ข้ามไปเนื้อหา

ทาทา ยัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทาทายัง (อัลบั้ม))
ทาทา ยัง
ทาทา ยัง ในงานเทศกาลดนตรีพัทยา พ.ศ. 2550
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดอมิตา มารี ยัง
รู้จักในชื่อทาทา
เกิด14 ธันวาคม พ.ศ. 2523 (43 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลง
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแสดง
  • นางแบบ
  • ผู้จัดการศิลปิน
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2538–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
คู่สมรสฉัตรอดุลล์ สีณพงศ์ภิภิธ
(2557–2563; เลิกรา)
เว็บไซต์TataYoung.com

อมิตา มารี ยัง (อักษรโรมัน: Amita Marie Young; เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2523) ชื่อเล่น ทาทา เป็นที่รู้จักในชื่อ ทาทา ยัง หรือ อมิตา ทาทา ยัง เป็นนักร้อง นักแสดง และนางแบบลูกครึ่งไทย-สหรัฐอเมริกา เข้าสู่วงการดนตรีภายหลังชนะเลิศการประกวดร้องเพลงระดับชาติเมื่ออายุ 11 ปี และได้เซ็นสัญญาเป็นนักร้องอาชีพเมื่ออายุ 14 ปี กับสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีผลงานอัลบั้มอัลบั้มแรกคือ อมิตา ทาทา ยัง เมื่อปี พ.ศ. 2538[1] อัลบั้มดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างสูง สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 1.3 ล้านชุด ภายในเวลา 5 เดือน[2] อัลบั้ม ทาทาวันมิลเลียนกอปปีส์เซเลอเบรชัน เป็นอัลบั้มซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จดังกล่าว ซึ่งอัลบั้มนี้ก็มียอดขายเกิน 1 ล้านชุดอีกเช่นกัน ส่งผลให้เป็นนักร้องที่มีอายุน้อยที่สุดที่มีอัลบั้มทะลุล้านตลับถึง 2 อัลบั้มติดต่อกัน[3]

นอกจากผลงานเพลงแล้ว ทาทายังมีผลงานด้านการแสดงทั้งภาพยนตร์ในเรื่อง จักรยานสีแดง และ รัก-ออกแบบไม่ได้ และผลงานละครเรื่อง ปลายเทียน ต่อมาทาทาได้เซ็นสัญญากับค่ายโคลัมเบีย ซึ่งอยู่ในสังกัดโซนีมิวสิก และได้มีผลงานอัลบั้มภาษาอังกฤษชุดแรกในชื่อ ไอบีลีฟ (อังกฤษ: I Believe) เมื่อปี พ.ศ. 2547 อัลบั้มดังกล่าวมีการเผยแพร่ไปยังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบางส่วนของเอเชียตะวันออก

ทาทาเป็นศิลปินที่ขับร้องเพลงในหลากหลายแนวเพลงทั้งป๊อป บัลลาด ร็อก และมีทั้งกลุ่มผู้สนับสนุนผลงานและต่อต้านผลงานของเธอ มิวสิกวิดีโอและผลงานด้านอื่น ๆ ของเธอได้รับการต่อต้านจากกลุ่มบุคคลในบางครั้ง อย่างไรก็ดีทาทาได้รับรางวัลจากสื่อบันเทิงหลากหลายแขนงและเธอเป็นนักร้องหญิงที่ทำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยกว่า 800 ล้านบาท[4]

ประวัติ

[แก้]

ปฐมวัยและก้าวแรกในวงการดนตรี (2523–2538)

[แก้]

ทาทา ยัง เกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2523 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เป็นธิดาคนแรกและคนเดียวของทิโมที ไมเคิล "ทิม" ยัง (มีชื่อไทยว่า วันชัย)[5][6] กับบัญชร ยัง[7][8] บิดาเป็นชาวอเมริกัน และมารดาเป็นชาวไทย มีพี่สาวบุญธรรมหนึ่งคน ชื่อเล่นว่า แก้ม[9][10] ซึ่งเป็นบุตรของน้า (น้องสาวของบัญชร) ที่บัญชรนำมาเลี้ยงดูก่อนทาทาเกิด[11]

ทาทาเริ่มต้นการศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนแมรีปอปปินส์ สำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนบางกอกพัฒนา และศึกษาต่อระดับอนุปริญญาจากมหาวิทยาลัยเนแบรสกาแห่งลินคอล์น (Nebraska University of Lincoln)

เมื่ออายุได้ 11 ปี เธอชนะการประกวดจากเวที "นิสสันมิวสิก" ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยขับร้องเพลง "วันไนต์ออนลี" การแข่งขันดังกล่าวทำให้เธอได้เช็นสัญญากับยามาฮ่ามิวสิก ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นทางวงการดนตรีของเธอ ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 เธอได้เซ็นสัญญากับจีเอ็มเอ็มแกรมมี่[1] ค่ายเพลงใหญ่ของไทยและนำเธอเข้าสู่อุตสาหกรรมดนตรีอย่างเป็นทางการ

