ชาดก
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
ชาดก (บาลี: जातक) คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก
ชาดกที่ทรงเล่านั้นมีหลายร้อยเรื่อง ว่าทรงเคยเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ 10 ชาติสุดท้ายที่เรียกว่าทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า มหาเวสสันดรชาดก
ความหมายของชาดก
[แก้]คำว่า ชาตก หรือ ชาดก แปลว่า ผู้เกิด มีรากคำมาจากธาตุ (Root) ว่า ชนฺ ธาตุ แปลว่า “เกิด” แปลง ชนฺ ธาตุเป็นชา ลง -ต ปัจจัยในกิริยากิตก์ -ต ปัจจัยตัวนี้กำหนดให้แปลว่า “แล้ว” มีรูปคำเป็น “ชาต” แปลว่า เกิดแล้ว เสร็จแล้วให้ลง -ณฺวุ ปัจจัยในนามกิตก์ (ผู้...) ต่อท้ายอีกสำเร็จรูปเป็น “ชาดก” อ่านออกเสียงตามบาลีสันสกฤตว่า “ชา-ตะ-กะ” แปลว่าผู้เกิดแล้ว เมื่อนำคำนี้มาใช้ในภาษาไทย เราออกเสียงเป็น ชาดก โดยแปลง ต เป็น ด และให้ ก เป็นตัวสะกดในแม่กก
ในความหมาย คือเล่าถึงการที่พระโพธิสัตว์เวียนว่ายตายเกิด ถือเอากำเนิดในชาติต่าง ๆ ได้พบปะผจญกับเหตุการณ์ดีบ้างชั่วบ้าง แต่ก็ได้พยายามทำความดีติดต่อกันมากบ้างน้อยบ้างตลอดมา จนเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย กล่าวอีกอย่างหนึ่ง จะถือว่า เรื่องชาดก เป็นวิวัฒนาการแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดีของพระโพธิสัตว์อยู่ก็ได้ ในอรรถกถาแสดงด้วยว่า ผู้นั้นผู้นี้กลับชาติมาเกิดเป็นใครในสมัยพระพุทธเจ้า แต่ในบาลีพระไตรปิฎกกล่าวถึงเพียงบางเรื่อง เพราะฉะนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่คุณงามความดีและอยู่ที่คติธรรมในนิทานนั้น ๆ
ประเภทชาดก
[แก้]ชาดกมี 2 ประเภท คือ
1. ชาดกนิบาต ชาดกในนิบาต หรือที่เรียกว่า นิบาตชาดก หมายถึงชาดกทั้ง 547 เรื่องที่มีอยู่ในคัมภีร์ขุททกนิกายของพระสุตตันตปิฎก ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี นิบาตชาดกแต่งเป็นคาถาคือฉันทลักษณ์ล้วน ๆ โดยจะมีการแต่งขยายความเป็นร้อยแก้วคือรูปแบบคาถาสุภาษิต เหตุที่เรียกว่า นิบาตชาดก ก็เพราะว่า ชาดกในพระไตรปิฎกนี้จะถูกจัดหมวดหมู่ตามจำนวนคาถา มีทั้งหมด 22 หมวด หรือ 22 นิบาต นิบาตสุดท้ายคือ นิบาตที่ 22 ประกอบด้วยชาดก 10 เรื่อง หรือที่เรียกว่า "ทศชาติชาดก"
พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 ซึ่งเป็น สุตตันตปิฎกเล่มที่ 19 จัดไว้เป็น ขุททกนิกายชาดก ภาค 1 พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 นี้นั้น เป็นภาคแรกของชาดก ได้กล่าวถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะเป็นนิทานสุภาษิต แต่ในตัวพระไตรปิฎกไม่มีเล่าเรื่องไว้ มีแต่คำสุภาษิต รวมทั้งคำโต้ตอบในนิทาน ซึ่งถ้าอ่านแล้วจะยังไม่ทราบเนื้อเรื่องตัวละครความเป็นมาของคาถาสุภาษิตนั้น ถ้าต้องการทราบเนื้อเรื่องตัวละครความเป็นมาโดยละเอียด จะต้องศึกษาในชาตกัฏฐกถาหรืออรรถกถาชาดก คือหนังสือที่แต่งขึ้นอธิบายพระไตรปิฎกอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีความยาวมาก มีถึง 10 เล่ม แต่แม้เช่นนั้นก็มีชาวต่างประเทศแปลและพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษไว้เรียบร้อยแล้ว รวม 6 เล่มใหญ่ คือฉบับมหาวิทยาลัย เคม บริดจ์ พิมพ์ครั้ง แรกเมื่อ ค. ศ. 1895 คือ 80 ปีเศษมาแล้ว[1]
