ข้ามไปเนื้อหา

บากูมัตสึ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บะคุมะสึ)

บากูมัตสึ (ญี่ปุ่น: 幕末ทับศัพท์: bakumatsu, "ปลายยุคบากูฟุ") หมายถึง ช่วงปีสุดท้ายของสมัยเอโดะ เมื่อรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะจบสิ้นลง ระหว่างปี ค.ศ. 1853 และ ค.ศ. 1867 ญี่ปุ่นได้ยุตินโยบายต่างประเทศในการแยกอยู่โดดเดี่ยวซึ่งเป็นที่รู้จักกันคือ ซาโกกุ และเปลี่ยนจากระบบศักดินาของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะมาเป็นรัฐบาลเมจิแห่งจักรวรรดิสมัยใหม่ การแบ่งแยกทางอุดมการณ์และการเมืองที่สำคัญในช่วงเวลาสมัยนั้น ระหว่างกลุ่มชาตินิยมที่ให้การสนับสนุนจักรพรรดิที่เรียกกันว่า "อิชินชิชิ" และกองกำลังโชกุน ซึ่งรวมถึงกลุ่มนักดาบชั้นยอดอย่างชินเซ็งงูมิ

แม้ว่าทั้งสองกลุ่มจะเป็นขุมกำลังอำนาจที่มองเห็นได้อย่างชัดมากที่สุด หลายฝ่ายได้พยายามใช้ความโกลาหลของบากูมัตสึเพื่อยึดอำนาจมาไว้กับตนเอง นอกจากนี้ยังมีแรงผลักดันหลักอีกสองประการสำหรับความขัดแย้ง: ประการแรก ความขุ่นเคืองใจที่เพิ่มมากขึ้นในส่วนของโทซามะไดเมียว (หรือขุนนางนอก) และประการที่สอง ความรู้สึกต่อต้านชาติตะวันตกที่เพิ่มขึ้นหลังจากการมาถึงของแมทธิว ซี. เพร์รี ข้อแรกซึ่งเกี่ยวข้องกับขุนนางเหล่านั้นซึ่งได้เคยดำรงตำแหน่งใหญ่โตมาแต่ก่อนได้เข้าต่อสู้รบกับกองกำลังของโทกูงาวะที่ยุทธการที่เซกิงาฮาระในปี ค.ศ. 1600 ภายหลังจากนั้นพวกเขาก็ถูกกีดกันอย่างถาวรจากตำแหน่งที่มีอำนาจทั้งหมดภายในรัฐบาลโชกุน ข้อสองเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงคำขวัญซนโนโจอิ หรือ "เทิดทูนจักรพรรดิ ขับคนป่าเถื่อน" จุดเปลี่ยนของบากูมัตสึคือในช่วงสงครามโบชิงและยุทธการที่โทบะ-ฟูชิมิ เมื่อกองกำลังที่สนับสนุนโชกุนได้พ่ายแพ้

ความไม่ลงรอยเรื่องการต่างประเทศ

[แก้]

พลเรือจัตวาเพอร์รี (1853–54)

[แก้]

ปัญหาทางการเมืองและการก้าวไปสู่ความทันสมัย

[แก้]

แผ่นดินไหว

[แก้]

สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (1858)

[แก้]

วิกฤตการณ์และความขัดแย้ง

[แก้]

วิกฤตทางการเมือง

[แก้]

การโจมตีชาวต่างชาติและกลุ่มผู้สนับสนุน

[แก้]
การโจมตีบุคคลสัญชาติอังกฤษในเอโดะ ค.ศ. 1861

วิกฤตทางเศรษฐกิจและการเงิน

[แก้]
มูลค่าการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น
(1860–1865, สกุลเงินดอลล่าร์เม็กซิโก)[1]
1860 1865
การส่งออก 4.7 ล้าน 17 ล้าน
Iการนำเข้า 1.66 ล้าน 15 ล้าน

โองการ "ขับไล่คนเถื่อน" (ค.ศ. 1863)

[แก้]
ภาพวาดแสดงความคิด โจอิ (攘夷, "ขับคนป่าเถื่อน") ในปี ค.ศ. 1861

การแทรกแซงทางทหารต่อกลุ่มซนโนโจอิ (ค.ศ. 1863–1865)

[แก้]

การแทรกแทรกของสหรัฐอเมริกา (ก.ค. 1863)

[แก้]

การแทรกแซงของฝรั่งเศส (ส.ค. 1863)

[แก้]

การโจมตีเมืองคะโงะชิมะ (ส.ค. 1863)

[แก้]
ภาพมุมสูงของการยิงถล่มเมืองคะโงะชิมะโดยราชนาวีอังกฤษ, 15 สิงหาคม ค.ศ. 1863 ภาพจากหนังสือพิมพ์ Le Monde Illustré

จากความไม่พอใจชาวตะวันตกที่ลุกลามไปทั้งประเทศ ทำให้มีการตรา "โองการขับไล่คนเถื่อน" ขึ้น และญี่ปุ่นเริ่มการขับไล่โดยการเข้าโจมตีกองเรือสินค้าของชาติตะวันตกที่ผ่านช่องแคบชิโมะโนะเซะกิ ทำให้บรรดาชาติตะวันตกนำโดยราชนาวีอังกฤษทำการตอบโต้ญี่ปุ่น

