ทาทา ยัง
ทาทา ยัง | |
---|---|
ทาทา ยัง ในงานเทศกาลดนตรีพัทยา พ.ศ. 2550 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | อมิตา มารี ยัง |
รู้จักในชื่อ | ทาทา |
เกิด | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2523 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | |
อาชีพ |
|
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2538–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | |
คู่สมรส | ฉัตรอดุลล์ สีณพงศ์ภิภิธ (2557–2563; เลิกรา) |
เว็บไซต์ | TataYoung.com |
อมิตา มารี ยัง (อักษรโรมัน: Amita Marie Young; เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2523) ชื่อเล่น ทาทา เป็นที่รู้จักในชื่อ ทาทา ยัง หรือ อมิตา ทาทา ยัง เป็นนักร้อง นักแสดง และนางแบบลูกครึ่งไทย-สหรัฐอเมริกา เข้าสู่วงการดนตรีภายหลังชนะเลิศการประกวดร้องเพลงระดับชาติเมื่ออายุ 11 ปี และได้เซ็นสัญญาเป็นนักร้องอาชีพเมื่ออายุ 14 ปี กับสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ มีผลงานอัลบั้มอัลบั้มแรกคือ อมิตา ทาทา ยัง เมื่อปี พ.ศ. 2538[1] อัลบั้มดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างสูง สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 1.3 ล้านชุด ภายในเวลา 5 เดือน[2] อัลบั้ม ทาทาวันมิลเลียนกอปปีส์เซเลอเบรชัน เป็นอัลบั้มซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จดังกล่าว ซึ่งอัลบั้มนี้ก็มียอดขายเกิน 1 ล้านชุดอีกเช่นกัน ส่งผลให้เป็นนักร้องที่มีอายุน้อยที่สุดที่มีอัลบั้มทะลุล้านตลับถึง 2 อัลบั้มติดต่อกัน[3]
นอกจากผลงานเพลงแล้ว ทาทายังมีผลงานด้านการแสดงทั้งภาพยนตร์ในเรื่อง จักรยานสีแดง และ รัก-ออกแบบไม่ได้ และผลงานละครเรื่อง ปลายเทียน ต่อมาทาทาได้เซ็นสัญญากับค่ายโคลัมเบีย ซึ่งอยู่ในสังกัดโซนีมิวสิก และได้มีผลงานอัลบั้มภาษาอังกฤษชุดแรกในชื่อ ไอบีลีฟ (อังกฤษ: I Believe) เมื่อปี พ.ศ. 2547 อัลบั้มดังกล่าวมีการเผยแพร่ไปยังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบางส่วนของเอเชียตะวันออก
ทาทาเป็นศิลปินที่ขับร้องเพลงในหลากหลายแนวเพลงทั้งป๊อป บัลลาด ร็อก และมีทั้งกลุ่มผู้สนับสนุนผลงานและต่อต้านผลงานของเธอ มิวสิกวิดีโอและผลงานด้านอื่น ๆ ของเธอได้รับการต่อต้านจากกลุ่มบุคคลในบางครั้ง อย่างไรก็ดีทาทาได้รับรางวัลจากสื่อบันเทิงหลากหลายแขนงและเธอเป็นนักร้องหญิงที่ทำรายได้เข้าสู่ประเทศไทยกว่า 800 ล้านบาท[4]
ประวัติ
[แก้]ปฐมวัยและก้าวแรกในวงการดนตรี (2523–2538)
[แก้]ทาทา ยัง เกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2523 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เป็นธิดาคนแรกและคนเดียวของทิโมที ไมเคิล "ทิม" ยัง (มีชื่อไทยว่า วันชัย)[5][6] กับบัญชร ยัง[7][8] บิดาเป็นชาวอเมริกัน และมารดาเป็นชาวไทย มีพี่สาวบุญธรรมหนึ่งคน ชื่อเล่นว่า แก้ม[9][10] ซึ่งเป็นบุตรของน้า (น้องสาวของบัญชร) ที่บัญชรนำมาเลี้ยงดูก่อนทาทาเกิด[11]
ทาทาเริ่มต้นการศึกษาในระดับอนุบาลที่โรงเรียนแมรีปอปปินส์ สำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนบางกอกพัฒนา และศึกษาต่อระดับอนุปริญญาจากมหาวิทยาลัยเนแบรสกาแห่งลินคอล์น (Nebraska University of Lincoln)
เมื่ออายุได้ 11 ปี เธอชนะการประกวดจากเวที "นิสสันมิวสิก" ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยขับร้องเพลง "วันไนต์ออนลี" การแข่งขันดังกล่าวทำให้เธอได้เช็นสัญญากับยามาฮ่ามิวสิก ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นทางวงการดนตรีของเธอ ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 เธอได้เซ็นสัญญากับจีเอ็มเอ็มแกรมมี่[1] ค่ายเพลงใหญ่ของไทยและนำเธอเข้าสู่อุตสาหกรรมดนตรีอย่างเป็นทางการ
ในปี พ.ศ. 2538 ทาทาได้ออกอัลบั้มภาษาไทยในชื่อว่า อมิตาทาทายัง นับเป็นอัลบั้มแรกและเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในเวลานั้น โดยมีเพลง "โอ๊ะโอ้ย" เป็นเพลงเปิดตัวอัลบั้ม อัลบั้มดังกล่าวมียอดจำหน่ายมากกว่า 1.3 ล้านชุดภายในเวลาไม่ถึง 5 เดือนหลังออกจำหน่าย [12] ทำให้เธอออกอัลบั้ม ทาทาวันมิลเลียนกอปปีส์เซเลอเบรชัน เพื่อเป็นการขอบคุณแฟนเพลง โดยในอัลบั้มนี้เธอได้ขับร้องเพลง "ฉันรักเธอ" ซึ่งอัลบั้มนี้ก็มียอดขายเกิน 1 ล้านชุดอีกเช่นกัน ส่งผลให้เป็นนักร้องที่มีอายุน้อยที่สุดที่มีอัลบั้มทะลุล้านตลับถึง 2 อัลบั้มติดต่อกัน[13] นอกจากนี้เธอยังได้จัดคอนเสิร์ต นานาทาทา 2 รอบการแสดงและคอนเสิร์ตตอนพิเศษ "ไอเลิฟยู" ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้เธอได้รับรางวัล "นักร้องแห่งปี" จากนิตยสารบางกอก และรางวัล "ศิลปินยอดเยี่ยม" ประจำปี พ.ศ. 2538, "มิวสิกวิดีโอแห่งปี" และรางวัล "อัลบั้มแห่งปี" จากเรดิโอโวต[14]