ในปี พ.ศ. 2538 ทาทาได้ออกอัลบั้มภาษาไทยในชื่อว่า อมิตาทาทายัง นับเป็นอัลบั้มแรกและเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในเวลานั้น โดยมีเพลง "โอ๊ะโอ้ย" เป็นเพลงเปิดตัวอัลบั้ม อัลบั้มดังกล่าวมียอดจำหน่ายมากกว่า 1.3 ล้านชุดภายในเวลาไม่ถึง 5 เดือนหลังออกจำหน่าย [12] ทำให้เธอออกอัลบั้ม ทาทาวันมิลเลียนกอปปีส์เซเลอเบรชัน เพื่อเป็นการขอบคุณแฟนเพลง โดยในอัลบั้มนี้เธอได้ขับร้องเพลง "ฉันรักเธอ" ซึ่งอัลบั้มนี้ก็มียอดขายเกิน 1 ล้านชุดอีกเช่นกัน ส่งผลให้เป็นนักร้องที่มีอายุน้อยที่สุดที่มีอัลบั้มทะลุล้านตลับถึง 2 อัลบั้มติดต่อกัน[13] นอกจากนี้เธอยังได้จัดคอนเสิร์ต นานาทาทา 2 รอบการแสดงและคอนเสิร์ตตอนพิเศษ "ไอเลิฟยู" ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้เธอได้รับรางวัล "นักร้องแห่งปี" จากนิตยสารบางกอก และรางวัล "ศิลปินยอดเยี่ยม" ประจำปี พ.ศ. 2538, "มิวสิกวิดีโอแห่งปี" และรางวัล "อัลบั้มแห่งปี" จากเรดิโอโวต[14]

โลกบันเทิง (2539–2540)

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2539 ทาทาได้รับเลือกจากจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ให้เป็น 1 ใน 6 ศิลปินอาทิ คริสติน่า อากีล่าร์,มอส,เจ เจตริน ฯลฯ ออกอัลบั้มร่วมกันในชื่อ 6.2.12[15] และจัดคอนเสิร์ต 6.2.12 เฟสติวัล ซึ่งมีผู้เข้าชมกว่า 5 หมื่นคน นอกจากนี้เธอยังได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการออกรายการโทรทัศน์ออสเตรเลียในชื่อ "เวิลด์เทลลีบอร์ดแคสต์" เป็นรายการที่นำเยาวชนเอเชียมาร่วมกันร้องเพลงและออกอากาศในเดือนกุมภาพันธ์ แพร่ภาพไปทั้งทวีปออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2539 ทาทาได้จัดคอนเสิร์ต ทาทาไลฟ์อินฮอลลีวูดฮอลลีวูดพาลลาเดียม ซึ่งเป็นหนึ่งในศิลปินเอเชียไม่กี่คนที่ได้จัดคอนเสิร์ตโดยมีผู้ชมเป็นชาวอเมริกัน และเธอก็ได้รับเลือกจากรัฐบาลจีนให้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแสดงในคอนเสิร์ตเฉลิมฉลองการส่งมอบเกาะฮ่องกงคืนเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2540[14] โดยแสดงร่วมกับศิลปินนานาชาติ อาทิ เวตเวตเวต ไมเคิลเลิร์นทูร็อก ลิซา สแตนส์ฟิลด์ ออลโฟร์วัน และแบรนด์นิวเฮฟวี่ส์

ในปี พ.ศ. 2540 ทาทากลายเป็นศิลปินที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัล "พระพิฆเนตรทองคำ" จากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[1] จากการที่เธอได้รับรางวัลดังกล่าว ทำให้เธอมีโอกาสแสดงคอนเสิร์ตเฉพาะพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ และในปีเดียวกันนี้ได้มีการจัดตั้งกลุ่มแฟนคลับทาทา ยังขึ้น ในการดูแลของบริษัททาทาเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เพื่อรวมกลุ่มแฟนเพลงของเธอและช่วยเหลือมูลนิธิเด็กในประเทศไทยและมูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล

สู่วงการละครและภาพยนตร์ (2540–2542)

[แก้]

ทาทาได้เข้าสู่วงการภาพยนตร์โดยมีผลงานในเรื่อง จักรยานสีแดง ซึ่งออกฉายในปี พ.ศ. 2540 เป็นเรื่องแรก จากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ทำให้เธอได้รับรางวัล "นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม" จากงานประกาศรางวัลบล็อกบัสเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ประจำปี พ.ศ. 2540 หลังจากนั้นเธอได้แสดงในภาพยนตร์ในอีก 2 เรื่องคือ รัก-ออกแบบไม่ได้ และ ปลายเทียน ซึ่งประสบความสำเร็จเช่นกัน ในปีเดียวกันนี้เธอได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 10 ผู้ทรงอิทธิพลในประเทศไทยจากนิตยสารแอล

