ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศตูวาลูในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเทศตูวาลู
ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020
รหัสประเทศTUV
เอ็นโอซีสมาคมกีฬาและคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติตูวาลู
เว็บไซต์www.oceaniasport.com/tuvalu (ในภาษาอังกฤษ)
โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
23 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 (2021-07-23) – 8 สิงหาคม ค.ศ. 2021 (2021-08-08)
นักกีฬา2 คน ใน 1 ชนิดกีฬา
ผู้เชิญธงชาติ (พิธีเปิด)มาตี สแตนลีย์
คาราโล ไมบูกา
ผู้เชิญธงชาติ (พิธีปิด)คาราโล ไมบูกา
เหรียญ
ทอง
0
เงิน
0
ทองแดง
0
รวม
0
การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน (ภาพรวม)

ประเทศตูวาลูเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่โตเกียว ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 8 สิงหาคม 2021 ซึ่งเดิมกำหนดให้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม ถึง 9 สิงหาคม 2020 แต่ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 การเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 4 ติดต่อกันที่ตูวาลูเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 คณะผู้แทนของตูวาลูประกอบด้วยนักวิ่งระยะสั้น คาราโล ไมบูกา และ มาตี สแตนลีย์ ซึ่งทั้งคู่เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกครั้งแรกของตน ทั้งไมบูกาและสแตนลีย์ ไม่สามารถผ่านรอบเบื้องต้นของการแข่งขันได้ แม้ว่าไมบูกาจะทำลายสถิติแห่งชาติของตูวาลูด้วยเวลา 11.42 วินาทีในการแข่งขันวิ่ง 100 เมตรชาย

ภูมิหลัง

[แก้]

ตูวาลูเป็นประเทศที่เป็นเกาะตั้งอยู่ในพอลินีเชียในมหาสมุทรแปซิฟิก เคยเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร และได้รับเอกราชในปี 1978 สมาคมกีฬาตูวาลูและคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติก่อตั้งขึ้นในปี 2004 และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากลในปี 2007[1][2] ตูวาลูเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกในปี 2008 และเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนอีกสองครั้งก่อนการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่เคยได้รับเหรียญโอลิมปิกเลย[3]

เดิมทีโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม ถึง 9 สิงหาคม 2020 แต่ถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 8 สิงหาคม 2021 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[4] สำหรับโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ตูวาลูส่งนักกีฬา 2 คน ซึ่งเป็น 1 ใน 13 ประเทศที่จะเข้าร่วม[5] นักกีฬา ได้แก่ คาราโล ไมบูกา และ มาตี สแตนลีย์ ซึ่งเข้าแข่งขันวิ่ง 100 เมตรชายและหญิงตามลำดับ สแตนลีย์และไมบูกาเป็นผู้เชิญธงชาติทั้งหญิงและชายในพิธีเปิด[6] ในขณะที่ไมบูกาเป็นผู้เชิญธงชาติในพิธีปิด[7]

กรีฑา

[แก้]
Large white stadium against backdrop of a city
กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น ซึ่งใช้จัดการแข่งขันกรีฑา

ตูวาลูได้รับสิทธิ์ในการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิก (โควตาที่อนุญาตให้ประเทศต่างๆ ส่งนักกีฬาได้หากไม่มีนักกีฬาคนใดผ่านการคัดเลือก) จากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล โดยส่งนักกีฬากรีฑา 2 คน ชาย 1 คน หญิง 1 คน ไปแข่งขันโอลิมปิก โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้เลือกส่ง คาราโล ไมบูกา วัย 22 ปี และ มาตี สแตนลีย์ วัย 18 ปี ซึ่งทั้งคู่เพิ่งเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกเป็นครั้งแรก[8][9][10]

ไมบูกาจบอันดับที่ 9 ในรอบคัดเลือกและไม่สามารถผ่านรอบคัดเลือกได้ แต่สร้างสถิติตูวาลูใหม่ด้วยเวลา 11.42 วินาที[11] สแตนลีย์จบอันดับที่ 8 จากนักวิ่ง 9 คนในรอบคัดเลือกและไม่สามารถผ่านรอบคัดเลือกได้ โดยทำเวลาที่ดีที่สุดส่วนตัวได้ 14.52 วินาที[12][13]

ตัวย่อ:
  • หมายเหตุ–อันดับที่กำหนดไว้สำหรับการแข่งขันประเภทลู่จะอยู่ภายในกลุ่มของนักกีฬาเท่านั้น
  • Q = ผ่านเข้ารอบต่อไป
  • q = ผ่านเข้ารอบต่อไปในฐานะผู้แพ้ที่เร็วที่สุด หรือ ในการแข่งขันประเภทลาน โดยพิจารณาจากตำแหน่งโดยไม่บรรลุเป้าหมายการผ่านเข้ารอบ
  • NR = สถิติระดับประเทศ
  • N/A = รอบที่ไม่สามารถแข่งขันได้
  • Bye = นักกีฬาไม่จำเป็นต้องแข่งขันในรอบ
ประเภทลู่และถนน
นักกีฬา รายการ ฮีท ก่อนรองฯ รอบรองฯ ชิงชนะเลิศ
ผล อันดับ ผล อันดับ ผล อันดับ ผล อันดับ
คาราโล ไมบูกา 100 เมตร ชาย 11.42 NR 9 ไม่ได้ผ่านเข้ารอบ
มาตี สแตนลีย์ 100 เมตร หญิง 14.52 8 ไม่ได้ผ่านเข้ารอบ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Tuvalu Association of Sports and National Olympic Committee (TASNOC) | ONOC". www.oceanianoc.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
  2. "Two new National Olympic Committees on board! - Olympic News". International Olympic Committee (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
  3. "Tuvalu at the Olympic Games". www.topendsports.com. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
  4. "Joint Statement from the International Olympic Committee and the Tokyo 2020 Organising Committee". Olympic.org. 24 March 2020. สืบค้นเมื่อ 28 March 2020.
  5. "How many countries are participating at the Tokyo Olympics?". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-26. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
  6. "Tokyo 2020 Opening Ceremony – Flag Bearers" (PDF). Olympic.org.
  7. "Tokyo 2020 Closing Ceremony – Flag Bearers" (PDF). Olympic.org.
  8. "Pacific Pride: Tokyo Olympic Wrap Up Oceania Athletics Association". Oceania Athletics Association (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-08-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
  9. "Karalo Hepoiteloto Maibuca". Tokyo 2020. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2021. สืบค้นเมื่อ 28 July 2021.
  10. "Matie Stanley". Tokyo 2020. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 August 2021. สืบค้นเมื่อ 28 July 2021.
  11. "Karalo Hepoiteloto MAIBUCA | Profile | World Athletics". worldathletics.org. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
  12. "Matie Stanley Profile | World Athletics". worldathletics.org. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
  13. "Tokyo 2020 Day 7: Pacific Athletes - Who to watch today". RNZ. 2021-07-30. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.