โลกบันเทิง (2539–2540)
[แก้]ในปี พ.ศ. 2539 ทาทาได้รับเลือกจากจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ให้เป็น 1 ใน 6 ศิลปินอาทิ คริสติน่า อากีล่าร์,มอส,เจ เจตริน ฯลฯ ออกอัลบั้มร่วมกันในชื่อ 6.2.12[15] และจัดคอนเสิร์ต 6.2.12 เฟสติวัล ซึ่งมีผู้เข้าชมกว่า 5 หมื่นคน นอกจากนี้เธอยังได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการออกรายการโทรทัศน์ออสเตรเลียในชื่อ "เวิลด์เทลลีบอร์ดแคสต์" เป็นรายการที่นำเยาวชนเอเชียมาร่วมกันร้องเพลงและออกอากาศในเดือนกุมภาพันธ์ แพร่ภาพไปทั้งทวีปออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2539 ทาทาได้จัดคอนเสิร์ต ทาทาไลฟ์อินฮอลลีวูด ณ ฮอลลีวูดพาลลาเดียม ซึ่งเป็นหนึ่งในศิลปินเอเชียไม่กี่คนที่ได้จัดคอนเสิร์ตโดยมีผู้ชมเป็นชาวอเมริกัน และเธอก็ได้รับเลือกจากรัฐบาลจีนให้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแสดงในคอนเสิร์ตเฉลิมฉลองการส่งมอบเกาะฮ่องกงคืนเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2540[14] โดยแสดงร่วมกับศิลปินนานาชาติ อาทิ เวตเวตเวต ไมเคิลเลิร์นทูร็อก ลิซา สแตนส์ฟิลด์ ออลโฟร์วัน และแบรนด์นิวเฮฟวี่ส์
ในปี พ.ศ. 2540 ทาทากลายเป็นศิลปินที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัล "พระพิฆเนตรทองคำ" จากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[1] จากการที่เธอได้รับรางวัลดังกล่าว ทำให้เธอมีโอกาสแสดงคอนเสิร์ตเฉพาะพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ และในปีเดียวกันนี้ได้มีการจัดตั้งกลุ่มแฟนคลับทาทา ยังขึ้น ในการดูแลของบริษัททาทาเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เพื่อรวมกลุ่มแฟนเพลงของเธอและช่วยเหลือมูลนิธิเด็กในประเทศไทยและมูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล
สู่วงการละครและภาพยนตร์ (2540–2542)
[แก้]ทาทาได้เข้าสู่วงการภาพยนตร์โดยมีผลงานในเรื่อง จักรยานสีแดง ซึ่งออกฉายในปี พ.ศ. 2540 เป็นเรื่องแรก จากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ทำให้เธอได้รับรางวัล "นักแสดงหญิงยอดเยี่ยม" จากงานประกาศรางวัลบล็อกบัสเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ประจำปี พ.ศ. 2540 หลังจากนั้นเธอได้แสดงในภาพยนตร์ในอีก 2 เรื่องคือ รัก-ออกแบบไม่ได้ และ ปลายเทียน ซึ่งประสบความสำเร็จเช่นกัน ในปีเดียวกันนี้เธอได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 10 ผู้ทรงอิทธิพลในประเทศไทยจากนิตยสารแอล
ในปี พ.ศ. 2541 ทาทา ยังได้รับเลือกให้ขับร้องเพลงประจำการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยขับร้องเพลง "รีชฟอร์เดอะสตาร์" ในพิธีเปิดการแข่งขันเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2541[14] ในปีเดียวกันนี้ ทาทาได้รับเลือกเป็น 1 ใน 25 บุคคลที่เป็นที่บอมรับในเอเชียจากนิตยสาร เอเชียวีค[16] นอกจากผลงานทางการแสดงและขับร้องเพลงแล้ว ในปี พ.ศ. 2543 ทาทามีผลงานโฆษณาผลิตภัณฑ์ของ Smooth E ร่วมกับ Kipsan Beck นายแบบและนักแสดงชาวยูเรเชียน
ทาทายังได้ออกอัลบั้ม ทาทารีมิกซ์ ในปีเดียวกันโดยนำเพลงฮิตมาเรียบเรียงใหม่ในจังหวะที่เร็วขึ้น ประกอบไปด้วย ไชนิสมิกซ์ ยูโรมิกซ์ เฮาส์มิกซ์ และนำเพลง "ฮัลโล" มารีมิกซ์ใหม่ร่วมกับมอส ปฏิภาณ และนิตยสาร แมนีแคลร์ ได้มีการเขียนบทความเรื่อง "เด็กร่ำรวย" พูดถึงเด็กเก่งทั่วโลกโดยมีทาทาหนึ่งในนั้นโดยสามารถทำเงินได้มากกว่า 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีเดียวกันนี้ทาทายังได้รับเลือกจากสถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค ของญี่ปุ่นเพื่อร่วมงาน เอเชียนไลฟ์ ร่วมกับศิลปินชั้นนำของเอเชีย ถ่ายทอดไปกว่า 30 ประเทศ