ในปี พ.ศ. 2541 ทาทา ยังได้รับเลือกให้ขับร้องเพลงประจำการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยขับร้องเพลง "รีชฟอร์เดอะสตาร์" ในพิธีเปิดการแข่งขันเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2541[14] ในปีเดียวกันนี้ ทาทาได้รับเลือกเป็น 1 ใน 25 บุคคลที่เป็นที่บอมรับในเอเชียจากนิตยสาร เอเชียวีค[16] นอกจากผลงานทางการแสดงและขับร้องเพลงแล้ว ในปี พ.ศ. 2543 ทาทามีผลงานโฆษณาผลิตภัณฑ์ของ Smooth E ร่วมกับ Kipsan Beck นายแบบและนักแสดงชาวยูเรเชียน

ทาทายังได้ออกอัลบั้ม ทาทารีมิกซ์ ในปีเดียวกันโดยนำเพลงฮิตมาเรียบเรียงใหม่ในจังหวะที่เร็วขึ้น ประกอบไปด้วย ไชนิสมิกซ์ ยูโรมิกซ์ เฮาส์มิกซ์ และนำเพลง "ฮัลโล" มารีมิกซ์ใหม่ร่วมกับมอส ปฏิภาณ และนิตยสาร แมนีแคลร์ ได้มีการเขียนบทความเรื่อง "เด็กร่ำรวย" พูดถึงเด็กเก่งทั่วโลกโดยมีทาทาหนึ่งในนั้นโดยสามารถทำเงินได้มากกว่า 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีเดียวกันนี้ทาทายังได้รับเลือกจากสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค ของญี่ปุ่นเพื่อร่วมงาน เอเชียนไลฟ์ ร่วมกับศิลปินชั้นนำของเอเชีย ถ่ายทอดไปกว่า 30 ประเทศ

ทาทาได้รับเชิญจากสถานีโทรทัศน์ ซีซีทีวี ให้ร่วมแสดงกับ 80 ศิลปินในการฉลองเปิดสถานี ซึ่งเผยแพร่กว่า 100 ประเทศทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2542 และในเดือนพฤษภาคมทาทาได้เดินทางไปฮ่องกงเพื่อให้สัมภาษณ์ในรายการ คิวแอนด์เอ (Q&A) ของสถานีโทรทัศน์ ซีเอ็นเอ็น โดยมี Riz Khan' เป็นผู้สัมภาษณ์ในหัวข้อ 'Asia's Top Entertainers' และในเดือนตุลาคมสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นได้เผยแพร่เรื่องราวของเธอในสารคดีชุด "ทาทายัง - วันออฟเอเชียส์โมสต์เอาต์สแตนดิงทีเนเจอรส์" (Tata Young - One of Asia's Most Outstanding Teenagers)[14] ต่อมาในเดือนมิถุนายนทาทาได้เป็นศิลปินไทยคนแรกที่ได้ให้สัมภาษณ์กับ เอ็มทีวีเอเชียออนไลน์ และเดิอนกรกฎาคมสำนักพิมพ์รอยเตอร์ได้เผยแพร่เรื่องราวของเธอกับ 'Tata Young Feature Story - Thai Teen Sensation Reaches for the Stars' นอกจากนี้ทาทายังได้รับเลือกจากหนังสือพิมพ์ เดอะเนชัน ให้เป็น 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลในรอบศตวรรษ (One of Thailand's 100 Most Influential Artist & Entertainers of the Century)[17]

สู่วงการนางแบบ (2543–2546)

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2543 ทาทาได้เซ็นสัญญาเป็นนางแบบในสังกัดของชาแนลรวมถึงงานเดินแบบของเธอตลอดปี และเซ็นสัญญากับ บีอีซีเทโรเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นเวลา 4 ปีโดยมีผลงานละคร 2 เรื่อง ผลงานภาพยนตร์ 2 เรื่อง และผลงานเพลง 3 ชุด

