ข้ามไปเนื้อหา

ประตูนรก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประตูนรกชิ้นที่จัดแสดงที่ซือริช

ประตูนรก (ฝรั่งเศส: La Porte de l'Enfer; อังกฤษ: The Gates of Hell) เป็นประติมากรรมกลุ่มขนาดใหญ่ที่สร้างโดยโอกุสต์ รอแด็งประติมากรชาวฝรั่งเศส ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ออร์แซในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส

ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นภาพฉาก “นรกภูมิ” (Inferno) ซึ่งเป็นภูมิแรกของ “ไตรภูมิดันเต” โดยดันเต อาลีกีเอรี มีขนาดสูง 6 เมตร, กว้าง 4 เมตร และ หนา 1 เมตร และประกอบด้วยตัวแบบ 180 ตัว ตัวแบบมีขนาดตั้งแต่ 15 เซนติเมตร จนถึงกว่า 1 เมตร ตัวแบบบางตัวก็นำมาขยายเป็นประติมากรรมชิ้นอิสระโดยรอแด็ง

ประวัติ

[แก้]

ประติมากรรมชิ้นนี้ได้รับการจ้างให้สร้างขึ้นโดยผู้อำนวยการวิจิตรศิลป์เมื่อปี ค.ศ. 1880 ให้สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1885 แต่รอแด็งก็ยังคงทำการสร้างอยู่เป็นพักๆ เป็นเวลา 37 ปี จนกระทั่งมาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1917

แต่พิพิธภัณฑ์ศิลปะตกแต่งก็มิได้รับการสร้างขึ้น งานของรอแด็งชิ้นนี้จึงตั้งอยู่ที่โอแตลบีรง รอแด็งอุทิศประติมากรรมชิ้นนี้, ภาพวาดลายเส้น และ สิทธิในการลอกเลียนในแก่รัฐบาลฝรั่งเศสในบั้นปลายของชีวิต ในปี ค.ศ. 1919 สองปีหลังจากที่รอแด็งเสียชีวิตโอแตลบีรงก็กลายเป็นพิพิธภัณฑ์รอแด็งซึ่งเป็นที่เก็บรักษา “ประตูนรก” และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

แรงบันดาลใจในการสร้าง “ประตูนรก”

[แก้]

การสร้างงานชิ้นใหญ่ขนาด “ประตูนรก” เป็นงานที่ไม่เคยทำกันมาก่อน แต่แรงบันดาลของงานชิ้นนี้มาจากงานประติมากรรม “ประตูสวรรค์” บนบานประตูหอศีลจุ่มซานจิโอวานนิในฟลอเรนซ์ที่สร้างโดยลอเร็นโซ กิเบอร์ติ ประตูสัมริดจากคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีรูปลักษณ์จากพันธสัญญาเดิม แรงบันดาลอีกแรงหนึ่งมาจากมหาวิหารของยุคกลาง ที่บางแห่งมีทั้งงานที่รวมประติมากรรมและประติมากรรมนูนสูงด้วยกัน

รูปลักษณ์ที่เด่น

[แก้]