ทาทาได้รับเชิญจากสถานีโทรทัศน์ ซีซีทีวี ให้ร่วมแสดงกับ 80 ศิลปินในการฉลองเปิดสถานี ซึ่งเผยแพร่กว่า 100 ประเทศทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2542 และในเดือนพฤษภาคมทาทาได้เดินทางไปฮ่องกงเพื่อให้สัมภาษณ์ในรายการ คิวแอนด์เอ (Q&A) ของสถานีโทรทัศน์ ซีเอ็นเอ็น โดยมี Riz Khan' เป็นผู้สัมภาษณ์ในหัวข้อ 'Asia's Top Entertainers' และในเดือนตุลาคมสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นได้เผยแพร่เรื่องราวของเธอในสารคดีชุด "ทาทายัง - วันออฟเอเชียส์โมสต์เอาต์สแตนดิงทีเนเจอรส์" (Tata Young - One of Asia's Most Outstanding Teenagers)[14] ต่อมาในเดือนมิถุนายนทาทาได้เป็นศิลปินไทยคนแรกที่ได้ให้สัมภาษณ์กับ เอ็มทีวีเอเชียออนไลน์ และเดิอนกรกฎาคมสำนักพิมพ์รอยเตอร์ได้เผยแพร่เรื่องราวของเธอกับ 'Tata Young Feature Story - Thai Teen Sensation Reaches for the Stars' นอกจากนี้ทาทายังได้รับเลือกจากหนังสือพิมพ์ เดอะเนชัน ให้เป็น 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลในรอบศตวรรษ (One of Thailand's 100 Most Influential Artist & Entertainers of the Century)[17]
สู่วงการนางแบบ (2543–2546)
[แก้]ในปี พ.ศ. 2543 ทาทาได้เซ็นสัญญาเป็นนางแบบในสังกัดของชาแนลรวมถึงงานเดินแบบของเธอตลอดปี และเซ็นสัญญากับ บีอีซีเทโรเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นเวลา 4 ปีโดยมีผลงานละคร 2 เรื่อง ผลงานภาพยนตร์ 2 เรื่อง และผลงานเพลง 3 ชุด
เรื่องราวของทาทาเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขน จนนิตยสาร ไทม์ (เอเชีย) ได้เสนอบทความ "The Eurasian Invasion" เรื่องราวของลูกครึ่งที่มีชื่อเสียงในแถบประเทศเอเชีย เพื่อแสดงว่าอิทธิพลของลูกครึ่งในธุรกิจบันเทิงกำลังมาแรง ซึ่งทาทาได้ให้สัมภาษณ์และขึ้นปกพร้อมกับ Maggie Q.และ Asha Gill[18] ในฉบับเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 และในปีเดียวกันนี้ทาทาได้ออกอัลบั้มใหม่ในชื่อเดียวกับตัวเอง มีเพลงเด่นจากอัลบั้มได้แก่เพลง "อา-โบ-เด-เบ" "หวานใจ" และ "เก็บฉันไว้ยืนข้างเธอทำไม" ซึ่งทุกเพลงได้รับการตอบรับและขึ้นชาร์ตเพลงในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2545 ทาทามีผลงานละคร ปลายเทียน เป็นเรื่องแรก รับบทเป็นเกาลัด มีบุคลิกมั่นใจในตนเอง และได้ขับร้องเพลงประกอบละคร 2 เพลงคือ "จะเก็บเอาไว้ให้เธอผู้เดียว" และ "จดจำไว้ในลมหายใจ" ด้วย นอกจากนี้เธอยังร่วมในการจัดทำอัลบั้ม 2002 ฟีฟ่าเวิลด์คัพ โดยได้ขับร้องเพลง "เชียร์หยุดโลก" ร่วมกับ อัยย์,ซ่าร่า,โน้ต-ตูน และอัลบั้ม เพร์สเปกชีฟ 1 (อังกฤษ: Perspective I) ที่นำเอาเพลงเก่าของเบิร์ด-ฮาร์ท มาเรียบเรียงใหม่ โดยทาทาได้ร้องเพลง "ห่างไกล"
ภายหลังการแสดงละครและออกอัลบั้มร่วมกับศิลปินอื่นๆแล้ว ในปี พ.ศ. 2546 ทาทาได้ออกอัลบั้มที่ 2 ในการสังกัดค่าบบีอีซีเทโรคือ เรียลทีที (อังกฤษ: Real TT) ในอัลบั้มนี้เธอมีส่วนร่วมกับผลงานในการสร้าง การประพันธ์เพลง และการกำหนดแนวคิดหลักของอัลบั้ม เพลงเด่นจากอัลบั้มนี้ได้แก่ "ซูเปอร์แฟน" และ "อยากเก็บเธอไว้ทั้งสองคน"
นักร้องแห่งเอเชีย (2547–2550)
[แก้]หลังจากความสำเร็จในวงการดนตรีของทาทา เธอจึงเป็นศิลปินไทยคนแรกที่มีโอกาสเซ็นสัญญากับค่ายโคลัมเบียในสังกัดของโซนีมิวสิกเมื่อปี พ.ศ. 2547 และได้ออกอัลบั้ม ไอบีลีฟ (อังกฤษ: I Believe) ซึ่งเป็นอัลบั้มภาษาอังกฤษอัลบั้มแรกของเธอ[19] โดยมีซิงเกิลแรกคือ "เซ็กซี, นอร์ตี, บิชชี" (อังกฤษ: Sexy, Naughty, Bitchy) แต่เพลงนี้ในมาเลเซียต้องเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "เซ็กซี, นอร์ตี, ชีกกี" นอกจากนี้อัลบั้มดังกล่าวยังมีซิงเกิลอีก 2 ซิงเกิลคือ "ไอบีลีฟ" และ "ซินเดอเรลลา"
นอกจากนี้ทาทายังได้รับการเลือกเป็น 1 ใน 50 สตรีที่เซ็กซี่ที่สุดในโลกจากนิตยสารในมาเลเซีย และได้รับเชิญเป็นกรรมการตัดสินการประกวดมิสสิงคโปร์ประจำปี 2004 เธอขยายตลาดเพลงของเธอสู่ประเทศอินเดียด้วยการออกซิงเกิล "ดูมดูม" เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง ดูม (อังกฤษ: Dhoom) ภาพยนตร์อินเดีย คนอินเดียจึงเรียกขานเธอว่า "ดูมเกิร์ล" และมีการจัดคอนเสิรร์ตทัวร์ ดูม จัดขึ้นในหลายประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในปี พ.ศ. 2549 ทาทาได้ขับร้องเพลง "ไอติงค์ออฟยู" (อังกฤษ: I Think of You) ร่วมกับ "เอช" นักร้องชาวเกาหลี และเพลง "ไอบีลีฟ" ได้รับการขับร้องใหม่จากวงเบบี้วอกซ์รีฟในปี พ.ศ. 2551[20]
