ข้ามไปเนื้อหา

คิโดะ ทากาโยชิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คิโดะ ทะกะโยะชิ)
คิโดะ ทากาโยชิ
木戸 孝允
เกิด11 สิงหาคม ค.ศ. 1833(1833-08-11)
แคว้นโชชู ญี่ปุ่น
เสียชีวิต26 พฤษภาคม ค.ศ. 1877(1877-05-26) (43 ปี)
เกียวโต ญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
ชื่ออื่นคิโดะ โคอิน
คัตสึระ โคโงโร (桂 小五郎)
นีโบริ มัตสึซูเกะ (新堀 松輔)
คิโดะ ทากาโยชิ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ木戸 孝允
ฮิรางานะきど たかよし
การถอดเสียง
โรมาจิKido Takayoshi

คิโดะ ทากาโยชิ (ญี่ปุ่น: 木戸 孝允โรมาจิKido Takayoshiทับศัพท์: きど たかよし; สามารถอ่านได้อีกอย่างว่า "คิโดะ โคอิน" (Kido Kōin), 11 สิงหาคม ค.ศ. 183326 พฤษภาคม ค.ศ. 1877) เป็นรัฐบุรุษของญี่ปุ่นในช่วงยุคบากูมัตสึและยุคเมจิ ในช่วงที่เขาทำงานต่อต้านรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เขาใช้ชื่อปลอมว่า "นีโบริ มัตสึซูเกะ" (ญี่ปุ่น: 新堀 松輔ทับศัพท์: Niibori Matsusuke)

ปฐมวัย

[แก้]

คิโดะเกิดที่เมืองฮางิ แคว้นโชชู (ปัจจุบันคือจังหวัดยามางูจิ บนเกาะฮนชู) ประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นบุตรคนสุดท้องของวาดะ มาซากาเงะ ผู้เป็นซามูไรและนายแพทย์ เมื่อมีอายุได้ 7 ปี ตระกูลคัตสึระได้รับเขาเป็นบุญธรรม และใช้ชื่อว่า "คัตสึระ โคโงโร" (ญี่ปุ่น: 桂 小五郎ทับศัพท์: Katsura Kogorō) ไปจนถึง ค.ศ. 1865 ในวัยเด็กนั้นเข้าได้รับการศึกษาจากสำนักเรียนของโยชิดะ โชอิน ซึ่งเป็นผู้ปลูกความคิดเรืองความจงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิให้แก่คิโดะ

ในปี ค.ศ. 1852 คิโดะได้เดินทางไปยังนครเอโดะเพื่อศึกษาวิชาดาบเพิ่มเติม และเริ่มติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มซามูไรหัวรุนแรงจากแคว้นมิโตะ ศึกษาวิชาการปืนใหญ่กับเองาวะ ทาโรซาเอมง และเดินทางกลับแคว้นโชชูเพื่อควบคุมการสร้างเรือรบแบบตะวันตกลำแรกของทางแคว้น หลังจากได้สังเกตการต่อเรือเดินทะเลแบบตะวันตกที่เมืองท่านางาซากิและชิโมดะ

โค่นล้มรัฐบาลโชกุน

[แก้]

หลังปี ค.ศ. 1858 คิโดะได้มาประจำอยู่ที่เรือนพำนักของแคว้นโชชูในเอโดะ ทำหน้าที่ในฐานะผู้ประสานงานระหว่างคณะผู้บริหารแคว้นกับกลุ่มซามูไรหัวรุนแรงชั้นผู้น้อยในแคว้นโชชูซึ่งสนับนุนแนวคิดซนโนโจอิ เมื่อถูกทางรัฐบาลโชกุนสงสัยในความสัมพันธ์ที่มีต่อกลุ่มซามูไรแห่งแคว้นมิโตะซึ่งภักดีต่อองค์พระจักรพรรดิหลังเกิดเหตุการณ์พยายามลอบสังหารอันโด โนบูมาซะ เขาจึงถูกย้ายให้ไปประจำที่กรุงเกียวโต อย่างไรก็ตาม ในขณะที่อยู่เกียวโตนั้นเขาไม่สามารถยับยั้งการยึดอำนาจโดยกองกำลังของแคว้นไอซุและแคว้นซัตสึมะในวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1863 ได้ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้กองกำลังของแคว้นโชชูต้องถูกขับออกจากพระนครหลวงไป คิโดะได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนการพยายามทวงอำนาจคืนของแคว้นโชชูในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1864 แต่ล้มเหลว ทำให้เขาจำต้องหนีไปซ่อนตัวโดยความช่วยเหลือของเกอิชาชื่อ "อิกูมัตสึ" ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภรรยาของเขา

ภายหลังเมื่องกลุ่มซามูไรหัวรุนแรงภายใต้การนำของทากาซูงิ ชินซากุ สามารถควบคุมอำนาจทางการเมืองในแคว้นโชชูได้ คิโดะได้กลายเป็นตัวจักรสำคัญในการสร้างพันธมิตรซัตโจระหว่างแคว้นโชชูกับแคว้นซัตสึมะ อันเป็นการยกระดับความขัดแย้งจนนำไปสู่สงครามโบะชิงและการปฏิรูปเมจิตามลำดับ