เรื่องราวของทาทาเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขน จนนิตยสาร ไทม์ (เอเชีย) ได้เสนอบทความ "The Eurasian Invasion" เรื่องราวของลูกครึ่งที่มีชื่อเสียงในแถบประเทศเอเชีย เพื่อแสดงว่าอิทธิพลของลูกครึ่งในธุรกิจบันเทิงกำลังมาแรง ซึ่งทาทาได้ให้สัมภาษณ์และขึ้นปกพร้อมกับ Maggie Q.และ Asha Gill[18] ในฉบับเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 และในปีเดียวกันนี้ทาทาได้ออกอัลบั้มใหม่ในชื่อเดียวกับตัวเอง มีเพลงเด่นจากอัลบั้มได้แก่เพลง "อา-โบ-เด-เบ" "หวานใจ" และ "เก็บฉันไว้ยืนข้างเธอทำไม" ซึ่งทุกเพลงได้รับการตอบรับและขึ้นชาร์ตเพลงในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2545 ทาทามีผลงานละคร ปลายเทียน เป็นเรื่องแรก รับบทเป็นเกาลัด มีบุคลิกมั่นใจในตนเอง และได้ขับร้องเพลงประกอบละคร 2 เพลงคือ "จะเก็บเอาไว้ให้เธอผู้เดียว" และ "จดจำไว้ในลมหายใจ" ด้วย นอกจากนี้เธอยังร่วมในการจัดทำอัลบั้ม 2002 ฟีฟ่าเวิลด์คัพ โดยได้ขับร้องเพลง "เชียร์หยุดโลก" ร่วมกับ อัยย์,ซ่าร่า,โน้ต-ตูน และอัลบั้ม เพร์สเปกชีฟ 1 (อังกฤษ: Perspective I) ที่นำเอาเพลงเก่าของเบิร์ด-ฮาร์ท มาเรียบเรียงใหม่ โดยทาทาได้ร้องเพลง "ห่างไกล"

ภายหลังการแสดงละครและออกอัลบั้มร่วมกับศิลปินอื่นๆแล้ว ในปี พ.ศ. 2546 ทาทาได้ออกอัลบั้มที่ 2 ในการสังกัดค่าบบีอีซีเทโรคือ เรียลทีที (อังกฤษ: Real TT) ในอัลบั้มนี้เธอมีส่วนร่วมกับผลงานในการสร้าง การประพันธ์เพลง และการกำหนดแนวคิดหลักของอัลบั้ม เพลงเด่นจากอัลบั้มนี้ได้แก่ "ซูเปอร์แฟน" และ "อยากเก็บเธอไว้ทั้งสองคน"

นักร้องแห่งเอเชีย (2547–2550)

[แก้]
ทาทายัง ศิลปินระดับแถวหน้าของเอเชีย

หลังจากความสำเร็จในวงการดนตรีของทาทา เธอจึงเป็นศิลปินไทยคนแรกที่มีโอกาสเซ็นสัญญากับค่ายโคลัมเบียในสังกัดของโซนีมิวสิกเมื่อปี พ.ศ. 2547 และได้ออกอัลบั้ม ไอบีลีฟ (อังกฤษ: I Believe) ซึ่งเป็นอัลบั้มภาษาอังกฤษอัลบั้มแรกของเธอ[19] โดยมีซิงเกิลแรกคือ "เซ็กซี, นอร์ตี, บิชชี" (อังกฤษ: Sexy, Naughty, Bitchy) แต่เพลงนี้ในมาเลเซียต้องเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "เซ็กซี, นอร์ตี, ชีกกี" นอกจากนี้อัลบั้มดังกล่าวยังมีซิงเกิลอีก 2 ซิงเกิลคือ "ไอบีลีฟ" และ "ซินเดอเรลลา"

นอกจากนี้ทาทายังได้รับการเลือกเป็น 1 ใน 50 สตรีที่เซ็กซี่ที่สุดในโลกจากนิตยสารในมาเลเซีย และได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสินการประกวดมิสสิงคโปร์ประจำปี 2004 เธอขยายตลาดเพลงของเธอสู่ประเทศอินเดียด้วยการออกซิงเกิล "ดูมดูม" เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ดูม (อังกฤษ: Dhoom) ภาพยนตร์อินเดีย คนอินเดียจึงเรียกขานเธอว่า "ดูมเกิร์ล" และมีการจัดคอนเสิรร์ตทัวร์ ดูม จัดขึ้นในหลายประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในปี พ.ศ. 2549 ทาทาได้ขับร้องเพลง "ไอติงค์ออฟยู" (อังกฤษ: I Think of You) ร่วมกับ "เอช" นักร้องชาวเกาหลี และเพลง "ไอบีลีฟ" ได้รับการขับร้องใหม่จากวงเบบี้วอกซ์รีฟในปี พ.ศ. 2551[20]

