โซนี่มิวสิกเอ็นเตอร์เทนเมนต์
ประเภท | บริษัทจำกัด |
---|---|
อุตสาหกรรม | ดนตรี การบันเทิง |
ก่อตั้ง | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 (ก่อตั้ง) 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (รวบรวมสำเร็จ) |
สำนักงานใหญ่ | , |
ผลิตภัณฑ์ | ดนตรี และ การบันเทิง |
รายได้ | 7,270,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2560) |
รายได้จากการดำเนินงาน | 1,160,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2560) |
พนักงาน | 8,578 (พ.ศ. 2563) |
บริษัทในเครือ | Bakery Music Dojo City Black sheep Loveis |
เว็บไซต์ | sonymusic.co.th (ไทย)[ต้องการอ้างอิง] |
โซนี่ มิวสิค เอนเทอร์เทนเมนต์โอเปอร์เรติ้ง (ประเทศไทย)[1] หรือ โซนี่ มิวสิก เป็นหนึ่งในสี่ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ของโลกภายใต้การควบคุมของบริษัทโซนี่ สหรัฐอเมริกา การควบรวมธุรกิจของโซนี่ที่ได้ซื้อหุ้นอีก 50% จากบริษัทเบอร์เทลสแมนในโซนี บีเอ็มจี ที่ได้ลงทุนร่วมกันกลายเป็นของโซนี่ทั้งหมด จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับเป็น โซนี่ มิวสิก เช่นเดิมในปลายปี พ.ศ. 2551
การควบรวมครั้งแรกในชื่อ โซนี่ มิวสิก บีอีซี-เทโร
[แก้]บริษัท โซนี่ มิวสิก มีความพยายามที่จะเจาะตลาดเพลงไทยสากล เพราะเป็นตลาดใหญ่ มีส่วนแบ่งประมาณ 70% ของอุตสาหกรรมเพลงรวม ขณะที่บีอีซี เทโรฯ ก็ต้องการพา ทาทา ยัง นักร้องในสังกัดให้เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ
การจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ของ 2 ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ คือ บริษัท โซนี่ มิวสิก ประเทศไทย จำกัด และบริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งขณะนั้นเป็นบริษัทในเครือของบริษัท บีอีซีเวิลด์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยบริษัทใหม่นี้ใช้ชื่อว่า โซนี่ บีอีซี-เทโร มิวสิก เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ซึ่งเริ่มดำเนินธุรกิจตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 มีทุนจดทะเบียนอยู่ระหว่าง 70-100 ล้านบาท โดยโซนี่ มิวสิค เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 60% ส่วนบีอีซี-เทโร ถือหุ้นส่วน 40 % ที่เหลือ
การควบรวมครั้งที่ 2 และยุคสมัยของโซนี่ บีเอ็มจี
[แก้]ปลายปี พ.ศ. 2547 โซนี่ มิวสิก และบีเอ็มจี มิวสิคในต่างประเทศได้รวบรวมกิจการ มีผลให้ทั้ง 2 บริษัทในประเทศไทยต้องมีการรวบรวมกันโดยปริยาย แต่ในขณะนั้นโซนี่ มิวสิคในประเทศไทย คือ โซนี่ มิวสิค บีอีซี เทโร และบีเอ็มจี มิวสิค ที่มีบริษัทลูกคือเบเกอรี่ มิวสิค นั้นมีปัญหาเรื่องหุ้นส่วน จึงได้ตกลงกันอยู่เป็นเวลาพอสมควร โดย บีอีซี-เทโร ได้ถอนหุ้นไปก่อน จากนั้นการรวบรวมกันทำให้เปลี่ยนชื่อเป็นโซนี่ บีเอ็มจีในเวลาต่อมา
ในปี พ.ศ. 2556 บีอีซี-เทโร ได้รวบรวมกิจการกับ โซนี่ มิวสิก ประเทศไทย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น บีอีซี-เทโร มิวสิค แต่ในปี พ.ศ. 2563 บีอีซีเวิลด์ได้ถอนหุ้นออกจากบีอีซี-เทโร ส่งผลให้บริษัทแม่เปลี่ยนชื่อเป็น เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ มีผลให้บริษัทลูกถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เทโร ทั้งหมด จึงเปลี่ยนชื่อ บีอีซี-เทโร มิวสิค เป็น เทโร มิวสิค โดยอัตโนมัติ
บริษัทย่อย
[แก้]- เบเกอรี่มิวสิค (Bakery Music)
- โดโจ ซิตี้ (Dojo City)
- Black sheep
- Loveis (เลิฟอิส)
ศิลปินในสังกัด
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ โซนี่ มิวสิค เอนเทอร์เทนเมนต์โอเปอร์เรติ้ง (ประเทศไทย)[ลิงก์เสีย]
- ↑ ชูการ์ อายส์[ลิงก์เสีย]. โซนี่ มิวสิค. เรียกข้อมูลวันที่ 5 พค. 2552
- ↑ L.O.G[ลิงก์เสีย]. โซนี่ มิวสิค. เรียกข้อมูลวันที่ 8 พค. 2552
- ↑ ChocolateSeries. โซนี่ มิวสิค. เรียกข้อมูลวันที่ 5 พค. 2552