ประติมากรรมต้นฉบับเหล่านี้ได้รับการขยายและกลายเป็นงานศิลปะชิ้นเอกลักษณ์

  • คนครุ่นคิด” หรือ “กวีฝรั่งเศส: Le Penseur) ตั้งอยู่ตอนบนของประตูเหนือบานประตู การตีความหมายหนึ่งกล่าวว่าเป็นภาพของดันเตมองลงมายังผู้คนในนรกภูมิ อีกความหมายหนึ่งก็ว่าผู้ที่เป็นแบบคือรอแด็งเอง ผู้กำลังครุ่นคิดถึงองค์ประกอบของงาน และบ้างก็เชื่อว่าเป็นภาพของอาดัมครุ่นคำนึงถึงความหายนะต่อมวลมนุษย์ที่ตนเป็นผู้นำมาหลังจากการกระทำบาปครั้งแรก
  • จูบฝรั่งเศส: Le Baiser เดิมเป็นภาพที่เป็นส่วนหนึ่งของประตู เช่นภาพ “ปาโอโลและฟรันเชสกาดารีมีนี” รอแด็งต้องการที่จะแสดงภาพของการเริ่มด้วยความปิติและการสิ้นสุดลงด้วยการถูกลงโทษ แต่ก็นำรูปลักษณ์นี้ออก และกลายมาเป็นประติมากรรมชิ้นที่รู้จักกันว่า “จูบ” เพราะเป็นงานที่แสดงความรู้สึกอันตรงกันข้ามกับรูปลักษณ์อื่นๆ บนบานประตู
  • อูโลลิโนและบุตร” (ฝรั่งเศส: Ugolin et ses enfants) เป็นประติมากรรมที่เป็นภาพของเคานต์ Ugolino della Gherardescaผู้ตามตำนานแล้วกินซากศพลูกของตนเองหลังจากที่ลูกตายจากการอดอาหาร[1] กลุ่มอูโลลิโนต่อมาหล่อเป็นประติมากรรมสัมริดอีกชิ้นหนึ่งในปี ค.ศ. 1882
  • Les trois Ombres” เดิมเป็นประติมากรรมเป็นรูปลักษณ์สามรูปแยกกันในปี ค.ศ. 1899 ต่อมารอแด็งเชื่อมเข้าด้วยกันที่มือ คล้ายกับเวอร์ชันขนาดเล็กกว่า เดิมรูปลักษณ์ชี้ไปที่วลี "Lasciate ogne speranza, voi ch'intrate" (ไทย: สิ้นความหวังจนหมดสิ้น, ท่านผู้ที่เข้ามา ณ ที่นี่)[2]
  • ความรักเทียม” (ฝรั่งเศส: Fugit Amor) ตั้งอยู่บนบานขวาของประตู เป็นประติมากรรมรูปลักษณ์หลายรูปของคนรักที่เป็นสัญลักษณ์ของเพาโลและรูปลักษณ์ฟรานเชสคาดาริมินี ภาพชายรู้จักกันในชื่อ The Prodigial ด้วย
  • ปาโอโลและฟรันเชสกา” (อังกฤษ: Paolo and Francesca) เป็นประติมากรรมที่ตั้งอยู่บนบานซ้ายของประตู ปาโอโลพยายามดึงตัวฟรันเชสกาที่ดูเหมือนจะหลุดลอยไป
  • คำนึง” (อังกฤษ: Meditation) เป็นประติมากรรมที่อยู่ทางขวาสุดของหน้าบันของประตู ที่สร้างเป็นงานชิ้นใหญ่ในปี ค.ศ. 1896
  • ภรรยาสูงอายุ” (อังกฤษ: The Old Courtesan) เป็นประติมากรรมสำริดที่หล่อในปี ค.ศ. 1910 ของสตรีเปลือยสูงอายุ หรือที่เรียกว่า “Celle qui fut la belle heaulmière” (ไทย: เธอผู้ครั้งหนึ่งเป็นภรรยาคนงามของคนทำหมวกเกราะ) ซึ่งเป็นชื่อของบทกวีนิพนธ์โดยฟรองซัวส์ วิลลง
  • ฉันเป็นคนงาม” (ฝรั่งเศส: Je Suis Belle) เป็นประติมากรรมที่หล่อในปี ค.ศ. 1882 เป็นกลุ่มคนกลุ่มที่สองทางด้านขวาสุดของประตู
  • ฤดูใบไม้ผลิอันไม่สิ้นสุด” (อังกฤษ: Eternal Springtime) เป็นประติมากรรมที่หล่อในปี ค.ศ. 1884
  • อาดัมและอีฟ” รอแด็งของทุนเพิ่มขึ้นจากผู้อำนวยการในการสร้างงานประติมากรรมชิ้นนี้ โดยตั้งใจที่จะใช้ขนาบประตูสองข้าง

ที่ตั้ง

[แก้]

พลาสเตอร์ของงานต้นฉบับได้รับการบูรณะในปี ค.ศ. 1917 และตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์รอแด็ง ในปารีส และพลาสเตอร์ที่แสดงขั้นตอนของการพัฒนาของงานตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์รอแด็งในมูดอง และในปี ค.ศ. 1917 เช่นกันก็ได้มีการสร้างหุ่นจำลองของพิมพ์ประติมากรรมสัมริดสำหรับ:

ต่อมาก็ได้มีการหล่อประติมากรรมสัมริดโดยพิพิธภัณฑ์รอแด็งให้แก่สถาบันหลายสถาบันที่รวมทั้ง:

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dante, Inferno, Canto XXXIII
  2. Le Normand-Romain, Antoinette (1999). Rodin:The Gates of Hell. Paris: Musée Rodin. ISBN 2-9014-2869-X.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ “ประตูนรก”