ข้ามไปเนื้อหา

ทรงชัย วงศ์สวัสดิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน
ดำรงตำแหน่ง
29 มิถุนายน พ.ศ. 2563 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าสมาน ชมภูเทพ
ถัดไปนิรันดร์ ด่านไพบูลย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 มกราคม พ.ศ. 2497 (70 ปี)
อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2543–2561)
พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน)
คู่สมรสมลวิภา วงศ์สวัสดิ์

ทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ (เกิด 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน

ประวัติ

[แก้]

ทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ หรือ โกใหญ่[1] เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายทงซี - นางพลอย วงศ์สวัสดิ์ เกิดที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง[2] เป็นพี่ชายของนายจินดา วงศ์สวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง สังกัดพรรคไทยรักไทย และนายจรัญ วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลห้างฉัตร

ทรงชัย สมรสกับนางมลวิภา วงศ์สวัสดิ์ มีบุตร 3 คน

การศึกษา

[แก้]

นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2520 และรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) พ.ศ. 2538

การเมือง

[แก้]

นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ เคยทำงานเป็นทนายความ เป็นที่ปรึกษากฎหมายธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ต่อมาได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดลำพูน (สจ.) และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายทรงชัย เป็น 1 ใน 4 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับการเลือกตั้งในเขตภาคเหนือ สามารถเอาชนะกระแสพรรคไทยรักไทยได้ แต่ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 กลับไม่ได้รับเลือกตั้งโดยแพ้ให้กับนายสถาพร มณีรัตน์ จากพรรคไทยรักไทย

ในการเลือกตั้งวุฒิสภา พ.ศ. 2549 นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดลำพูน ได้รับคะแนนสูงที่สุด คือ 63,595 คะแนน แต่ภายหลังการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวถูกยกเลิกเนื่องจากเกิดการรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549[3]

นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ซึ่งได้รับคะแนนสูงสุด และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนเป็นสมัยแรก โดยได้รับแรงสนับสนุนจากนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีความสนิทสนมกันเป็นการส่วนตัว ต่อมาได้สมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่แพ้ให้กับ ดร.นิรันดร์ ด่านไพบูลย์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย[4]

ต่อมา นายทรงชัย ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดลำพูน เขต 2 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้น โดยได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 2 รองจาก รังสรรค์ มณีรัตน์ จากพรรคเพื่อไทย[5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร

[แก้]
  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดลำพูน สังกัด พรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เจ๊แดงคนเดิม ปั้น 'อบจ.ลำพูน
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  3. "เผยรายชื่อ 109 ส.ว.ที่กกต.มีมติรับรองตามรายจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-21. สืบค้นเมื่อ 2010-08-19.
  4. ผลเลือกตั้ง"นายกอบจ.ลำพูน" "นิรันดร์ ด่านไพบูลย์"ค่ายเพื่อไทยเข้าป้าย เฉือนแชมป์เก่า
  5. "กกต.ลำพูน เปิดเผยผลการเลือกตั้ง จ.ลำพูน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-30. สืบค้นเมื่อ 2023-03-30.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๖, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2015-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๒๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