ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานนานาชาติอักเตา

พิกัด: 43°51′36″N 051°05′31″E / 43.86000°N 51.09194°E / 43.86000; 51.09194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Aktau International Airport

Halyqaralyq Aqtau Äuejaiy
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานบริษัทร่วมทุน "ท่าอากาศยานนานาชาติอักเตา"
พื้นที่บริการอักเตา
ที่ตั้งอักเตา ประเทศคาซัคสถาน
เปิดใช้งานพ.ศ. 2526; 42 ปีที่แล้ว (2526)
เมืองสำคัญสแคตแอร์ไลน์
เขตเวลาAQTT (UTC+05:00)
เหนือระดับน้ำทะเล22 เมตร / 72 ฟุต
พิกัด43°51′36″N 051°05′31″E / 43.86000°N 51.09194°E / 43.86000; 51.09194
เว็บไซต์www.aktau-airport.kz
แผนที่
SCOตั้งอยู่ในคาซัคสถาน
SCO
SCO
ที่ตั้งในประเทศคาซัคสถาน
SCOตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย
SCO
SCO
SCO (ทวีปเอเชีย)
SCOตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง
SCO
SCO
SCO (เอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง)
SCOตั้งอยู่ในNorth Atlantic
SCO
SCO
SCO (North Atlantic)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
11/29 10,013 3,052 แอสฟอลต์
สถิติ (2018)
จำนวนผู้โดยสาร1,023,900
แหล่งที่มา: AIP คาซัคสถาน[1]

ท่าอากาศยานนานาชาติอักเตา (คาซัค: Halyqaralyq Aqtau Äuejaiy) (IATA: SCOICAO: UATE) หรือก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียตมีชื่อว่าท่าอากาศยานเชฟเชนโก-เซนตรัลนืย (รัสเซีย: Аэропорт Шевченко-Центральный) เป็นท่าอากาศยานนานาชาติในแคว้นมังเฆิสเตา ประเทศคาซัคสถาน เป็นสนามบินหลักที่ให้บริการเมืองอักเตาริมทะเลแคสเปียน ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นประตูสู่เอเชียกลางสำหรับผู้โดยสารระหว่างประเทศที่มีความหนาแน่นมากที่สุดเป็นอันดับที่แปด เป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับที่ 50 ในบรรดารัฐหลังสหภาพโซเวียต และเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับที่สี่ในคาซัคสถาน

ท่าอากาศยานนานาชาติอักเตาตั้งอยู่ห่างจากเมืองอักเตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 21 กิโลเมตร (13 ไมล์) สนามบินมีอาคารผู้โดยสาร 1 หลังและทางวิ่งเครื่องบิน 1 เส้น ท่าอากาศยานมีสถานะเป็นเมืองศูนย์กลางการบินของสายการบินสแคตแอร์ไลน์ (SCAT Airlines) สนามบินแห่งนี้ให้บริการเที่ยวบินประจำของสายการบินแอโรฟลอต, แอร์อัสตานา, สแคตแอร์ไลน์, กาซัคแอร์ ตลอดทั้งปี และให้บริการเที่ยวบินตามฤดูกาลของสายการบินเบลาเวีย และซันเดย์แอร์ไลน์

ท่าอากาศยานเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2526 ในชื่อท่าอากาศยานเชฟเชนโก-เซนตรัลนืย และมักรู้จักกันในชื่อท่าอากาศยานเชฟเชนโก (รหัสท่าอากาศยาน IATA ของสนามบินในปัจจุบันคือ SCO มาจากชื่อเดิมของเมืองคือเชฟเชนโก (รัสเซีย: Шевченко)

ภาพรวม

[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539 บริษัทร่วมทุน "ท่าอากาศยานนานาชาติอักเตา" (คาซัค: "Ақтау Халықаралық Əуежайы" ЖШС) ได้ก่อตั้งขึ้น การพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันในภูมิภาคแคสเปียนทำให้ความต้องการขนส่งสินค้ามีปริมาณที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการการจัดส่งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ต้องมีการปรับปรุงสนามบินขึ้นใหม่และเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของอาคาร โดยมีผู้โดยสารที่ใช้บริการผ่านจำนวน 1 ล้านคนในปี พ.ศ. 2561 ทำให้ท่าอากาศยานแห่งนี้มีความหนาแน่นเป็นอันดับที่สามในประเทศคาซัคสถาน รองจากท่าอากาศยานนานาชาติอัลมาเตอและท่าอากาศยานนานาชาตินูร์ซุลตัน นาซาร์บายิฟ และเป็นท่าอากาศยานที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับที่ 50 ในรัฐหลังสหภาพโซเวียต