ในประเทศไต้หวัน ทาทาได้เกียรติให้แสดงในงานประกาศรางวัล โกลเดนเมโลดี และได้ทำงานร่วมกับศิลปินชั้นนำของไต้หวันอย่างแวนเนส วู (จากวงเอฟโฟร์), เจย์ โจว, หวัง ลี่หง จากความสำเร็จในงานดนตรีของเธอ เธอจึงขยายฐานแฟนเพลงสู่ประเทศญี่ปุ่น ในเพลง "เซ็กซี, นอร์ตี, บิชชี" เป็นเพลงแรกที่ขึ้นชาร์ตออริกอนของญี่ปุ่น มิวสิกวิดีโอของเธอได้ฉายทุกๆ 10 นาทีในจอยักษ์เขตชิบูยาของญี่ปุ่น ยอดขายอัลบั้มในญี่ปุ่นในอัลบั้มนี้มากกว่า 3 แสนชุด และจัดคอนเสิร์ตทัวร์ในญี่ปุ่นไปยังเมืองสำคัญ 6 เมืองได้แก่ ฟูกุโอกะ โอซากา โยโกฮามา นาโกยา เซ็นได และโตเกียว และระหว่างการจัดคอนเสิร์ตในประเทศเนปาล เธอได้รับแจ้งข่าวการเสียชีวิตของมารดาของเธอ จึงทำให้เธอยกเลิกการจัดคอนเสิร์ตและกลับประเทศไทยทันที

อัลบั้ม ไอบีลีฟ ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินเดีย ได้คว้ารางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว (Platinum) และรางวัลแผ่นเสียงทองคำ (Gold) ด้วยยอดขายทั่วเชียกว่า 1.2 ล้านชุด จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้ทาทาได้ออกอัลบั้มพิเศษในชื่อ ดูมดูม โดยนำเพลง "ไอบีลีฟ" "เซ็กซี, นอร์ตี, บิชชี" และ "ไอติงค์อฟยู" มาขับร้องใหม่ในภาษาญี่ปุ่น ทำให้เธอได้รับรางวัล "ศิลปินหน้าใหม่แห่งปี" ในงานประกาศรางวัลแผ่นเสียงทองคำของญี่ปุ่นของที่ 19

ภายหลังการประชาสัมพันธ์อัลบั้ม ไอบีลีฟ ทาทาได้ออกอัลบั้มภาษาไทยในชื่อว่า แดนเจอรัสทาทา (อังกฤษ: Dangerous Tata)) โดยมีเพลง "แดนเจอรัส" เป็นซิงเกิลแรก เพลงดังกล่าวได้ขับร้องร่วมกับไทยเทเนี่ยม นอกจากนี้อัลบั้มดังกล่าวยังได้ร่วมงานกับศิลปินอื่นๆ อาทิ นภ พรชำนิ, ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร, ตรัย ภูมิรัตน์ และบีไฟฟ์ (B5) มียอดจำหน่ายในวันแรกกว่า 1 แสนชุดทำให้ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว (Platinum) ในวันแรกที่ออกจำหน่าย

ทาทา ยัง รับรางวัลงานเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส

ในปี พ.ศ. 2549 เธอได้เข้าร่วมงานเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดสและได้ขับร้องเพลง "เอ็นเลสส์เลิฟ" (อังกฤษ: Endless Love) ร่วมกับลี ไรอัน และได้รับรางวัล "นักร้องโปรดประเทศไทย" นอกจากนี้ ในปีเดียวกัน เธอได้ออกอัลบั้มภาษาอังกฤษชุดที่ 2 คือ เทมเพอเรเจอร์ไรซิง (อังกฤษ: Temperature Rising) ในเดือนสิงหาคม เปิดตัวด้วยซิงเกิล "เอลนิน-โญ!" ในอัลบั้มนี้มีนักแต่งเพลงชื่อดังมากมายร่วมประพันธ์เพลงให้เธอ อาทิ ไดแอน วาเรน, พอล แม็กคาร์ตนีย์ และนาตาชา เบดิงฟิลด์ หลังจากความสำเร็จที่ได้รับ จึงได้มีการนำอัลบั้ม เทมเพอเรเจอร์ไรซิง มาจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีคาราโอเกะ โดยเลือกมิวสิกวิดีโอเด่น 7 เพลงจากอัลบั้ม และมีการจัดคอนเสิร์ตใหญ่ส่งท้ายปี ในเดือนธันวาคม ในชื่อว่า ทาทายังเทมเพอเรเจอร์ไรซิงไลฟ์อินบางกอกอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และได้เปิดตัวซิงเกิลที่ 3 มาฉายในคอนเสิร์ตคือเพลง "คัมเรนคัมไชน์" (Come Rain Come Shine)

ในปี พ.ศ. 2550 ทาทาได้รับเลือกเป็นอิมเมจเกิร์ลคนแรกและได้เป็นตัวแทนช่อง สตาร์เวิลด์ (อังกฤษ: Star World) ในการประชาสัมพันธ์งานต่างๆของสถานี[21] และได้ถ่ายทำโฆษณาของสถานีดังกล่าวที่ประเทศฮ่องกง โดยใช้เพลง "คัมเรนคัมไชน์" มาประกอบภาพยนตร์โฆษณา นอกจานี้เธอยังได้รับเลือกเป็นตัวแทนรณรงค์เรื่องการค้ามนุษย์ ในโครงการ EXIT : End Exploitation & Trafficking ซึ่งแพร่ภาพทั่วโลกโดยเริ่มออกอากาศที่ประเทศไทยเป็นที่แรก โดยจะร่วมมือกับสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (USAID) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา โดนจุง จี-ฮุน หรือเรน จะช่วยเหลือ เอ็มทีวีในการประชาสัมพันธ์รณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ด้วยเช่นกัน[22]

ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ทาทาเข้าพิธีหมั้นกับเปรม บุษราคัมวงษ์ ทายาทค่ายมวยแฟร์เท็กซ์ ณ โรงแรมเพนนินซูล่า[23] และในปีถัดมาทาทาได้ออกอัลบั้มภาษาไทยในชื่อ วันเลิฟ (อังกฤษ: One Love) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดยเริ่มบันทึกเสียงตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีเพลง "วันเลิฟ" เป็นซิงเกิลแรก โดยเผยแพร่วันแรกในวันวาเลนไทน์ในปี พ.ศ. 2551 และยังมีเพลงเด่นจากอัลบั้มนี้ได้แก่ "ต้นเหตุแห่งความเศร้า" และ "ไอบียัวร์เฟิส, ยัวร์ลาสต์, ยัวร์เอฟรีติง" อีกด้วย[24]

อัลบั้มดังกล่าวได้ประชาสัมพันธ์ร่วมกับโครงการต่างๆ อาทิ วันเลิฟวันลีฟ, วันเลิฟวันบุก, วันเลิฟวันเมมโมรี, วันเลิฟวันวอยซ์ และวันเลิฟวันบาท โดยแต่ละโครงการจะมุ่งทางสิ่งแวดล้อม และสาธารณกุศล นอกจานี้ยังมีการจัด คอนเสิร์ตทัวร์วันเลิฟ ไปยังจังหวัดเชียงใหม่ อุดรธานี กรุงเทพมหานคร และภูเก็ต เพื่อนำโครงการ วันเลิฟ รักเดียวเพื่อเมืองไทย ไปร่วมกับคอนเสิร์ตแต่ละที่[25]

นักร้องระดับสากล (2551–ปัจจุบัน)

[แก้]

ในช่วงกลางเดือนเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทาทาจะเดินทางยังประเทศเยอรมันเพื่อจัดทำอัลบั้มภาษาอังกฤษชุดที่ 3 มีการคัดเลือกเพลงเพื่อสร้างอัลบั้มนี้จากกว่าหนึ่งพันเพลง และได้ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ในชื่อ เรดีฟอร์เลิฟ (อังกฤษ: Ready For Love) โดยใช้เพลง "เรดีฟอร์เลิฟ" เป็นซิงเกิลแรกซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และได้จัดงานเปิดอัลบั้มในชื่อว่า ทาทาเทกยูทูเดอะเวิลด์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และมีการปฐมทัศน์มิวสิกวิดีโอที่ 2 จากอัลบั้มคือ "มายบลัดดีวาเลนไทน์" และเธอได้ตัด Video Mission is you เพื่อเป็นการโปรโมท งานแถลงข่าวเปิดตัวอัลบั้มของเธออย่างเป็นทางการในงาน "ทาทา ยัง เทกยูทูเดอะเวิลด์" และต่อมาหลังจากนั้นเธอได้เดินทางไปที่ประเทศ ออสเตรเลีย ในงานเทศกาลดนตรี One Movement Music Festival ,The Esplanade Perth Australia 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และจะมีแผนกลับไปโปรโมทที่ประเทศออสเตรเลียในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 นี้[26]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ส่วนตัวทาทาบูชาพระพิฆเนศวรตามมารดาตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยให้เหตุผลว่าเธอเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตัวเองนัก[27][28] นอกจากนี้เธอยังเป็นแฟนคลับคิม อู-บิน ศิลปินชาวเกาหลีใต้[29]

เธอเคยคบหากับโอลิเวอร์ พูพาร์ต, ภราดร ศรีชาพันธุ์, เปรม บุษราคัมวงษ์[30] และวิคเตอร์ ชายชาวโรมาเนีย[31] เป็นอาทิ ซึ่งความสัมพันธ์ทั้งหมดก็ลงท้ายด้วยการเลิกรา ด้วยไม่สมหวังในความรัก เธอเคยคิดที่จะหาสเปิร์มเพื่อจะเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว[32][33]

ทาทาสมรสกับฉัตรอดุลล์ สีณพงศ์ภิภิธ (ชื่อเดิม ฉัตรอดุลย์ สีนะพงษ์พิพิธ) เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 โดยจัดขึ้นที่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต[34][35] ทั้งนี้ฉัตรอดุลย์เป็นคนรักเก่าที่เคยคบหาและเลิกราไปเมื่อสี่ปีก่อน[36] มีบุตรด้วยกันหนึ่งคนชื่อเร สีณพงศ์ภิภิธ (เกิด 12 มกราคม พ.ศ. 2559)[37]