ในประเทศไต้หวัน ทาทาได้เกียรติให้แสดงในงานประกาศรางวัล โกลเดนเมโลดี และได้ทำงานร่วมกับศิลปินชั้นนำของไต้หวันอย่างแวนเนส วู (จากวงเอฟโฟร์), เจย์ โจว, หวัง ลี่หง จากความสำเร็จในงานดนตรีของเธอ เธอจึงขยายฐานแฟนเพลงสู่ประเทศญี่ปุ่น ในเพลง "เซ็กซี, นอร์ตี, บิชชี" เป็นเพลงแรกที่ขึ้นชาร์ตออริกอนของญี่ปุ่น มิวสิกวิดีโอของเธอได้ฉายทุกๆ 10 นาทีในจอยักษ์เขตชิบูยาของญี่ปุ่น ยอดขายอัลบั้มในญี่ปุ่นในอัลบั้มนี้มากกว่า 3 แสนชุด และจัดคอนเสิร์ตทัวร์ในญี่ปุ่นไปยังเมืองสำคัญ 6 เมืองได้แก่ ฟูกุโอกะ โอซากา โยโกฮามา นาโกยา เซ็นได และโตเกียว และระหว่างการจัดคอนเสิร์ตในประเทศเนปาล เธอได้รับแจ้งข่าวการเสียชีวิตของมารดาของเธอ จึงทำให้เธอยกเลิกการจัดคอนเสิร์ตและกลับประเทศไทยทันที
อัลบั้ม ไอบีลีฟ ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินเดีย ได้คว้ารางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว (Platinum) และรางวัลแผ่นเสียงทองคำ (Gold) ด้วยยอดขายทั่วเชียกว่า 1.2 ล้านชุด จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้ทาทาได้ออกอัลบั้มพิเศษในชื่อ ดูมดูม โดยนำเพลง "ไอบีลีฟ" "เซ็กซี, นอร์ตี, บิชชี" และ "ไอติงค์อฟยู" มาขับร้องใหม่ในภาษาญี่ปุ่น ทำให้เธอได้รับรางวัล "ศิลปินหน้าใหม่แห่งปี" ในงานประกาศรางวัลแผ่นเสียงทองคำของญี่ปุ่นของที่ 19
ภายหลังการประชาสัมพันธ์อัลบั้ม ไอบีลีฟ ทาทาได้ออกอัลบั้มภาษาไทยในชื่อว่า แดนเจอรัสทาทา (อังกฤษ: Dangerous Tata)) โดยมีเพลง "แดนเจอรัส" เป็นซิงเกิลแรก เพลงดังกล่าวได้ขับร้องร่วมกับไทยเทเนี่ยม นอกจากนี้อัลบั้มดังกล่าวยังได้ร่วมงานกับศิลปินอื่นๆ อาทิ นภ พรชำนิ, ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร, ตรัย ภูมิรัตน์ และบีไฟฟ์ (B5) มียอดจำหน่ายในวันแรกกว่า 1 แสนชุดทำให้ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว (Platinum) ในวันแรกที่ออกจำหน่าย
ในปี พ.ศ. 2549 เธอได้เข้าร่วมงานเอ็มทีวี เอเชีย อวอร์ดสและได้ขับร้องเพลง "เอ็นเลสส์เลิฟ" (อังกฤษ: Endless Love) ร่วมกับลี ไรอัน และได้รับรางวัล "นักร้องโปรดประเทศไทย" นอกจากนี้ ในปีเดียวกัน เธอได้ออกอัลบั้มภาษาอังกฤษชุดที่ 2 คือ เทมเพอเรเจอร์ไรซิง (อังกฤษ: Temperature Rising) ในเดือนสิงหาคม เปิดตัวด้วยซิงเกิล "เอลนิน-โญ!" ในอัลบั้มนี้มีนักแต่งเพลงชื่อดังมากมายร่วมประพันธ์เพลงให้เธอ อาทิ ไดแอน วาเรน, พอล แม็กคาร์ตนีย์ และนาตาชา เบดิงฟิลด์ หลังจากความสำเร็จที่ได้รับ จึงได้มีการนำอัลบั้ม เทมเพอเรเจอร์ไรซิง มาจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีคาราโอเกะ โดยเลือกมิวสิกวิดีโอเด่น 7 เพลงจากอัลบั้ม และมีการจัดคอนเสิร์ตใหญ่ส่งท้ายปี ในเดือนธันวาคม ในชื่อว่า ทาทายังเทมเพอเรเจอร์ไรซิงไลฟ์อินบางกอก ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และได้เปิดตัวซิงเกิลที่ 3 มาฉายในคอนเสิร์ตคือเพลง "คัมเรนคัมไชน์" (Come Rain Come Shine)
ในปี พ.ศ. 2550 ทาทาได้รับเลือกเป็นอิมเมจเกิร์ลคนแรกและได้เป็นตัวแทนช่อง สตาร์เวิลด์ (อังกฤษ: Star World) ในการประชาสัมพันธ์งานต่างๆของสถานี[21] และได้ถ่ายทำโฆษณาของสถานีดังกล่าวที่ประเทศฮ่องกง โดยใช้เพลง "คัมเรนคัมไชน์" มาประกอบภาพยนตร์โฆษณา นอกจานี้เธอยังได้รับเลือกเป็นตัวแทนรณรงค์เรื่องการค้ามนุษย์ ในโครงการ EXIT : End Exploitation & Trafficking ซึ่งแพร่ภาพทั่วโลกโดยเริ่มออกอากาศที่ประเทศไทยเป็นที่แรก โดยจะร่วมมือกับสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (USAID) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา โดนจุง จี-ฮุน หรือเรน จะช่วยเหลือ เอ็มทีวีในการประชาสัมพันธ์รณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ด้วยเช่นกัน[22]
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ทาทาเข้าพิธีหมั้นกับเปรม บุษราคัมวงษ์ ทายาทค่ายมวยแฟร์เท็กซ์ ณ โรงแรมเพนนินซูล่า[23] และในปีถัดมาทาทาได้ออกอัลบั้มภาษาไทยในชื่อ วันเลิฟ (อังกฤษ: One Love) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดยเริ่มบันทึกเสียงตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีเพลง "วันเลิฟ" เป็นซิงเกิลแรก โดยเผยแพร่วันแรกในวันวาเลนไทน์ในปี พ.ศ. 2551 และยังมีเพลงเด่นจากอัลบั้มนี้ได้แก่ "ต้นเหตุแห่งความเศร้า" และ "ไอบียัวร์เฟิส, ยัวร์ลาสต์, ยัวร์เอฟรีติง" อีกด้วย[24]