อนึ่งเป็นที่ทราบกันว่าชาดกทั้งหมดมี 550 เรื่อง แต่เท่าที่ได้ลองนับดูแล้วปรากฏว่า
ในเล่มที่ 27 มี 525 เรื่อง ในเล่มที่ 28 มี 22 เรื่อง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น 547 เรื่อง ขาดไป 3 เรื่อง แต่การขาดไปนั้น น่าจะเป็นด้วยในบางเรื่องมีนิทานซ้อนนิทาน และไม่ได้นับเรื่องซ้อนแยกออกไปก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม จำนวนที่นับได้ จัดว่าใกล้เคียงมาก
- พระไตรปิฎกเล่มที่ 27 อันเป็นสุตตันตปิฎกเล่มที่ 19 จัดไว้เป็นขุททกนิกายชาดก ภาค 1 เป็นเล่มที่รวมเรื่องชาดกที่เล็ก ๆ น้อย ๆ รวมกันถึง 525 เรื่อง
- พระไตรปิฎกเล่มที่ 28 อันเป็นสุตตันตปิฎกเล่มที่ 20 จัดไว้เป็นขุททกนิกายชาดก ภาค 2 ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 28 นี้มีเพียง 22 เรื่อง เพราะเป็นเรื่องยาว ๆ ทั้งนั้น โดย 12 เรื่องแรกเป็นเรื่องที่มีคำฉันท์ ส่วน 10 เรื่องหลัง คือเรื่องที่เรียกว่า มหานิบาตชาดก แปลว่า ชาดกที่ชุมนุมเรื่องใหญ่ หรือที่โบราณเรียกว่า ทศชาติ
2. ชาดกนอกนิบาต หมายถึง ชาดกที่ไม่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎก เป็นชาดกที่ภิกษุชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมเรื่องราวมาจากนิทานพื้นบ้านไทยมาแต่งเป็นชาดก ขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2000-2200 ชาดกนี้เรียกอีกชื่อว่า "ปัญญาสชาดก"แปลว่า ชาดก 50 เรื่อง[2] และรวมกับเรื่องในปัจฉิมภาคอีก 11 เรื่อง[3] รวมเป็น 61 เรื่อง
นิบาตชาดก
[แก้]เป็นเรื่องชาดกที่ปรากฏในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ในส่วนพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก มีทั้งหมด 547 เรื่อง ปรากฏในเล่มที่ 27 มี 525 เรื่อง ในเล่มที่ 28 มี 22 เรื่อง รวมทั้งสิ้นจึงเป็น 547 เรื่อง ซึ่งจำแนกในแต่ละหมวด แต่ละเรื่องได้ คือ
เล่มที่ 27 ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1
[แก้]- เอกกนิบาตชาดก
- 1.อปัณณกวรรค หมวดว่าด้วยการปฏิบัติไม่ผิด 10 เรื่อง
- 1.ปัณณิกชาดก 2.วัณณุปถชาดก: เก็บถาวร 2010-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 3.เสริววาณิชชาดก 4.จูฬเสฏฐิชาดก 5.ตัณฑุลนาฬิชาดก: ราคาข้าวสาร[ลิงก์เสีย] 6.เทวธัมมชาดก 7.กัฏฐหาริชาดก 8.คามณิชาดก 9.มฆเทวชาดก:บวชเพราะผมหงอก เก็บถาวร 2016-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 10.สุขวิหาริชาดก
- 2.สีลวรรค หมวดว่าด้วยศีล 10 เรื่อง
- 1.ลักขณชาดก 2.นิโครธมิคชาดก 3.กัณฑิชาดก 4.วาตมิคชาดก 5.ขราทิยชาดก 6.ติปัลลัตถมิคชาดก 7.มาลุตชาดก 8.มตกภัตตชาดก 9.อายาจิตภัตตชาดก 10.นฬปานชาดก