การดำเนินงาน

[แก้]

ท่่าอากาศยานนานาชาติอักเตามีสายการบิน 6 สายให้บริการไปยังจุดหมายปลายทาง 14 แห่งใน 4 ประเทศ สนามบินแห่งนี้เป็นฐานการบินหลักของสายการบินสแคตแอร์ไลน์ มีอาคารผู้โดยสาร 1 หลัง ในปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานแห่งนี้ให้บริการผู้โดยสาร 1,023,900 คน ทำให้เป็นท่าอากาศยานที่มีจำนวนผู้โดยสารมากที่สุดเป็นอันดับสามของคาซัคสถาน จุดหมายปลายทางแห่งเดียวซึ่งมีผู้โดยสารมากที่สุดคืออาเตอเรา มีรันเวย์ 1 เส้นที่กำหนดหมายเลขเป็น 11/29 มีพื้นผิวเป็นแอสฟอลต์/คอนกรีต ขนาด 3,050 เมตร × 60 เมตร (10,007 ฟุต × 197 ฟุต) ท่าอากาศยานแห่งนี้สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่เช่น อานโตนอฟ อาน-124, โบอิง 747, อิลยูชิน อิล-76 รวมถึงเฮลิคอปเตอร์ทุกประเภท อย่างไรก็ตามทั่วไปมักพบการใช้บริการสนามบินโดยเครื่องบินขนาดเล็กเช่น แอร์บัส เอ319, โบอิง 737 และ ซีอาร์เจ-200

ในปี พ.ศ. 2550 กลุ่มบริษัทเอทีเอ็ม (คาซัค: ATM GRUP Uluslararasi Havalimani YAPIM Yafirim ve lslet-me Ltd St) ได้รับสัมปทานบริหารท่าอากาศยานเป็นระยะเวลา 30 ปี สัญญาดังกล่าวรวมถึงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ ซึ่งสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2552 สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 450 คนต่อชั่วโมง มีพื้นที่รวม 13,400 ตารางเมตร (144,000 ตารางฟุต) รวมถึงพื้นที่ที่ใช้เป็นห้องรับรองบุคคลสำคัญมาก และห้องรับรองบุคคลสำคัญในเชิงพาณิชย์ (Commercial Important Person)

อาคารผู้โดยสารติดตั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องกลไฟฟ้า ได้แก่ สะพานเทียบเครื่องบินสำหรับผู้โดยสาร ตู้ลงทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบปรับอากาศ HVAC (ทำความร้อนและทำความเย็น) ระบบแจ้งเตือนเที่ยวบินบนหน้าจอแสดงผลอิเล็กทรอนิกส์ (Flight Information Display System) เครื่องสแกนรังสีเอกซ์ กล้องวงจรปิด ลิฟต์และบันไดเลื่อน

สายการบินสแคตแอร์ไลน์ มีฐานการบินอยู่ในอักเตา และให้บริการเที่ยวบินไปยังบากู ทบิลิซี มอสโก และเมืองอื่น ๆ ของรัสเซีย แอร์อัสตานาให้บริการเที่ยวบินไปยังอาเตอเรา อัลมาเตอ และอัสตานาทุกวัน นอกจากนี้ยังมีเที่ยวบินไปยังมอสโกที่ให้บริการโดยแอโรฟลอตอีกด้วย

สายการบินและจุดหมายปลายทาง

[แก้]

สายการบินต่อไปนี้ให้บริการเที่ยวบินประจำและเช่าเหมาลำ ไปและกลับจากอักเตา:[2]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
แอโรฟลอต มอสโก–เชเรเมเตียโว


แอร์อัสตานา อัลมาเตอ, อัสตานา


อาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์ บากู[3]


ฟลายอารือสตาน อักเตอเบีย, อัลมาเตอ, อัสตานา, อาเตอเรา, บากู, โดฮา,[4] อิสตันบูล,[5] คูทาอีซี, อัวรัล, เชิมเกนต์
ตามฤดูกาล: อันทัลยา, ชัรม์ เอชเชค[6]


พอร์สแอร์ โกร์กอน[7]


เพกาซัสแอร์ไลน์ อิสตันบูล–ซาบีฮา เกิคเชน[8]


สแคตแอร์ไลน์ อักเตอเบีย, อัลมาเตอ, อัสตานา, อัสตราฮัน, อาเตอเรา, คอคเชเตา, มาฮัชคาลา, เชิมเกนต์, ทบิลิซี, เตอร์กิสถาน, เยเรวาน
ตามฤดูกาล: บาทูมี, โซชี[9]