อัลบั้มดังกล่าวได้ประชาสัมพันธ์ร่วมกับโครงการต่างๆ อาทิ วันเลิฟวันลีฟ, วันเลิฟวันบุก, วันเลิฟวันเมมโมรี, วันเลิฟวันวอยซ์ และวันเลิฟวันบาท โดยแต่ละโครงการจะมุ่งทางสิ่งแวดล้อม และสาธารณกุศล นอกจานี้ยังมีการจัด คอนเสิร์ตทัวร์วันเลิฟ ไปยังจังหวัดเชียงใหม่ อุดรธานี กรุงเทพมหานคร และภูเก็ต เพื่อนำโครงการ วันเลิฟ รักเดียวเพื่อเมืองไทย ไปร่วมกับคอนเสิร์ตแต่ละที่[25]
นักร้องระดับสากล (2551–ปัจจุบัน)
[แก้]ในช่วงกลางเดือนเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทาทาจะเดินทางยังประเทศเยอรมันเพื่อจัดทำอัลบั้มภาษาอังกฤษชุดที่ 3 มีการคัดเลือกเพลงเพื่อสร้างอัลบั้มนี้จากกว่าหนึ่งพันเพลง และได้ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ในชื่อ เรดีฟอร์เลิฟ (อังกฤษ: Ready For Love) โดยใช้เพลง "เรดีฟอร์เลิฟ" เป็นซิงเกิลแรกซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และได้จัดงานเปิดอัลบั้มในชื่อว่า ทาทาเทกยูทูเดอะเวิลด์ เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และมีการปฐมทัศน์มิวสิกวิดีโอที่ 2 จากอัลบั้มคือ "มายบลัดดีวาเลนไทน์" และเธอได้ตัด Video Mission is you เพื่อเป็นการโปรโมท งานแถลงข่าวเปิดตัวอัลบั้มของเธออย่างเป็นทางการในงาน "ทาทา ยัง เทกยูทูเดอะเวิลด์" และต่อมาหลังจากนั้นเธอได้เดินทางไปที่ประเทศ ออสเตรเลีย ในงานเทศกาลดนตรี One Movement Music Festival ,The Esplanade Perth Australia 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และจะมีแผนกลับไปโปรโมทที่ประเทศออสเตรเลียในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 นี้[26]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ส่วนตัวทาทาบูชาพระพิฆเนศวรตามมารดาตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยให้เหตุผลว่าเธอเป็นคนที่ไม่มั่นใจในตัวเองนัก[27][28] นอกจากนี้เธอยังเป็นแฟนคลับคิม อู-บิน ศิลปินชาวเกาหลีใต้[29]
เธอเคยคบหากับโอลิเวอร์ พูพาร์ต, ภราดร ศรีชาพันธุ์, เปรม บุษราคัมวงษ์[30] และวิคเตอร์ ชายชาวโรมาเนีย[31] เป็นอาทิ ซึ่งความสัมพันธ์ทั้งหมดก็ลงท้ายด้วยการเลิกรา ด้วยไม่สมหวังในความรัก เธอเคยคิดที่จะหาสเปิร์มเพื่อจะเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว[32][33]
ทาทาสมรสกับฉัตรอดุลล์ สีณพงศ์ภิภิธ (ชื่อเดิม ฉัตรอดุลย์ สีนะพงษ์พิพิธ) เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 โดยจัดขึ้นที่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต[34][35] ทั้งนี้ฉัตรอดุลย์เป็นคนรักเก่าที่เคยคบหาและเลิกราไปเมื่อสี่ปีก่อน[36] มีบุตรด้วยกันหนึ่งคนชื่อเร สีณพงศ์ภิภิธ (เกิด 12 มกราคม พ.ศ. 2559)[37]
แต่ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ทาทาได้ออกมาเผยว่าได้เลิกรากับสามีมาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 แล้ว
ผลงานเพลง
[แก้]ทาทายังมีผลงานอัลบั้มและซิงเกิลมากมาย ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ด้านล่างนี้จะแสดงเพียงสตูดิโออัลบั้ม สามารถดูผลงานอัลบั้มทั้งหมดของทาทาที่ ผลงานเพลงของทาทา ยัง
สตูดิโออัลบั้มภาษาไทยและสากล[แก้]
ผลงานร่วมกับศิลปินอื่น[แก้]
ซิงเกิล[แก้]
สตูดิโออัลบั้มรีมิกซ์[แก้]
- สองคน หนึ่งคืน : ทาทา ยัง
อัลบั้มรวมเพลงฮิต[แก้]
|
ผลงานการแสดง
[แก้]
ภาพยนตร์[แก้]
|
ละครโทรทัศน์[แก้]
|
ซิตคอม
[แก้]- 2538 : สามหนุ่มสามมุม รับเชิญ
- 2539 : หกตกไม่แตก - ตอน ขอได้ไหม (รับบท ติ๊ดตี่)
- 2554 : นางฟ้ามาลี - ตอน ขอสักครั้ง (รับบท มีน)
- 2554 : ระเบิดเถิดเทิง - ตอน ลั่นทุ่ง (รับบท ริน) - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
มิวสิควีดีโอ
[แก้]- 2537 : เพลง เหลวไหล - มอส ปฏิภาณ
- 2541 : เพลง พูดเล่นเล่น - เบิร์ด ธงไชย
คอนเสิร์ต
[แก้]คอนเสิร์ตเดี่ยว
[แก้]- 2538 : คอนเสิร์ต นานาทาทา @ MCC Hall
- 2539 : คอนเสิร์ต ไอเลิฟยู
- 2539 : Tata Young Live In Hollywood
- 2545 : คอนเสิร์ต "หวานใจ. . . ไม่มีง.งู"
- 2548 : Tata Young I Believe Japan Tour 2005
- 2548 : Tata Young Dhoom Dhoom Tour Live In Bangkok @ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ศิลปินรับเชิญ ไทยเทเนี่ยม, บีไฟว์