การยับยั้งกบฏแคว้นมิโตะ (พ.ย. 1864)

[แก้]
กองทัพรัฐบาลโชกุนเคลื่อนพลไปปราบกบฏแคว้นมิโตะในปี ค.ศ. 1864

กบฏแคว้นโชชู

[แก้]

การโจมตีเมืองท่าชิโมะโนะเซะกิ (ก.ย. 1864)

[แก้]
การยิงถล่มชิโมะโนะเซะกิ, ค.ศ. 1863–1864

สนธยาแห่งรัฐบาลโชกุน

[แก้]

การปราบโชชูครั้งที่ 2 (มิ.ย. 1866)

[แก้]

การปรับปรุงและก้าวไปสู่ความทันสมัย

[แก้]

สงครามโบะชิง

[แก้]

จากการที่กลุ่มขุนนางและซะมุไรในราชสำนักซึ่งเดิมไม่พอใจนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ สามารถขึ้นมามีอิทธิพลจนสามารถควบคุมราชสำนักไว้ได้อย่างมั่นคง ภายใต้รัชสมัยใหม่ของจักรพรรดิเมจิ ทำให้ โทกูงาวะ โยะชิโนะบุ ผู้ดำรงตำแหน่งโชกุนในเวลานั้น ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ของตน จึงได้สละตำแหน่งและถวายพระราชอำนาจการปกครองคืนแก่องค์จักรพรรดิ โดยหวังไว้ว่าการกระทำดังกล่าวของตนจะช่วยรักษาตระกูลโทกูงาวะ และเปิดทางให้คนในตระกูลเข้าไปมีส่วนร่วมในรัฐบาลชุดใหม่

อย่างไรก็ตาม กลุ่มขุนนางก็ไม่เปิดทางให้โทกุงะวะขึ้นมามีอำนาจอีก ทำให้การเมืองในยุคนั้นถูกแบ่งเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายตระกูลโทกูงาวะ และฝ่ายราชสำนัก และในไม่ช้าก็มีพระบรมราชโองการให้แคว้นซะสึมะและแคว้นโชชูล้มล้างตระกูลโทกูงาวะ ได้ทำให้โยะชิโนะบุต้องเปิดฉากการรบเพื่อยึดราชสำนักของจักรพรรดิที่นครหลวงเคียวโตะ แต่ด้วยกองทัพที่ทันสมัยของราชสำนักทำให้ฝ่ายโทกูงาวะต้องล่าถอยขึ้นไปทางเหนือที่เกาะฮกไกโด ณ ที่นั่นฝ่ายโทกูงาวะได้สถาปนาสาธารณรัฐเอะโสะ ในที่สุด กองทัพของราชสำนักก็สามารถพิชิตฮกไกโดได้ และทำให้อำนาจการปกครองในญี่ปุ่นรวมศูนย์อยู่ที่ราชสำนักอย่างแท้จริง

ดูเพิ่ม

[แก้]

บุคคลสำคัญ

[แก้]

บุคคลสำคัญในระดับรองของยุค:

Matsudaira Yoshinaga, Date Munenari, Yamanouchi Toyoshige and Shimazu Nariaki are collectively referred to as Bakumatsu no Shikenkō ญี่ปุ่น: 幕末の四賢侯.

ผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติ:

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ที่มา: The Emergence of Meiji Japan, Marius B. Jansen, p.175.

อ้างอิง

[แก้]
  • Dower, John W. "Yokohama Boomtown: Foreigners in Treaty-Port Japan (1859–1872)".
  • Hillsborough, Romulus. Shinsengumi: The Shōgun's Last Samurai Corps. North Clarendon, Vermont: Tuttle Publishing, 2005. ISBN 0-8048-3627-2.
  • Ravina, Mark. Last Samurai: The Life and Battles of Saigo Takamori. Hoboken, N.J.: John Wiley & Sons, 2004. ISBN 0-471-08970-2.
  • Mark Metzler (2006). Lever of empire: the international gold standard and the crisis of liberalism in prewar Japan. University of California Press. ISBN 0-520-24420-6.
  • Satow, Ernest. 2006 A Diplomat in Japan Stone Bridge Classics, ISBN 978-1-933330-16-7
  • Cullen, Louis M. A history of Japan 1582–1941: internal and external worlds (2003 ed.). Cambridge University Press. ISBN 0-521-52918-2. – Total pages: 357
  • Jansen Marius B. The Emergence of Meiji Japan (when ed.). Cambridge University Press. ISBN 0-521-48405-7. – Total pages: 351
  • ______________. The making of modern Japan (2002 ed.). Harvard University Press. ISBN 0-674-00991-6.{{cite book}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) – Total pages: 871
  • Denney, John. Respect and Consideration: Britain in Japan 1853 - 1868 and beyond. Radiance Press (2011). ISBN 978-0-9568798-0-6

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]