แต่ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ทาทาได้ออกมาเผยว่าได้เลิกรากับสามีมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 แล้ว

ผลงานเพลง

[แก้]

ทาทายังมีผลงานอัลบั้มและซิงเกิลมากมาย ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ด้านล่างนี้จะแสดงเพียงสตูดิโออัลบั้ม สามารถดูผลงานอัลบั้มทั้งหมดของทาทาที่ ผลงานเพลงของทาทา ยัง

ผลงานการแสดง

[แก้]

ซิตคอม

[แก้]

มิวสิควีดีโอ

[แก้]

คอนเสิร์ต

[แก้]

คอนเสิร์ตเดี่ยว

[แก้]

คอนเสิร์ตคู่

[แก้]

คอนเสิร์ตกลุ่ม

[แก้]

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]
ปี (พ.ศ.) รายละเอียด
2535
  • นิสสันมิวสิกอวอร์ด (ระดับยุวชน)
    รางวัลชนะเลิศ ประเภทเพลงสากล
2538
  • เรดิโอโหวต อะวอร์ด
    รางวัลนักร้องยอดเยี่ยม
    อัลบั้มยอดเยี่ยม
    มิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยม
  • ฟูจิ ฟิล์ม อะวอร์ด 1995 รางวัลอัลบั้มยอดขาย 1 ล้านตลับ อัลบั้ม "อมิตา ทาทา ยัง"
2539
  • รางวัลนิตยสารแพรว 1996 ศิลปินหญิงยอดเยี่ยม
  • สมาคมดนตรี แห่งประเทศไทย
    รางวัลนักร้องยอดนิยม
2540
  • 1997: ELLE magazine
    One of Thailand's 10 Most Influential People
2541
  • Thailand Blockbuster Entertainment Award 1998 แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 รางวัลดารานำหญิงยอดเยี่ยม
  • รางวัลจากสมาคมนักวิจารณ์หนังไทย 1998 รางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์ "O-negative รักออกแบบไม่ได้"
  • รางวัลสมาคมหนังไทย 1998 ราววัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์ "O-negative รักออกแบบไม่ได้"
2542
  • Music Hall of Frame Thailand 1999 of M.S. Voice Studio
2543
  • Cosmopolitan Magazine Award
    For Fun, Fearless, Female Award 2000
2547
  • 95.5 Virgin Hitz Award
    Album of the Year "I Believe"
    Favorite Artist Of The Year
  • MTV Immies: Indian Music Excellence
    Best International Female Pop Act
  • Sony Music BEC TERO of February 2004 Award for Platinum Sales I Believe Album by “Tata Young”
2548
  • Japan Golden Disc Award
    New Artist of the Year
  • Platinum Album “ I Believe” Tata Young of Platia Entertainment Inc.
  • Gold Album “ I Believe “ Tata Young of Platia Entertainment Inc.
  • Sony BMG Music Award Thailand of April 2005
  • FHM 100 Sexiest Women in the World 2005 (Thai Edition)
    Sexiest Singer in Thailand
  • Channel V Thailand Music Award
    Most Popular International Female Artist of the Year
    Most Popular Music of the Year
2549
  • เอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดส MTV Asia Awards 2005
    รางวัลนักร้องยอดนิยม ประเทศไทย
  • FHM 100 Sexiest Women in the World 2006 (Thai Edition)
    Sexiest Singer in Thailand
  • Virgin Hitz Awards 2006, Popular Vote International Artist & Fastest Chart Climber 2006
  • Teen Choice Awards 2006, Unbeatable Female Artist
  • Sony BMG Music Indonesia November 2006 "On Achieving Gold Status for TaTa Young : I Believe Album"
2550
  • FHM 100 Sexiest Woman is the world 2007 "Sexiest Singer in Thailand 2007"
2552
  • The Hot Awards 2009
  • Queen of Hot 2009
2553
  • Mademan.com
  • Best Thai Female Singer