- 2549 : Tata Young Temperature Rising Live In Bangkok @ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
- 2551 : Tata Young One Love Thailand Tour
- 2552 : Tata Young In Concert @ Venetian Ballroom MACAO
- 2552 : Tata Young Take You To The World @ ท่าอากาศยานดอนเมือง
- 2557 : Turn Back Time With Tata @ รอยัล พารากอน ฮอลล์ (22-23 มีนาคม) ศิลปินรับเชิญ เจ เจตริน, มอส ปฏิภาณ, บิลลี่ โอแกน
- 2562 : Tata Young My Perfection Concert @ รอยัล พารากอน ฮอลล์ (11-12 ตุลาคม) ศิลปินรับเชิญ กานต์ เดอะพาร์กินสัน
คอนเสิร์ตคู่
[แก้]- 2540 : มอสทาทา แอนดฺเฟรนส์ คอนเสิร์ต จัดคู่กับ มอส ปฏิภาณ @ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ศิลปินรับเชิญ โบ สุนิตา, เกริกพล มัสยวาณิช, NaNaCha, เจสัน ยัง
- 2560 : NEXT BEYOND CONCERT MOS-TATA FACE TO FACE จัดคู่กับ มอส ปฏิภาณ @ CDC Crystal Grand Ballroom (26 สิงหาคม)
- 2561 : ICHITAN และ TrueID PRESENT 20th MOS-TATA CONCERT จัดคู่กับ มอส ปฏิภาณ @ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (21 เมษายน)
คอนเสิร์ตกลุ่ม
[แก้]- 2538 : คอนเสิร์ต Teenage Festival จัดร่วมกับ มอส ปฏิภาณ, อ้อม สุนิสา, ยูเอชที, ทราย เจริญปุระ, อ่ำ อัมรินทร์, เจสัน ยัง, วราวุธ บูรพาชยานนท์, โลกเบี้ยว @ สนามกีฬากองทัพบก
- 2538 : คอนเสิร์ต U.H.T. Party Concert จัดร่วมกับ ยูเอชที @ Mcc Hall เดอะมอลล์ บางกะปิ
- 2539 : คอนเสิร์ต 6.2.12 จัดร่วมกับ คริสติน่า อากีล่าร์, มอส ปฏิภาณ, นัท มีเรีย, ยูเอชที, เจ เจตริน @ สนามกีฬากองทัพบก
- 2540 : คอนเสิร์ต Teens For Clean Air จัดร่วมกับ มอส ปฏิภาณ, เจ เจตริน, อ้อม สุนิสา, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล, นาวิน ต้าร์, เกริกพล มัสยวาณิช, ปนัดดา เรืองวุฒิ, คูณสามซูเปอร์แก๊งค์ @ MCC Hall (ชั้น 4 เดอะมอลล์ บางกะปิ)
- 2541 : คอนเสิร์ต จากเพื่อน พี่ และน้อง แด่เรวัต พุทธินันทน์ จัดร่วมกับ มอส ปฏิภาณ, เจ เจตริน, เสก โลโซ, เหน่ง วายน็อตเซเว่น, แจ็ค วงฟลาย, คริสติน่า อากีล่าร์, มาช่า วัฒนพานิช, แหวน ฐิติมา, กบ ทรงสิทธิ์, เบิร์ด ธงไชย, เสือ ธนพล, ปอนด์ ธนา, มิคกี้ ปิยะวัฒน์, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล, มาลีวัลย์ เจมีน่า, อัสนี วสันต์, ก้อย ศรัณย่า, อี๊ด วงฟลาย, อ้อง สุรสีห์, แอม เสาวลักษณ์, ใหม่ เจริญปุระ, เล็ก อรวี, อ่ำ อัมรินทร์ @ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- 2546 : คอนเสิร์ต The Duet Show-Soundtracks of Love จัดร่วมกับ บุรินทร์ กรู๊ฟไรเดอร์, คริสติน่า อากีล่าร์, นภ พรชำนิ, รัดเกล้า อามระดิษ, เบน ชลาทิศ @ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- 2553 : คอนเสิร์ต The Duets Concert จัดร่วมกับ บุรินทร์ กรู๊ฟไรเดอร์, ก้อง นูโว, นิโคล เทริโอ, ป๊อด โมเดิร์นด็อก, ปาล์มมี่, บอย ตรัย, ETC, เบน ชลาทิศ, บี พีระพัฒน์ @ ไบเทค บางนา
- 2553 : คอนเสิร์ต Michael Jackson This Is It The Concert จัดร่วมกับ คริสติน่า อากีล่าร์, เจ เจตริน, มาช่า วัฒนพานิช, ใหม่ เจริญปุระ, แดน วรเวช, กอล์ฟ-ไมค์, นัท มีเรีย, โต๋ ศักดิ์สิทธิ์, เบน ชลาทิศ, ออฟ ปองศักดิ์, เป็ก ผลิตโชค, แชมป์ ศุภวัฒน์, Slot Machine, เจมส์ เรืองศักดิ์, ตู่ ภพธร, แก้ม เดอะสตาร์, คิว วงฟลัวร์ @ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
- 2556 : คอนเสิร์ต 6.2.13 จัดร่วมกับ คริสติน่า อากีล่าร์, มอส ปฏิภาณ, นัท มีเรีย, ยูเอชที, เจ เจตริน @ รอยัล พารากอน ฮอลล์
- 2556 : คอนเสิร์ต 6.2.13 Dance Fever จัดร่วมกับ คริสติน่า อากีล่าร์, มอส ปฏิภาณ, นัท มีเรีย, ยูเอชที, เจ เจตริน @ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี
- 2557 : คอนเสิร์ต Patiparn Party 25 ปี Mr.Mos จัดร่วมกับ มอส ปฏิภาณ, เต๋า สมชาย, กบ ทรงสิทธิ์, อ้อม สุนิสา @ รอยัล พารากอน ฮอลล์
- 2558 : คอนเสิร์ต Dance หลุดโลก จัดร่วมกับ โปเตโต้, ค็อกเทล, แทททูคัลเลอร์, โจอี้ บอย @ อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ 1 เมืองทองธานี
- 2558 : คอนเสิร์ต 10 YEARS OF ATIME SHOWBIZ จัดร่วมกับ มอส ปฏิภาณ, เจ เจตริน, คริสติน่า อากีล่าร์, แอม เสาวลักษณ์, เจนนิเฟอร์ คิ้ม, บอย Peacemaker, ออฟ ปองศักดิ์, ป๊อป ปองกูล, ว่าน ธนกฤต, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล @ รอยัล พารากอน ฮอลล์