รัฐบุรุษในยุคเมจิ

[แก้]
คิโดะในเครื่องแต่งกายแบบชาวตะวันตก

ผลจากความสำเร็จในการโค่นล้มรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ ทำให้คิโดะกล่าวอ้างว่าตนมีบทบาทอย่างยิ่งในการก่อตั้งรัฐบาลเมจิขึ้นใหม่ ในฐานะของ "ซังโย" หรือองคมนตรีแห่งพระจักรพรรดิ เขาได้ช่วยเหลือในการร่างคำปฏิญาณห้าประการ (ญี่ปุ่น: 五箇条の御誓文ทับศัพท์: Gokajō no Goseimon; ; Five Charter Oath) และริเริ่มนโยบายการรวมศุนย์อำนาจสู่รัฐบาลการและการเปลี่ยนแปลงไปสูความทันสมัย โดยมีส่วนร่วมโดยตรงในการยกเลิกระบบแว่นแคว้นของประเทศญี่ปุ่น

ในปี ค.ศ. 1871 คิโดะได้เข้าร่วมคณะการทูตอิวากูระ (Iwakura Mission) ในการเดินทางรอบโลกสู่สหรัฐอเมริกาและยุโรป เขาสนใจเป็นพิเศษในระบบการศึกษาและระบบการเมืองของชาวตะวันตก ในระหว่างการเดินทางกลับสู่ญี่ปุ่น เขาได้กลายเป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันในการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และด้วยความที่ตระหนักว่าญี่ปุ่นในเวลานั้นยังไม่อาจท้าทายใด ๆ ต่อมหาอำนาจตะวันตกได้ สาเหตุของการเดินทางกลับในครั้งนั้นของคิโดะจึงได้แก่การยับยั้งความคิดในการรุกรานเกาหลี ซึ่งกำลังเป็นประเด็นอภิปรายทางการเมืองอย่างเผ็ดร้อนในครั้งนั้นด้วยอีกประการหนึ่ง

คิโดะได้สูญเสียตำแหน่งในกลุ่มคณาธิปไตยเมจิให้แก่โอกูโบะ โทชิมิจิ และลาออกจากรัฐบาลเพื่อเป็นการประท้วงการรุกรานไต้หวันใน ค.ศ. 1874 ซึ่งเข้าได้แสดงท่าทีคัดค้านอย่างมาก แต่ต่อมาได้กลับเข้าร่วมรัฐบาลอีกครั้งตามผลการตกลงในการประชุมที่โอซากะในปี ค.ศ. 1875 และเป็นประธานของสภาผู้ว่าราชการจังหวัด (Assembly of Prefectural Governors) ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นจากการประชุมดังกล่าว นอกจากนี้ยังเป็นผู้รับผิดชอบในการถวายการศึกษาแก่จักรพรรดิเมจิผู้ยังทรงพระเยาว์

คิโดะ ทากาโยชิ เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1877 ด้วยโรคภัยไข้เจ็บซึ่งเบียดเบียนมานานปี ในเวลานั้นเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับกบฏซัตสึมะ

มรดกจากคิโดะ

[แก้]

บันทึกส่วนตัวของคิโดะ ได้เปิดเผยถึงความขัดแย้งในความคิดของเขา ระหว่างความภักดีต่อแว่นแคว้นของตนกับความภักดีต่อผลประโยชน์ของชาติซึ่งเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า บ่อยครั้งเขาจะบันทึกถึงเรื่องการต่อสู้กับข่าวเรื่องการทรยศหักหลังต่อเพื่อนเก่าของตน ทั้งนี้เนื่องจากอุดมคติเรื่องความเป็นรัฐชาติในเวลานั้นยังเป็นเรื่องใหม่ และซามูไรส่วนใหญ่มักเป็นห่วงถึงเรื่องการรักษาสถานะของตนภายในแว่นแคว้นของตนเอง

คิโดะถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสามขุนนางผู้ยิ่งใหญ่ (ญี่ปุ่น: 維新の三傑โรมาจิIshin-no-Sanketsuทับศัพท์: อิชิน โนะ ซังเก็ตสึ) ร่วมกับโอกูโบะ โทชิมิจิ และไซโง ทากาโมริ หลานปู่ของเขาคนหนึ่ง คือ คิโดะ โคอิจิ (ญี่ปุ่น: 木戸幸一) ได้เป็นนักการเมืองของกรุงโตเกียวและที่ปรึกษาผู้ใกล้ชิดของจักรพรรดิโชวะ

อ้างอิง

[แก้]
  • The Diary of Kido Takayoshi. Volume I (1868–1871), Volume II (1871–1874), Volume III (1874–1877). Trans. Sidney DeVere Brown and Akiko Hirota. Tokyo: University of Tokyo Press, 1983, 1985, 1986
  • Akamatsu, Paul. Meiji 1868: Revolution and Counter-Revolution in Japan. Trans. Miriam Kochan. New York: Harper & Row, 1972.
  • Beasley, W. G. The Meiji Restoration. Stanford: Stanford University Press, 1972.
  • Beasley, W. G. The Rise of Modern Japan: Political, Economic and Social Change Since 1850. New York: St. Martin's Press, 1995.
  • Craig, Albert M. Chōshū in the Meiji Restoration. Cambridge: Harvard University Press, 1961.
  • Jansen, Marius B. and Gilbert Rozman, eds. Japan in Transition: From Tokugawa to Meiji. Princeton: Princeton University Press, 1986.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]