- 3.กุรุงควรรค หมวดว่าด้วยกวาง 10 เรื่อง
- 1.กุรุงคมิคชาดก 2.กุกกุรชาดก 3.โภชาชานียชาดก 4.อาชัญญชาดก 5.ติตถชาดก 6.มหิฬามุขชาดก 7.อภิณหชาดก 8.นันทิวิสาลชาดก 9.กัณหชาดก 10.มุนิกชาดก
- 4.กุลาวกวรรค หมวดว่าด้วยลูกนกครุฑ 10 เรื่อง
- 1.กุลาวกชาดก 2.นัจจชาดก 3.สัมโมทมานชาดก 4.มัจฉชาดก 5.วัฏฏกชาดก 6.สกุณชาดก 7.ติตติรชาดก 8.พกชาดก[4] 9.นันทชาดก 10.ขทิรังคารชาดก
- 5.อัตถกามวรรค หมวดว่าด้วยผู้ใคร่ประโยชน์ 10 เรื่อง
- 1. โลสกชาดก 2. กโปตกชาดก 3. เวฬุกชาดก 4. มกสชาดก 5. โรหิณีชาดก 6. อารามทูสกชาดก 7. วารุณิทูสกชาดก 8. เวทัพพชาดก 9. นักขัตตชาดก 10. ทุมเมธชาดก
- 6. อาสิงสวรรค หมวดว่าด้วยความหวัง 10 เรื่อง
- 1. มหาสีลวชาดก 2. จูฬชนกชาดก 3. ปุณณปาติชาดก 4. ผลชาดก 5. ปัญจาวุธชาดก 6. กัญจนขันธชาดก 7. วานรินทชาดก 8. ตโยธรรมชาดก 9. เภริวาทชาดก 10. สังขธมนชาดก
- 7. อิตถีวรรค หมวดว่าด้วยหญิง 10 เรื่อง
- 1. อาสาตมันตชาดก 2. อัณฑภูตชาดก 3. ตักกชาดก 4. ทุราชานชาดก 5. อนภิรติชาดก 6. มุทุลักขณชาดก 7. อุจฉังคชาดก 8. สาเกตชาดก 9. วิสวันตชาดก 10. กุททาลชาดก
- 8. วรุณวรรค หมวดว่าด้วยไม้กุ่ม 10 เรื่อง
- 9. อปายิมหวรรค หมวดว่าด้วยการดื่มสุรา 10 เรื่อง
- 10. ลิตตวรรค หมวดว่าด้วยลูกสกาเคลือบยาพิษ 10 เรื่อง
- 11. ปโรสตวรรค หมวดว่าด้วยคนเกินร้อย 10 เรื่อง
- 12. หังสิวรรค หมวดว่าด้วยการเยาะเย้ย 10 เรื่อง
- 13. กุสนาฬิวรรค หมวดว่าด้วยกอหญ้า 10 เรื่อง
- 14. อสัมปทานวรรค หมวดว่าด้วยการไม่รับสิ่งของ 10 เรื่อง
- 15. กกัณฏกวรรค หมวดว่าด้วยกิ้งก่า 10 เรื่อง
- 1.อปัณณกวรรค หมวดว่าด้วยการปฏิบัติไม่ผิด 10 เรื่อง
- ทุกนิบาตชาดก
- 1. ทัฬหวรรค หมวดว่าด้วยความกระด้าง 10 เรื่อง
- 2. สันถววรรค หมวดว่าด้วยความสนิทสนม 10 เรื่อง
- 3. กัลยาณวรรค หมวดว่าด้วยกัลยาณธรรม 10 เรื่อง
- 4. อสทิสวรรค หมวดว่าด้วยอสทิสกุมาร 10 เรื่อง
- 5. รุหกวรรค หมวดว่าด้วยรุหกปุโรหิต 10 เรื่อง
- 6. นตังทัฬหวรรค หมวดว่าด้วยเครื่องผูกที่มั่นคง 10 เรื่อง
- 7. พีรณถัมภกวรรค หมวดว่าด้วยป่าช้าพีรณถัมภกะ 10 เรื่อง
- 8. กาสาววรรค หมวดว่าด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ 10 เรื่อง
- 9. อุปาหนวรรค หมวดว่าด้วยอุปมาด้วยรองเท้า 10 เรื่อง
- 10. สิงคาลวรรค หมวดว่าด้วยสุนัขจิ้งจอก 10 เรื่อง
- ติกนิบาตชาดก
- 1. สังกัปปวรรค หมวดว่าด้วยความดำริ 10 เรื่อง
- 2. ปทุมวรรค หมวดว่าด้วยดอกบัว 10 เรื่อง
- 3. อุทปานวรรค หมวดว่าด้วยบ่อน้ำ 10 เรื่อง
- 4. อัพภันตรวรรค หมวดว่าด้วยผลไม้ทิพย์ชื่ออัพภันตระ 10 เรื่อง
- 5. กุมภวรรค หมวดว่าด้วยหม้อสมบัติ 10 เรื่อง
- จตุกกนิบาตชาดก
- 1. กาลิงควรรค หมวดว่าด้วยพระเจ้ากาลิงคะ 10 เรื่อง
- 2. ปุจิมันทวรรค หมวดว่าด้วยไม้สะเดา 10 เรื่อง
- 3. กุฏิทูสกวรรค หมวดว่าด้วยการประทุษร้ายรัง 10 เรื่อง
- 4. โกกิลวรรค หมวดว่าด้วยลูกนกดุเหว่า 10 เรื่อง
- 5. จูฬกุณาลวรรค หมวดว่าด้วยนกกุณาละหมวดสั้น 10 เรื่อง
- ปัญจกนิบาตชาดก
- 1. มณิกุณฑลวรรค หมวดว่าด้วยต่างหูแก้วมณี 10 เรื่อง
- 2. วัณณาโรหวรรค หมวดว่าด้วยมีผิวพรรณต่างกัน 10 เรื่อง
- 3. อัฑฒวรรค หมวดว่าด้วยชาดกมีครึ่งวรรค 5 เรื่อง
- ฉักกนิบาตชาดก
- 1. อวาริยวรรค หมวดว่าด้วยบิดาของนางอวาริยา 10 เรื่อง
- 2. ขรปุตตวรรค หมวดว่าด้วยม้าเกิดแต่ลา 10 เรื่อง
- สัตตกนิบาตชาดก
- 1. กุกกุวรรค หมวดว่าด้วยมาตราวัดศอก 10 เรื่อง
- 2. คันธารวรรค หมวดว่าด้วยคันธารดาบส 11 เรื่อง
- อัฏฐกนิบาตชาดก
- 1.กัจจานิวรรค หมวดว่าด้วยนางกัจจานี 10 เรื่อง
- 1. กัจจานิชาดก 2. อัฏฐสัททชาดก 3. สุลสาชาดก 4. สุมังคลชาดก 5. คังคมาลชาดก 6. เจติยราชชาดก 7. อินทริยชาดก 8. อาทิตตชาดก 9. อัฏฐานชาดก 10. ทีปิชาดก
- 1.กัจจานิวรรค หมวดว่าด้วยนางกัจจานี 10 เรื่อง
- นวกนิบาตชาดก 12 เรื่อง
- 1. คิชฌชาดก 2. โกสัมพิยชาดก 3. มหาสุวราชชาดก 4. จุลลสุวกราชชาดก 5. หริตจชาดก 6. ปทกุศลมาณวชาดก 7. โลมสกัสสปชาดก 8. จักกวากชาดก 9. หลิททราคชาดก 10. สมุคคชาดก 11. ปูติมังสชาดก 12. ทัททรชาดก
- ทสกนิบาตชาดก 16 เรื่อง
- 1. จตุทวารชาดก ว่าด้วยเมืองมี 4 ประตู
- เอกาทสกนิบาตชาดก 9 เรื่อง
- 1. มาตุโปสกชาดก ว่าด้วยพญาช้างเลี้ยงมารดา
- ทวาทสนิบาตชาดก 10 เรื่อง
- 1. จูฬกุณาลชาดก ว่าด้วยนกดุเหว่าจูฬกุณาละ
- เตรสนิบาตชาดก 10 เรื่อง
- 1. อัมพชาดก ว่าด้วยมนต์เสกมะม่วง
- ปกิณณกนิบาตชาดก 13 เรื่อง
- 1. สาลิเกทารชาดก ว่าด้วยนกแแขกเต้าเลี้ยงพ่อแม่
- วิสตินิบาตชาดก 14 เรื่อง
- 1. มาตังคชาดก ว่าด้วยอานุภาพของฤๅษีมาตังคะ
- ติงสตินิบาตชาดก 10 เรื่อง
- 1. กิงฉันทชาดก ว่าด้วยดาบสผู้มีความพอใจอะไร
- จัตตาฬีสนิบาตชาดก 5 เรื่อง
- 1. เตสกุณชาดก ว่าด้วยนก 3 ตัว
- เอกกนิบาตชาดก
เล่มที่ 28 ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 2
[แก้]- ปัญญาสนิบาตชาดก 3 เรื่อง
- สัฏฐินิบาตชาดก 2 เรื่อง
- สัตตตินิบาตชาดก 2 เรื่อง
- อสีตินิบาตชาดก 5 เรื่อง
- มหานิบาตชาดก 10 เรื่อง
- 1. เตมิยชาดก 2. ชนกชาดก 3. สุวรรณสามชาดก 4. เนมิราชชาดก 5. มโหสถชาดก 6. ภูริทัตชาดก 7. จันทชาดก 8. นารทชาดก 9. วิธูรชาดก 10. มหาเวสสันดรชาดก
ชาดกนอกนิบาต
[แก้]ปัญญาสชาดก 50 เรื่อง
[แก้]ปัญญาสชาดก เป็นชาดกที่ไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก ไม่ปรากฏชัดเจนถึงชื่อผู้แต่ง หรือปีที่แต่ง แต่ก็มีผู้สันนิษฐาน และทราบเพียงแต่ว่าผู้แต่งคือภิกษุชาวเชียงใหม่ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าน่าจะแต่งขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2000 - 2200 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ลิขิต ลิขิตานนท์ คาดว่าน่าจะแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2038 - 2068 แต่ศาสตราจารย์ ดร. นิยะดา สาริกภูติ ให้ข้อมูลเสริมต่อชาดกชุดนี้ว่า น่าจะเก่ากว่านั้นเพราะมีหลักฐานเป็นศิลาจารึกหลักหนึ่งของพม่าซึ่งจารึกเมื่อ จ.ศ. 627 (พ.ศ. 1808) ตั้งอยู่ที่วัด Kusa-samuti หมู่บ้าน Pwasaw ปัญญาสชาดก แต่งเลียนแบบชาตกัฏฐกถา เพื่อเป็นการสอนศาสนาโดยใช้ชาดกและแต่งเป็นชาดกนอกนิบาต 50 เรื่อง ผนวกกับปัจฉิมภาคอีก 11 เรื่อง ดังนี้
- สมุททโฆสชาดก เป็นที่มาของสมุทรโฆษคำฉันท์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- สุธนชาดก มีผู้นำไปแต่งเป็นบทละครนอกในสมัยกรุงศรีอยุธยา
- สุธนุชาดก
- รัตนปโชตชาดก
- สิริวิบุลกิตติชาดก
- วิบุลราชชาดก เป็นเรื่องที่หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนำไปแต่งเป็นโครงเรื่องของกลอนกลบทชนิดต่าง ๆ เรียกรวมว่ากลบทศิริวิบุลกิตติ
- สิริจุฑามณิชาดก
- จันทราชชาดก
- สุภมิตตชาดก
- สิริธรชาดก
- ทุลกบัณฑิตชาดก
- อาทิตชาดก
- ทุกัมมานิกชาดก
- มหาสุรเสนชาดก
- สุวรรณกุมารชาดก
- กนกวรรณราชชาดก
- วิริยบัณฑิตชาดก
- ธรรมโสณฑกชาดก
- สุทัสนชาดก
- วัฏกังคุลีราชชาดก
- โบราณกบิลราชชาดก
- ธรรมิกบัณฑิตราชชาดก
- จาคทานชาดก
- ธรรมราชชาดก
- นรชีวชาดก
- สุรูปชาดก
- มหาปทุมชาดก
- ภัณฑาคารชาดก
- พหลาคาวีชาดก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงนำไปเป็นต้นเรื่องของละครนอกเรื่อง คาวี และเรื่องพหลคาวีชาดกนี้ พระมหาราชครูในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ได้นำไปแต่งเป็นเรื่องเสือโคคำฉันท์ด้วย
- เสตบัณฑิตชาดก
- ปุปผชาดก
- พาราณสิราชชาดก
- พรหมโฆสราชชาดก
- เทวรุกขกุมารชาดก
- สลภชาดก
- สิทธิสารชาดก
- นรชีวกฐินชาดก
- อติเทวราชชาดก
- ปาจิตตกุมารชาดก
- สรรพสิทธิกุมารชาดก เป็นต้นเรื่องที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส นำไปเป็นพระนิพนธ์เรื่องสรรพสิทธิคำฉันท์
- สังขปัตตชาดก
- จันทเสนชาดก
- สุวรรณกัจฉปชาดก
- สิโสรชาดก
- วรวงสชาดก
- อรินทมชาดก
- รถเสนชาดก
- สุวรรณสิรสาชาดก
- วนาวนชาดก
- พากุลชาดก
ปัจฉิมภาคชาดก 11 เรื่อง
[แก้]- โสนันทชาดก
- สีหนาทชาดก
- สุวรรณสังขชาดก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงนำไปแปลงและทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง
- สุรัพภชาดก
- สุวรรณกัจฉปชาดก
- เทวันธชาดก
- สุบินชาดก
- สุวรรณวงศชาดก
- วรนุชชาดก
- สิรสาชาดก
- จันทคาธชาดก
อิทธิพลชาดกต่อสังคม
[แก้]- อิทธิพลด้านคำสอน
- อิทธิพลด้านจิตรกรรม
- อิทธิพลด้านวรรณคดี/ภาษา
- อิทธิพลด้านความเชื่อ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/k19.html
- ↑ ปัญญาสชาดกเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องเอกที่พระเถระนักปราชญ์ชาวเชียงใหม่ได้รวบรวมเรื่องราวปรัมปราที่เป็นนิทานพื้นถิ่นแพร่หลายในยุคนั้น แล้วนำมารจนาเป็นชาดกขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2000-2200 โดยเขียนไว้ด้วยภาษาบาลี มีทั้งคำประพันธ์ที่เป็นร้อยแก้วและบทคาถาหรือบทร้อยกรองทั้งสิ้น 50 ชาดก เช่น สมุททโฆสชาดก สุธนชาดก สุธนุชาดก รัตนปโชตชาดก สิริวิบุลกิตติชาดก ดูรายละเอียดเกี่ยวปัญญาสชาดกใน พระมหามานะ มุนิวํโส (กลมกลาง), “ปัญญาสชาดกปฐมภาค เรื่องที่ 1-7: การตรวจชำระและศึกษาเชิงวิเคราะห์”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546), หน้า บทคัดย่อ. พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร (คำกมล), (ปัญญาสชาดกปฐมภาค เรื่องที่ 8-27: การตรวจชำระและศึกษาเชิงวิเคราะห์, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546), หน้า บทคัดย่อ. พระมหาประสิทธิ์ อหึสโก (ทองปาน), ปัญญาสชาดกปฐมภาค เรื่องที่ 28-44: การตรวจชำระและศึกษาเชิงวิเคราะห์, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2547), หน้า บทคัดย่อ. พระมหาประสานชัย เทวงฺกโร (ตรีพงษ์ศิลป์), ปัญญาสชาดกปฐมภาค เรื่องที่ 45-50: การตรวจชำระและศึกษาเชิงวิเคราะห์, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546), หน้าบทคัดย่อ.
- ↑ ปัจฉิมภาค ชาดกทั้ง 11 เรื่อง เช่น โสนันทชาดก สีหนาทชาดก สุวรรณสังขชาดก สุรัพภชาดก สุวรรณกัจฉปชาดก เทวันธชาดก สุบินชาดก สุวรรณวงศชาดก วรนุชชาดก สิรสาชาดก จันทคาธชาดก ดูรายละเอียดใน พระมหาอาคม สุมณีโก (แก้วใส), ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค เรื่องที่ 1 - 4: การตรวจชำระและศึกษาเชิงวิเคราะห์, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2547) หน้า บทคัดย่อ. พระเมธีสุตาภรณ์ (เฉลา เตชวนฺโต), ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค เรื่องที่ 5 - 8: การตรวจชำระและศึกษาเชิงวิเคราะห์, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546), หน้า บทคัดย่อ. พระมหาจรัญ อุตฺตมธมฺโม (บัวชูก้าน), ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค เรื่องที่ 9 - 11: การตรวจชำระและศึกษาเชิงวิเคราะห์, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546), หน้า บทคัดย่อ.
- ↑ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=38
ดูเพิ่ม
[แก้]- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- หนังสือ ผจญภัยตามรอยพระพุทธเจ้า เล่มที่ 1-... โดยบริษัท สกายบุ๊กส์ จำกัด
- ทศชาติชาดก
- นวังคสัตถุศาสน์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- การ์ตูนนิทานชาดก 500 ชาติ จาก เว็บ kkdee.com[ลิงก์เสีย]
- การ์ตูนนิทานชาดก 500 ชาติ เก็บถาวร 2013-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- นิทานชาดก รายการนิทานชาดก ทาง TNN2 TRUE vision ดูรายการย้อนหลังที่ทานาธิธรรมดอตคอม เก็บถาวร 2011-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับชาดก เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ชาดกแปลเป็นภาษาอังกฤษ มีครบทั้ง 547 เรื่อง