- 2559 : คอนเสิร์ต ล้านตลับ จัดร่วมกับ คริสติน่า อากีล่าร์, ใหม่ เจริญปุระ, นิโคล เทริโอ, นัท มีเรีย, โบ สุนิตา @ รอยัล พารากอน ฮอลล์ (7–8–9 ตุลาคม)
- 2560 : คอนเสิร์ต Ohm Chatree Live Rewat Forever 2017 จัดร่วมกับ ชาตรี คงสุวรรณ, อำพล ลำพูน, จั๊ก ชวิน, ศักดา พัทธสีมา, สุรสีห์ อิทธิกุล, คริสติน่า อากีล่าร์, โบ สุนิตา, แสตมป์ อภิวัชร์, สิงโต นำโชค, อีทีซี, ที-โบน, หนึ่ง จักรวาล, บี พีระพัฒน์ @ รอยัล พารากอน ฮอลล์ (7 พฤษภาคม)
- 2560 : คอนเสิร์ต RCA 90's Reunion 2 จัดร่วมกับ มอส ปฏิภาณ, คริสติน่า อากีล่าร์, ไทรอัมพ์ส คิงดอม, มิสเตอร์ทีม, ไวตามินเอ, ปุ๊กกี้ @ อิมแพ็ค เมืองทองธานี (23 ธันวาคม)
- 2561 : คอนเสิร์ต 90's Nonstop จัดร่วมกับ มอส ปฏิภาณ, เต๋า สมชาย, นิโคล เทริโอ, โจอี้ บอย, ไทรอัม คิงส์ดอม, เจมส์ เรืองศักดิ์, ลิฟท์ ออย, ที-สเกิร์ต, MR.Z @ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี (25 สิงหาคม)
- 2562 : คอนเสิร์ต Cassette Festival จัดร่วมกับ มอส ปฏิภาณ, อ้อม สุนิสา, ยูเอชที, โบ สุนิตา, กะลา, ปนัดดา เรืองวุฒิ @ รอยัล พารากอน ฮอลล์ (24-26 พฤษภาคม)
- 2565 : คอนเสิร์ต Cassette Festival 2 จัดร่วมกับ เจ เจตริน มอส ปฏิภาณ อ้อม สุนิสา นัท มีเรีย 2002 ราตรี ไอซ์ ศรัณยู ไทรอัมพ์ คิงด้อม นาวิน ต้าร์ ลานนา คัมมินส์ แอน ธิติมา พั้นช์ วรกาญจน์ นาตาลี @ รอยัล พารากอน ฮอลล์ (24-25 กันยายน)
- 2566 : คอนเสิร์ต Grammy X RS : 90's Versary Concert จัดร่วมกับ เจตริน วรรธนะสิน, คริสติน่า อากีล่าร์, ใหม่ เจริญปุระ, ปฏิภาณ ปฐวีกานต์, มาช่า วัฒนพานิช, นัท มีเรีย, นิโคล เทริโอ, ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง, สมชาย เข็มกลัด, เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์, ลิฟท์-ออย, แร็พเตอร์, สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา, ปกรณ์ ลัม @ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (29–30 กรกฎาคม)
- 2567 : คอนเสิร์ต 90's Forever Concert ร่วมกับ บิลลี่ โอแกน, หนุ่ย อำพล, ก้อง สหรัถ, มอส ปฏิภาณ, ใหม่ เจริญปุระ, คริสติน่า อากีล่าร์ @ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี (24 กุมภาพันธ์)
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]ปี (พ.ศ.) | รายละเอียด |
---|---|
2535 |
|
2538 |
|
2539 |
|
2540 |
|
2541 |
|
2542 |
|
2543 |
|
2547 |
|
2548 |
|
2549 |
|
2550 |
|
2552 |
|
2553 |
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 หนังดี อมิตา ยัง เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
- ↑ ประวัติทาทายัง
- ↑ ประวัติทาทายัง
- ↑ เว็บบอร์ดพันธ์ทิพย์ เก็บถาวร 2009-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน TATA YOUNG หญิงไทยผู้โกยเงินเข้าประเทศกว่า 800 ล้านบาท กับอุตสาหกรรมบันเทิงไทย !!!!!! เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
- ↑ ""ทาทา ยัง" นำร่างไร้วิญญาณ คุณพ่อ มาตั้งสวดอภิธรรม ที่วัดชลประทานรังสฤษดิ์" (Press release). มติชนออนไลน์. 6 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2556.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'ทาทา' ไม่เสียดายกลับมาดูใจพ่อไม่ทัน มั่นใจที่ผ่านมาทำเต็มที่แล้ว" (Press release). ไทยรัฐ. 6 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2556.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Biography on tatayoung.com เก็บถาวร 2009-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Announcement of the death of Tata's Mother เก็บถาวร 2008-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "'ทาทา'ส่งพ่อครั้งสุดท้ายด้วยน้ำตา" (Press release). ข่าวสด. 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2557.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "รักให้เป็น รักอย่าง ทาทา ยัง" (Press release). กระปุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2557.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ทาทา ยัง เมื่อตอนชนะประกวดร้องเพลง" (Press release). จับฉ่ายดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2557.