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 หนังดี อมิตา ยัง เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
  2. ประวัติทาทายัง
  3. ประวัติทาทายัง
  4. เว็บบอร์ดพันธ์ทิพย์ เก็บถาวร 2009-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน TATA YOUNG หญิงไทยผู้โกยเงินเข้าประเทศกว่า 800 ล้านบาท กับอุตสาหกรรมบันเทิงไทย !!!!!! เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
  5. ""ทาทา ยัง" นำร่างไร้วิญญาณ คุณพ่อ มาตั้งสวดอภิธรรม ที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์" (Press release). มติชนออนไลน์. 6 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "'ทาทา' ไม่เสียดายกลับมาดูใจพ่อไม่ทัน มั่นใจที่ผ่านมาทำเต็มที่แล้ว" (Press release). ไทยรัฐ. 6 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Biography on tatayoung.com เก็บถาวร 2009-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  8. Announcement of the death of Tata's Mother เก็บถาวร 2008-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. "'ทาทา'ส่งพ่อครั้งสุดท้ายด้วยน้ำตา" (Press release). ข่าวสด. 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2557. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. "รักให้เป็น รักอย่าง ทาทา ยัง" (Press release). กระปุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2557. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ทาทา ยัง เมื่อตอนชนะประกวดร้องเพลง" (Press release). จับฉ่ายดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2557. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. ประวัติทาทายังประวัติทาทา ยัง เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
  13. ประวัติทาทายัง
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tata2you
  15. 6.2.12 - 6.2.12 (หกสองสิบสอง) เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
  16. เบรฟโฮสต์[ลิงก์เสีย] ทาทา ยัง เรยกข้อมูลวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552
  17. ทาทายังเวิลด์[ลิงก์เสีย] รางวัลแห่งความสำเร็จ : ความมหัศจรรย์ของสาวน้อย เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
  18. นิตยสารไทม์ เก็บถาวร 2010-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Eurasian Invasion เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
  19. โซนีมิวสิกประเทศไทย[ลิงก์เสีย] Tata Young - I Believe เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
  20. กระปุกดอตคอม เก็บถาวร 2011-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คลิป ฟังเพลง mv เพลง I Believe - BABYVOX Re.v เวอร์ชันทำใหม่ของเกาหลี เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
  21. บล็อก[ลิงก์เสีย] สตาร์เวิลด์ ดึงตัว ทาทา ยัง เป็นอิมเมจ เกิร์ล คนล่าสุด พร้อมเปิดตัวรายการสุดฮิตจากอเมริกา เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
  22. ทาทา ยัง จับมือ เรน เป็นพรีเซ็นเตอร์ MTV รณรงค์ต้านการค้ามนุษย์ เก็บถาวร 2011-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักข่าวเนชั่น
  23. ทาทาเข้าพิธีหมั้นกับเปรม บุษราคัมวงษ์
  24. โซนีมิวสิกประเทศไทย[ลิงก์เสีย] Tata Young – One Love เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
  25. โซนีมิวสิกประเทศไทย[ลิงก์เสีย] โครงการ Tata Young OneLove รักเดียว...เพื่อเมืองไทย เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
  26. คมชัดลึก ทาทา ยังยึดสนามบินดอนเมืองเปิดตัวอัลบั้ม เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
  27. "ทาทา ยัง เซียนบูชาพระพิฆเนศอ้ำอึ้ง !!! เจ้าเข้าองค์ลงอาภัพคู่ การันตีขอพรได้ทุกครั้ง". สยามรัฐ. 9 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  28. "ทาทา เผย เป็นเซียนบูชาพระพิฆเนศ". กระปุกดอตคอม. 13 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "'ทาทา ยัง' สุดฟิน ตามส่ง 'คิมวูบิน' ถึงสนามบิน". ไทยรัฐ. 9 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. "สุดทางรัก ทาทา 4 ครั้ง กับผู้ชาย 4 คน". ไทยรัฐ. 25 สิงหาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. "'ทาทา'บอกเลิก'วิค'! ลั่นทุ่มชีวิตให้งานเพราะไม่ทรยศ". ไทยรัฐ. 9 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. ""ทาทา" ฟุ้งอยากมีลูก เล็งหา "สเปิร์ม" ไม่ง้อผู้ชาย". โพสต์ทูเดย์. 3 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  33. ""ทาทา ยัง" อยากมีลูก เล็งหาสเปิร์มมาท้องเอง". ไทยรัฐ. 16 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "แต่งแล้ว 'ทาทา ยัง' วิวาห์ฟ้าแลบ 'พี่หมอ' ที่ภูเก็ต". ไทยรัฐ. 22 กรกฎาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. "ภาพวิวาห์หวาน ปานฟ้าแล่บ! "ทาทา ยัง & พี่หมอ" โรแมนติก ซาบซึ้งน้ำตาริน ริมทะเลภูเก็ต !!". มติชน. 22 กรกฎาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. "จับพิรุธ 'ทาทา' รีเทิร์น 'พี่หมอ' ลุ้นอาจมีแต่ง!". ไทยรัฐ. 23 มิถุนายน 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. "ทาทา คลอดลูกชาย ตั้งชื่อ น้องเร ด้าน พี่หมอ ให้กำลังใจไม่ห่าง". ไทยรัฐ. 12 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. Official MV ใครจะรู้ (Ost.ทรายสีเพลิง) - ทาทา ยัง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]