ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศอินโดนีเซียในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเทศอินโดนีเซีย
ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020
รหัสประเทศINA
เอ็นโอซีคณะกรรมการโอลิมปิกอินโดนีเซีย
เว็บไซต์www.nocindonesia.id (ในภาษาอินโดนีเซีย)
โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
23 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 (2021-07-23) – 8 สิงหาคม ค.ศ. 2021 (2021-08-08)
นักกีฬา28 คน ใน 8 ชนิดกีฬา
ผู้เชิญธงชาติ (พิธีเปิด)Rio Waida[a]
ผู้เชิญธงชาติ (พิธีปิด)อาสาสมัคร TOCOG[3][4]
เหรียญ
อันดับ 55
ทอง
1
เงิน
1
ทองแดง
3
รวม
5
การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน (ภาพรวม)

ประเทศอินโดนีเซีย เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่โตเกียว ซึ่งเดิมกำหนดให้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม ถึง 9 สิงหาคม 2020 แต่ถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 8 สิงหาคม 2021 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[5] ถือเป็นการเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนของประเทศเป็นครั้งที่ 16

ในการแข่งขันครั้งนี้ อินโดนีเซียส่งนักกีฬาเข้าร่วม 28 คน ซึ่งมีจำนวนใกล้เคียงกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 โดยประกอบด้วยนักกีฬาชาย 16 คนและนักกีฬาหญิง 12 คน แข่งขันใน 8 กีฬา นักกีฬาอินโดนีเซีย 25 คนผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขัน ส่วนนักว่ายน้ำ 2 คนและนักวิ่งระยะสั้นหญิง 1 คนได้รับสิทธิ์ผ่านการคัดเลือกแบบไวลด์การ์ด[6][7] ในครั้งนี้ กีฬาโต้คลื่นได้เปิดตัวในโอลิมปิกเป็นครั้งแรก (ในชนิดกีฬาใหม่) โดย Rio Waida ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้เชิญธงชาติโดยพฤตินัยในพิธีเปิด[8][9]

รายชื่อนักกีฬาอินโดนีเซียมีนักกีฬาโอลิมปิกที่กลับมาเจ็ดคน โดยสามคนในจำนวนนี้กำลังจะเข้าร่วมการแข่งขันครั้งที่สาม ได้แก่ นักลูกขนไก้ Greysia Polii ในกีฬาแบดมินตันหญิงคู่, เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิกในปี 2008 Hendra Setiawan ในกีฬาแบดมินตันชายคู่ พร้อมกับ Hendra Setiawan ซึ่งเป็นคู่หูของเขา, Praveen Jordan นักกีฬาโอลิมปิกสองสมัยในกีฬาแบดมินตันคู่ผสม[10] Eko Yuli Irawan ผู้ได้รับเหรียญทองแดงและเหรียญเงินโอลิมปิกสามสมัยในการยกน้ำหนัก[11] Deni นักกีฬาโอลิมปิกสามสมัยในกีฬายกน้ำหนัก[11] และ Riau Ega Agatha นักกีฬาโอลิมปิกสองสมัยในกีฬายิงธนู[12][13]

อินโดนีเซียคว้าเหรียญรางวัลกลับบ้านจากโตเกียวได้ 5 เหรียญ (1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน และ3 เหรียญทองแดง) ทำให้ยอดเหรียญรางวัลรวมเพิ่มขึ้นจากโอลิมปิกครั้งก่อน Greysia Polii และ Apriyani Rahayu ผู้ชนะการแข่งขันแบดมินตันหญิงคู่[14] เป็นผู้ได้รับเหรียญทองเพียงสองคนของประเทศ ชัยชนะของพวกเธอทำให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่สองต่อจากจีนที่คว้าเหรียญทองในการแข่งขันแบดมินตันในโอลิมปิกทั้ง 5 ประเภท[14][15] ด้วยวัย 33 ปี 356 วัน Polii ยังกลายเป็นนักแบดมินตันหญิงที่อายุมากที่สุดที่ได้รับเหรียญทองโอลิมปิกอีกด้วย[16]

ผู้ที่ได้รับเหรียญรางวัล

[แก้]
เหรียญ ชื่อ กีฬา รายการ วันที่
 ทอง Greysia Polii
Apriyani Rahayu
Badminton Women's doubles 2 ส.ค.
 เงิน Eko Yuli Irawan Weightlifting Men's 61 kg 25 ก.ค.
 ทองแดง Windy Cantika Aisah Weightlifting Women's 49 kg 24 ก.ค.
 ทองแดง Rahmat Erwin Abdullah Weightlifting Men's 73 kg 28 ก.ค.
 ทองแดง Anthony Sinisuka Ginting Badminton Men's singles 2 ส.ค.