{{cite press release}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประวัติทาทายังประวัติทาทา ยัง เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
- ↑ ประวัติทาทายัง
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อtata2you
- ↑ 6.2.12 - 6.2.12 (หกสองสิบสอง) เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
- ↑ เบรฟโฮสต์[ลิงก์เสีย] ทาทา ยัง เรยกข้อมูลวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552
- ↑ ทาทายังเวิลด์[ลิงก์เสีย] รางวัลแห่งความสำเร็จ : ความมหัศจรรย์ของสาวน้อย เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
- ↑ นิตยสารไทม์ เก็บถาวร 2010-04-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Eurasian Invasion เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
- ↑ โซนีมิวสิกประเทศไทย[ลิงก์เสีย] Tata Young - I Believe เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
- ↑ กระปุกดอตคอม เก็บถาวร 2011-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คลิป ฟังเพลง mv เพลง I Believe - BABYVOX Re.v เวอร์ชันทำใหม่ของเกาหลี เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
- ↑ บล็อก[ลิงก์เสีย] สตาร์เวิลด์ ดึงตัว ทาทา ยัง เป็นอิมเมจ เกิร์ล คนล่าสุด พร้อมเปิดตัวรายการสุดฮิตจากอเมริกา เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
- ↑ ทาทา ยัง จับมือ เรน เป็นพรีเซ็นเตอร์ MTV รณรงค์ต้านการค้ามนุษย์ เก็บถาวร 2011-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักข่าวเนชั่น
- ↑ ทาทาเข้าพิธีหมั้นกับเปรม บุษราคัมวงษ์
- ↑ โซนีมิวสิกประเทศไทย[ลิงก์เสีย] Tata Young – One Love เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
- ↑ โซนีมิวสิกประเทศไทย[ลิงก์เสีย] โครงการ Tata Young OneLove รักเดียว...เพื่อเมืองไทย เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
- ↑ คมชัดลึก ทาทา ยังยึดสนามบินดอนเมืองเปิดตัวอัลบั้ม เรียกข้อมูลวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552
- ↑ "ทาทา ยัง เซียนบูชาพระพิฆเนศอ้ำอึ้ง !!! เจ้าเข้าองค์ลงอาภัพคู่ การันตีขอพรได้ทุกครั้ง". สยามรัฐ. 9 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ทาทา เผย เป็นเซียนบูชาพระพิฆเนศ". กระปุกดอตคอม. 13 สิงหาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'ทาทา ยัง' สุดฟิน ตามส่ง 'คิมวูบิน' ถึงสนามบิน". ไทยรัฐ. 9 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สุดทางรัก ทาทา 4 ครั้ง กับผู้ชาย 4 คน". ไทยรัฐ. 25 สิงหาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'ทาทา'บอกเลิก'วิค'! ลั่นทุ่มชีวิตให้งานเพราะไม่ทรยศ". ไทยรัฐ. 9 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ทาทา" ฟุ้งอยากมีลูก เล็งหา "สเปิร์ม" ไม่ง้อผู้ชาย". โพสต์ทูเดย์. 3 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ""ทาทา ยัง" อยากมีลูก เล็งหาสเปิร์มมาท้องเอง". ไทยรัฐ. 16 มีนาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แต่งแล้ว 'ทาทา ยัง' วิวาห์ฟ้าแลบ 'พี่หมอ' ที่ภูเก็ต". ไทยรัฐ. 22 กรกฎาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ภาพวิวาห์หวาน ปานฟ้าแล่บ! "ทาทา ยัง & พี่หมอ" โรแมนติก ซาบซึ้งน้ำตาริน ริมทะเลภูเก็ต !!". มติชน. 22 กรกฎาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "จับพิรุธ 'ทาทา' รีเทิร์น 'พี่หมอ' ลุ้นอาจมีแต่ง!". ไทยรัฐ. 23 มิถุนายน 2557. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ทาทา คลอดลูกชาย ตั้งชื่อ น้องเร ด้าน พี่หมอ ให้กำลังใจไม่ห่าง". ไทยรัฐ. 12 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Official MV ใครจะรู้ (Ost.ทรายสีเพลิง) - ทาทา ยัง
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของทาทายัง
- Tata Young Fan Club เก็บถาวร 2020-08-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Tata2You เก็บถาวร 2018-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Tata Young Fanpage on Facebook : TTFC
- Tata Young Fan Club Latin America
- Tata Young songs lyrics
- อินสตาแกรมทาทา ยัง
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2523
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทาทา ยัง
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ศิลปินสังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
- ศิลปินสังกัดโคลัมเบียเรเคิดส์
- นักร้องป็อปไทย
- นักร้องหญิงชาวไทย
- นักร้องเพลงภาษาอังกฤษชาวไทย
- นักร้องเพลงภาษาญี่ปุ่นชาวไทย
- นักแสดงหญิงชาวไทย
- ชาวไทยเชื้อสายอเมริกัน
- นางแบบไทย
- บุคคลจากโรงเรียนบางกอกพัฒนา
- นักแสดงหญิงชาวไทยในศตวรรษที่ 20
- นักแสดงหญิงชาวไทยในศตวรรษที่ 21