ เป็นสมัยแรกหลังจากนั้นพลเอกประเทียบได้รับแต่งตั้งให้คุมทีมชาติไทยชุดใหญ่
ในปี พ.ศ. 2508 พล.อ. ประเทียบคุมทีมชาติไทยคว้าแชมป์เซียปเกมส์ หรือซีเกมส์ ครั้งที่ 3 นับเป็นผู้ฝึกสอนชาวไทยคนแรกที่คว้าแชมป์รายการนี้ต่อจากนั้นพลเอกประเทียบได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมชาติไทยชุดโอลิมปิกเมื่อปี พ.ศ. 2511 ที่ประเทศเม็กซิโก โดยมี กึนเทอร์ กลอมบ์ ชาวเยอรมันเป็นผู้ฝึกสอนโดยรายการนี้นับเป็นรายการสุดท้ายที่ พล.อ. ประเทียบเกี่ยวข้องกับวงการฟุตบอลเพราะ พล.อ. ประเทียบได้รับโปรดเกล้าให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกวุฒิสภา
[แก้]พล.อ. ประเทียบ ขณะมียศเป็น"พันเอก"ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2511[1] ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากการปฏิวัติตัวเองของ จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)[4]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.)[5]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2501 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[9]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. 2518 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระบรมราชโองการ แต่งตั้ง สมาชิกวุฒิสภา (จำนวน 120 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 85 ตอน 61 ก พิเศษ หน้า 83 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2511
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๗ สิงหาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๙ มิถุนายน ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2021-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๓๑๙๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๒๒๐๙, ๒๔ กันยายน ๒๕๐๖
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 https://www.facebook.com/AFHT01/photos/pb.100063825795102.-2207520000/245233505871735/?type=3
- ผู้ได้รับเหรียญชัยสมรภูมิ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2468
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2559
- บุคคลจากเขตบางรัก
- บุคคลจากโรงเรียนสาธรสามัญศึกษา
- บุคคลจากโรงเรียนวัดสุทธิวราราม
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ทหารบกชาวไทย
- นักฟุตบอลชายชาวไทย
- นักฟุตบอลจากกรุงเทพมหานคร
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวไทย
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา