ข้ามไปเนื้อหา

ธรรมธาตุ 7

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธรรมธาตุ)

ธรรมธาตุ 7 หมายถึง ระบบการทำงานของนามธาตุ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มโน จิต และ ภวังค์

จิต

[แก้]

จิต พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นอัสนีธาตุ จิตเกิดจากกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบของนามธาตุ มีลักษณะเป็นตัวเชื่อมต่อกระบวนการทำงานต่าง ๆ เช่น เชื่อมรูปธาตุและนามธาตุให้สัมพันธ์กันได้ คำว่า "จิต" มาจากการที่เป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งได้ เช่นคำว่าวิจิตร หมายเอาสภาวะของจิตที่แปรปรวนตามเจตสิกที่เข้ามาประกอบปรุงแต่งเป็นอารมณ์ 121 อาการ จิตในความหมายของธรรมธาตุหมายถึง กิจแห่งจิต 14 อย่าง คือ

  1. ปฏิสนธิกิจ ทำหน้าที่เกิดขึ้นแห่งจิตดวงใหม่
  2. ภวังคกิจ รักษาดำรงภพ
  3. อาวัชชนกิจ เริ่มพิจารณาในอารมณ์ทั้ง 5
  4. ทัสสนกิจ ทำหน้าที่เห็น
  5. สวนกิจ ทำหน้าที่ได้ยิน
  6. ฆายนกิจ ทำหน้าที่ได้กลิ่น
  7. สายนกิจ ทำหน้าที่ลิ้มรส
  8. ผุสสนกิจ ทำหน้าที่กระทบสัมผัส
  9. สัมปฏิจฉันนกิจ รับอารมณ์
  10. สันตีรณกิจ ไต่สวนอารมณ์
  11. โวฏฐัพพนกิจ ตัดสินอารมณ์
  12. ชวนกิจ เสพอารมณ์
  13. ตฑาลัมพนกิจ รับอารมณ์ต่อจากชวนะ
  14. จุติกิจ ทำหน้าที่เคลื่อนไปจากภพ

จิตท่านจึงว่าเป็นสิ่งประภัสสร คือ สะอาดบริสุทธิ์ เพราะจิตทำหน้าที่แค่รู้ในอารมณ์ทั้งหลายเท่านั้น ดีชั่วนั้นจึงขึ้นอยู่กับอารมณ์ที่จิตนั้นเข้าไปรู้

มโน

[แก้]

มโน หมายถึง สิ่งที่ใจน้อมไป มาจากคำว่า นะมะ (ความนอบน้อม) มาเป็นมโนความน้อมรู้ หมายเอากิริยาที่จิตให้ความสนใจต่อสิ่งใด ใหรือมุ่งหวังส่ใจสิ่งใดเป็นสำคัญ เช่น มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จได้ด้วยใจ เช่นเราเพ่งความสนใจไปที่ใดอาการที่ใจเราไปสนใจนั้นคือมโน มีลักษณะน้อมไป ยึดไว้ เคลื่อนย้าย เกิดจากการที่นามธาตุมีความสัมพันธ์ต่อรูปธาตุและเกิดจากกระบวนการภายในของนามธาตุเอง คือการให้ความสนใจไปในสิ่งใดสิ่งสิ่งหนึ่งที่จิตเหนี่ยวรั้งมาพิจารณา และจิตเกิดการสนใจหรือย้ายความสนใจในสิ่งที่พิจารณาอยู่

ภวังค์

[แก้]

ภวังค์ หมายถึง จิตใต้สำนึก ภวังค์ มาจากคำว่าองค์แห่งการเกิดภพ หรือตัวเกิดหมายเอากระบวนการของจิต ที่มีการเกิดหรือปฏิสนธิจิต ชวนะจิตต่าง ๆ ก็จะมาจบที่ภวังคจิตอันเป็นข้อมูลทั้งปวงของจิตหรือจิตใต้สำนึก ที่จะส่งต่อข้อมูลไปยังจิตดวงใหม่ก่อนที่จิตดวงเก่าจะดับ จึงมักใช้ในความหมายของจิตใต้สำนึกของจิต เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน มีแต่สภาวะเกิดขึ้นจากกฎแห่งเหตุและผลของธรรมชาติอย่างละเอียด (หรือเรียกว่ากฎแห่งกรรม) อธิบายเช่นต้นไม้แต่ก่อนมีเพียงเมล็ดกิ่ง ก้าน ราก ดอก ผล ใบย่อมมีมาแต่ไหน เพราะในเมล็ดย่อมมีเพียงข้อมูล แล้วอาศัยอาศัยปัจจัยเพิ่มปริมาณสสารขึ้น อาศัยข้อมูลในเมล็ดทำให้มีลักษณะต่าง ๆ ถ้าเป็นสัตว์ก็คือ DNA ภวังค์ก็มีลักษณะเช่นนั้น คือเป็นข้อมูลของจิต ทำให้สัตว์มีลักษณะนิสัย สันดานแตกต่างกัน เมื่อจิตออกจากร่างภวังคะจะจดจำข้อมูลสร้างร่างจากจิตตะอันเป็นอัสนีธาตุหรือธาตุพลังงานทำให้มีรูปร่างตามแต่ปัจจัยกำหนด ทำให้เกิดวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิดขึ้น

เวทนา

[แก้]

เวทนา หมายถึง ธรรมชาติรับรู้อารมณ์ ทางกายคือ 1. สุขํ สุข 2. ทุกขํ ทุกข์ 3. อทุกขมสุขํ ไม่สุขไม่ทุกข์ ทางใจ 3 คือ 1. โสมนัส สุขใจ 2. โทมนัส ทุกข์ใจ 3. อุเบกขา วางเฉย

สัญญา

[แก้]

สัญญา หมายถึง ความทรงจำมี 6 คือ จักขุสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางตา (ภาพ) โสตสัญญา (เสียง) สิ่งที่ทรงจำทางหู ฆานะสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางจมูก (กลิ่น) ชิวหาสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางลิ้น (รสชาติ) กายสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางกาย (ประสาทสัมผัส) มนสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางใจ

สังขาร

[แก้]

สังขาร หมายถึง สิ่งที่ปรุงแต่ง มี 3 คือ กายสังขาร (การบังคับร่างกาย) วจีสังขาร (ความคิดตรึก ตรอง) จิตตะสังขาร (อารมณ์ที่จรเข้ามาในใจ)

  1. กายสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งกายอัสสาสะ ลมหายใจเข้า ปัสสาสะ ลมหายใจออก)อัสนีธาตุของจิตตะ จะเชื่อมกับ อัสนีธาตุของกายสังขาร ที่เกิดขึ้นจากลมหายใจเข้าออกอันเป็นเหตุให้หทยวัตถุ (หัวใจ) เต้น เหมือนเขื่อนเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้จิตสามรถสั่งการให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้
  2. วจีสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งวาจาหรือภาษานั้นคือ วิตก (ตรึก) วิจาร (ตรอง) อันเรียกว่าความคิด)
  3. จิตตสังขาร (สิ่งที่ปรุงแต่งจิต มี 2 คือเวทนา สัญญา) จิตตะเป็นปภัสสร คือ บริสุทธิ์ว่างเปล่าราวกับอากาศไม่สว่างหรือมืด แต่เพราะ เวทนาและสัญญา ที่จรเข้ามาทำให้จิตมีอารมณ์เป็นไปตามเวทนาและสัญญานั้น เช่น เวลาหลับเราเมื่อย เวทนาก็เป็นอิริยาบถให้เราหายเมื่อย เราเดินเองโดยอัตตโนมัติเพราะร่างกายเราจดจำสัญญาในการเดินไว้ทำให้บางที่เดินไปในที่เคยชิน และสัญญาที่เกิดจากวิตก (ตรึก) วิจาร (ตรอง) การตรึก คือการน้อมไปในการใช้สัญญา เช่น สิ่งนี้คือต้นไม้ ต้นไม้นี้ชื่อต้นไผ่ วิจารทำให้เกิดการเปรียบเทียบ เช่น คนนี้สวยกว่าคนนี้ ชีวิตเราสำคัญน้อยกว่าความรัก เงินสำคัญที่สุดเป็นต้น ทำให้เกิดจิตสังชารที่ทำให้ยึดมั่นและเกิดอารมณ์ต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น รัก โลภ โกรธตระหนี่ ริษยา อิจฉา อันเป็นเจตสิกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต

สังขาร ได้แก่นามธาตุชนิดต่าง ๆ ทั้ง 50 ชนิด (เจตสิก) ที่ทำมีหน้าที่ต่อกัน ทำงานเป็นกระบวนการ

วิญญาณ

[แก้]

วิญญาณ มาจากคำว่ารู้แจ้ง หมายเอา จิตที่ทำหน้ารับรู้ทางอายตนะทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หมายถึงการรับรู้ หรือ วิญญาณทั้ง 6 คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ มโนสิ่งที่รับรู้ทางใจ มี 3 คือ รับรู้เวทนา รับรู้สัญญา รับรู้สังขาร

อ้างอิง

[แก้]

หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา ชื่อเรื่อง ธมฺมธาตุ (พระธัมมธาตุ) เลขหมู่ นม.บ.229/1 หมวดหมู่ ปกิณณกะ (ธรรมคดี) ภาษาบาลี-ไทย ประเภทวัสดุ/มีเดียเอกสารโบราณ-คัมภีร์ใบลาน คัมภีร์ใบลาน จำนวน 1 ผูก: เส้นจาร ฉบับลานดิบ ไม่มี บทคัดย่อ/บันทึก ได้มาจากวัดเหมสูง ต.ทองหลาง อ.จักราช จ.นครราชสีมา รายละเอียดดังนี้: กล่าวถึงธรรมธาตุ 7 คือ ภวังค์ 1 มโน 1 จิตตัง 1 วิญญาณัง 1 สังขาร 1 เวทนัง 1 สัญญา 1 ท่านได้อธิบายธรรมธาตุ 7 หัวข้อนี้ออกไปโดยพิศดาร โดยวิธีถาม – ตอบ ในช่วงต้น ๆ จะอธิบายในแนวของพระอภิธรรมปิฎก คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ในตอนกลางจะอธิบายในแนวของพระสูตร และในตอนท้ายจะอธิบายในแนวของพระวินัย คือว่าด้วยเรื่องศีลค่อนข้างละเอียด.