ภูมิหลัง

[แก้]

การบริหาร

[แก้]

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2019 โรสลัน โรสลานี ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทีมชาติอินโดนีเซียสำหรับการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนโตเกียว 2020 โดยประธานคณะกรรมการโอลิมปิกอินโดนีเซีย ราชา สัปตา อ็อกโตฮารี[17]

พิธีเปิด

[แก้]

ระหว่างขบวนพาเหรดแห่งชาติโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ผู้ถือธง Rio Waida สวมชุดประจำชาติของบาหลี - Payas Madya เพื่อเป็นตัวแทนของบ้านเกิดปัจจุบันของเขา และรองเท้าแตะทาทามิ เพื่อเป็นตัวแทนของญี่ปุ่นซึ่งเป็นบ้านหลังที่สองของเขาและเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิก[18]

การถ่ายทอดสด

[แก้]
ชื่อ ประเภท อ้างอิง
เอมเทค ฟรีทีวี ชำระเงิน และ OTT [19][20]
ทีวีอาร์ไอ ฟรีทีวี

จำนวนนักกีฬา

[แก้]

จำนวนนักกีฬาในแต่ละชนิดกีฬามีดังต่อไปนี้[21]

กีฬา ชาย หญิง รวม
ยิงธนู 3 1 4
กรีฑา 1 1 2
แบดมินตัน 7 4 11
เรือพาย 0 2 2
ยิงปืน 0 1 1
โต้คลื่นำ 1 0 1
ว่ายน้ำ 1 1 2
ยกน้ำหนัก 3 2 5
รวม 16 12 28

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Originally, surfer Rio Waida and weightlifter Nurul Akmal were named as co-flagbearers for the parade of nations during the opening ceremony.[1] In fact, Rio eventually became the sole flagbearer.[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ayudiana, Syofi; Khairany, Rr. Cornea (8 July 2021). "Rio Waida dan Nurul Akmal akan jadi pembawa bendera di Olimpiade Tokyo" [Rio Waida and Nurul Akmal will be flag bearers at the Tokyo Olympics]. Antara (ภาษาอินโดนีเซีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2021. สืบค้นเมื่อ 23 July 2021.
  2. "Begini Tampilan Kontingen Indonesia dalam upacara Pembukaan Olimiade Tokyo". Tempo.co. 23 July 2021. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021.
  3. "The flagbearers for the Tokyo 2020 Closing Ceremony". Olympics.com. 8 August 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2021. สืบค้นเมื่อ 8 August 2021.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. "Wakil Indonesia Absen di Upacara Penutupan Olimpiade Tokyo 2020, Ini Alasannya". Liputan6.com. 8 August 2021. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
  5. "Joint Statement from the International Olympic Committee and the Tokyo 2020 Organising Committee". International Olympic Committee. 24 March 2020. สืบค้นเมื่อ 28 March 2020.
  6. Ayudiana, Syofi (2021-06-29). Khairany, Rr. Cornea (บ.ก.). "Indonesia kirim 28 atlet ke Olimpiade Tokyo". antaranews.com. สืบค้นเมื่อ 2021-08-05.
  7. Mustikasari, Delia (2021-07-08). "Berangkatkan 28 Atlet pada Olimpiade Tokyo 2020, Indonesia Lebihi Target". Bolasport.com (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-08-05.
  8. Raya, Mercy (2021-07-20). "Antusiasme Rio Waida Tampil Debut di Ajang Olimpiade". detiksport (ภาษาอินโดนีเซีย). detikcom. สืบค้นเมื่อ 2021-08-05.
  9. "Olimpiade Tokyo Resmi Dibuka, Atlet Surfing Rio Waida Pakai Baju Adat Bali Saat Bawa Bendera Indonesia". Asumsi (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 2021-08-05.
  10. Kumar, Prem (10 July 2021). "Road to Tokyo: All About Keeping It Simple". Badminton World Federation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2021. สืบค้นเมื่อ 17 July 2021.
  11. 11.0 11.1 "Five Indonesian Weightlifters Qualify for Tokyo Olympics". Tempo.co. 13 June 2021. สืบค้นเมื่อ 24 June 2021.
  12. Kirshman, Jeff (19 June 2021). "France, Indonesia, USA qualify men's teams to the Olympic Games". World Archery. สืบค้นเมื่อ 21 June 2021.
  13. Wells, Chris. "Japan, DPR Korea into final of first Tokyo 2020 Olympic qualifying event". World Archery. สืบค้นเมื่อ 31 August 2018.
  14. 14.0 14.1 "Indonesia take shock gold in women's doubles badminton, People's Republic of China claim silver". International Olympic Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2021. สืบค้นเมื่อ August 2, 2021.
  15. "Kesabaran Greysia berbuah sejarah manis untuk bulu tangkis Indonesia". Antara (news agency). สืบค้นเมื่อ August 2, 2021.
  16. "Keren, Kak Greysia Polii Pebulu Tangkis Tertua Peraih Emas Olimpiade". Koran Sindo. สืบค้นเมื่อ August 2, 2021.
  17. "Roslan Roeslani Appointed as Chef de Mission for Tokyo 2020". Indonesian Olympic Committee. 31 December 2019. สืบค้นเมื่อ 1 September 2021.
  18. "Bali Traditional clothing in Tokyo Olympics Opening". Tempo. 26 July 2021. สืบค้นเมื่อ 3 September 2021.
  19. Arie Harnoko, Rizqi (6 July 2021). "Emtek Dapat Hak Siar Olimpiade Tokyo 2020 untuk Wilayah Indonesia, Begini Cara Menonton Agar Tidak Diacak". Kabar Besuki (ภาษาอินโดนีเซีย). สืบค้นเมื่อ 6 July 2021.
  20. Ramadhan, Agus (16 July 2021). "Disiarkan TVRI, SCTV dan Indosiar, Berikut Jadwal Lengkap 46 Cabang Olahraga Olimpiade Tokyo 2020". Serambinews.com. สืบค้นเมื่อ 26 July 2021.
  21. "NOC Entries – Team Indonesia". Tokyo 2020 Olympics (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2021. สืบค้นเมื่อ 25 July 2021.