เตอร์กิชแอร์ไลน์ อิสตันบูล[10]

สถิติ

[แก้]

จำนวนผู้โดยสาร

[แก้]
พ.ศ. ผู้โดยสาร เปลี่ยนแปลงจากปีก่อนหน้า
2551 474,000[11] เพิ่มขึ้น024.9 %
2552 450,000[11] ลดลง0 5,1 %
2553 585,000[11] เพิ่มขึ้น0 30%
2554 623,000[11] เพิ่มขึ้น0 6,5 %
2555 708,143[11] เพิ่มขึ้น0 13,7 %
2556 776,431[11] เพิ่มขึ้น0 9,6 %
2557 813,746[11] เพิ่มขึ้น0 4,8 %
2558 845,710[11] เพิ่มขึ้น0 3,9 %
2559 865,774[11] เพิ่มขึ้น0 2,4 %
2560 1,072,400[11] เพิ่มขึ้น0 23,9 %
2561 1,023,900[11] ลดลง0 4,5 %
2562 996,291[12] ลดลง0 2,7 %
2563 688,002[12] ลดลง0 30,9 %
2564 1,303,560[12] เพิ่มขึ้น0 89,5 %

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์

[แก้]

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567 สายการบินอาเซอร์ไบจานแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 8243 ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบเอ็มบราเออร์ อี190 ประสบเหตุตกใกล้กับสนามบินขณะพยายามลงจอดฉุกเฉิน ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือเสียชีวิต 38 รายจากทั้งหมด 67 ราย เครื่องบินลำดังกล่าวซึ่งกำลังเดินทางจากบากูในอาเซอร์ไบจานไปยังกรอซนืยในสาธารณรัฐเชเชน ประเทศรัสเซีย ต้องเปลี่ยนเส้นทางเนื่องจากไม่สามารถลงจอดได้จากหมอกลงจัด[13] ภายหลังการตก ได้มีการพบความเสียหายต่อเครื่องบินรวมถึงรอยสะเก็ดระเบิดที่แพนหางดิ่งและปีก ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการระเบิดเกิดขึ้นใกล้เคียงจุดดังกล่าว[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "AIP Kazakhstan". ans.kz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มกราคม 2019.
  2. "Aqtau International Airport Flight Schedule". aktau-airport.kz. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2019.
  3. "Buta Airways August – October 2023 Network – 30JUL23". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). 1 สิงหาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2023.
  4. "FlyArystan Preliminary NW23 Qatar Operations". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). 23 ตุลาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2023.
  5. "FlyArystan doubles the number of flights from Aktau to Istanbul". dknews.kz (ภาษาอังกฤษ). DKNews International News Agency. 1 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2024.
  6. Liu, Jim (31 ตุลาคม 2024). "FlyArystan Expands Sharm el Sheikh Network in 4Q24". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2024.
  7. برقراری مجدد پرواز گرگان به آکتائو قزاقستان [Resuming flights from Gorgan to Aktau, Kazakhstan]. باشگاه خبرنگاران جوان [Young Journalists Club] (ภาษาเปอร์เซีย). 26 เมษายน 2024.
  8. "Pegasus Airlines NS24 Network Additions – 23APR24". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). 24 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2024.
  9. "SCAT Aircompany Resumes Aktau – Sochi From June 2024". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). 19 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2024.
  10. "Turkish Airlines NS24 Intercontinental Network Changes – 31MAR24". AeroRoutes (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). 2 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2024.
  11. 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 11.10 Количество обслуженных пассажиров в аэропортах Республики Казахстан за 2015–2016 гг.стр 39 (PDF). www.kase.kz (ภาษารัสเซีย).
  12. 12.0 12.1 12.2 Отчет об исполнении тарифных смет и инвестиционных програм перед потребителями и иными заинтересованными лицами по итогам 1 полугодия 2022 года. (PDF). aktau-airport.kz (ภาษารัสเซีย).
  13. Michael Drummond (25 ธันวาคม 2024). "Azerbaijan Airlines plane crashes near Kazakhstan's Aktau airport". Sky News.
  14. "Самолет мог быть поврежден зенитной ракетой". Ян Матвеев – о версии авиакатастрофы в Казахстане из-за работы российской ПВО ["The plane could have been damaged by an anti-aircraft missile." Yan Matveyev on the version of the plane crash in Kazakhstan due to the work of Russian air defense] (ภาษารัสเซีย). 25 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2024 – โดยทาง www.currenttime.tv.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]